เครือข่ายนักวิชาการเพื่อสิทธิพลเมือง ยื่นหนังสือเรียกร้อง ‘ยูเอ็น’ สอบข้อเท็จจริง-จี้ยุติการละเมิดสิทธิผู้เห็นต่างจาก รัฐบาล-คสช. ‘อนุสรณ์’ เผย ‘ยูเอ็น’ เตรียมยกระดับกดดัน พร้อมหาแนวทางให้ผู้มีอำนาจมาพบปะกับนักวิชาการ
5 พ.ค. 2559 เวลา 10.00 น. เครือข่ายนักวิชาการเพื่อสิทธิพลเมือง อนุสรณ์ อุณโณ คณบดีคณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พร้อมด้วยพิชิต ลิขิตกิจสมบูรณ์ อาจารย์คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ชลิตา บัณฑุวงศ์ อาจารย์คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ศรีประภา เพชรมีศรี อาจารย์ประจำศูนย์สิทธิมนุษยชนศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล และคมกฤช อุ่ยเต็กเค่ง อาจารย์ภาควิชาปรัชญา มหาวิทยาลัยศิลปากร เข้าพบและยื่นจดหมายถึงผู้แทนภูมิภาคสำนักข้าหลวงใหญ่สิทธิมนุษยชนสหประชาชาติ (OHCHR) ที่อาคารสหประชาชาติ ถ.ราชดำเนิน
เพื่อร้องเรียนต่อสำนักงานข้าหลวงใหญ่ฯ ให้ช่วยดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงในกรณีการละเมิดสิทธิมนุษยชน โดยเฉพาะสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง ในกรณีการจับกุมคุมขังประชาชน 8 คน ในเช้ามืดวันที่ 27 เม.ย.2559 คน โดยกระบวนการที่ไม่ถูกต้องและมีการตั้งข้อหาร้ายแรงต่อมาในภายหลัง ตลอดจนขอให้สำนักงานข้าหลวงใหญ่ฯ แสดงท่าทีไปยังรัฐบาลเผด็จการทหาร เพื่อให้ยุติการละเมิดสิทธิมนุษยชนในกรณีต่างๆ โดยเร็ว
เพจเซฟบุ๊ก เครือข่ายนักวิชาการเพื่อสิทธิพลเมือง ระบุว่า ได้หารือกันผู้แทนภูมิภาคสำนักข้าหลวงใหญ่สิทธิมนุษยชนสหประชาชาติ ถึงสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศไทยปัจจุบัน โดยเฉพาะการละเมิดสิทธิในการแสดงความคิดเห็นของประชาชน การคุกคามเสรีภาพทางวิชาการ การจำกัดการแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการลงประชามติ รวมทั้งแสดงความห่วงใยต่อกรณีการจับกุมแอดมินเพจล้อเลียนผู้นำ คสช. 8 ในการประชุมได้กำหนดทิศทางการทำงานร่วมกันระหว่างเครือข่ายฯ กับ OHCHR หลายแนวทาง เช่น จัดประชุมร่วมกัน
ด้านมติชนออนไลน์รายงานว่า นายอนุสรณ์ กล่าวภายหลังการพูดคุย ว่า ได้หารือแนวทางสิทธิการแสดงออก สิทธิมนุษยชน และประชามติ ในทางที่ชอบธรรม ซึ่งยูเอ็นมีความห่วงใยและติดตามสถานการณ์กลุ่มชุมนุมต่างๆ โดยส่งเจ้าหน้าที่สอบถามทหารและตำรวจระดับปฏิบัติการ และทำตามคำสั่งสถานการณ์พิเศษทำให้ไทยไม่สามารถดำเนินการตามสัตยาบรรณ
ทั้งนี้ ทางยูเอ็นมีแนวทางหลัก 2 แนวทาง คือ ยกระดับการพูดคุยในประเด็นดังกล่าวกับเจ้าหน้าที่ไทยให้สูงขึ้น และยกระดับไปที่สำนักงานข้าหลวงใหญ่ที่กรุงเจนิวา เพื่อให้เกิดความกดดันกับเจ้าหน้าที่ไทยอีกหนึ่งช่องทาง พร้อมทั้งหาแนวทางให้เจ้าหน้าที่ฝ่ายไทยในระดับนโยบายมาพบปะพูดคุยกับนักวิชาการมากขึ้น โดยเน้นเรื่องเรื่องเสรีภาพทางวิชาการ ความคิดเห็น และการลงประชามติ ซึ่งจะมีการพูดกับทางคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) เพราะที่ผ่านมานักวิชาการไม่เคยได้มีโอกาสในการพูดคุยกับบุคคลในระดับนโยบาย โดยลักษณะพูดคุยจะเป็นกิจกรรมแบบปิด แต่ส่วนใหญ่จะถูกเรียกตัวเข้าข่ายเพื่อปรับทัศนคติ
เนื้อหาจดหมายภาษาไทยและภาษาอังกฤษของเครือข่ายนักวิชาการเพื่อสิทธิมนุษยชน ถึงสำนักงานข้าหลวงใหญ่เพื่อสิทธิมนุษยชนแห่งองค์การสหประชาชาติ เรื่องการละเมิดสิทธิมนุษยชนต่อผู้ที่คิดเห็นต่างจากรัฐบาล คสช. มีรายละเอียด ดังนี้
