น ส กนกวรรณ เชื้อชั่ง 51592245 เลขที่ 2 การส่งออกข้าวของไทยและในจังหวัดพะเยา (Embedding disabled, limit reached)
ประเทศไทยส่งออกข้าวปีละ 8 – 9 ล้านตันโดยเป็นผู้ส่งออกอันดับหนึ่งของโลก ในปี 2553 ไทยส่งออกข้าวปริมาณ 8.9 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจากปี 2552 ร้อยละ 3.5 ซึ่งคิดเป็นมูลค่าในปี 2553 คือ 168,193 ล้านบาท ลดลงจากปี 2552 ร้อยละ 2.3 ซึ่งตลาดส่งออกที่สำคัญ คือ ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ อินโดนีเซีย และมาเลเซีย
การผลิตข้าวของไทย กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้สำรวจผลผลิตข้าวมีประมาณ 34 ล้านตัน ซึ่งสูงสุดเป็นประวัติการณ์แยกเป็นข้าวนาปี 24 ล้านตัน และข้าวนาปรัง 10 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 5.7 2.4 และ 14.4 ตามลำดับ เนื่องจากโครงการประกันรายได้จูงใจให้เกษตรกรชาวนาขยายพื้นที่ปลูกข้าวนาปีซึ่งสามารถชดเชยผลผลิตข้าวนาปีบางส่วนที่ได้เสียหายจากอุทกภัยในปีที่ผ่านมา ทั้งนี้ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ – กรกฎาคม 2554 ผลผลิตข้าวนาปรังได้ออกสู่ตลาดแล้ว 9 ล้านตันคิดเป็นร้อยละ 96 ของข้าวนาปรังทั้งหมด และในช่วงเดือนสิงหาคม – ตุลาคม 2554 คาดว่าข้าวเปลือกนาปรังรุ่นที่สองที่เหลือจะออกสู่ตลาด ต่ำกว่าประมาณการไว้ที่ 0.448 ล้านตัน ในขณะที่ผู้ส่งออกยังคงต้องการซื้อข้าวเพื่อส่งมอบให้ลูกค้าต่างประเทศเกือบ 1 ล้านตัน
สำหรับการส่งออกในปี 2554 คาดว่าประเทศผู้ผลิตและผู้ส่งออกข้าวของโลกที่สำคัญ เช่น ปากีสถานจะส่งออกข้าวลดลง อินเดียยังคงงดการส่งออก อีกทั้งบราซิลจะงดการส่งออกข้าวนึ่ง เนื่องจากปี 2554 บราซิลได้มีการนำเข้าลดลงจากปี 2553 ร้อยละ 25 ดังนั้นในฐานะที่ไทยเป็นผู้ส่งออกรายใหญ่มีความสามารถในการผลิตทั้งข้าวขาวและข้าวนึ่งคุณภาพดีของโลก แม้ผลผลิตข้าวในปัจจุบันจะเสียหายจากน้ำท่วม แต่ยังคงมีศักยภาพในการส่งออกเพราะมีสต็อกเพียงพอจึงคาดว่าไทยจะส่งออกข้าวได้เพิ่มขึ้นเป็น 9 ล้านตัน จากปี 2553 โดยเฉพาะข้าวนึ่งจากลูกค้าของอินเดีย ปากีสถาน และบราซิล
ด้านการผลิตข้าวในจังหวัดพะเยานั้นเกษตรกรส่วนใหญ่ปลูกข้าวเจ้า ร้อยละ 52 และข้าวเหนียวร้อยละ 48 พันธุ์ข้าวส่วนใหญ่ที่ปลูก คือ พันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 ซึ่งจะให้ผลผลิต 363 กิโลกรัมต่อไร่ เกษตรกรจะให้ความสำคัญกับการผลิตข้าวเพื่อจำหน่ายและทำพันธุ์มากกว่าการบริโภค ส่งผลให้ข้ามหอมมะลิมีมากเกินความต้องการบริโภคภายในจังหวัด ข้าวหอมมะลิที่ผลิตได้จึงถูกส่งไปยังจังหวัดอื่นๆ
นอกจากนี้ในจังหวัดพะเยายังมีโรงสีจำนวน 31 โรงที่สามารถรองรับผลผลิตของเกษตรกรได้อย่างเพียงพอบวกกับคุณภาพของข้าวที่อยู่ในเกณฑ์ดี ทำให้ข้าวของจังหวัดพะเยามีโอกาสในการเป็นที่ยอมรับของผู้บริโภค ซึ่งจะสามารถนำออกสู่ตลาดและแข่งขันกับข้าวของภาคอื่นๆได้