เครือข่ายชนเผ่าชาติพันธุ์ถกแนวคิดร่วมปฏิรูปประเทศไทย

เครือข่ายชนเผ่าชาติพันธุ์ถกแนวคิดร่วมปฏิรูปประเทศไทย

             องค์กรเครือข่ายชนเผ่าชาติพันธ์   ร่วมกันถกร่วมกับองค์กรพัฒนาเอกชนที่ทำงานกับชนเผ่าพื้นเมือง เรื่อง “แนวคิดและรูปธรรมของการจัดการตนเองและการมีส่วนร่วมปฏิรูปประเทศไทย”

             

              วันนี้ (13 มกราคม 2557) ที่จังหวัดเชียงใหม่ กลุ่ม ภาคีองค์กรเครือข่ายชนเผ่าชาติพันธ์    ซึ่งประกอบด้วย   มูลนิธิไทย-ลาหู่  ,มูลนิธิเศรษฐศาสตร์เพื่อการพัฒนา ,มูลนิธิชนเผ่าพื้นเมืองเพื่อการศึกษาและสิ่งแวดล้อม (IPF) ,มูลนิธิภูมิปัญญาชนเผ่าพื้นเมืองบนพื้นที่สูง (IKAP),มูลนิธิพัฒนาชุมชนและเขตภูเขา (พชภ.)   และ สมาคมศูนย์รวมการศึกษาและวัฒนธรรมของชาวไทยภูเขาในประเทศไทย (IMPECT)   ร่วมกันจัดประชุมปฏิบัติการองค์กรพัฒนาเอกชนที่ทำงานกับชนเผ่าพื้นเมือง เพื่อหารือถึง “แนวคิดและรูปธรรมของการจัดการตนเองและการมีส่วนร่วมปฏิรูปประเทศไทย”  ณ   ศูนย์ฝึกอบรมงานพัฒนาชาวไทยภูเขา  สมาคมศูนย์รวมการศึกษาและวัฒนธรรมของชาวไทยภูเขาในประเทศไทย (ศ.ว.ท./IMPECT) ต.สันทรายน้อย อ.สันทราย จ.เชียงใหม่  เพื่อเป็นเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้และระดมความคิดเห็นในประเด็น “การจัดการตนเอง”และแสวงหาแนวทางการมีส่วนร่วมในการปฏิรูปประเทศไทย

           กลุ่มองค์กรเครือข่ายชนเผ่าชาติพันธุ์มองว่า ความไม่สงบทางการเมืองที่เกิดขึ้นในประเทศไทยอย่างต่อเนื่องนั้น  เกิดจากวิกฤติปัญหาที่ซับซ้อนในทุก ๆ ด้าน ที่เชื่อมโยงทั้งระบบการเมือง การปกครอง เศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม และสังคม ที่มีมายาวนาน  ดังนั้น ภายใต้ภาวะวิกฤติของการเมืองในขณะนี้ จึงเป็นโอกาสที่สังคมไทยทั้งมวล จักได้ร่วมกันระดมความคิดในการหาทางออกเพื่อแก้ปัญหาประเทศไทยในเชิงโครงสร้างอย่างยั่งยืน  โดยการมาร่วมกันปฏิรูปประเทศไทย  ที่มีเป้าหมายร่วม คือ การสร้างความเป็นธรรม เพื่อลดความเหลื่อมล้ำในสังคม ที่คำนึงถึงให้ความพร้อมของสังคมในการรับมือกับการเปลี่ยนแปลง การเชื่อมประสานกับทุกภาคส่วนที่เป็นแรงขับเคลื่อนของสังคม และการเสริมอำนาจของประชาชนที่ยังไม่ได้รับความเป็นธรรม ด้วย 