วันที่ 5 พฤษภาคม 2559 เรียน เรื่อง การละเมิดสิทธิมนุษยชนต่อผู้ที่คิดเห็นต่างจากรัฐบาล คสช. ภายใต้การปกครองโดยรัฐบาลเผด็จการทหารหรือคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ (คสช.) ได้มีการละเมิดสิทธิมนุษยชนต่อประชาชนผู้มีความคิดเห็นต่างจากรัฐบาลอย่างต่อเนื่อง โดยอาศัยอำนาจที่ไร้ขอบเขตซึ่งละเมิดหลักการทั้งปวงในกระบวนการยุติธรรมจากมาตรา 44 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ฉบับชั่วคราว พุทธศักราช 2557 และจากคำสั่ง คสช. 3/2558 และ 13/2559 ที่ผ่านมามีประชาชนต่างขั้วการเมืองถูกบุกเข้าจับกุมตัวและซ้อมทรมาน ขณะที่ประชาชนทั่วไปอีกจำนวนมาก รวมถึงนิสิตนักศึกษา นักวิชาการ สื่อมวลชน นักกิจกรรมทางสังคม และนักการเมือง ต่างก็ถูกข่มขู่คุกคามในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่งจากการแสดงความเห็นวิพากษ์วิจารณ์รัฐบาลและ คสช. ไม่ว่าจะเป็นการเรียกตัวเข้าค่ายทหารเพื่อเข้าสู่กระบวนการ “ปรับทัศนคติ” การส่งเจ้าหน้าที่ไปจับตาติดตามชีวิตประจำวัน การส่งทหารไปข่มขู่ญาติพี่น้อง การสร้างแรงกดดันผ่านหน่วยงาน/องค์กรที่พวกเขาทำงานอยู่ การยุยงปลุกปั่นของผู้นำรัฐบาลผ่านสื่อของรัฐให้ประชาชนอื่นๆ เกิดความเกลียดชังผู้เห็นต่าง การละเมิดข้อมูลส่วนตัวของบุคคลในระบบคอมพิวเตอร์ รวมทั้งการแจ้งความดำเนินคดีผู้เห็นต่างด้วยข้อกฎหมายที่รุนแรงต่างๆ การละเมิด การควบคุม และการจำกัดสิทธิเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นทวีความเข้มข้นและรุนแรงมากขึ้นในช่วงเวลาของการเตรียมการเพื่อลงประชามติร่างรัฐธรรมนูญ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเช้ามืดวันที่ 27 เมษายน 2559 กองกำลังทหารได้บุกเข้าจับกุมผู้ดูแลเพจเฟซบุ๊กที่ล้อเลียนผู้นำ คสช. และจับกุมผู้เกี่ยวข้องอื่นๆ รวม 8 ราย ที่จังหวัดขอนแก่นและกรุงเทพฯ โดยได้ตรวจรื้อค้นและยึดทรัพย์สินส่วนตัวโดยไม่มีหมายศาล แล้วนำตัวมากักขังไว้ที่มณฑลทหารบกที่ 11 จนกระทั่งวันรุ่งขึ้นศาลทหารจึงได้ออกหมายจับในความผิดนำเข้าข้อมูลอันเป็นเท็จ ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ และความผิดฐานสร้างความปั่นป่วนกระด้างกระเดื่องในหมู่ประชาชนตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 116 ยิ่งกว่านั้น ผู้ถูกจับกุมสองคนยังได้รับแจ้งข้อกล่าวหาเพิ่มในความผิดฐานหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 อีกด้วย การกระทำดังกล่าวของรัฐบาลทหารถือว่าเกินกว่าเหตุ ทั้งนี้ หากการล้อเลียนดังกล่าวมีเนื้อหาดูหมิ่นด้วยความข้อความอันเป็นเท็จ พลเอกประยุทธ์ก็สามารถฟ้องร้องเอาผิดฐานหมิ่นประมาทได้ โดยไม่จำเป็นที่จะต้องดำเนินคดีด้วยข้อกฎหมายที่มีบทลงโทษร้ายแรงในฐานะที่เป็น “ความผิดต่อความมั่นคงของรัฐ” นอกจากนั้น วิธีการที่เจ้าหน้าที่กระทำต่อผู้ถูกจับกุมทั้ง 8 คนยังเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างชัดแจ้ง ถือเป็นลักพาตัวบุคคลไปในสถานที่ที่ไม่ระบุเพื่อบังคับเอาข้อมูลเป็นเวลากว่า 24 ชั่วโมง จากนั้นจึงค่อยมีหมายศาลทหารแล้วนำฟ้อง อีกทั้งการขอประกันตัวในชั้นศาลทหารก็ถูกปฏิเสธ กระทั่งพวกเขาถูกส่งตัวไปคุมขังในเรือนจำพิเศษกรุงเทพในที่สุด ขณะที่การเพิ่มความผิดตามมาตรา 112 ก็มีข้อสงสัยว่า ได้มาจากการบีบบังคับเอาข้อมูลส่วนตัวจากคอมพิวเตอร์ของผู้ถูกจับกุมก่อนการมีหมายศาลและโดยไม่มีทนายปรึกษา ซึ่งไม่เป็นไปตามขั้นตอนทางกฎหมายอีกด้วย นอกจากนี้ ปัจจุบันรัฐบาลทหารยังปิดกั้นการแสดงความเห็นที่วิจารณ์ร่างรัฐธรรมนูญอย่างเข้มงวด ทั้งโดยการออกข้อกำหนดที่จำกัดเสรีภาพในการแสดงความเห็นเกี่ยวกับร่างรัฐธรรมนูญและในการรณรงค์เรื่องการลงประชามติ และโดยการข่มขู่คุกคามผู้ที่ออกมาแสดงความเห็นค้านร่างรัฐธรรมนูญ อันส่งผลให้ไม่อาจมีการอภิปรายเกี่ยวกับเนื้อหาร่างรัฐธรรมนูญได้อย่างรอบด้านในพื้นที่สาธารณะ อันจะมีนัยยะสำคัญอย่างยิ่งต่อการลงประชามติร่างรัฐธรรมนูญในเดือนสิงหาคมที่จะถึงนี้ เครือข่ายนักวิชาการเพื่อสิทธิพลเมืองเห็นว่ากรณีการจับกุมคุมขังประชาชนทั้ง 8 คน เป็นจุดเริ่มต้นของการกวาดล้างผู้ที่มีความคิดเห็นต่างจากรัฐบาล คสช. อย่างเข้มข้นระลอกใหม่ เป็นการสร้างบรรยากาศของความกดดันและหวาดกลัวให้เกิดขึ้นอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน เมื่อผนวกกับบริบทเรื่องความพยายามของรัฐบาลที่จะผลักดันร่างรัฐธรรมนูญให้ผ่านประชามติโดยการจำกัดสิทธิในการแสดงความเห็นต่างต่อร่างรัฐธรรมนูญ เครือข่ายฯ จึงมีความกังวลอย่างยิ่งถึงสถานการณ์การละเมิดสิทธิมนุษยชนโดยเฉพาะสิทธิทางพลเมืองและสิทธิทางการเมืองในปัจจุบัน เครือข่ายฯ จึงขอร้องเรียนต่อสำนักงานข้าหลวงใหญ่ฯ ให้ช่วยดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงในกรณีดังกล่าว เพื่อให้เห็นว่ารัฐบาลทหารได้มีการละเมิดสิทธิมนุษยชนต่อผู้ถูกจับกุมทั้ง 8 คนอย่างไร ตลอดจนขอให้สำนักงานข้าหลวงใหญ่ฯ แสดงท่าทีไปยังรัฐบาลเผด็จการทหาร เพื่อให้ยุติการละเมิดสิทธิมนุษยชนในกรณีดังกล่าวและในกรณีอื่นๆ โดยเร็ว จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณา |
000
May 5, 2016 Re: Human Rights Violations Against Citizens Dissenting from the NCPO Government The National Council for Peace and Order (NCPO) and the military government have continually violated human rights against citizens who dissent from them, using the unlimited power under Article 44 of the 2014 interim Constitution of the Kingdom of Thailand and the NCPO Orders 3/2015 and 13/2016. Over time, political dissenters have faced arrest, abduction and torture while a large number of people, including university students, academics, journalists, social activists and politicians have faced constant threats and harassment in various forms for criticizing the military government and the NCPO. Such forms of harassment include summon people to military camps for “attitude adjustment,” monitor people’s daily lives, threaten people’s relatives and family members, and put pressure on agencies or organizations people work for or are affiliated with. Other forms of harassment include the use of state media to incite hatred towards those with differing opinions, intrusion into personal data on computer files and systems, and filing complaints against those expressing differing opinions with harsh laws. Such violation, control and curtailing of rights and freedom of expression have intensified during the time when the country is preparing for the draft constitution referendum. In the early morning of April 27, 2016 soldiers abducted eight Facebook managers and others, allegedly involved with online posts which mock the junta chief, in Khon Kaen and Bangkok. Along with the round-up, the abducted were subjected to searches and had personal belongings confiscated without a warrant before being taken into custody at the 11th Military Circle. The Military Court in the following day then issued an arrest warrant on charges of using false