ในวาระที่ Mr.Aquilino Q. Pimentel อดีตสมาชิกวุฒิสภาจากประเทศฟิลิปปินส์ซึ่งเป็นบุคคลที่มีบทบาทสำคัญในการผลักดันให้มีการยกเลิกโทษประหารชีวิตในประเทศฟิลิปปินส์ มาร่วมแลกเปลี่ยนประสบการณ์และปรึกษาหารือเกี่ยวกับประเด็นดังกล่าวกับคณะกรรมาธิการสิทธิมนุษยชน สิทธิเสรีภาพและการคุ้มครองผู้บริโภค
ฟิลิปปินส์เป็นประเทศที่ได้ยกเลิกโทษประหารชีวิตในทุกกรณีแล้วตั้งแต่ปี พ.ศ. 2549 เป็นต้นมา สำหรับประเทศไทยและฟิลิปปินส์ต่างเป็นประเทศที่อยู่ในภูมิภาค ASEAN และมีอัตราการเกิดอาชญากรรมที่ใกล้เคียงกัน
กำหนดการ
· วันพุธที่ 7 มีนาคม 2555 เวลา 20.00 น. เป็นต้นไป
เวทีอภิปรายและแลกเปลี่ยนในประเด็นโทษประหารชีวิต
ณ สมาคมผู้สื่อข่าวต่างประเทศแห่งประเทศไทย (FCCT)
ชั้นเพนท์เฮ้าส์ อาคารมณียาเซ็นเตอร์ (ติดกับสถานีรถไฟฟ้า BTS สถานีชิดลม)
·
วันพฤหัสบดีที่ 8 มีนาคม 2555 เวลา 14.30-15.30 น.
เวทีแลกเปลี่ยนประสบการณ์และปรึกษาหารือกับคณะกรรมาธิการสิทธิมนุษยชน สิทธิเสรีภาพและการคุ้มครองผู้บริโภค สมาชิกวุฒิสภา
ณ ห้องรับรอง1-2 ชั้น 3 อาคารรัฐสภา 2
·
วันพฤหัสบดีที่ 8 มีนาคม 2555 เวลา 17.00-19.00 น.
เวทีแลกเปลี่ยนประสบการณ์และตอบข้อซักถามกับองค์กรพัฒนาเอกชนและสื่อมวลชน
ณ ห้องประชุมชั้น 2 สมาคมนักข่าว นักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย
ตรงข้ามโรงพยาบาลวชิระ ถนนสามเสน
ประวัติ วุฒิสมาชิก อะควิลิโน พิเมนเทล
วุฒิสมาชิกพิเมนเทลเป็นที่เคารพนับถืออย่างสูงในวงการสิทธิมนุษยชนในประเทศฟิลิปปินส์ เขาเป็นที่รู้จักจากบทบาทการคัดค้านโทษประหารชีวิตจนนำไปสู่การยกเลิกโทษประหารชีวิตในฟิลิปปินส์ สื่อมวลชน องค์กรภาคประชาสังคม และองค์กรด้านศาสนามักจะกล่าวถึงเขาเสมอๆ ในฐานะวุฒิสมาชิกที่มีผลงานโดดเด่น
ปัจจุบัน เขาสนใจประเด็นเรื่องการส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อสร้างประชาธิปไตยที่แท้จริง
ภูมิลำเนา
เกิด วันที่ 11 ธันวาคม 2476 ที่ เมืองคลาเวอเรีย จังหวัดมิซามิส โอเรียนทอล มินดาเนา
การศึกษา ปริญญาสาขานิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยซาเวีย และปริญญากิติมศักดิ์สาขามนุษยศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยซาเวีย และมหาวิยาลัยนอร์ธอดาม ปริญญากิติมศักดิ์สาขานิติศาสตร์จากมหาวิทยาลัยบาเกียว เป็นต้น
บทบาทหน้าที่
• วุฒิสมาชิกแห่งสาธารณรัฐ 2547-2553
• วุฒิสมาชิกแห่งสาธารณรัฐ 2541-2547 โดยได้รับเลือกให้เป็น ผู้นำวุฒิสมาชิกฝ่ายเสียงข้างน้อย ผู้นำวุฒิสมาชิกฝ่ายเสียงข้างมาก และประธานวุฒิสมาชิก ในขณะที่ดำรงตำแหน่ง
เขามีบทบาทสำคัญๆในการช่วยผลักดันกฎหมายภายในฟิลิปปินส์หลายฉบับ เช่น
1. พระราชบัญญัติแห่งสาธารณรัฐ ฉบับที่ 7160 หรือ ประมวลกฎหมายว่าด้วยการปกครองส่วนท้องถิ่น (1991) ที่เพิ่มอำนาจให้จังหวัด เมือง และเทศบาลให้สามารถปกครองตนเองและใช้ทรัพยากรการเงินจากส่วนกลางในการพัฒนาท้องถิ่นได้มากขึ้น
2. พระราชบัญญัติแห่งสาธารณรัฐ ฉบับที่6938 หรือ พ.ร.บ.สหกรณ์ ให้อำนาจรัฐบาลสนับสนุนการก่อตั้งสหกรณ์ในท้องถิ่นเพื่อต่อสู้กับความยากจน
