แนวโน้มนโยบายข้าวของรัฐบาล

แนวโน้มนโยบายข้าวของรัฐบาล

ข้าว (Embedding disabled, limit reached)

นโยบายข้าวถือเป็นนโยบายสำคัญที่ใช้ในการหาเสียงเลือกตั้งทุกยุคทุกสมัย  เพื่อมุ่งหวังช่วยเหลือทางด้านรายได้และหาเสียงกับชาวนาที่มีถึง 4 ล้านคนทั่วประเทศ โดยราคาข้าวถูกกำหนดขึ้นมาให้อยู่ในระดับที่ชาวนาคาดหวัง นโยบายที่ถูกนำมาใช้ในอดีตจนถึงปัจจุบันหลักๆ มี 2 นโยบาย  ภายใต้รูปแบบวิธีการดำเนินการที่อาจแตกต่างกันไปในแต่ละรัฐบาล คือ
1.  การรับจำนำข้าว
2. การประกันรายได้
เมื่อนำทั้งสองนโยบายมาเปรียบเทียบ เราพบข้อน่า สังเกตของทั้งสองนโยบายดังนี้
            1. นโยบายการรับจำนำข้าว ที่ผ่านมา  มีผู้ที่ได้รับผลประโยชน์ มากกว่า นโยบายการประกันรายได้ชาวนา  โดยผู้เข้าร่วมโครงการนำข้าวเฉลี่ย 15.4 ตันต่อรายมาขอรับประกัน  เมื่อเทียบกับการประกันรายได้ที่ผู้ได้รับผลประโยชน์เฉลี่ยอยู่ที่ 7.9 ตันต่อราย ทั้งนี้อาจเป็นไปได้ว่า  นโยบายการประกันรายได้ถูกนำมาใช้ช่วยชาวนาที่ผลผลิตได้รับความเสียหายจากภัยธรรมชาติ  ให้ได้รับเงินช่วยเหลือส่วนหนึ่งเพื่อชดเชยทุนการเพาะปลูกโดยคำนวนจากพื้นที่เพาะปลูกที่ลงทะเบียนไว้
 
 

          2. เงินงบประมาณที่สูญเสียจากการดำเนินนโยบายจำนำข้าวสูงกว่านโยบายประกันรายได้ทั้งต่อปริมาณข้าว  และต่อรายชาวนาที่เข้าร่วมโครงการ เมื่อคำนวนการสูญเสียของงบประมาณโดย  สำหรับนโยบายการรับจำนำคือการขาดทุนจากการขายข้าว ที่ได้ใช้งบประมาณถึง 89,862  บาทต่อราย หรือ 5,841 บาทต่อตัน และ  สำหรับนโยบายการประกันรายได้คือเงินประกันรายได้ที่ต้องจ่าย งบประมาณ15,816  บาทต่อราย หรือ 1,982 บาทต่อตัน คิดเป็น 5.7  เท่าต่อราย หรือ 2.9 เท่าต่อตัน  ทั้งนี้การขาดทุนจากการขายข้าวนี้อาจลดลงน้อยลงกว่านี้ได้  เพราะยังมีสต๊อกข้าวที่ยังไม่ได้ขายออกไป
 
            3.  สำหรับนโยบายการรับจำนำ  ด้วยราคาที่สูงกว่าตลาดทำให้ชาวนาพอใจที่จะจำนำข้าวกับรัฐแทนการออกสู่ตลาดทั่วไป  และเน้นการเพาะปลูกเพียงเพื่อปริมาณมากกว่าคุณภาพ  ทำให้รัฐต้องรับจำนำข้าวในปริมาณที่มากกว่าจำเป็น  และส่งผลกระทบต่อตลาดล่วงหน้าจากการที่ไม่สามารถตั้งราคาได้  อีกทั้งเป็นภาระของภาครัฐในการใช้งบประมาณสูงเพื่อดำเนินการบริหารจัดการสต๊อกข้าวในมือรัฐ   ในขณะที่นโยบายการประกันรายได้  ก็มีผลเสียในเรื่องงบประมาณสูญเสียจากการจ่ายชดเชยทันที 
อีกทั้งมีความเสี่ยงที่ราคาข้าวจะตกต่ำในฤดูเก็บเกี่ยวเนื่องจากรัฐไม่ได้แทรกแซงกลไลราคา
     อย่างไรก็ตาม  นโยบายทั้งคู่นั้น  เป็นเพียงสัญญาว่าจะได้รายได้ดีขึ้นเท่านั้น  แต่หากจะยกระดับรายได้ชาวนาให้เพิ่มขึ้นอย่างยั่งยืน  คงไม่ได้ขึ้นอยู่กับนโยบายจำนำหรือประกันรายได้  ยังต้องมีนโยบายอื่นๆที่ช่วยเป็นกลไกขับเคลื่อน เช่น การประกันภัยพืชผล  การเพิ่มผลผลิตและคุณภาพ และลดต้นทุนการเพาะปลูก ซึ่งต้องสอดประสานกันอีกด้วย  และที่สำคัญที่สุด คือ  ผู้ที่วางนโยบายและผู้ดำเนินการต้องไม่ให้เกิดการรั่วไหลจนไม่ถึงชาวนา  เพราะขณะนี้ขีดความสามารถในการแข่งขันของข้าวไทยกำลังถดถอยลง  โดยเฉพาะเมื่อเทียบกับคู่แข่งอย่างเวียดนาม ที่มีต้นทุนการผลิตอยู่ที่ 2,465  บาทต่อไร่ ต่ำกว่าของไทยเกือบครึ่ง  (อ้างอิงจากการศึกษาของสถาบันคลังสมองของชาติ)  ขณะที่ผลผลิตต่อไร่อยู่ในระดับใกล้เคียงกัน  หากเรามัวแต่มองแค่การแก้ปัญหาเฉพาะหน้า  ไม่มองถึงปัญหาในเชิงโครงสร้าง  ในระยะยาวแล้วอนาคตของ  "อู่ข้าวอู่น้ำ" ของเอเชียอย่างข้าวไทยจะเป็นอย่างไร   

   

author

ปฏิทินกิจกรรม EVENT CALENDAR

เข้าสู่ระบบ