ออนซอนป่าทามมูน 5-15 เมษายน 2554

ออนซอนป่าทามมูน 5-15 เมษายน 2554

สัมมนา
ประสบการณ์การอนุรักษ์ฟื้นฟูป่าบุ่งป่าทามภาคอีสาน
๕-๖ เมษายน ๒๕๕๔
ณ ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงทามมูล อ.ราษีไศล จ.ศรีสะเกษ

ป่าบุ่งป่าทาม หรือ ป่าทาม ซึ่งนับเป็นพื้นที่ชุ่มน้ำประเภทหนึ่ง เป็นพื้นที่ที่มีบทบาทสำคัญในระบบนิเวศภาคอีสานและเป็นแหล่งความมั่นคงทางอาหาร เป็นฐานเศรษฐกิจสำคัญของชุมชน  เป็นแหล่งก่อกำเนิดวิถีวัฒนธรรมท้องถิ่นที่มีเอกลักษณ์  ปัจจุบันนี้ถือว่าคนทั่วไปเริ่มรู้จักและให้ความสนใจพื้นที่นี้มากขึ้นมากขึ้น ภายใต้การทำงานผลักดันและรณรงค์อย่างต่อเนื่องของเครือข่ายชุมชนลุ่มน้ำต่างๆ องค์กรพัฒนาเอกชน สถาบันทางวิชาการ นักเขียน หน่วยงานภาครัฐระดับท้องถิ่นและส่วนกลาง โดยการสร้างองค์ความรู้ กระบวนการเรียนรู้ เพื่อนำไปสู่การอนุรักษ์ฟื้นฟูป่าทามอย่างเป็นรูปธรรม เช่น การดูแลป่าทามในรูปแบบป่าชุมชน การเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ของป่าโดยการปลูกต้นไม้ การคุ้มครองพื้นที่ให้มีการฟื้นตัวตามธรรมชาติ การสร้างกฎระเบียบไม่ให้มีการใช้ประโยชน์อย่างล้างผลาญ การส่งเสริมอาชีพที่สอดคล้องกับระบบนิเวศป่าทาม การจัดการแหล่งน้ำขนาดเล็กระดับชุมชน การสร้างหลักสูตรท้องถิ่นในโรงเรียน การรณรงค์สร้างจิตสำนึกของท้องถิ่นอย่างต่อเนือง และความพยายามผลักดันให้มีการประกาศให้เป็นเขตคุ้มครองตามกฎหมายในหลายพื้นที่

 มีประชาชนไม่ต่ำกว่า ๑๐ ล้านคนที่พึ่งพาเกี่ยวข้องกับพื้นที่ป่าบุ่งป่าทามในลุ่มน้ำมูน ลุ่มน้ำชี ลุ่มน้ำสงคราม ลุ่มน้ำโขงตอนล่าง ซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีความสำคัญต่อความอุดมสมบูรณ์ของระบบนิเวศธรรมชาติ แหล่งความมั่นคงทางอาหารของชุมชน  ตามวิถีชุมชนท้องถิ่น ชาวชุมชนยังต้องอาศัยพื้นที่ชุ่มน้ำป่าทามเป็นฐานในการประกอบอาชีพ และการหาปัจจัยดำรงชีพต่อไป ความพยายามที่จะหาแนวทางและรูปแบบในการจัดการพื้นที่ชุ่มน้ำป่าทามให้เกิดประโยชน์อย่างยั่งยืนและให้พื้นที่ชุ่มน้ำป่าทามได้เป็นองค์ประกอบสำคัญของระบบนิเวศของภูมิภาคต่อไป จึงเป็นเรื่องสำคัญยิ่ง ขณะที่สถานการณ์ปัจจุบันปัจจัยคุกคามต่อพื้นที่นี้มีความรุนแรงขึ้นทุกขณะ

จึงควรได้สรุปประสบการณ์สำคัญของชุมชนอีสานในการจัดการพื้นที่ชุ่มน้ำป่าทามในรูปแบบต่างๆในรอบ ๒๐ ปีที่ผ่านมา เพื่อนำสู่การยกระดับการพัฒนาให้มีความเด่นชัด เข้มข้นขึ้น ขยายผลไปสู่พื้นที่อื่นๆ และเป็นข้อเสนอทางนโยบายให้ภาครัฐและสังคมส่วนรวมได้สนับสนุนตามควร
กำหนดการการสัมมนา

