รวมภาพจากงาน”พลังสื่อ…มือสมัครใจ” วันที่ 25-26 สิงหาคม 2555

รวมภาพจากงาน”พลังสื่อ…มือสมัครใจ” วันที่ 25-26 สิงหาคม 2555

"พลังสื่อ มือสมัครใจ” เกิดขึ้นในโอกาสครบรอบครึ่งทศวรรษของการทำงานร่วมกันของเครือข่ายสื่อภาคพลเมือง และไทยพีบีเอส งานนี้เป็นพื้นที่แลกเปลี่ยนเรียนรู้คนในแวดวงสื่อพลเมือง และเสริมพลังให้ภาคพลเมืองได้เข้ามามีส่วนร่วมในการกำหนดวาระการสื่อสารสาธารณะและร่วมรับผิดชอบต่อสังคม ในทุกช่องทางการสื่อสารของไทยพีบีเอส รวมถึงสร้างองค์ความรู้ในประเด็นวาระทางสังคมต่างๆ เพื่อนำไปสู่การสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องให้กับสังคมไทย

ผู้ที่มาเข้าร่วมงาน เป็นเครือข่ายที่ทำงานร่วมกับไทยพีบีเอสมาอย่างต่อเนื่อง ประกอบด้วยเครือข่ายที่เป็นกองบรรณาธิการร่วมหรือกอง บก. ร่วม ในแต่ละภูมิภาค ทั้ง ภาคเหนือ ภาคอีสาน ภาคใต้ และภาคกลาง เครือข่ายสื่อเชิงประเด็นในพื้นที่ เครือข่ายนักวิชาการ และเครือข่ายผู้ผลิตอิสระภาคพลเมืองที่ผ่านการพัฒนาศักยภาพ

“พลังสื่อ…มือสมัครใจ” จึงถือว่าเป็นงานที่ร่วมมือกันระหว่าง  สื่อพลเมือง สื่อสาธารณะ และสังคมไทย

การประชุม…งาน “พลังสื่อ…มือสมัครใจ”วันที่ 25 สิงหาคม ณ ไทยพีบีเอส ผู้ที่มาเข้าร่วม ได้แก่ กลุ่ม กองบรรณาธิการร่วม นักวิชาการ ผู้ผลิตอิสระ และเครือข่ายเชิงประเด็น งานนี้จึงเป็นงานที่เกิดจากความร่วมมือกันระหว่าง สื่อพลเมือง สื่อสาธารณะ และสังคมไทย

"สื่อพลเมือง สื่อสาธารณะกับสังคมไทย" โดยคุณเทพชัย หย่อง สื่อสาธารณะ ไม่ใช่เพียงแค่การผลิตรายการออกสื่ออย่างเดียว แต่เป็นพื้นที่สาธารณะที่ประชาชนทุกภาคส่วนเข้ามามีส่วนร่วมได้

ประชาชนสามารถเข้ามาร่วมผลิตรายการ ไม่ใช่แค่มาวิเคราะห์วิจารณ์รายการเท่านั้น เช่น นักข่าวพลเมือง ที่คนในพื้นที่ได้พูดถึงประเด็น ปัญหา สะท้อนวิถีชีวิตของตัวเอง ด้วยภาษาของตัวเอง ให้คนทั่วทั้งประเทศฟัง เพราะนี่เป็นเรื่องของสังคม และสะท้อนและเกี่ยวกับทุกภาคส่วนของสังคม สื่อพลเมือง คือ ความท้าทาย เราจะทำอย่างไรให้คนที่ดูรายการนี้ เพราะเป็นเรื่องของการนำเสนอเรื่องราว ทั้งที่เป็นปัญหา วิถีชีวิต แต่เราจะทำอย่างไร ที่จะทำให้เกิดการแก้ไข มีคนให้ความสนใจ เกิดความรู้สึกร่วม แล้วนำไปสู่การเปลี่ยนแปลง

ตัวแทนจาก อ.จะนะ จ.สงขลา "เวลาที่เราพูดถึงเรื่องของการสื่อสาร ที่ อ.จะนะ คือ การสื่อสารได้ยังไม่เป็นที่รับรู้มากนัก เพราะในพื้นที่มีเรื่องของแผนพัฒนา
จากเมื่อก่อนมีแต่การพูดคุยกันปากต่อปาก การถือกล้องเข้าไปคุย บางคนก็เกิดการแลกเปลี่ยนมากขึ้น จนนำไปสู่การสร้างกลุ่ม แต่อาจจะเป็นการนำเสนอเรื่องที่ไม่ใช่แนวเดียวกันกับเรา"

การทบทวน ในหน้าที่ของสื่อพลเมือง ว่าเราไม่ใช่คนที่เป็นสายข่าวให้กับ ThaiPBS เพราะเรามีการสื่อสารที่หลากหลายอยู่แล้ว ในอนาคตข้างหน้า ThaiPBS อาจจะเป็นช่องทางหนึ่งในการติดอาวุธทางความคิดให้ และมีพื้นที่สำหรับการสื่อสาร แต่การสื่อสารไม่จำเป็นต้องเป็นข่าวก็ได้ แต่ขอให้มีการปฏิบัติการ

"สื่อพลเมือง กับอนาคตที่ท้าทาย" ทำความเข้าใจกับภูมิศาสตร์การสื่อสารที่เปลี่ยนแปลงไปกับบทบาทของสื่อสาธารณะชุมชน (สื่อพลเมือง) ที่กำลังเติบโตขึ้นมา โดยตัวแทนจากกลุ่มสื่อเสียงคนอิสาน,ศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์ภาคใต้,อดีตเลขาธิการ คณะกรรมการรณรงค์เพื่อการปฏิรูปสื่อ, อาจารย์คณะนิเทศศาสตร์
ม.หอการค้าไทย และ อาจารย์จาก มอ.ปัตตานี

