มหกรรมเกษตรอินทรีย์กลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน ๑:

มหกรรมเกษตรอินทรีย์กลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน ๑:

โครงการมหกรรมเกษตรอินทรีย์กลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน  ๑:
“สร้างอาหารเพื่อชุมชน   สร้างสังคมที่เป็นธรรม”
ณ หอประชุมมหาวิทยาลัยเชียงใหม่   วันที่ ๒๗-๒๘ ตุลาคม 2554

 
มติคณะรัฐมนตรี ๖ พฤษภาคม ๒๕๕๑ ได้เห็นชอบยุทธศาสตร์การพัฒนาภาคเหนือตอนบน ๑   ในช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคมแห่งชาติฉบับที่ ๑๐ โดยยุทธศาสตร์การพัฒนาของกลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน ๑ได้กำหนดให้มีการพัฒนาเกษตรอินทรีย์ครบวงจร (การพัฒนาด้านการผลิต การตลาดและการรับรองมาตรฐาน) เป็นประเด็นขับเคลื่อนที่สำคัญ
เนื่องจากการที่จะทำเกษตรอินทรีย์ในระบบเกษตรกรรมยั่งยืนประสบผลสำเร็จได้นั้น จะต้องทำเกษตรอินทรีย์แบบครบวงจร โดยทำกิจกรรมหลักประกอบด้วย การผลิต การแปรรูป การขอการรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ การตลาด การจัดกระบวนการเรียนรู้ให้ผู้บริโภค การสื่อสารสาธารณะและการผลักดันนโยบาย ที่สำคัญคือการจัดประชุมใหญ่ประจำปีของเครือข่ายเกษตรอินทรีย์ระดับกลุ่มจังหวัด หรือมหกรรมเกษตรอินทรีย์ ซึ่งการจัดประชุมหรือมหกรรมดังกล่าวจะช่วยทำให้เกษตรกรได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนเรียนรู้องค์ความรู้ ประสบการณ์ ทั้งด้านการผลิต การแปรรูป การตลาด และมาตรฐาน  ได้ประชาสัมพันธ์และจำหน่ายผลผลิต และกำหนดแผนการดำเนินงานรวมกัน
ด้วยความสำคัญของมหกรรมเกษตรอินทรีย์ดังกล่าว ทางกลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน 1 จึงได้จัดทำโครงการมหกรรมเกษตรอินทรีย์กลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน1 ขึ้น   เพื่อสร้างโอกาสให้เกษตรกรที่เข้าร่วมมหกรรมได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้องค์ความรู้ด้านการผลิต การแปรรูป การรับรองมาตรฐาน การตลาด การทำงานผู้บริโภค การทำงานเพื่อขยายผลและการผลักดันทางนโยบายด้านเกษตรอินทรีย์
เพื่อสร้างโอกาสให้ผู้บริโภค สาธารณชน ผู้มีอำนาจตัดสินใจทางนโยบาย และสื่อสารมวลชน  ได้มีความรู้ ความเข้าใจ เรื่องเกษตรอินทรีย์และระบบตลาดที่เป็นธรรม รวมทั้งตระหนักในเรื่องของการบริโภคผลผลิตจากเกษตรอินทรีย์โดยตรง
เพื่อให้ผู้เข้าร่วมทั้งเกษตรกร ผู้บริโภค องค์กรสนับสนุนทั้งภาครัฐและเอกชนได้ร่วมกันวางแผนการพัฒนาด้านระบบอาหาร ด้านคุณภาพชีวิต และด้านอื่นๆ ร่วมกัน

