สภากลุ่มชาติพันธุ์ชนกลุ่มน้อยในพม่าเผยรายงานล่าสุด 53 กลุ่มชาติพันธุ์ต้องการสหพันธรัฐที่แท้จริงในพม่า ชี่ทางออกนอกจากเจรจากลุ่มต่อกลุ่ม ต้องเจรจารวมด้วย ขณะที่สถานการณ์สู้รบขยายวงกว้างจากเป็น 5 กลุ่มแล้ว
วันที่ 2 พฤศจิกายน 2554 ณ จังหวัดเชียงใหม่ สภากลุ่มชาติพันธุ์ชนกลุ่มน้อยในพม่า (ENC) Ethnic Nationalities Council นำโดย นายซอกวยทู ประธาน ฯ ดร.เลียงมง รองประธานฯ และ ดร.ซุยคา เลขาฯ ร่วมกันเสนอรายงานสถานการณ์ของกลุ่มชาติพันธุ์ในพม่าพร้อมข้อเสนอทางการเมือง (รายงานชื่อ Discrimination ,Confloct and Corruption) โดยมีผู้สื่อข่าวต่างประเทศและผู้ติดตามสถานการณ์ในประเทศพม่าเข้ารับฟังกันเป็นจำนวนมาก
สภากลุ่มชาติพันธุ์ชนกลุ่มน้อยในพม่า ได้เสนอรายงานล่าสุดความยาว 98 หน้า เนื้อหาเป็นผลการสัมภาษณ์ตัวแทนชนกลุ่มน้อย 53 กลุ่ม ได้ผลสรุปคือกลุ่มชาติพันธุ์ต่างต้องการความเป็นสหพันธรัฐที่แท้จริงในพม่า
นายคืนใส ใจเย็น บรรณาธิการสำนักข่าวฉาน กล่าวว่า ความต้องการนี้เป็นมาอย่างต่อเนื่องตลอดระยะเวลา 60 ปี แต่รัฐบาลพม่าใช้วิธีการทางทหารมาแก้ไขปัญหากับกลุ่มชาติพันธุ์ ทำให้หมดทางเลือกตั้งอจับอาวุธต่อสู้ และแม้การเลือกตั้งปี 2010 จะผ่านไป ด้านหนึ่งมีการประกาศเจรจาสันติภาพ แต่อีกด้านหนึ่งสถานการณ์การสู้รบกลับเพิ่มขึ้นจาก 2 กลุ่มเป็น 5 กลุ่มในปีนี้ วิธีการแก้ไขที่เป็นไปได้คือการเจราจรวิธีเดียวเท่านั้น
ทั้งนี้สภากลุ่มชาติพันธุ์ชนกลุ่มน้อยในพม่า (ENC) จัดตั้งขึ้นโดยเป็นการรวมตัวกันจากหลายกลุ่มชาติพันธุ์และตัวแทนรัฐต่างๆ ในพม่า มีความสามารถในการติดต่อเชื่อมกับต่างประเทศ และนักวิชาการ รวมทั้งด้านข้อมูลการวิจัยต่าง ซึ่งข้อเสนอของสภาฯ จากการแถลงคือ จะไม่เป็นตัวแทนเข้าร่วมการเจรจาสันติภาพที่พม่าประกาศไว้ แต่จะช่วยเหลือสนับสนุนด้านข้อมูลต่างๆ สำหรับกลุ่มชาติพันธุ์ที่จะเข้าเจรจา
นายคืนใสกล่าวว่า ศักยภาพของสภากลุ่มชาติพันธุ์ชนกลุ่มน้อยในพม่า (ENC) มีสูงพอสมควรจากที่ต่างประเทศรู้จัก มีภาพลักษณ์ที่ดี ไม่ก้าวร้าว ไม่ได้เป็นกลุ่มถืออาวุธ และมีความสนิทสนมกับกลุ่มเคลื่อนไหวในพม่าด้วยเช่นกัน ซึ่งสามารถเป็นสื่อกลางระหว่างกลุ่มด้านในและด้านนอกประเทศพม่าได้ดี และเคยนำตัวแทนชาติพันธุ์เข้าพบตัวแทนของรัฐบาลพม่าและได้รับข้อมูลที่เป็นประโยชน์มากมายนำมาหารือต่อที่เป็นประโยชน์ได้
นายคืนใส ขณะนี้รัฐบาลพม่าประกาศเจรจากลุ่มต่อกลุ่ม แต่ ENC เห็นว่าควรเจรจา 2 ระดับ คือ เจรจาระดับกลุ่มต่อกลุ่ม และเจรจาด้านการเมืองร่วมกับทุกฝ่าย โดยการเจรจากลุ่มต่อกลุ่มนั้นเป้าหมายคือให้ยุติการสู้รบ แต่การเจรจาด้านการมืองต้องให้ทุกฝ่ายมาเข้าร่วม เพื่อหาแนวทางแก้ไขในทางการเมือง เพื่อสรุปปัญหาและวิธีการ
อย่างไรก็ตาม นายคืนใสมองถีงแนวโน้มว่า รัฐบาลพม่ายังคงจะใช้วิธีการของตนเองไปก่อน
เพื่อให้เกิดข้อได้เปรียบ แต่หากเจรจากลุ่มต่อกลุ่มไปแล้วมีทางตัน ก็อาจจะมาใช้วิธีนี้ก็ได้ แต่ภายในของรัฐบาลพม่าก็มี 2 กลุ่มทางความคิดเช่นกัน โดยขณะนี้มีการเข้าเจรจากับกลุ่มทั้งหมด 7 กลุ่ม มีทั้งสำเร็จและไม่สำเร็จ ซึ่งการสู้รบนั้นมันมีผลกระทบต่อประเทศโดยรอบ โดยเฉพาะจีนและไทย ซึ่งเห็นว่าประเทศเพื่อนบ้านควรได้สนับสนุนการเจรจาให้เกิดขึ้น