ศิษย์รามฯ ออกโรงจี้มหา’ลัยปกป้องนักศึกษา – ศิษย์เก่าร้องหยุดใช้ กม.ปราบผู้เห็นต่าง

ศิษย์รามฯ ออกโรงจี้มหา’ลัยปกป้องนักศึกษา – ศิษย์เก่าร้องหยุดใช้ กม.ปราบผู้เห็นต่าง

28 มิ.ย. 2559 เวลาประมาณ 09.00 น. บริเวณลานพ่อขุน มหาวิทยาลัยรามคำแหง กลุ่มภาคีนักศึกษาและนักกิจกรรมเพื่อสังคม มหาวิทยาลัยรามคำแหง แถลงการณ์แสดงบทบาทปกป้อง 7 นักศึกษา ที่ถูกควบคุมตัวจากการไปร่วมรณรงค์ประชามติ ซึ่ง 5 ใน 7 คน เป็นนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยรามคำแหง

20162806234643.jpg

ที่มาภาพ: ภาคีนักศึกษาและนักกิจกรรมเพื่อสังคมมหาลัยรามคำแหง‬

จากกรณีเมื่อวันที่ 23 มิ.ย. 2559 นักศึกษาและกรรมการสหภาพแรงงานจำนวนหนึ่งจัดกิจกรรม เผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับร่างรัฐธรรมนูญและรณรงค์ให้ประชาชนไปใช้สิทธิออกเสียงประชามติ ในย่านนิคมอุตสาหกรรมบางพลี ถูกเจ้าหน้าที่ทหารตำรวจจับกุม จำนวน 13 คน และถูกตั้งข้อหาฝ่าฝืนคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ (คสช.) ฉบับที่ 3/2558 และ พ.ร.บ.ว่าด้วยการออกเสียงประชามติร่างรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2559 ต่อมา 6 คน ได้รับการประกันตัว

กลุ่มภาคีนักศึกษาฯ มีข้อเรียกร้องไปยังองค์กรที่บังคับใช้กฏหมาย มหาวิทยาลัยรามคำแหง และองค์กรนักศึกษามหาวิทยาลัยรามคำแหง 2 ข้อ คือ 1.ขอให้เปิดพื้นที่การรณรงค์ และการแสดงออกเกี่ยวกับกระบวนการประชามติร่างรัฐธรรมนูญ โดยสามารถให้ทั้งสองฝ่ายที่เห็นต่างสามารถรณรงค์ได้ เพื่อประโยชน์ในการรับรู้ของประชาชน

2.ขอให้มหาวิทยาลัยรามคำแหง และองค์การนักศึกษามหาวิทยาลัยรามคำแหง ออกมาแสดงบทบาทปกป้องนักศึกษาของมหาวิทยาลัย เช่นกับที่ครูอาจารย์ และองค์การนักศึกษามหาวิทยาลัยอื่นได้ปฏิบัติให้เห็นเป็นแบบอย่าง

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ขณะกลุ่มภาคีนักศึกษาฯ อ่านแถลงการณ์มีเจ้าหน้าที่จากกองกิจการนักศึกษามหาวิทยาลัยรามคำแหงมาร่วมสังเกตุการณ์ และหลังการอ่านแถลงการณ์ ได้เข้าพูดคุยกับกลุ่มกิจกรรมว่า ทางอธิการบดีเป็นห่วงในเรื่องนี้อยู่ และคิดว่าจะไปเยี่ยมนักศึกษาที่ถูกจับกุมในวันนี้ (28 มิ.ย. 2559) ด้วย 
 
“เรามองว่ากิจกรรมที่ให้ความรู้ สร้างความเข้าใจ เรื่องประชามติคือเรื่องที่สำคัญ การที่คนได้รับรู้ข้อมูลเบื้องต้นในร่างรัฐธรรมนูญเป็นสิ่งที่ทุกคนควรได้รับรู้ รัฐธรรมนูญคือกรอบกติกาที่มีผลต่ออนาคตของเรา พวกเราต้องได้รู้ถึงข้อดีและข้อเสีย และจากสถานการณ์ในมหาวิทยาลัยรามคำแหงเวลานี้ช่าง เราอยากให้มหาวิทยาลัยเปิดพื้นที่ให้นักศึกษาได้ทำกิจกรรม ในการประชาสัมพันธ์ รณรงค์ให้คนรุ่นใหม่ในมหาวิทยาลัยได้เข้าใจสิทธิได้อย่างเสรี” ผู้เข้ารร่วมกิจกรรมรายหนึ่งระบุ