คุณรอมฎอน ปันจอร์ ศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์ภาคใต้ "การเข้าใจถึงปัญหานั้นต้องเข้าถึงปัญหาชาติพันธุ์ ต้องอาศัย สามองค์กรหลักคือ คนในพื้นที่ที่เข้าใจถึงปัญหา นักวิชาการด้านงานวิจัย สื่อเช่นวิทยุ ,โทรทัศน์ วารสารท้องถิ่น ต่างๆ ต้องอาศัยสิ่งต่างๆเหล่านี้ควบคู่ไปพร้อมๆกันหากขาดองค์ประกอบใดไปนั้นการขับเคลื่อนก็เกิดไม่เติมที่ การใช้สื่อนั้นจึงเป็นสื่อกลางในการสื่อสาร"

คุณสุเทพ วิไลเลิศ อดีต คปส. (ด้านซ้าย) กับมุมมองเรื่องอนาคตของสื่อที่ท้าทายนั้น มีช่องทางมากขึ้นในการสื่อ ซึ่งเป็นสื่อใหม่แต่ไม่ใช่ทุกกลุ่มที่จะเข้าถึงสื่อใหม่ได้ วาระในการสื่อนั้นไม่ใช่แค่ช่วงที่เกิดสถานการณ์นั้นแต่ต้องดูถึงเสียงของคนในพื้นที่ด้วย "สื่อมีส่วนในการคลี่คลายสถานการณ์รุนแรงได้"
คุณปัญญา คำลาภ (ด้านขวา) กลุ่มสื่อเสียงภาคอีสาน กล่าวถึงการจัดทำเครือข่าย ที่ให้คนในพื้นที่และผู้ที่มีความรู้จัดให้วงเสวนาในท้องถิ่นเพื่อหาการแก้ปัญหาในพื้นที่ และให้สื่อเป็นตัวการในการสื่อสารให้สังคมได้รับรู้ว่าเกิดอะไรขึ้นบางกับชุมชนของตน

บังยุบ มูฮำหมัด อายุบปาทาน (ภาคใต้)"การสื่อสาร ก็ควรเป็นการสื่อสารจากข้างล่าง ไปสู่ข้างบน แต่เรื่องที่จะบอก ต้องเป็นเรื่องของสาธารณะด้วย แล้วในระดับที่เราทำงานด้วยกัน เราก็ต้องมีการพูดคุยกันก่อนเพื่อให้ข้อมูลนั้นตกผลึก ดังนั้นคนที่อยู่ในพื้นที่ถือว่าเป็นต้นทุนที่สำคัญ เพราะคุณสามารถเป็นอำนาจในการต่อรองได้ ไม่ใช่เพียงแค่เป็นเรื่องของการสื่อสารเท่านั้น แต่อาจเป็นเรื่องของการต่อรองสู่รัฐบาลได้"

อ.ศรีสมภพ จิตร์ภิรมย์ศรี "การสร้างพื้นที่ทางสังคม นำมาซึ่งนวัตกรรมทางสื่อสาธารณะ การเปลี่ยนแปลงความขัดแย้ง ไม่ใช่สิ่งที่ต้องขจัดออกไป ถึงแม้มีความขัดแย้งไม่จำเป็นต้องใช้ความรุนแรง สิ่งที่สำคัญคือการหาสันติภาพ ด้วยการทำอะไรก็ได้ ด้วยการหาพื้นที่ร่วมเพื่อการหาความสันติภาพ"

ดร.ภัทรา บุรารักษ์(ภาคเหนือ) "ขับเคลื่อนวาระ เนื้อหาจากท้องถิ่นหรือชุมชน สู่กองบบรรณาธิการร่วม เพิ่มพื้นที่การสื่อสาร พัฒนาคน พัฒนาเครือข่าย"

อาจารย์มัทนา เจริญวงค์ (ภาคอิสาน) "การขับเคลื่อนด้วยหลักสูตรการศึกษา จะมีวิชาการสื่อสารเพื่อชุมชน มีการทำงานร่วมกับชุมชน มีการทำสื่อสิ่งพิมพ์ มีการจัดรายการวิทยุชุมชน และเติบโตไปพร้อมกับสื่อพลเมือง ในการทำข่าวพลเมือง ต้องทำให้เห็นว่า ชาวบ้านหรือชุมชน ได้รับประโยชน์อย่างไร สามารถนำไปต่อยอดร่วมกับชุมชนได้อย่างไร"

กลุ่มเยาวชน AYM (Asia Youth Multi-media Platform) วางแผนการสื่อสารที่หลากหลายช่องทางบนพื้นที่การทำงานที่หลาก ทั้งภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคอิสาน และภาคใต้ ทุกคนล้วนเชื่อมโยงใยกันอยู่

การวางแผนงานร่วมกันสำหรับกลุ่มเยาวชน "ต่อจากนี้ไปอีก 1 ปี พวกเราจะทำกันอย่างไรกับโจทย์ที่ท้าทาย"

ทีมถ่ายทอดสดที่ส่งสัญญาณออกอากาศสดตลอดงานทั้ง 2 วัน ผ่านทาง TVThainetwork.com และ www.webtvthaipbs.com

ภาพประกอบโดย กลุ่มสถานีเด็กใต้จายข่าว http://www.facebook.com/profile.php?id=100002642303936

author

ปฏิทินกิจกรรม EVENT CALENDAR

เข้าสู่ระบบ