ประสบการณ์การอนุรักษ์ฟื้นฟู
ป่าบุ่งป่าทามภาคอีสาน

วันที่ ๕ เมษายน ๒๕๕๔
    ๐๙.๐๐-๑๐.๐๐ น.              ลงทะเบียน/ ชมนิทรรศการ การแสดงสินค้าชุมชนคนทาม
    ๑๐.๐๐-๑๐.๓๐ น.              พิธีเปิดการสัมมนา
      กล่าวรายงานโดย แม่ผา กองธรรม นายกสมาคมคนทาม
      ประธาน : ผู้ว่าราชการจังหวัดศรีสะเกษ
๑๐.๓๐ – ๑๑.๐๐ น.               บรรยายพิเศษ เรื่อง การคุ้มครองดูแลพื้นที่ชุ่มน้ำ ป่าบุ่งป่าทาม จากนโยบายถึงการปฏิบัติ โดย ดร.ศุภวิทย์  เปี่ยมพงศ์สาน อดีตผู้ตรวจราชการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม,ประธานคณะอนุกรรมการแก้ไขผลกระทบเขื่อนราษีไศลด้านการจัดการความรู้เรื่องป่าทาม
       ๑๑.๐๐ –  ๑๒.๐๐ น.        เสวนาแลกเปลี่ยน ประสบการณ์การจัดการพื้นที่ลุ่มน้ำและบุ่งทามของชุมชนลุ่มน้ำชี   โดยตัวแทนชุมชนหนองหาน
กุมวาปี แก่งละว้า บึงละหานนา  ร่วมแลกเปลี่ยนและดำเนินรายการโดย ดร.อุษา  กลิ่นหอม อนุกรรมการพื้นที่ชุ่มน้ำ
       ๑๒.๐๐-๑๓.๐๐ น.               พัก รับประทานอาหาร
        ๑๓.๐๐-๑๔.๓๐น               เสวนาแลกเปลี่ยน ประสบการณ์การจัดการพื้นที่ลุ่มน้ำและบุ่งทามของชุมชน  ลุ่มน้ำมูน (โดยตัวแทนพื้นที่ราษีไศล-เซบาย  )
ร่วมแลกเปลี่ยนโดย คุณวิสูตร  อยู่คง นักวิชาการป่าไม้ สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 9 (อุบลราชธานี) ดำเนินรายการโดย คุณอุบล อยู่หว้า
        ๑๔.๓๐ – ๑๕.๓๐ น.         เสวนา”ความคิดเห็นและข้อเสนอทางนโยบายในการคุ้มครอง ดูแลพื้นที่ชุมน้ำป่าทามอีสาน”
ดำเนินรายการโดย คุณบุญเสริฐ เสียงสนั่น
         ๑๕.๓๐ – ๑๖.๐๐ น.              ประมวลประสบการณ์สำคัญและข้อเสนอสำคัญ
        พร้อมกล่าวปิดการสัมมนาประจำวัน
       โดยคนทามอาวุโส รศ. ประสิทธิ์ คุณุรัตน์
         ๑๖.๐๐ – ๑๘.๐๐ น.        พักผ่อน แลกเปลี่ยนพบปะกันประสาคนทาม
    ๑๗.๓๐-๒๒.๐๐ น                พาแลง และแลกเปลี่ยนวัฒนธรรม ชมการแสดง
                                         ศิลปินคนทาม และการแสดงจากพื้นที่ต่างๆ

วันที่ ๖ เมษายน ๒๕๕๔
        ๐๖.๐๐-๐๘.๐๐   ดำนาสามัคคี – เกี่ยวข้าวนาทามแล้วรับประทานอาหารเช้าร่วมกัน
        ๐๙.๐๐-๑๒.๐๐  ล่องเรือชมป่าทามราษีไศล ชมทัศนียภาพป่าทาม(ที่เหลือ) แวะทัก  ไทขุดมันแซง บ่อเกลือ ขึ้นฝั่งที่ป่าชุมชนโนนยาง แลกเปลี่ยนกับ
ผอ.โรงเรียนเตรียมนายฮ้อย รับประทานอาหารเที่ยงที่นั่น
        ๑๓.๐๐               เดินทางกลับโดยสวัสดิภาพ
       
         

รายละเอียดกิจกรรมภายในงานควบคู่กับเวทีวิชาการ
ณ ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงทามมูล อ.ราษีไศล จ.ศรีสะเกษ

“ออนซอน ป่าทามมูน”

งานแสดงสินค้าและการถ่ายทอดภูมิปัญญาท้องถิ่น
1. กลุ่มหัตถกรรม กก ผือทาม
2. กลุ่มแปรรูปผลิตภัณฑ์
3. กลุ่มจักสาน
4. กลุ่มดนตรีพื้นบ้าน (พิณ ซอ แคน สไน)
5. ตลาดผักพื้นบ้าน อาหารบุ่งทาม
6. กลุ่มปั้นหม้อบ้านโก
7. กลุ่มต้มเกลือ
8. กลุ่มทอผ้าไหมเหยียบ
9. กลุ่มทอเสื่อ
10. พันธุ์ไม้ทาม
11. พลังงานทางเลือกสูบน้ำด้วยกังหันลม
งานนิทรรศการด้านวิชาการเครือข่าย
1.    สมาคมคนทาม
2.    ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงชุมชนเครือข่ายทามมูล
3.    กองทุนสวัสดิการคนทาม
4.    กองทุนสวัสดิการฮักแม่มูนเมืองศรีสะเกษ
5.    ทีมข่าวทามมูน (กลุ่มสื่อเสียงคนอีสาน)
6.    เยาวชนคนริมมูน
7.    ชมรมประมงพื้นบ้าน 3 จังหวัด (ศรีสะเกษ ร้อยเอ็ด สุรินทร์)
8.    หน่วยงานเกษตรและสหกรณ์ จ.ศรีสะเกษ
9.    นักศึกษาแลกเปลี่ยนนานาชาติ (CIEE) ม.ขอนแก่น
กิจกรรมตอนกลางวันของวันที่ 5
1.    การประกวดวาดภาพ “ป่าทามของฉัน” เยาวชนรุ่นประถมศึกษา ป.4-6 / รุ่นมัธยม ม.1-3
2.    การประกวดเว้า “ผญา” “ หัวข้อ “ป่าทามของฉัน”
กิจกรรมตอนกลางคืนของวันที่ 5
1.    วงพาแลง อาหารจาก 5 เผ่าไทย ใน จ.ศรีสะเกษ ส่วย ลาว เขมร เยอ ไทโคราช
2.    เดี่ยวเครื่องดนตรีพื้นบ้าน (พิณ ซอ สไน)
3.    การแสดงของวงศิลปินคนทาม + รำวงชาวบ้าน
การรณรงค์
ภายในงานรณรงค์ให้ทุกคนที่เข่าร่วมงานขอให้แต่งกายด้วยชุดพื้นบ้านอีสาน ของแต่ละท้องถิ่น

author

ปฏิทินกิจกรรม EVENT CALENDAR

เข้าสู่ระบบ