20162806235015.jpg

ผู้สื่อข่าวรายงานเพิมเติมว่า ในวันนี้ (28 มิ.ย. 2559) ขบวนการประชาธิปไตยใหม่ (New Democracy Movement : NDM) ได้เดินทางไปทำกิจกรรมปล่อยลูกโป่ง “รณรงค์ไม่ผิด” ที่เรือนจำกลางพิเศษกรุงเทพฯ อีกครั้ง บริเวณหน้าป้ายนอกรั่วเรือนจำ ซึ่งกิจกรรมดำเนินไปได้ด้วยดี โดยมีเจ้าหน้าที่กองกิจการนักศึกษา มหาวิทยาลัยรามคำแหงเดินทางเข้าร่วมเยี่ยมนักศึกษาและศิษย์เก่ารามคำแหงที่ถูกคุมขังอยู่ด้วย

ด้านศิษย์เก่า และอดีตนักกิจกรรมมหาวิทยาลัยรามคำแหง เผยแพร่แถลงการณ์ ต่อกรณีการจับกุมดำเนินคดีต่อนักศึกษาที่จัดกิจกรรมเพื่อรณรงค์ให้คนไปใช้สิทธินอกเขตจังหวัด และแจกเอกสารแสดงความคิดเห็นต่อร่างรัฐธรรมนูญว่ายังขาดการไตร่ตรอง พร้อมมีข้อเรียกร้องดังนี้

1.หยุดการใช้กฎหมายประชามติ เพื่อดำเนินการจับกุม กับบุคคลทุกคน และเปิดให้มีการแสดงออกต่อร่างรัฐธรรมนูญอย่างเต็มที่

2.หยุดใช้คำสั่งหัวหน้า คสช.เพื่อดำเนินคดีกับผู้ที่เห็นต่าง และให้เจ้าหน้าที่รัฐทบทวนบทบาทการทำงานในเรื่องการรักษาความสงบเรียบร้อย ตลอดจนให้หยุดใช้ความรุนแรงในการเข้าจับกุม

3.ให้ปล่อยกลุ่มนักศึกษาทั้ง 7 คน ที่ถูกคุมขังอยู่ในเรือนจำ โดยไม่มีเงื่อนไข เพราะการกระทำดังกล่าวเป็นการให้ข้อมูลต่อการทำประชามติ ที่สามารถทำได้ตามหลักสากล

แถลงการณ์ศิษย์เก่า และอดีตนักกิจกรรมมหาวิทยาลัยรามคำแหง

จากกรณีที่มีการจับกุมนักศึกษาที่จัดกิจกรรมเพื่อรณรงค์ให้คนไปใช้สิทธินอกเขตจังหวัด และแจกเอกสารแสดงความคิดเห็นต่อร่างรัฐธรรมนูญ เพื่อให้ประชาชนได้รับรู้ถึงข้อดี ข้อเสียของร่างรัฐธรรมนูญ และให้ประชาชนตระหนักถึงสิทธิตัวเองเพื่อกำหนดอนาคตประเทศ แต่เจ้าหน้าที่รัฐ ได้อ้างคำสั่งของหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 3/2558 และพระราชบัญญัติว่าด้วยการออกเสียงประชามติ เข้าดำเนินคดี จับกุมคุมขังกลุ่มนักศึกษาดังกล่าว และส่งดำเนินคดีในศาลทหาร จนถูกจองจำขาดอิสระภาพ

การดำเนินกิจกรรมเพื่อกระตุ้นเตือนให้ประชาชนออกไปใช้สิทธิในกระบวนการประชามติ ที่จะมีขึ้นในวันที่ 7 สิงหาคมนี้ ถือว่าเป็นกระบวนการที่จะทำให้ประชาชนได้มีส่วนร่วมทางการเมือง และประชาชนต้องได้รับรู้ข้อมูลที่รอบด้านเพียงพอ ต่อการตัดสินใจในครั้งนี้

