สำรวจความคิดคนเชียงของ :การเปิดสะพานมิตรภาพไทย-ลาว

สำรวจความคิดคนเชียงของ :การเปิดสะพานมิตรภาพไทย-ลาว

ประชาชนอำเภอเชียงของ ร้อยละ 83.16 เชื่อการเปิดสะพานมิตรภาพไทย-ลาว แห่งที่ 4 จะทำให้ เชียงของเป็นแหล่งการค้าชายแดนแห่งใหม่ได้ และร้อยละ 54.46 แนะให้กำหนดการพัฒนาที่หลากหลายทั้งสาธารณูปโภค การค้าการลงทุนและแหล่งท่องเที่ยว

 


                                ภาพประกอบจาก http://www.lannatouring.com

เมื่อวันที่ 11 ธันวาคม 2556 ที่ผ่าน ได้มีการเปิดใช้สะพานมิตรภาพไทย-ลาว แห่งที่ 4 (ห้วยทราย- เชียงของ) อย่างเป็นทางการ ซึ่งสะพานนี้ถือเป็นความร่วมมือในการสร้างระหว่างประเทศไทย ลาวและจีน โดยสะพานนี้จะสามารถเชื่อมต่อกับทาง R3A ไปยังหลายประเทศ คือ ลาว พม่า กัมพูชาและมณฑลยูนานของประเทศจีน  การเปิดสะพานดังกล่าวนั้น ภาครัฐเชื่อว่าจะทำให้เกิดความร่วมมือในการพัฒนาด้านเศรษฐกิจที่สำคัญและจะเป็นการสร้างรายได้เข้าสู่ประเทศไทยมหาศาล ทั้งด้านการค้าการลงทุน และการท่องเที่ยวโดยเฉพาะในพื้นที่อำเภอเชียงของ (กองสารนิเทศ ปลัดกระทรวงมหาดไทย,2556) ซึ่งจากสถิติของด่านศุลกากรเชียงของ พบว่า ในปี 2555 นั้น ศุลกากรเชียงของ มีมูลค่าการค้า 12,500 ล้านบาท และปี 2556 มีมูลค่าการค้า กว่า 13,600 ล้านบาท ซึ่งสภาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ประเมินว่าในปี 2560 หลังการเปิดสะพานและประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน การค้าด้านอำเภอเชียงของ จะเติบโตขึ้นกว่า   ร้อยละ 10 หรือมากกว่า 17,000 ล้านบาทต่อปี นอกจากนี้ ยังช่วยให้การขนส่งสินค้าสะดวก และลดค่าใช้จ่ายแก่ผู้ประกอบการได้ในอนาคต (ด่านศุลกากรเชียงของ, 2556)

เนื่องจากสะพานมิตรภาพ ไทย-ลาว แห่งที่ 4 ได้เปิดให้มีการใช้มาระยะหนึ่งแล้ว ทั้งนี้เพื่อเป็นการตรวจสอบถึงประโยชน์และผลกระทบที่เกิดจากการเปิดสะพานดังกล่าว ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและพยากรณ์ทางการเกษตร (แม่โจ้โพลล์) จึงได้สำรวจความคิดเห็นประชาชน ในอำเภอเชียงของ ในหัวข้อ “เชียงของ….ศักยภาพและความพร้อมต่อการเป็นแหล่งการค้าชายแดนแห่งใหม่” เพื่อให้ทราบถึงความคิดเห็นของประชาชนชาวอำเภอเชียงของต่อผลที่ได้รับจากการพัฒนา จำนวน 386  ราย ระหว่างวันที่  25 มกราคม – 7 กุมภาพันธ์ 57 สรุปผลได้ดังนี้    

จากการสอบถามด้านความพร้อมของอำเภอเชียงของต่อการเป็นแหล่งการค้าชายแดน นั้น พบว่า ส่วนใหญ่ ร้อยละ 83.94 เห็นว่ามีความพร้อม โดยให้เหตุผลว่าเป็นเมืองหน้าด่านที่สามารถเชื่อมต่อกับประเทศลาวและประเทศจีนได้ นอกจากนี้ยังมีการพัฒนาด้านโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ เช่น การขยายและปรับปรุงถนนให้สามารถเดินทางได้สะดวกมากขึ้น มีเพียงร้อยละ 16.06 ที่เห็นว่ายังไม่มีความพร้อม โดยให้เหตุผลว่าระบบการบริหารจัดการเพื่อรองรับด้านการค้าการลงทุนยังไม่มีความพร้อม เช่น ตลาดกลางสินค้า ระบบภาษีและศุลกากร