3. พระราชบัญญัติแห่งสาธารณรัฐ ฉบับที่ 6678 หรือ พ.ร.บ.ยาสามัญ (The Generic Drugs Act)สนับสนุนให้ใช้ยาสามัญอย่างแพร่หลายเพื่อลดต้นทุนในการผลิตยา (เป็นประโยชน์ต่อการเช้าถึงยาของประชาชน-ผู้แปล)
4. พระราชบัญญัติแห่งสาธารณรัฐ ฉบับที่ 6734 หรือ พ.ร.บ.ก่อตั้งเขตปกครองอิสระมุสลิมมินดาเนา เพื่อช่วยลดความรุนแรงและการก่อความไม่สงบในเขตมุสลิมมินดาเนา
5. พระราชบัญญัติแห่งสาธารณรัฐ ฉบับที่ 6975 หรือ พ.ร.บ. ที่ก่อตั้งสำนักงานตำรวจแห่งชาติฟิลิปปินส์ โดยให้อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของกระทรวงมหาดไทยและการปกครองท้องถิ่น กฎหมายดังกล่าวช่วยแยกให้หน่วยงานตำรวจเป็นอิสระจากกองทัพและอยู่ภายใต้การตรวจสอบของพลเรือน
บทบาททางการเมือง
• 2514 ได้รับเลือกเป็นสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ
• 2523 – 2527 ได้รับเลือกเป็นผู้ว่าการเมืองคากายัน เด โอโร
• 2525 ถูกปลดออกจากตำแหน่งโดยรัฐบาลมาร์กอส และได้กลับเข้ารับตำแหน่งเดิมจากพลังของ
ประชาชนที่ลุกฮือขึ้นเดินขบวนประท้วงประธานาธิบดีมาร์กอส
• 2527- 2529 ได้รับเลือกเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
• 2527 ถูกปลดออกจากตำแหน่งโดยรัฐบาลมาร์กอส และได้กลับเข้ารับตำแหน่งเดิมจากคำตัดสินของ
ศาลฎีกา
• 2529 รัฐมนตรีด้านการปกครองส่วนท้องถิ่น แต่งตั้งโดยประธานาธิบดีคอราซอน อควิโน
• 2530 ที่ปรึกษาประธานาธิบดีอควิโน และหัวหน้าผู้แทนรัฐบาลในการเจรจากับกลุ่มกบฎมุสลิม
• 2530 – 2535 ได้รับเลือกตั้งเป็นวุฒิสมาชิกแห่งสาธารณรัฐ
• 2538 มีการทุจริตการเลือกตั้ง และเขาถูกโกงชัยชนะ ต่อมาได้ยื่นเรื่องฟ้องร้องต่อศาลอาญาซึ่งคดียังอยู่
ระหว่างการไต่สวน
• 2541 – 2547 ได้รับเลือกตั้งเป็นวุฒิสมาชิกแห่งสาธารณรัฐ เขาปฏิบัติหน้าที่เพื่อควบคุมและขจัดการติดสินบน
และการคอรัปชั่นในรัฐบาล รวมถึงเรียกร้องการปฏิรูปการเลือกตั้ง และการลงโทษผู้ที่ทุจริตการเลือกตั้ง
• 2543 ได้รับเลือกเป็นประธานวุฒิสภา
• 2547 – 2553 ได้รับเลือกตั้งเป็นวุฒิสมาชิกแห่งสาธารณรัฐ
การถูกควบคุมตัวและจับกุมภายใต้กฎอัยการศึก
• 2516 ถูกควบคุมตัว 3 เดือน จากการต่อต้านรัฐธรรมนูญของรัฐบาลมาร์กอส
• 2521 ถูกควบคุมตัว 2 เดือน จากการเป็นผู้นำการประท้วงการเลือกตั้งชั่วคราวภายใต้ระบอบเผด็จการ
• 2526 ถูกควบคุมตัวในค่ายทหารและจำกัดบริเวณภายในบ้านพักนาน 7 เดือน จากข้อกล่าวหาว่าเป็นกบฏ
• ต่อมาถูกจับกุมที่เมืองคากายาน เด โอโร จากข้อกล่าวหาว่าอยู่เบื้องหลังการซุ่มโจมตีในเซบู ประชาชนร่วมกันบริจาคเงินคนละเล็กละน้อยเพื่อประกันตัวเขา
ประวัติการทำงาน
2503 – 2523 ทนายความ
2505 – 2510 คณบดี คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเซเวียร์
2518 – 2522 ศาสตราจารย์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยซาน เบดา
2520 – 2522 ศาสตรจารย์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทิร์น
หากต้องการทราบรายละเอียดเพิ่มเติมกรุณาติดต่อคุณเนาวรัตน์ เสือสอาด ผู้ประสานงานฝ่ายสื่อสารองค์กร โทรศัพท์ 089-922-9585 หรืออีเมล์ media@amnesty.or.th