                    ในส่วนชนเผ่าพื้นเมือง เป็นกลุ่มประชากรชายขอบที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤตการณ์ดังกล่าวด้วย จึงถือเป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกับการปฏิรูปประเทศไทยเป็นอย่างยิ่ง  ถึงแม้ว่าในอดีตนั้น ชนเผ่าพื้นเมืองมีโครงสร้างทางวัฒนธรรม  ระบบการเมืองและการปกครองตามจารีตประเพณีที่สอดคล้องกับวิถีชีวิตและมีส่วนร่วมของประชาชนโดยตรง  จึงสามารถดำรงอัตลักษณ์และคุณค่าทางวัฒนธรรมตนเองได้เป็นอย่างดี  แต่ปัจจุบันกลไกหรือโครงสร้างตามประเพณีอ่อนแอ  นโยบายและปัจจัยแวดล้อมต่าง ๆ ได้สร้างปัญหาและความไม่เป็นธรรมให้กับชนเผ่าพื้นเมืองมากมาย     

                 โดยการแลกเปลี่ยน“แนวคิดและรูปธรรมของการจัดการตนเองและการมีส่วนร่วมปฏิรูปประเทศไทย” ครั้งนี้มีการปาฐกถาพิเศษ เรื่อง “ชนเผ่าพื้นเมืองกับการจัดการตนเองและการมีส่วนร่วมในกระบวนการปฏิรูปประเทศไทย” โดย อาจารย์อเนก  นาคะบุตร   มีการอภิปรายและแลกเปลี่ยนมุมมองเชิงวิเคราะห์ต่อประเด็น “แนวคิดและประสบการณ์เกี่ยวกับการจัดการตนเองของภาคประชาชน”       มีการอภิปรายและแลกเปลี่ยนมุมมอง ในเรื่อง “สถานการณ์วิกฤติการเมืองไทยกับกระบวนการปฏิรูปประเทศไทย ที่เห็นตัวตนและการมีส่วนร่วมของชนเผ่าพื้นเมือง”   มีการแบ่งกลุ่มระดมความคิดเห็นและนำเสนอ “แนวทางการจัดทำข้อเสนอเชิงนโยบายและการเสริมสร้างความเข้มแข็งขององค์กรและเครือข่ายชนเผ่าพื้นเมืองในประเทศไทย”  และ “แผนความร่วมมือในการประสานงานและสนับสนุนขบวนชนเผ่าพื้นเมืองกับการปฏิบัติการในการจัดการตนเองและร่วมปฏิรูปประเทศไทย”

                                 

                                                            กำหนดการ

                         13 มกราคม 2557          (พิธีกรประจำวัน: คุณวิไลลักษณ์  เยอเบาะ)

07.30-09.00 น.             ลงทะเบียน

09.00-09.10 น.             กล่าวต้อนรับและเปิดประชุม  โดย ดร.ประเสริฐ  ตระการศุภกร (นายกสมาคม IMPECT)

09.10-09.20 น.             ชี้แจงวัตถุประสงค์และกำหนดการ โดย คุณประแสง  ณ คีรี  (ผอ.มูลนิธิไทย-ลาหู่)

09.20-10.00 น.             ปาฐกถาพิเศษ เรื่อง “ชนเผ่าพื้นเมืองกับการจัดการตนเองและการมีส่วนร่วมในกระบวนการปฏิรูปประเทศไทย” โดย อาจารย์อเนก  นาคะบุตร

10.00-10.15 น.             พัก รับประทานอาหารว่าง

10.15-12.30 น.             อภิปรายและแลกเปลี่ยนมุมมองเชิงวิเคราะห์ต่อประเด็น “แนวคิดและประสบการณ์เกี่ยวกับการจัดการตนเองของภาคประชาชน”

วิทยากรร่วมอภิปราย

1.         (แกนนำสตรีชนเผ่าพื้นเมือง)

2.         คุณสสาร  สว่างสู่กูล (แกนนำเยาวชนชนเผ่าพื้นเมือง)