สำหรับความคิดเห็นด้านการได้รับประโยชน์ของประชาชนในอำเภอเชียงของจากการจะเป็นแหล่งการค้าชายแดน พบว่า ร้อยละ 83.16 เห็นว่าจะได้รับประโยชน์ โดยให้เหตุผลว่า เกิดการลงทุนในอำเภอเชียงของมาก ทั้งด้านอสังหาริมทรัพย์ การค้า ทำให้เศรษฐกิจของอำเภอเชียงของดีขึ้น มีเพียงร้อยละ 5.70 ที่เห็นว่าจะไม่ได้รับประโยชน์ โดยให้เหตุผลว่า ทิศทางการพัฒนายังไม่ถูกต้อง ซึ่งทำให้อำเภอเชียงของกลายเป็นแหล่งแสวงหาผลประโยชน์ของนายทุนไป และร้อยละ 11.14 บอกว่าไม่ทราบ

เมื่อสอบถามว่าการเปิดสะพานมิตรภาพไทย-ลาว แห่งที่ 4 ที่ผ่านมาจะทำให้อำเภอเชียงของเป็นแหล่งการค้าชายแดนแห่งใหม่ได้หรือไม่นั้น พบว่า ส่วนใหญ่ ร้อยละ 83.16 เห็นว่าได้ โดยให้เหตุผลว่า เป็นจุดที่สามารถเชื่อมโยงกับหลายประเทศ เช่น ลาวและจีน ทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนสินค้าเกิดการค้ากับต่างประเทศมากยิ่งขึ้น มีเพียงร้อยละ 4.92 ที่เห็นว่าไม่ได้ ให้เหตุผลว่าการพัฒนาขาดความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านอย่างลาวและประเทศจีน และไม่ทราบ ร้อยละ 11.92 และเมื่อสอบถามว่าอำเภอเชียงของจะมีโอกาสในการพัฒนาเป็นแหล่งค้าชายแดนในด้านใดบ้างนั้น พบว่า อันดับ 1 ร้อยละ 77.46 เห็นว่าจะเป็นจุดแลกเปลี่ยนสินค้าที่ระหว่างประเทศที่สำคัญ อันดับ 2 ร้อยละ 67.10 จะเกิดการลงทุนและพัฒนาด้านการท่องเที่ยว มีจำนวนนักท่องเที่ยวเพิ่มมากขึ้น อันดับ 3 ร้อยละ 58.83  เกิดเป็นศูนย์รวมด้านการค้า การลงทุนและมีการจ้างงานในพื้นที่เพิ่มมากขึ้น  อันดับ 4 ร้อยละ 40.93 เกิดการลงทุนด้านอสังหาริมทรัพย์ต่างๆ และอื่นๆ ร้อยละ 2.78  

    ส่วนข้อเสนอแนะต่อการพัฒนาด้านอำเภอเชียงของนั้น อันดับ 1 ร้อยละ 54.46  แนะให้กำหนดการพัฒนาที่หลากหลายด้าน เช่น ด้านสาธารณูปโภค การค้าการลงทุนและการพัฒนาด้านแหล่งท่องเที่ยว อันดับที่ 2 ร้อยละ 25.74  แนะภาครัฐควรมีการวางแผนพัฒนาการบริหารจัดการในระยะยาว เช่น อำนวยความสะดวกแก่นักลงทุน เช่น ลดภาษีการค้าระหว่างประเทศ การประชาสัมพันธ์ด้านข้อมูลข่าวสารต่างๆ ให้แก่นักท่องเที่ยว อันดับ 3 ร้อยละ 9.90 ควรให้การสนับสนุนผู้ประกอบการธุรกิจในท้องถิ่นก่อน อันดับ 4 ร้อยละ 5.94 แนะควรเร่งให้ความรู้ความเข้าใจแก่เด็กเยาวชนและประชาชนในพื้นที่ต่อการทิศทางการพัฒนาและการเตรียมความพร้อมต่างๆ และอันดับ 5 ร้อยละ 3.96 แนะควรเร่งพัฒนาความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้าน เพื่อการพัฒนาที่ควบคู่กันไป