กำหนดการกิจกรรมด้านวิชาการ
วันที่ ๒๗ ตุลาคม ๒๕๕๔   
๐๘.๐๐ – ๐๙.๐๐ น.      ลงทะเบียน
๐๙.๐๐ – ๐๙.๓๐ น.      การแสดง “กลองสบัดชัย”
๐๙.๓๐ – ๑๐.๐๐ น.      กล่าวเปิดงานและปาฐกถาเรื่อง “ ทิศทางการพัฒนาเกษตรอินทรีย์ของกลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน ๑”   โดย ผู้ว่าราชการจังหวัดลำพูน*
กล่าวรายงานโดย หัวหน้าสำนักงานจังหวัดลำพูน*
๑๐.๐๐ – ๑๒.๐๐ น.   รายงาน “สถานภาพเกษตรอินทรีย์ในระบบเกษตรกรรมยั่งยืนในจังหวัดภาคเหนือตอนบน ๑”
๑)  กรณีจังหวัดแม่ฮ่องสอน ผู้รายงาน: คุณกิติศัพท์ วันทา ทีมหนุนเครือข่ายเกษตรทางเลือกจังหวัดแม่ฮ่องสอน (สกว. ท้องถิ่นแม่ฮ่องสอน)
๒) กรณีจังหวัดเชียงใหม่     ผู้รายงาน: คุณจีรวรรณ โสดาวัฒน์ ผู้จัดการสมาคมมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ภาคเหนือ
๓) กรณีจังหวัดลำพูน          ผู้รายงาน: คุณวรรณฑิภา ปัญญากร กรรมการกลุ่มเกษตรกรทำสวนผลไม้อินทรีย์ลุ่มน้ำลี้
๔) กรณีจังหวัดลำปาง         ผู้รายงาน: คุณรุ่งสุรีย์ ชัยศรี เจ้าหน้าที่ฝ่ายฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรฯ
 ผู้ดำเนินรายการ คุณอรุณี  เวียงแสง ผู้ประสานงานกลไกกลางสนับสนุนเครือข่ายงานวิจัยเพื่อท้องถิ่นภาคเหนือ
๑๒.๐๐ – ๑๓.๐๐ น.      พักรับประทานอาหาร
๑๓.๐๐ – ๑๓.๓๐ น.      การแสดง “รำนกรำโต”
๑๓.๓๐ – ๑๕.๐๐ น.      สถานการณ์และความเคลื่อนไหว:  สารเคมีทางการเกษตร, เกษตรพันธะสัญญา และขบวนการ “กินเปลี่ยนโลก”
            ผู้นำเสนอ ๑)   คุณอุบล  อยู่หว้า คณะทำงานเฝ้าระวังสารเคมีทางการเกษตร
๒)   คุณกิ่งกร นรินทรกุล ณ อยุธยา ผู้จัดการโครงการกินเปลี่ยนโลก
ผู้ดำเนินรายการ ดร.ชมชวน บุญระหงษ์ ผู้อำนวยการสถาบันชุมชนเกษตรกรรมยั่งยืน
๑๕.๐๐ – ๑๕.๓๐ น.      การแสดง “ ของดีศรีลำพูน”

๑๕.๓๐-๑๗.๓๐ น.    สถานการณ์และความเคลื่อนไหว: ยุทธศาสตร์เกษตรอินทรีย์ภาคเหนือ แนวคิดจังหวัดจัดการตนเอง และจังหวัดจัดการตนเองด้านการเกษตร
ผู้นำเสนอ ๑) ตัวแทนจากสำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
๒)   คุณสวิง   ตันอุด    ผู้อำนวยการสถาบันการจัดการทางสังคม
๓)   คุณนาถพงศ์ พัฒนพันธ์ชัย นักวิจัยและนักวิชาการอิสระ
ผู้ดำเนินรายการ 
คุณสมัย แก้วภูศรี ผู้อำนวยการเครือข่ายศูนย์เรียนรู้ปราชญ์ชาวบ้านเครือข่ายเกษตรอินทรีย์ลุ่มน้ำลี้
๑๘.๐๐ – ๒๐.๐๐ น.      รับประทานอาหารเย็นร่วมกัน และการแสดงดนตรีเพื่อชีวิต

วันที่ ๒๘ ตุลาคม ๒๕๕๔
๐๙.๐๐ – ๐๙.๓๐ น.   การแสดง “ร่ำเปิง ลำปาง”
๐๙.๓๐ – ๑๑.๐๐  น.   แนวทางการพัฒนาเกษตรอินทรีย์ในระดับจังหวัด และประเด็นที่จะขับเคลื่อนร่วมกันในระดับกลุ่มจังหวัด: แบ่งกลุ่มย่อยตามจังหวัด และตามประเด็น
๑๑.๐๐ – ๑๒.๐๐  น.   แนวทางการพัฒนาเกษตรอินทรีย์ในระดับจังหวัด และประเด็นที่จะขับเคลื่อนร่วมกันในระดับกลุ่มจังหวัด: ตัวแทนกลุ่มย่อยนำเสนอและระดมเพิ่มเติมจากที่ประชุมใหญ่
ผู้ดำเนินรายการ: คุณศรีษะเกษ สมาน ผู้อำนวยการสถาบันความรู้เพื่อท้องถิ่นลำปาง
๑๒.๐๐  – ๑๓.๐๐ น.      รับประทานอาหารเที่ยง
๑๓.๐๐ – ๑๓.๓๐ น.         การแสดง “ฟ้อนเล็บ”
๑๓.๓๐ – ๑๔.๓๐ น.   ปาฏกถา เรื่อง พลังของเกษตรกรและผู้บริโภคเกษตรอินทรีย์กับการเปลี่ยนแปลงสังคมไทย”
      ปาฏกถาโดย นางสาว รสนา โตสิตระกูล
                สมาชิกวุฒิสภา
๑๔.๓๐ – ๑๕.๐๐ น.   พิธีมอบเกียรติบัตร “ตัวแทนทีมทำ ทีมนำ ทีมหนุนเกษตรอินทรีย์ของสี่จังหวัดภาคเหนือตอนบน ๑”
มอบเกียรติบัตรโดย หม่อมหลวงปนัดดา ดิศกุล * ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่
                  หัวหน้ากลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน ๑
๑๕.๐๐ -๑๕.๓๐ น.      ปาฏกถา และพิธีปิดโดย
หม่อมหลวงปนัดดา ดิศกุล * ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่
หัวหน้ากลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน ๑
      
สัญญลักษณ์    *    หมายถึงอยู่ในระหว่างการติดต่อ

กิจกรรมที่ ๓.๒ การจำหน่ายผลผลิตเกษตรอินทรีย์: ลานกิจกรรมกลางแจ้ง
–   ลานจำหน่ายผลผลิต อาหาร พืชผัก / ผลไม้ / อาหารแปรรูป / กาแฟ / น้ำผลไม้ และขนม ของเครือข่ายแม่กาดเกษตรอินทรีย์เชียงใหม่ และสมาชิกจาก ลำปาง,ลำพูนและเชียงใหม่

กิจกรรมที่ ๓.๓ การแสดงนิทรรศการและลานภูมิปัญญาท้องถิ่น
–   การสาธิตการหีบน้ำมันงา
–   สาธิตการสีข้าวกล้อง  การแสดงเครื่องสีข้าว และอุปกรณ์เกษตรต่างๆ
–   ซุ้มแลกเปลี่ยนเมล็ดพันธุ์ข้าว หรือพืชผักพื้นบ้าน
–   การแสดงด้านพลังงานทดแทน บ่อแก๊สชีวภาพ , ถ่านอัดแท่ง ฯลฯ
–   กิจกรรมการตรวจวัดสารเคมีในร่างกาย  สาธารณสุขจังหวัด
–   นิทรรศการวิชาการ จาก สำนักงานจังหวัดลำพูน /กษ. เชียงใหม่ / กษ.ลำปาง / กษ.แม่ฮ่องสอน
–   นิทรรศการจาก เทศบาลตำบลอุโมงค์ จังหวัดลำพูน
–   นิทรรศการ สวนผักคนเมือง
–   นิทรรศการ กินเปลี่ยนโลก
–   ซุ้มการอบรมระยะสั้น เช่น การทำน้ำยาเอนกประสงค์ ,น้ำสมุนไพรเพื่อสุขภาพ ,การทำขนมพื้นบ้าน , การทำสลัดจากผักพื้นบ้าน หรือการทำข้าวปั้นจากข้าวพื้นบ้าน ฯลฯ
–   ซุ้ม ผ้าทอ / ผ้าพื้นเมือง
กิจกรรมที่ ๓.๔ การแถลงข่าว
         –    การแถลงข่าวแก่สื่อมวลชน ในวันที่ ๒๗ ตุลาคม ๒๕๕๔ เวลา ๑๐.๐๐ น.

