อนาคตทีวีชุมชนกับสังคมไทย : ปาฐกถาพิเศษจาก กสทช.พันเอก ดร.นที

อนาคตทีวีชุมชนกับสังคมไทย : ปาฐกถาพิเศษจาก กสทช.พันเอก ดร.นที

ปาฐกถาพิเศษ “อนาคตทีวีชุมชนกับสังคมไทย” โดยพันเอก ดร.นที ศุกลรัตน์ รองประธานกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) และ ประธานกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ (กสท.) ในการประชุมเครือข่ายสื่อพลเมือง ประจำปี 2557 ณ ไทยพีบีเอส เมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน 2557 

—————-

ประเทศไทยมีช่องทีวีมากมากกว่า 600 ช่อง ถ้ารวมประเภทกิจการที่ทั้งใช้คลื่นความถี่และไม่ใช้คลื่น ความถี่เช่นดาวเทียม  เคเบิลแล้วมีการออกใบอนุญาตกว่า 1,200 ใบ และบางส่วนมีมาก่อนการเกิดขึ้นของกสทช.ด้วยซึ่งการดำเนินการให้เข้าระบบไม่ใช่เรื่องง่าย  และการที่ได้มีกระบวนการเปลี่ยนผ่านระบบจากแอนาล็อคสู่ดิจิตอล ทำให้มีช่องทางเพิ่มเติมขึ้นอีกด้วย โดยลักษณะประกอบกิจการทีวีของไทย คือ แบบไม่ใช่คลื่นความถี่  เช่นทีวีดาวเทียม เคเบิลทีวี  มีอยู่ 1,200 ใบอนุญาตและก่อนมีกสทช.จำนวนมาก ส่วนแบบที่ใช้คลื่นความถี่คือทีวีภาคพื้นดินมีการแบ่งประเภท 3 ประเภท บริการธุรกิจ บริการสาธารณะ บริการชุมชน  โดยบริการสาธารณะและบริการชุมต่างกันที่พื้นที่การให้บริการ  ทั้งนี้ทีวีบริการสาธารณะตามพรบ.ประกอบกิจการไม่เหมือนกับทีวีสาธารณะอย่างไทยพีบีเอส  ที่มีพ.ร.บ.ส.ส.ท.ต่างหากและเป็นไปตามหลักสากล โดยการกำกับดูแลของกสทช.ก็มีการระบุว่าการควบคุมดูแลเป็นไปตราบใดที่ไม่ขัดกับพรบ.สสท.ดังนั้นเชิงกฏหมายให้ระดับฐานะของสสท. เป็นหน่วยงานที่เป็นสาธารณะแท้จริง แต่ทีวีบริการสาธารณะแบ่งประเภทย่อยเป็นเพื่อการศึกษา ความมั่นคง และความเข้าใจข่าวสารของรัฐ ซึ่งเป็นการออกแบบให้สอดคล้องกับสังคมไทย และเดินตามที่กฏหมายกำหนดไว้  

ทั้งนี้รูปแบบประกอบกิจการโทรทัศน์ถูกกำหนดโดย 

  1. พรบ.ประกอบกิจการกระจายเสียงและโทรทัศน์ พ.ศ.2551 
  2. พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ พ.ศ. 2553  
  3. พ.ร.บ.สสท. เป็นส่วนหนึ่งที่สำคัญในการบริหารจัดการทีวี แม้แต่เมื่อเกิด พ.ร.บ.ประกอบกิจการกระจายเสียง  ได้ระบุใบบทเฉพาะการ ต้องให้ออกใบอนุญาตให้ส.ส.ท.ภายใน 180 วัน แสดงถึงบทบาทการทำงานที่เดินคู่ด้วยกันมาและในกระบวนการเปลี่ยนผ่านไปสู่ระบบดิจิตอลให้เหมาะสมก็ได้ให้ความร่วมมือช่วยกันมาโดยตลอด  

