28 ส.ค. 2558 กลุ่มเพื่อนนักวิชาการและบุคลากรทางการศึกษาหลากหลายสถาบัน 120 รายชื่อ ร่วมลงชื่อในแถลงการณ์ จากกรณีการคุกคามอาจารย์ประจำภาคประวัติศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม หลังได้ความคิดเห็นทางโซเชียลมีเดียในกรณีกิจกรรมรับน้องของคณะดุริยางคศิลป์ว่ามีลักษณะไม่เหมาะสม
แถลงการณ์ดังกล่าวรียกร้องให้ผู้บริหารมหาวิทยาลัยออกมาตรการปกป้องบุคลากร และระงับการคุกคามอาจารย์ดังกล่าวโดยเร็วที่สุด เพื่อรักษาบรรยากาศการแสดงความคิดเห็นอย่างสร้างสรรค์ภายในรั้วมหาวิทยาลัยซึ่งเป็นพื้นที่แลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์ และความคิดเห็นอย่างอิสระ
“ขอเรียกร้องให้สาธารณชนร่วมกันรักษาหลักเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นอย่างมีอารยะในสังคมไทย อันเป็นรากฐานสำคัญในการพัฒนาประชาธิปไตยต่อไป” แถลงการณ์ระบุ
ทั้งนี้ เนื้อหาของแถลงการณ์มีดังนี้
แถลงการณ์กลุ่มเพื่อนนักวิชาการและบุคลากรทางการศึกษา จากเหตุการณ์การคุกคาม ข่มขู่ต่ออาจารย์ท่านหนึ่งซึ่งแสดงความคิดเห็นและตั้งคำถามต่อแบบแผนการรับน้องในสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ การข่มขู่ดังกล่าว แสดงถึงความอาฆาตมาดร้าย มุ่งหวังในการทำร้ายร่างกายและการกระทำถึงแก่ชีวิต ท่ามกลางสถานการณ์ความตึงเครียดและความกังวลต่อสวัสดิภาพของผู้ถูกข่มขู่ สถาบันการศึกษา ซึ่งควรจะมีหน้าที่สำคัญในการรักษาและเคารพเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น และสนับสนุนการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นอย่างมีอารยะ กลับไม่แสดงบทบาทในการปกป้องหรือปรามการกระทำและพฤติกรรมที่สุ่มเสี่ยงต่อการคุกคามและการสร้างความรุนแรงดังที่เกิดขึ้น พวกเราในฐานะกลุ่มเพื่อนนักวิชาการและบุคลากรทางการศึกษา ขอยืนยันหลักการเรื่องเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นอย่างมีอารยะในสถาบันการศึกษา อันเป็นองค์ประกอบสำคัญในการผลิตความรู้และบุคลากรไปรับใช้สังคมในอนาคต ขอให้กำลังใจอาจารย์ผู้เป็นเหยื่อของสถานการณ์ดังกล่าว และขอเรียกร้องให้มหาวิทยาลัยมหาสารคามออกมาตรการปกป้องบุคลากร และระงับการคุกคามอาจารย์ดังกล่าวโดยเร็วที่สุด ทั้งนี้เพื่อรักษาบรรยากาศการแสดงความคิดเห็นอย่างสร้างสรรค์ภายในรั้วมหาวิทยาลัย อันเป็นสถานศึกษา แลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์ และความคิดเห็นอย่างอิสระ และขอเรียกร้องให้สาธารณชนร่วมกันรักษาหลักเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นอย่างมีอารยะในสังคมไทย อันเป็นรากฐานสำคัญในการพัฒนาประชาธิปไตยต่อไป 1. กนกรัตน์ เลิศชูสกุล รัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 2. กรพนัช ตั้งเขื่อนขันธ์ ภาควิชาปวศ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 3. กำพล จำปาพันธ์ นักศึกษาปริญญาเอก ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 4. กิตติกาญจน์ หาญกุล มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 5. เก่งกิจ กิติเรียงลาภ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 6. เกษียร เตชะพีระ คณะรัฐศาสตร์ ธรรมศาสตร์ 7. คารินา โชติรวี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 8. คู่บุญ จารุมณี วิทยาลัยการเมืองการปกครอง ม มหาสารคาม 9. ฆัสรา ขมะวรรณ มุกดาวิจิตร 10. จักรพันธุ์ ขัดชุ่มแสง มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 11. จักเรศ อิฐรัตน์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี 12. จันจิรา สมบัติพูนศิริ รัฐศาสตร์ ธรรมศาสตร์ 13. เจนวิทย์ เชื้อสาวะถี 14. ชนม์ธิดา อุ้ยกูล อาจารย์บรรยายพิเศษ โครงการวิเทศคดีศึกษา (อาเซียน-จีน) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 15. ชลิตา บัณฑุวงศ์ ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา คณะสังคมศาสตร์ ม.เกษตรศาสตร์ 16. ชัชฎา กำลังแพทย์ รัฐศาสตร์ ธรรมศาสตร์ 17. ชัยพงษ์ สำเนียง ม.