information and breaching the Computer Crime Act as well as being guilty of sedition under Article 116. Moreover, two of them have been further charged with royal defamation as stipulated by Article 112. Such actions of the military government are excessive. If the mockery is an insult using false information, General Prayut could take legal action for defamation without having to resort to harsh punishments for “violations of state security.” Moreover, the means in which state authorities have treated the accused are violations of human rights since they involve abductions of persons and taking them into custody at undisclosed locations to extract information for more than 24 hours before martial court’s warrants were issued and the legal proceedings against them instituted. The accused have also been denied bail and then were sent for detention at the Bangkok Remand Prison. Two of them have been charged with lese majeste. But the use of their personal information from computers against them before a court warrant was issued and without an assigned lawyer goes against legal procedures. In addition, the military government hinders the citizens’ rights to criticize the draft constitution by issuing rules and regulations which limit freedom of expression over the draft constitution and the referendum and by threatening those who openly voice out their opposition to the draft constitution. The well-rounded, public debates on the draft constitution then cannot occur, and this will yield negative effects on the draft constitution referendum to be held in this coming August. Thai Academic Network for Civil Rights (TANC) views the arrest and incarceration of these eight citizens as the beginning of a new round of intensive wipe out of those dissenting from the military government and the NCPO. Such actions created an unprecedented horrific atmosphere. When combined with the military government and the NCPO’s attempts to get the draft constitution pass the referendum by curtailing citizen’s rights to express differing opinions on the draft constitution, they brought a grave concern to the TANC because Thai citizens’ civil and political rights are under jeopardy. The TANC then file this petition to the United Nations Office of the High Commissioner for Human Rights in hope that it would investigate the aforementioned cases and make the world know how shamelessly the military government and the NCPO have violated basic human rights of these eight citizens and other dissidents. We strongly urge the United Nations Office of the High Commissioner for Human Rights to take a firm stance against the military government and the NCPO to help put an immediate end to the atrocious violations of human rights in Thailand. We write this with the sincere appeal for the Commissioner’s full consideration, Thai Academic Network for Civil Rights (TANC) |
รายงานข้อมูลจากเพจเฟซบุ๊ก เครือข่ายนักวิชาการเพื่อสิทธิพลเมือง
รายงานข้อมูลจากเพจเฟซบุ๊ก UN Human Rights – Asia