อ.เสกสรรค์ ประเสริฐกุล นักคิด อดีตผู้นำนักศึกษาในเหตุการณื 14 ตุลาคม กล่าวในการแถลงข่าวเครือข่าย 2 เอา 2 ไม่เอา จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ ในวันที่ 10 มกราคม 2557 โดย ขอพูดในนามส่วนตัว ร่วมกันมิตรสหายซึ่งแม้จะคิดต่างหลายอย่างกันแต่คิดเหมือนกัน 4 เรื่อง หลายคนคงรู้ว่าตนปลีกวิเวกมานาน มีสถานการณ์ที่ทำท่าว่าสังคมไทยน่าห่วง เลยมีส่วนร่วมมาแสดงจุดยืน
ความต้องการยกระดับสังคมเป็นเส้นทางปกติของมนุษย์ ที่เรามีการปรับปรุงสังคมเป็นระยะ อาจใช้คำว่าปฏิรูปก็ได้ มานับร้อยนับพันปี การมีกระแสปฏิรูปเกิดขึ้นไม่ใช่ของใหม่ เป็นเรื่องดี เพราะสังคมของเราต้องการการปรับสมดุลย์อีกครั้งหนึ่ง การปรับสมดุลย์เป็นการจะดึงสังคมออกจากแนวโน้มเชิงลบเข้าสู่เชิงบวก เพื่อเข้าสู่จุดหมายของการอยู่เย็นเป็นสุข แต่เราต้องเข้าใจว่าการปฏิรูปมีทั้งวิธีการและเนื้อหา จึงเป็นสิ่งที่พูดว่า ทำไมต้องปฏิรูปในระบอบประชาธิปไตย
สังคมไทยพัฒนาไปยังจุดที่หลากหลายทั้งผลประโยชน์และความคิดเห็น เป็นเรื่องลำบากที่จะพูดถึงความต้องการของคนทั้งประเท ดังนั้นการต้องรับฟังประชาชนทุกหมู่เหล่า จึงเป็นเรื่องสำคัญที่จะสรรหาสาระของการเปลี่ยนแผลง
การปฏิรูปประเทศเป็นการเปลี่ยนแปลงสภาพที่เป็นอยู่ จึงมีคนได้รับผลกระทบทั้งผลบวกและผลลบ มีความขัดแย้งทุกขั้นตอนในการสะสางการปฏิรูปทั้งสังคม ผมจึงคิดว่ การที่เราจะปรัปรุงสังคมครั้งใหญ่ จะต้องระมัดระวัง เราคงไม่สามารถใช้วิธีการนอกกรอบประชาธิปไตยได้ เพราะมันสร้างฉันทามติไม่ได้ แม้จะเกิดจากความหวังดี แต่ได้ไม่ค้มเสีย ตัวอย่างคือคนเป็นนักธุรกิจมองปฏิรุปเรื่องคอรัปชั่น เกษตรกรต้องการปฏิรูปที่ดิน ประกันรายได้ ก็ได้ เราจึงจำเป็นต้องมีกระบวการค้นหาฉันทามิติ การเลือกตั้งเป็นเพียงจุดเริ่มต้น แต่เป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญ เพราะอาศัยภาครัฐและสังคมที่มาทำงานประสานงานเพื่อให้เกิดความยั่งยืนและเป็นประโยชน์แก่คนหมู่มาก
อันดับแรกคนที่จำเป็นจะต้องจัดการให้เกิดกระบวนการ จะต้องได้รับฉันทามติ ไม่ใช่มอบอำนาจให้ใครกลุ่มใกลุ่มหนึ่งไปทำ และสังคมต้องรับฟังคนข้างล่าง โดยมีรัฐบาลเป็นผู้ขานรับ การปฏิรูปต้องยกเลิกและตรากฏหมายใหม่อีกหลายฉบับ เราจะทำได้อย่างไร ถ้าไม่มีระบอบประชาธิไตย