    จากผลการสำรวจทำให้ทราบถึงความคิดเห็นเกี่ยวกับความพร้อม ตลอดจนประโยชน์ที่ประชาชนชาวเชียงของจะได้รับ แต่ท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงทั้งทางด้านพื้นที่ วิถีชีวิต และแนวทางนโยบายการพัฒนา ซึ่งจะมีทั้งผลดีและผลเสียนั้น ถือเป็นความท้าทายของหน่วยงานภาครัฐและประชาชนในพื้นที่ว่าจะมีการเตรียมพร้อมและรองรับกับการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวอย่างไร ทั้งด้านการบริหารจัดการการค้าการลงทุน และการจะเป็นประตูเชื่อมโยงกับประเทศเพื่อนบ้านเพื่อรับการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ในปี 2558 ตามยุทธศาสตร์ความเชื่อมโยงกับประเทศในภูมิภาค ภารกิจต่างๆ เหล่านี้จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องและประชาชนชาวอำเภอเชียงของต้องร่วมกันวางแผนและหาแนวทางการพัฒนาให้เป็นไปในทิศทางที่ถูกต้อง เพื่อให้การพัฒนาที่จะเกิดขึ้นในอนาคตอันใกล้นี้ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อชาวอำเภอเชียงของอย่างแท้จริง

รายละเอียดผลสำรวจ
1.ความพร้อมของอำเภอเชียงของต่อการเป็นแหล่งการค้าชายแดนในอนาคต
1.พร้อม
เหตุผล  
      – เป็นเมืองหน้าด่านที่สามารถเชื่อมต่อกับประเทศลาวและประเทศจีนได้ นอกจากนี้ยังมีการพัฒนาด้านโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ เช่น การขยายและปรับปรุงถนนให้สามารถเดินทางได้สะดวกมากขึ้น  ร้อยละ 54.21
       – เป็นจุดสนใจให้นักท่องเที่ยวเดินทางมาเที่ยวเพิ่มขึ้น ร้อยละ  30.12
       – มีแหล่งท่องเที่ยวที่น่าสวยงาม เป็นเมืองด้านวัฒนธรรม สภาพอากาศดีจึงดึงดูดให้นักท่องเที่ยวเดินทางมาเที่ยวเพิ่มขึ้น  ร้อยละ 15.67    ร้อยละ  83.94

2.ไม่พร้อม
เหตุผล  
      – ระบบการบริหารจัดการเพื่อรองรับด้านการค้าการลงทุนยังไม่มีความพร้อม เช่น ตลาดกลางสินค้า ระบบภาษีและศุลกากร  ร้อยละ 50.00
       – คนในพื้นที่ยังขาดความรู้ ความเข้าใจและกระตือรือร้นในการช่วยกันพัฒนาในด้านต่างๆ  ร้อย34.28
       – ขาดจุดเด่นในการดึงดูดด้านการค้าและลงทุน ร้อยละ 15.63    ร้อยละ  16.06

2.การได้รับประโยชน์ของประชาชนในอำเภอเชียงของจากการจะเป็นแหล่งการค้าชายแดน 
1.ได้ประโยชน์
เหตุผล  
      – เกิดการลงทุนในอำเภอเชียงของมาก ทั้งด้านอสังหาริมทรัพย์ การค้า ทำให้เศรษฐกิจของอำเภอเชียงของดีขึ้น ร้อยละ 44.09
       – ดึงดูดนักท่องเที่ยวให้เดินทางมาเที่ยวอำเภอเชียงของ  สามารถขายสินค้าและบริการได้มากขึ้น ร้อยละ  37.63
       – เพิ่มการจ้างงานให้ประชาชนในพื้นที่มากขึ้น  ร้อยละ 18.28    ร้อยละ  83.16
2.ไม่ได้รับประโยชน์
เหตุผล  
      – ทิศทางการพัฒนายังไม่ถูกต้อง ซึ่งทำให้อำเภอเชียงของกลายเป็นแหล่งแสวงหาผลประโยชน์ของนายทุนไป ร้อยละ 60.00
       – หน่วยงานในพื้นที่ขาดความเข้าใจและกระตือรือร้นในการพัฒนาทั้งด้านการค้าการลงทุนและการท่องเที่ยว  ร้อย 40.00    ร้อยละ  16.06
3.ไม่ทราบ    ร้อยละ  11.14

