http://www.youtube.com/watch?v=7LfgT2S_MF (Embedding disabled, limit reached)
เมื่อวันที่ 23 สิงหาคมที่ผ่านมานี้ นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ได้แถลงนโยบายต่อรัฐสภา และหนึ่งในนโยบายที่นายกรัฐมนตรีได้แถลงไปคือการจัดสรรน้ำเพื่อการเกษตรแบบบูรณาการทั้ง 25 ลุ่มน้ำของไทย ซึ่งหนึ่งในนั้นคือลุ่มน้ำยมที่ไหลผ่านจังหวัดพะเยาและแม่น้ำอิงที่เป็นแม่น้ำสาขาของลุ่มน้ำโขงซึ่งอยู่ในความรับผิดชอบของชลประทานจังหวัดพะเยา
(สัมภาษณ์) คิดโมเดลมาในเรื่องต้นน้ำให้กรมทรัพย์ไปเลยเรื่องกลางน้ำชลประทานจะเป็นคนรับผิดชอบสร้างระบบ พอมีน้ำประมงก็มาส่งเสริมสัตว์น้ำ พอมีคลองเกษตรก็มาส่งเสริมการปลูกพืชแล้วให้ อบต.ทำคลองส่งน้ำขุดสระเก็บน้ำไป
และโครงการจัดสรรน้ำในพะเยาที่ทางชลประทานบอกว่าสามารถช่วยลดปัญหาการขาดแคลนน้ำในภาคการเกษตรได้ซึ่งได้เริ่มโครงการไปแล้วกว่า 1 ปี คือการจัดตั้งกลุ่ม jmc หรือ คณะกรรมการจัดการชลประทานขึ้นซึ่งมีลักษณะการทำงานอย่างมีส่วนร่วมระหว่างภาครัฐและประชาชนในการจัดสรรน้ำเพื่อให้คนต้นน้ำ กลางน้ำและปลายน้ำได้มีน้ำใช้อย่างทั่วถึงสำหรับภาคการเกษตร
(สัมภาษณ์) ถึงขั้นขึ้นโรงพักกันเลย ผมต้องไปจัดการ คือคนต้นคลองท้ายคลองทะเลาะกันทุกสาย ปัญหาเบาบางลงเพราะมีการพูดคุยกัน
ทั้งนี้การจัดการน้ำของจังหวัดพะเยาในอนาคตยังมีแนวโน้มที่ไม่แน่นอนเพราะขึ้นอยู่กับหลายปัจจัยเช่นในเรื่องของภาคประชาชนที่ไม่เข้าใจกลไกของจัดสรรน้ำ เรื่องการขุดร่องแม่น้ำรวมไปถึงการขุดร่องกว๊านซึ่งยังหาข้อสรุปไม่ได้ว่าจะเป็นไปในทิศทางใหนเพื่อให้ส่งผลกระทบต่อประชาชนทั้งต้นน้ำ กลางน้ำและปลายน้ำอีกทั้งทรัพยากรธรรมชาติให้น้อยที่สุด เนื่องจากปัจจุบันยังเกิดความคัดแย่งกันอยู่ในเรื่องของการจัดสรรน้ำทั้งจากโครงการสร้างอ่างเก็บน้ำ โครงการสร้างประตูระบายน้ำเพื่อกักเก็บน้ำในฤดูแล้งและบรรเทาน้ำท่วมในฤดูฝนซึ่งจะต้องมีการสระที่ดินของชาวบ้านในแถบนั้นเพื่อดำเนินการโครงการเหล่านี้จึงทำให้มีทั้งผู้สนับสนุนและผู้คัดค้านซึ่งต้องหาทางคิดทบทวนดูถึงผลกระทบและผลประโยช์ที่เกิดขึ้นว่ามีความคุมค่ากันหรือไม่