เชียงใหม่ 18. ชัยพร สิงห์ดี ผู้ประสานหลักสูตร MAIDS จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 19. ชานันท์ ยอดหงษ์ ศิลปศาสตร์ ธรรมศาสตร์ 20. ชินทาโร ฮารา มอ ปัตตานี 21. ไชยณรงค์ เศรษฐเชื้อ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ม.มหาสารคาม 22. ซากีย์ พิทักษ์คุมพล นักศึกษาปริญญาเอก คณะสังคมวิทยามานุษยวิทยา ม.ธรรมศาสตร์ 23. ฐิติรัตน์ ทิพย์สัมฤทธิ์กุล นิติศาสตร์ ธรรมศาสตร์ 24. ฐิติรัตน์ สุวรรณสม มหาวิทยาลัยนเรศวร 25. ณฐิญาณ์ งามขำ อาจารย์ประจำหลักสูตรรัฐศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสวนดุสิด 26. ณรุจน์ วศินปิยมงคล คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี 27. ณัฐรุจ วงศ์ทางสวัสดิ์ นิสิตปริญญาเอก รัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 28. ณัฐวัฒน์ กฤตยานวัช มหาวิทยาลัยบูรพา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์ 29. ดวงมน จิตร์จำนงค์ 30. ดวงยิหวา อุตรสินธุ์ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี 31. ทศพร อังสาชน คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ม. ธรรมศาสตร์ 32. ทศพล ทรรศนกุลพันธ์ นิติศาสตร์ ม.ช. 33. ทับทิม ทับทิม 34. ทัศนัย เศรษฐเสรี สาขาสื่อศิลปะและการออกแบบสื่อ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 35. ทิวาพร จันทร์แก้ว คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ม.ราชภัฏสงขลา 36. เทียมสูรย์ สิริศรีศักดิ์ สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย มหาวิทยาลัยมหิดล 37. ธนนันท์ บุ่นวรรณา คณะมนุษย์ มข. 38. ธนพฤกษ์ ชามะรัตน์ สาขาวิชาพัฒนาสังคม ม.ขอนแก่น 39. ธนภาษ เดชพาวุฒิกุล สำนักวิชาศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ 40. ธนศักดิ์ สายจำปา สาขาวิชารัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช 41. ธเนศ อาภรณ์สุวรรณ ทยาลัยนานาชาติปรีดี พนมยงค์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 42. ธวัชชัย ป้องศรี วิทยาลัยการเมืองการปกครอง มหาวิทยาลัยมหาสารคาม 43. ธัญญธร สายปัญญา คณะรัฐศาสตร์ มอ ปัตตานี 44. ธาริตา อินทนาม ศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 45. ธิกานต์ ศรีนารา ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มศว 46. ธีรยุทธ์ บัวจันทร์ นักวิชาการอิสระ 47. ธีรวัฒน์ ขวัญใจ คณะนิติศาสตร์ ม.สงขลานครินทร์ 48. ธีระพล อันมัย มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี 49. นรุตม์ เจริญศรี รัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ เชียงใหม่ 50. นฤมล ทับจุมพล รัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 51. นวชนก วิเทศน์วิทยานุศาสตร์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์ 52. นาตยา อยู่คง อักษรศาสตร์ ศิลปากร 53. นิติ ภวัครพันธุ์ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 54. นิธิ เนื่องจำนงค์ มหาวิทยาลัยนเรศวร 55. บัณฑิต จันทรโรจนกิจ รัฐศาสตร์ รามคำแหง 56. บัณฑูร ราชมณี ศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 57. แบ๊งค์ งามอรุณโชติ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ศูนย์การศึกษาราชบุรี 58. ประกาศ สว่างโชติ ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทย์ฯ มอ 59. ประทับจิต นีละไพจิตร ประชาชน 60. ประภาศรี ดำสะอาด ศิลปศาสตร์ มหิดล 61. ประภาส ปิ่นตบแต่ง คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 62. ปราโมทย์ ระวิน 63. ปรีดี หงษ์สต้น ศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 64. ปวลักขิ์ สุรัสวดี ศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล 65. ปวินท์ ระมิงค์วงศ์ ม.พะเยา 66. ปองขวัญ สวัสดิภักดิ์ รัฐศาสตร์ ธรรมศาสตร์ 67. พงศกร สงวนศักดิ์ ม.