3.การเปิดสะพานมิตรภาพไทย-ลาว แห่งที่ 4 ที่ผ่านมาจะทำให้อำเภอเชียงของเป็นแหล่งการค้าชายแดนแห่งใหม่ได้หรือไม่
1.ได้
เหตุผล  
      – เป็นจุดที่สามารถเชื่อมโยงกับหลายประเทศ เช่น ลาวและจีน ทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนสินค้าเกิดการค้ากับต่างประเทศมากยิ่งขึ้น ร้อยละ 92.19
       – หน่วยงานภาครัฐต่างๆ มีการเร่งการพัฒนาในพื้นที่อย่างต่อเนื่องและจริงจัง ร้อยละ  7.81    ร้อยละ  83.16
2.ไม่ได้
เหตุผล  
      – การพัฒนาขาดความร่วมมือกับประเทศเพื่อนอย่างลาวและประเทศที่เชื่อมโยงการ           ใช้ประโยชน์อย่างจีน ร้อยละ 42.86
      – การพัฒนาในด้านต่างๆ ยังคงต้องใช้เวลาในการพัฒนาอีกยาวนาน ร้อยละ 28.57
     – ที่ตั้งของสะพานอยู่ห่างไกลอำเภอเชียงของ ทำให้การลงทุนและท่องเที่ยวไม่มีความสอดคล้องกัน  ร้อย 28.57    ร้อยละ  4.92
3.ไม่แน่ใจ    ร้อยละ  11.92

4. เมื่อสอบถามว่าอำเภอเชียงของจะมีโอกาสในการพัฒนาด้านการเป็นแหล่งค้าชายแดนในด้านใดนั้น
ด้านการพัฒนา    ร้อยละ
อันดับ 1 การเป็นจุดแลกเปลี่ยนสินค้าที่ระหว่างประเทศที่สำคัญ    77.5
อันดับ 2 เกิดการลงทุนและพัฒนาด้านการท่องเที่ยว มีจำนวนนักท่องเที่ยวเพิ่มมากขึ้น    67.10
อันดับ 3 เกิดเป็นศูนย์รวมด้านการค้า การลงทุนและมีการจ้างงานในพื้นที่มากขึ้น      58.83
อันดับ 4 เกิดการลงทุนด้านอสังหาริมทรัพย์ต่างๆ    40.93
อันดับ 5 อื่นๆ     2.78

5.ข้อเสนอแนะต่อการพัฒนาอำเภอเชียงของต่อการเป็นแหล่งการค้าชายแดน
ข้อเสนอแนะ    ร้อยละ
อันดับ 1 แนะให้กำหนดการพัฒนาที่หลากหลายด้าน เช่น ด้านสาธารณูปโภค การค้าการลงทุนและการพัฒนาด้านแหล่งท่องเที่ยว    54.46
อันดับ 2 แนะภาครัฐควรมีการวางแผนพัฒนาการบริหารจัดการในระยะยาว เช่น อำนวยความสะดวกแก่นักลงทุน เช่น ลดภาษีการค้าระหว่างประเทศ การประชาสัมพันธ์ด้านข้อมูลข่าวสารต่างๆ ให้แก่นักท่องเที่ยว    25.74
อันดับ 3 ควรให้การสนับสนุนผู้ประกอบการธุรกิจในท้องถิ่นก่อน    9.90
อันดับ 4 แนะควรเร่งให้ความรู้ความเข้าใจแก่เด็กเยาวชนและประชาชนในพื้นที่ต่อทิศทางการพัฒนาและการเตรียมความพร้อมต่างๆ    5.94
อันดับ 5  แนะควรเร่งพัฒนาความรวมมือกับประเทศเพื่อนบ้าน เพื่อการพัฒนาที่ควบคู่กันไป    3.96

 

ข้อมูลทั่วไปผู้ตอบแบบสอบถาม
1.เพศ
    ชาย  ร้อยละ 40.18        หญิง ร้อยละ  59.82    
2.อายุ
ผู้ตอบแบบสอบถามมีอายุเฉลี่ย  31 ปี สูงสุด 77  ปี และต่ำสุด 15 ปี
3.ระดับการศึกษา
ประถมศึกษา ร้อยละ 11.40     มัยธมศึกษา ร้อยละ 51.04    ปวช./ปวส. ร้อยละ 10.88
ปริญญาตรี  ร้อยละ 19.95    สูงกว่าปริญญาตรี  ร้อยละ 5.18
ไม่ได้เรียน  ร้อยละ 1.55 

4. อาชีพ
รับราชการ พนักงาน ลูกจ้างรัฐ/รัฐวิสาหกิจ     ร้อยละ 18.96    พนักงานบริษัทเอกชน  ร้อยละ  11.95
ธุรกิจส่วนตัว/ค้าขาย  ร้อยละ  31.17            เกษตรกร  ร้อยละ 14.03
นักเรียน/นักศึกษา  ร้อยละ  23.89         

author

ปฏิทินกิจกรรม EVENT CALENDAR

เข้าสู่ระบบ