สื่อ กับการเปลี่ยนผ่านไปสู่ประชาธิปไตยในพม่า

สื่อ กับการเปลี่ยนผ่านไปสู่ประชาธิปไตยในพม่า

       พฤหัสบดี 12 กรกฎาคม 2555 เวลา 13.00-16.30 ณ ห้องประชุม สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้จัดเวทีเสวนา เรื่อง"สื่อ-สื่อใหม่ กับการเปลี่ยนผ่านสู่ประชาธิปไตยในพม่า" ซึ่งถือว่าเป็นการรวมคนที่ทำงานด้านสื่อและติดตามเรื่องการสื่อสารในพม่า ได้เล่าและร่วมแลกเปลี่ยนถึงสถานการณ์ของสื่อในพม่า รวมทั้งได้นำเสนอถึงข้อจำกัดต่างๆของสื่อมวลชนที่เป็นอยู่ในพม่าด้วย


[SIZE=1]Thanks:   ฝากรูป[/SIZE]

  AUNG ZAW จาก Irrawaddy Magazine เล่าเรื่อง "เสรีภาพสื่อหลังการเปลี่ยนแปลงในพม่า"ว่า การนำเสนอข่าวในพม่าถึงแม้รัฐบาลจะบอกว่ามีการลดการเซ็นเซอร์ของการนำเสนอข่าว แต่ที่จริงเเล้วก็ยังมีอยู่ ปัจจุบันถึงแม้จะมีการใช้สื่อใหม่เข้ามารายงานข่าวด้วย เช่น facebook มาเป็นแต่ก็ยังมีการเข้าไปตรวจสอบจากรัฐบาลเช่นกัน และการเข้าไปใช้ กลับเกิดนำมาใช้ในการปล่อยข่าวลือ ทำให้เกิดความขัดเเย้งและแตกเเยก"[/size]


Thanks:   ฝากรูป

  MON MON MYAT จาก Creative media House เล่าเรื่อง "สื่อใหม่ในพม่า การเติบโตและพลังขับเคลื่อนทางสังคม" ว่า การนำเสนอข่าวปัจจุบัน ยอมรับว่านักข่าวใช้สื่อใหม่เช่น Facebook ได้รับความนิยมมาก เพราะมีความรวดเร็ว และสามารถหาข้อมูลได้หลายแห่ง  แต่สิ่งที่สำคัญก็คือ การพิจารณาถึงความจริงของข่าวที่นำเสนอด้วย  เพราะบางครั้งข่าวที่นำก็เป็นเพียงข่าวลือ  อีกทั้งการนำเสนอข่าวที่ไม่ถูกต้อง แทนที่เรื่องราวนั้นจะเป็นเป็นประโยชน์หรือนำมาสู่การสร้างสันติภาพ แต่กลับทำให้เสี่ยงก็ความแตกแยก การนำเสนอข่าวอีกมิติหนึ่ง คือการนำเสนอเรื่องราวจากคนในพื้นที่ เพราะคนที่อยู่ในพื้นที่นั้นย่อมเป็นคนที่รู้เห็นเหตุการณ์ได้ดี ซึ่งถ้าหากว่าเรื่องราวได้สื่อสารออกมาอย่าง ถูกต้องก็น่าจะช่วยให้เกิดความเข้าใจ นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงและน่าจะเป็นสร้างสู่สันติภาพได้"


Thanks:   ฝากรูป

  NAN PAW GAY เล่าว่า "ในพื้นที่ที่มีกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ เช่น ไทใหญ่ มอญ กะเหรี่ยง เมื่อมีสถานการณ์ที่เกิดขึ้น คนในพื้นที่อยากจะนำเสนอเรื่องราวที่เกิดขึ้นด้วยภาษาถิ่นของตัวเอง แต่บางครั้งไม่สามารถจะนำเสนอภาษาถิ่่นของตัวเองได้ เพราะว่ามีข้อจำกัดเรื่องของคนที่เป็นคนเซ็นเซอร์ข้อมูล ซึ่งไม่รู้ภาษาของกลุ่มชาติพันธุ์ เลยตัดปัญหาว่า ไม่ให้นำเสนอด้วยภาษาถิ่น และต้องเป็นภาษาพม่าเท่านั้น ดังนั้น หากคนในพื้นที่ต้องการที่จะนำเสนอเรื่องราวของตนเองด้วยภาษาถิ่น จะต้องมีวิธีการจัดการด้วยตนเอง  แต่ก็เป็นวิธีที่ผิดกฏหมาย บางครั้งก็เสี่ยงในการนำเสนออยู่เหมือนกัน"


Thanks:   ฝากรูป

     
    จึงสรุปได้ว่า  หากการเซ็นเซอร์ลดลง  การนำเสนอเรื่องราวต่าง ๆ จะมีความหลากหลายมากขึ้น ผู้คนที่ติดตามข่าวสารต่าง ๆ ก็จะได้รับข้อมูลที่มีความหลากหลาย มีคุณภาพและได้ความจริงมากที่สุด  เมื่อเกิดความเข้าใจที่ตรงกันแล้วย่อมนำไปสู่เกิดสันติภาพในอนาคต[/size]

author

ปฏิทินกิจกรรม EVENT CALENDAR

เข้าสู่ระบบ