สำหรับทีวีอนาลอคเดิม เมื่อมีกฏหมายประกอบกิจการได้กำหนดนิยามให้เป็นผู้ประกอบกิจการรายเดิมก่อนมีกฏหมาย รวมถึง ส.ส.ท.ด้วย ซึ่งเมื่อคลื่นความถี่ไม่เพียงพอที่จะให้มีกิจการครบทุกประเภท จึงผลักดันให้เป็นระบบดิจิตอล เพื่อให้ข้อจำกัดการใช้คลื่นความถี่ลดลง กระบวนการเปลี่ยนผ่านจึงสำคัญและเกิดเหตุการณ์ต่างๆที่เกี่ยวข้องมากมาย  และกำหนดไว้ให้จัดสรรสัดส่วน 20  % ให้ประชาชนทำทีวีชุมชมด้วย โดยลักษณะและวัตถุประสงค์เพียวกับกับทีวีบริการสาธารณะแต่พื้นที่แตกต่างกันเท่านั้น  และเมื่อเปลี่ยนผ่านสำเร็จในทุกพื้นที่จะมีการรับชมทีวีบริการสาธารณะ 12  ทีวีบริการชุมชน 12 และทีวีบริการธุรกิจ 24 ช่อง

หลักการสำคัญคือการเปลี่ยนผ่านสู่ระบบดิจิตอลสำเร็จ  คลื่นความถี่ในระบบอนาล็อคจะได้เปลี่ยนมาให้บริการชุมชนและสาธารณะ  นอกจากนั้นข้อกำหนดตามกฏหมายระบุว่าทีวีบริการสาธารณะและทีวีบริการชุมชนไม่สามารถหารายได้เชิงธุรกิจได้ เลยต้องมีกลไกสนับสนุนจากกองทุนพัฒนากิจการเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมเพื่อประโยชน์สาธารณะ ซึ่งรายได้เข้ากองทุนมาจากกิจการประเภทธุรกิจซึ่งจะประสบความสำเร็จหรือไม่ย่อมมีผลกับทีวีชุมชน ถ้าเขาล้มเหลวไม่มีเงินเข้ากองทุนก็ไม่มีเงินไปสู่ทีวีชุมชนอยู่ดี  และเดิมเงินกองทุนนี้มาจารายได้ค่าประมูลควมถี่ด้วยแต่ตอนนี้เงื่นไขคือต้องนำเงินเข้าสู่ภาครัฐทำให้ไม่มีเงินมาสนับสนุนทีวีชุมชนที่ได้จากการประเมินคลื่นความถี่ จึงต้องรอให้บริการประเภทธุรกิจประสบความสำเร็จและเก็บค่าธรรมเนียมมาสนับสนุน แต่ยังมีเวลาพอสมควรเพราะทีวีชุมชนยังไม่เกิด

ดังนั้น อนาคตทีวีชุมชนจะเกิดขึ้นเมื่อใด ขึ้นอยู่กับ 2 ปัจจัย

  1. จะยุติระบบอนาล็อคเมื่อไร เพราะคลื่นความถี่ในระบบอนาล็อคจะเป็นส่วนหนึ่งมาใช้กับทีวีชุมชน ซึ่งโยงกับไทยพีบีเอสด้วย เนื่องจากแผนที่ ส.ส.ท.(ไทยพีบีเอส) เสนอในเบื้องต้น คือ 3 ปี (2558-2560) ภายใต้เงื่อนไขประชาชนจะต้องเข้าถึงและรับชมทีวีดิจิทัลที่สัดส่วน 95% ทั้งนี้การแจกคูปองเพื่อแลกกล่องในการเข้าถึงดิจิตอลราคา 690 บาท มีผู้นำไปใช้ประมาณ20  
  2. การมีเงินสนับสนุน เนื่องจากกฏหมายระบุให้ทำทีวีชุมชนแต่ไม่สอดคล้องกับข้อเท็จจริงที่ไม่มีงบประมาณรองรับ กำหนดรายได้ส่วนหนึ่งมาจากกองทุนที่มาจากค่าธรรมเนียมทีวีบริการธุรกิจมาอุดหนุนทีวีชุมชนที่มีค่าใช้จ่ายค่าเช่าใช้บริการโครงข่ายและการผลิตเนื้อหาด้วยเช่นกัน  ดังนั้นการเกิดขึ้นของทีวีชุมชนจะช้าหรือจะเร็วขึ้นอยู่กับหลายปัจจัยไปสู่การเปลี่ยนผ่านสู่ระบบดิจิตอลที่มีเป้าหมายให้ทุกคนใช้คลื่นความถี่เท่าเทียมและประโยชน์ต่อส่วนรวม ในขณะนี้ช่องทางไหนที่สามารถทำได้เช่นการที่ไทยพีบีเอสเตรียมความพร้อมเครือข่ายเช่นที่เป็นอยู่เป็นสิ่งที่เหมาะสม   

author

ปฏิทินกิจกรรม EVENT CALENDAR

เข้าสู่ระบบ