เชียงใหม่ 68. พงษ์ศักดิ์ รัตนวงศ์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 69. พชรวรรณ บุญพร้อม ศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 70. พนิดา อนันตนาคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 71. พิชิต ลิขิตกิจสมบูรณ์ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 72. พิพัฒน์ กระแจะจันทร์ ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 73. พิสิษฏ์ นาสี ม.เชียงใหม่ 74. เพ็ญศรี พานิช สำนักวิชาศิลปศาสตร์ ม.วลัยลักษณ์ 75. แพร จิตติพลังศรี อักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 76. ภาณุวัฒน์ พันธุ์ประเสริฐ คณะรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ ม.เชียงใหม่ 77. ภาสกร อินทรุมาน สังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหิดล 78. มนตรา พงษ์นิล คณะรัฐศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา 79. มรกตวงศ์ ภูมิพลับ คณะศิลปศาสตร์ ธรรมศาสตร์ 80. มิ่ง ปัญหา ศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 81. เมธาวี โหละสุต ศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 82. เยาวนิจ กิตติธรกุล สถาบันทรัพยากรทะเลและชายฝั่ง ม.สงขลานครินทร์ 83. รัฐพงศ์ ภิญโญโสภณ คณะนิเทศศาสตร์ ม.กรุงเทพ 84. วรรณศรณ์ เครือหงส์ อาจารย์พิเศษคณะนิเทศศาสตร์/นักวิชาการอิสระ 85. วริตตา ศรีรัตนา คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 86. วศิน โกมุท มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี 87. วันรัก สุวรรณวัฒนา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 88. วิชุลดา พิไลพันธ์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี 89. วิโรจน์ อาลี รัฐศาสตร์ มธ 90. ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ ภาควิชาสื่อ ศิลปะ และการออกแบบ คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 91. ศุภร ชูทรงเดช มัณฑนศิลป์ ศิลปากร 92. สมนึก จงมีวศิน วิทยาลัยนานาชาติ ศิลปากร 93. สมัคร์ กอเซ็ม ศูนย์อาเซียนศึกษา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 94. สร้อยมาศ รุ่งมณี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 95. สังกมา สารวัตร คณะเทคโนโลยี สาคสนเทศ และการสื่อสาร ม.ศิลปากร 96. สายฝน สิทธิมงคล คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มอปัตตานี 97. สิทธารถ ศรีโคตร ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิยาลัยเกษตรศาสตร์ 98. สุเจน กรรพฤทธิ์ 99. สุชาติ เศรษฐมาลินี มหาวิทยาลัยพายัพ 100. สุธิดา วิมุตติโกศล ศิลปศาสตร์ มธ 101. สุรดา จุนทะสุตธนกุล อาจารย์ประจำหลักสูตรรัฐศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต 102. สุรัยยา สุไลมาน คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มอ ปัตตานี 103. สุรางค์รัตน์ จําเนียรพล สถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 104. สุไรนี สายนุ้ย คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี 105. เสาวนีย์ ตรีรัตน์ อเลกซานเดอร์ ศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี 106. อนรรฆ พิทักษ์ธานิน นักวิชาการอิสระ 107. อนุสรณ์ อุณโณ คณะสังคมวิทยาและมนุษยวิทยา มธ 108. อรชา รักดี คณะรัฐศาสตร์ มอ ปัตตานี 109. อรอนงค์ ทิพย์พิมล คณะศิลปศาสตร์ ธรรมศาสตร์ 110. อรัญญา ศิริผล มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 111. อรุณี สัณฐิติวณิชย์ ม.อุบลราชธานี 112. อสมา มังกรชัย คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี 113. อัจจิมา แสงรัตน์ คณะมนุษยและสังคมศาสตร์ ม.มหาสารคาม 114. อันธิฌา แสงชัย คณะมนุษยศาสตร์ ม.อ.ปัตตานี 115. อาทร นกแก้ว สถาบันนวัตกรรมการเรียนรู้ มหาวิทยาลัยมหิดล 116. อาทิตย์ ศรีจันทร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร 117. อาภา หวังเกียรติ มหาวิทยาลัยรังสิต 118. อิสระ ชูศรี สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย มหาวิทยาลัยมหิดล 119. อิสราภรณ์ พิศสะอาด มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 120. อุบลวรรณ มูลกัณฑา มหาวิทยาลัยกรุงเทพ |