เครือข่ายอีสานชูเกษตรทางเลือก ทางรอดเกษตรกรไทย

เครือข่ายอีสานชูเกษตรทางเลือก ทางรอดเกษตรกรไทย

นายพราวุฒิ ไวรวัจนกุล เครือข่ายแม่น้ำเสรีเปิดเผยว่า เกือบ 90 % ของกลุ่มเกษตรกรใช้ปุ๋ยเคมีทำการเกษตร ซึ่งเกษตรเคมีต้องใช้ต้นทุนมาก ส่งผลให้เกษตรกรเป็นหนี้ทั้งในและนอกระบบ และทำให้เสียความสมดุลของระบบนิเวศน์ เดิมที่เคยปลูกพืชเพื่อความมั่นคงทางอาหารเปลี่ยนเป็นการปลูกพืชพลังงานหมุนเวียน ทำให้พื้นที่ทางความมั่นคงทางอาหารลดน้อยลง
                “ปัจจุบันเกษตรกรหันมาปลูกพืชพลังงานหมุนเวียน เช่น อ้อย มันสำปะหลัง ยางพารา เป็นจำนวนมาก และใช้สารเคมีในการทำการเกษตรมากขึ้น เนื่องจากสะดวกสบายมากกว่าการใช้ปุ๋ยเคมี ทางเครือข่ายจึงมีโครงการสนับสนุนให้ชุมชนทำการเกษตรพอเพียง หรือเกษตรอินทรีย์ เพื่อมุ่งไปสู่ความมั่นคงทางอาหาร” นายพราวุฒิกล่าว
ทั้งนี้  องค์ประกอบเกษตรอินทรีย์ ได้แก่ 1.พอเพียง หมายถึงการปลูกพืชแบบยั่งยืน ไม่มุ่งตอบสนองการส่งออก 2.อาหารปลอดภัย ไม่มีสารพิษตกค้างก่อให้เกิดอันตรายต่อผู้บริโภค  3.สิทธิการเข้าถึงพื้นที่ในการปลูกพืชอย่างเป็นธรรม   4.ส่งเสริมให้เกิดการผลิตและการบริโภค พร้อมทั้งขยายโครงการให้ชุมชนเผยแพร่ความรู้ไปยังอีกชุมชนหนึ่ง โดยเรียนรู้ด้วยตนเอง ไม่เบียดเบียนธรรมชาติ สร้างความสมดุลให้ระบบนิเวศ

author

ปฏิทินกิจกรรม EVENT CALENDAR

เข้าสู่ระบบ