3.         พ่อหลวงจอนิ  โอ่โดเชา (ปราชญ์ชนเผ่าพื้นเมือง)

4.         กำนันอนันต์ ดวงแก้วเรือน (ประธานสถาบันพัฒนาทรัพยากรและเกษตรกรรมยั่งยืนแม่ทา)

                         ดำเนินรายการโดย คุณสุพจน์  หลี่จา

12.00 –13.00 น.           พัก รับประทานอาหารกลางวัน

13.00 –14.30 น.           อภิปรายและแลกเปลี่ยนมุมมอง ในเรื่อง “สถานการณ์วิกฤติการเมืองไทยกับกระบวนการปฏิรูปประเทศไทย ที่เห็นตัวตนและการมีส่วนร่วมของชนเผ่าพื้นเมือง” 

                                วิทยากรร่วมอภิปราย

                               1.         ดร.ทรงวิทย์ เชื่อมสกุล

                               2.         อ.ไพสิฐ  พาณิชย์กุล

                               3.         คุณชัชวาลย์  ทองดีเลิศ

                               4.         คุณสุมิตรชัย หัตถสาร

                                 ดำเนินรายการโดย  คุณดิเรก  เครือจินลิ

14.30 – 14.45 น.          พัก รับประทานอาหารว่าง

14.45 – 17.00 น.          แบ่งกลุ่มย่อย ประชุมในหัวข้อ “บทบาทขององค์กรพัฒนาเอกชน (อพช.) ต่อการหนุนเสริมความเข้มแข็งของขบวนชนเผ่าพื้นเมืองในประเทศไทย”

                                    ดำเนินรายการโดย คุณกิตติศักดิ์  รัตนะกระจ่างศรี

 

                                   14 มกราคม 2557  (พิธีกรประจำวัน โดย คุณอุดม  เจริญนิยมไพร)

08.45-09.00 น.             ทบทวนสรุปงานผลการประชุมในวันแรก โดย คุณศักดิ์ดา  แสนมี่

09.00-10.15 น.             นำเสนอผลการประชุมกลุ่มย่อย (โดยผู้แทนกลุ่มย่อย) และแลกเปลี่ยนเพิ่มเติม

                                  ดำเนินรายการโดย คุณกิตติศักดิ์  รัตนะกระจ่างศรี

10.15-10.30 น.             พัก รับประทานอาหารว่าง

10.30-11.00 น.             นำเสนอและแลกเปลี่ยน “แนวทางการจัดทำข้อเสนอเชิงนโยบายและการเสริมสร้างความเข้มแข็งขององค์กรและเครือข่ายชนเผ่าพื้นเมืองในประเทศไทย”

                                  โดย คุณนิตยา  เอียการนา

11.00-12.00 น.             อภิปรายและแลกเปลี่ยนร่วมเกี่ยวกับ “แผนความร่วมมือในการประสานงานและสนับสนุนขบวนชนเผ่าพื้นเมืองกับการปฏิบัติการในการจัดการตนเองและร่วมปฏิรูปประเทศไทย”

                                  ดำเนินรายการโดย คุณณธรรม เบญจวิทยาธรรม

12.00 – 12.20 น.          ประมวลสรุปผลการประชุม โดย อาจารย์ชูพินิจ  เกษมณี

12.20 – 12.30 น.          กล่าวปิดประชุม  โดย คุณเตือนใจ  ดีเทศน์ หรือ คุณสีวิกา  กิตติยังกุล

12.30 – 13.30 น.           พัก รับประทานอาหารกลางวัน

13.30 น. เป็นต้นไป        เดินทางกลับภูมิลำเนาโดยสวัสดิภาพ

 

               

 

ภาพประกอบจาก งานมหกรรมชนเผ่าพื้นเมืองโลก โดย อัจฉราวดี บัวคลี่

author

ปฏิทินกิจกรรม EVENT CALENDAR

เข้าสู่ระบบ