การใช้อำนาจรัฐเข้าจับกุม โดยขาดการไตร่ตรองของเจ้าหน้าที่ ซึ่งกฎหมายประชามติ ยังคงมีปัญหาความชอบด้วยกฎหมาย อยู่ระหว่างการตีความของศาลรัฐธรรมนูญ อีกทั้งการจะระบุว่า ใครทำผิดกฎหมายประชามติ ต้องให้คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) เป็นผู้วินิจฉัย แต่ครั้งนี้กลับไม่ได้มี กกต.เข้าร่วมในการสอบสวน แต่เจ้าหน้าที่ก็ได้แจ้งข้อกล่าวหากับนักศึกษา /ส่วนคำสั่งหัวหน้า คสช.ฉบับที่ 3 ก็เห็นได้ว่า เป็นคำสั่งที่จำกัดสิทธิเสรีภาพของประชาชน ซึ่งในบรรยากาศที่อยู่ในช่วงก่อนทำประชามติ ควรที่จะเปิดให้ประชาชนได้แสดงออกอย่างเต็มที่ เพื่อเป็นประโยชน์อันสูงสุด

พวกเราในนามศิษย์เก่า และอดีตนักกิจกรรมมหาวิทยาลัยรามคำแหง เห็นว่าการดำเนินคดีกับนักศึกษา ยังขาดการไตร่ตรอง จึงมีข้อเรียกร้องดังนี้

1.หยุดการใช้กฎหมายประชามติ เพื่อดำเนินการจับกุม กับบุคคลทุกคน และเปิดให้มีการแสดงออกต่อร่างรัฐธรรมนูญอย่างเต็มที่

2.หยุดใช้คำสั่งหัวหน้า คสช.เพื่อดำเนินคดีกับผู้ที่เห็นต่าง และให้เจ้าหน้าที่รัฐทบทวนบทบาทการทำงานในเรื่องการรักษาความสงบเรียบร้อย ตลอดจนให้หยุดใช้ความรุนแรงในการเข้าจับกุม

3.ให้ปล่อยกลุ่มนักศึกษาทั้ง 7 คน ที่ถูกคุมขังอยู่ในเรือนจำ โดยไม่มีเงื่อนไข เพราะการกระทำดังกล่าวเป็นการให้ข้อมูลต่อการทำประชามติ ที่สามารถทำได้ตามหลักสากล