มันหมิ่นเหมาและโยงมาที่ความรุนแรง และรัฐประหาร กระบวนการปฏิรูปจำเป็นต้องปราศจากความรุนแรง กระบวนการนอกระบบที่นอกกฏเกณฑ์ประชาธิปไคย ขณะนี้สังคมไทยเดินอยู่ปากปล่องภูเขาไฟ เราต้องมีสติ ไม่อนุญาตให้ตนเองพลัดตกลงไปในหล่มที่ไม่อาจกลับคืนมาได้ ต้องฝากควมหวังไว้กับสติและปัญญา สภาพของบ้านเมืองขณะนี้เหมือนกลไกรัฐไปคนละทิศทาง ประชาชนว้าเหว่เหมือนไม่มีคนคุ้มครอง หากเลยถึงขั้นประชาชนป้องกันตนเองเป็นเรื่องน่ากลัว เราต้องมีสติและปัญญา จึงจะถอยห่างจากสถานการณ์อันตรายเหล่านี้
ส่วนจุดที่เราโต้แย้งกันอยู่ในสังคม เราใช้เหตุผลมาเถียงกันเพื่อบอกว่าความคิดของเราถูกต้องกว่า ตราบใดที่อยู่ใน การใช้เหตุผลไม่เป็นไร แต่ละยุคสมัยมนุษยชาติมีจิตวิญญาณของตน เพื่อก้าวไปสู่ทิศทางใด ร้อยเหตุผลก็ไม่เท่าพลังของจิตวิญญาณแห่งยุคสมัย โลกจะต้องหมุนไปสู่เสรีภาพ หมุนไปสู่ความเสมอภาคและความเป็นธรรม ถ้าจะขวางกฎเกณฑ์นี้ จะก่อให้เกิดภาวะที่ไม่พึงปรารถนาขึ้นมามากมาย ในฐานะที่ตนติดตามเรื่องราวบ้านเมืองและห่วงใย จึงเรียนไว้ด้วยความรักและความหวังดี แม้กับคนที่คิดต่างกัน
อ.เสกสรรค์ ได้ตอบคำถามเรื่องหากเกิดความรุนแรง กลุ่มฯและสังคมจะทำอย่างไรว่า ไม่มีใครตอบแทนประชาชนทั้งประเทศได้ แต่หากมองย้อนไปในประวัติศาสตร์จะพบว่า แต่ละสถานการณ์ของรัฐประหารไม่เหมือนกัน บางสถานการณ์นำไปส่สงครามกลางเมือง เช่นเหตุการณ์หลัง 6 ตุลาคม 2519 ซึ่งน่ากลัวและคนรุ่นตนผ่านประสบการณ์ที่จะต้องรบกันเอง 50 กว่าจังหวัดในประเทศ แม้จะปิดบังไม่ให้คนรุ่นหลักรับทราบ แต่คนรุ่นตนถือเป็นบาดแผลมาจนถึงทุกวันนี้ ไม่อยากให้ประเทศไปเหมือนยุคนั้นอีก เรายังมีเวลาและโอกาสหลีกเลี่ยงสภาพเช่นนั้น หลายคนคาดการณ์และพูดว่าต้องเลี่ยงสงครามกลางเมือง เราต้องตั้งสติว่าไม่เอาสิ่งเหล่านั้น ถ้ามีการเปลี่ยนแปลงนอกระบบมาจริงๆ ในช่วงแรกเลยจะไม่มีใครคุมสถานการณืได้ ไม่ว่าคนทำรัฐประหารหรือภาคประชชนจะไม่มีใครรู้ว่ากลุ่มต่างๆ มากมายจะมีปฏิกริยาอย่างไร แค่เราคาดการณืได้ว่าเป็นสภาพที่อันตรายและกอบกู้ยากลำบากมาก มันไม่ใช่กลุ่มใดกลุ่มหนึ่งที่จะตอบโต้รัฐประหาร แต่จะเป็นปฏิกริยาที่เกิดขึ้นจากพื้นเพเดิมของแต่ละคนแต่ละกลุ่ม ที่เราคาดการณ์ลำบาก
อนึ่ง 4 ข้อ ที่ อ.เสกเสรรค์เห็นพ้องกับ เครือข่าย 2 เอา 2 ไม่เอา คือ “ไม่เอา” รัฐประหาร “ไม่เอา”ความรุนแรงทุกรูปแบบ “เอา”เลือกตั้ง “เอา”ปฏิรูป”บนวิถีประชาธิปไตย