เชื่อมั่นศรัทธาพลังคนรุ่นใหม่

บารมี ชัยรัตน์
วิสา คัญทัพ
วัฒน์ วรรยางกูล
นิติรัตน์ ทรัพย์สมบูรณ์
อานนท์ นำภา ทนายความสิทธิมนุษยชน
เจณจิณณ์ เอมะ
ประกาศ เรืองดิษฐ์
ศรีสุวรรณ จรรยา 
พีร ศรีเมือง 
เอกชัย พรพรรณประภา 
รัตนา ศิลปประสม 
นราภรณ์ ดำอำไพ 
ตรีชฏา ศรีธาดา 
บุญเลิศ มโนสุจริตชน อดีตสมาชิกชมรมค่ายสาพัฒนา มหาวิทยาลัยรามคำแหง
วีรพงษ์ คำเนตร อดีตสมาชิกชมรมค่ายอาสาพัฒนา มหาวิทยาลัยรามคำแหง
ธเนศ ศรีวิรัญ อดีตสมาชิกชมรมค่ายอาสาพัฒนาราม-อีสาน
ทวีศักดิ์ เห็นครบ อดีตประธานชมรมศึกษาปัญหาแหล่งเสื่อมโทรม
สรสิช ฟักแฟง อดีตสมาชิกชมรมค่ายอาสาพัฒนาราม-อีสาน
พงษ์สุวรรณ สิทธิเสนา อดีตสมาชิกชมรมค่ายอาสาพัฒนาราม-อีสาน
พิศาล บุพศิริ อดีตสมาชิกชมรมค่ายอาสาพัฒนาราม-อีสาน
จักรพล บูรพา อดีตสมาชิกชมรมศึกษาปัญหาแหล่งเสื่อมโทรม
ราชันย์ กัลยาฤทธิ์ 
กนกวรรณ พุ่มอยู่ 
ศัลธณี เกิดชนะ 
วีรชัย เฟ้นดี้ อดีตสมาชิกชมรมค่ายอาสาพัฒนาราม-อีสาน
กานญานุช เขื่อนทา 
ปิยนัฐ เสมารัมย์ อดีตสมาชิกชมรมค่ายอาสาพัฒนาราม-อีสาน
รัตนาภรณ์ ไชยพงษ์ อดีตสมาชิกชมรมค่ายอาสาพัฒนาราม-อีสาน
คุณภัทร คะชะนา 
จริยาภรณ์ ภูเดช อดีตสมาชิกชมรมค่ายอาสาพัฒนาราม-อีสาน
วลี นาคสุวรรณ 
ธนู แนบเนียร 
วีรนันท์ ฮวนศรี อดีตสมาชิกชมรมค่ายอาสาพัฒนามหาวิทยาลัยรามคำแหง
อัครพงศ์ พรหมมา อดีตรองประธานชมรมอนุรักษ์ธรรมชาติและทรัพยากรสิ่งแวดล้อม
รณชัย ชัยนิวัฒนา 
พรพนา ก๊วยเจริญ 
ณฤตณ ฉอ้อนศรี 
ชูศักดิ์ เจริญหงษ์ทอง 
สิรินาฏ ศิริสุนทร 
ทวิภัทร บุณฑริกสวัสดิ์ 
ธนู จำปาทอง 
ร่วมพงษ์ ซ่อนกลิ่น 
วินัด เพ็งแจ่ม 
สิริธร ไพรลุณ อดีตประธานชมรมอนุรักษ์ธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม 
ชาญชัย ษมาชัยเรืองฤทธิ์ อดีตประธานชมรมศึกษาปัญหาชาวเขา
สาธิต กลิ่นเทศ 
รัฐประชา พุฒนวล อดีตสมาชิกชมรมค่ายอาสาพัฒนาราม-อีสาน
ธนวินท์ เตชินท์ธนนันท์ อดีตนักศึกษามหาวิทยาลัยรามคำแหง
พจมาลย์ วงษ์พันธุ์ อดีตสมาชิกชมรมค่ายอาสาพัฒนาราม-อีสาน
ณิฐฐา หนูสม อดีตสมาชิกชมรมค่ายอาสาพัฒนาราม-อีสาน
ฌัชเมษ อมรพุทธิกุล 
อดิราช ท้วมละมูล 
ธนพล ใคร่ครวญ 
ธัญญาวัส ประจันต์ อดีตสมาชิกชมรมค่ายอาสาพัฒนาราม-อีสาน
ไพรัตน์ ทองใสย์ อดีตสมาชิกชมรมค่ายอาสาพัฒนาราม-อีสาน
ราตรี สุริเตอร์ อดีตสมาชิกชมรมค่ายอาสาพัฒนา มหาวิทยาลัยรามคำแหง
นัทธวัฒน์ ทับทิมทอง อดีตสมาชิกชมรมค่ายอาสาพัฒนา มหาวิทยาลัยรามคำแหง
สรณ ขจรเดชกุล อดีตสมาชิกชมรมค่ายอาสาพัฒนา มหาวิทยาลัยรามคำแหง
อภิสิทธิ์ เหล่าลุมพุก อดีตประธานชมรมค่ายอาสาพัฒนา มหาวิทยาลัยรามคำแหง
สุทธิพงษ์ พูนกล้า อดีตสมาชิกชมรมอนุรักษ์ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม
พงษ์สัญ สะโรชะมาศ 
มูฮำหมัดอาลาดี เด็งนิ 
ธนพล สว่างแสง 
อรุณี สะโรชะมาศ 
พระวิศรุต ชุตินธโร อดีตประธานชมรมศึกษาปัญหาแหล่งเสื่อมโทรม
ถาวร ปิยะวงศ์รุ่งเรือง นักกฎหมายสิทธิมนุษยชน
ธีรพันธุ์ พันธุ์คีรี นักกฎหมายสิทธิมนุษยชน

author

ปฏิทินกิจกรรม EVENT CALENDAR

เข้าสู่ระบบ