ผู้เข้าร่วม ทั้งหมด ประมาณ ๑,๕๐๐ คน
   1) เกษตรกรจากจังหวัดลำปางลำพูน เชียงใหม่ และแม่ฮ่องสอน จำนวน ๔๐๐ คน
   2) ผู้บริโภค ผู้ประกอบการ สื่อมวลชน จำนวน ๑,๐๐๐ คน
   3) คณะทำงาน และองค์กรร่วมจัด ๑๐๐ คน

องค์กรสนับสนุน
   สำนักงานจังหวัดลำพูน โดยกิจกรรมโครงการประชาสัมพันธ์และการตลาดเชิงรุกสินค้าเกษตรปลอดภัย ภายใต้ กลยุทธ์การพัฒนาและเชื่อมโยงตลาดสินค้าเกษตรครบวงจร และประเด็นยุทธศาสตร์การปรับโครงสร้างการผลิตสู่เกษตรปลอดภัยและส่งเสริมเกษตรมูลค่าเพิ่ม 

   องค์กรประสานงานการจัด   
๑)   สถาบันชุมชนเกษตรกรมยั่งยืน
๒)   สมาคมมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ภาคเหนือ
๓)   กลไกกลางสนับสนุนเครือข่ายงานวิจัยเพื่อท้องถิ่นภาคเหนือ
๔)   สถาบันความรู้เพื่อท้องถิ่นลำปาง
๕)   เครือข่ายเกษตรอินทรีย์ลุ่มน้ำลี้ จังหวัดลำพูน

   องค์กรร่วมจัด
๑)   สำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัดเชียงใหม่
๒)   สำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัดลำพูน
๓)   สำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัดลำปาง
๔)   สำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัดแม่ฮ่องสอน
๕)   เครือข่ายเกษตรกรรมทางเลือก จังหวัดแม่ฮ่องสอน
๖)   เครือข่ายเกษตรกรรมทางเลือก จังหวัดเชียงใหม่
๗)   เครือข่ายเกษตรกรรมทางเลือก จังหวัดลำพูน
๘)   เครือข่ายเกษตรกรรมทางเลือก จังหวัดลำปาง
๙)   สหกรณ์เกษตรยั่งยืนแม่ทาจำกัด
๑๐)   สหกรณ์เกษตรอินทรีย์เชียงใหม่จำกัด
๑๑)   สหกรณ์เกษตรพัฒนาจำกัด
๑๒)   มูลนิธิศึกษาพัฒนาชนบท
๑๓)   กลุ่มแม่กาดตลาดนัดเกษตรอินทรีย์
๑๔)   คลังเกษตรอินทรีย์
๑๕)   โครงการบูรณาการเชียงใหม่จัดการตนเอง
๑๖)   เครือข่ายเกษตรกรพันธสัญญา
๑๗)   เครือข่ายคุ้มครองผู้บริโภคจังหวัดเชียงใหม่
๑๘)   โฮงเฮียนสืบสานภูมิปัญญาล้านนา
๑๙)   ร้านปาเกอญอ
๒๐)   มูลนิธิพัฒนาภาคเหนือ
๒๑)   มูลนิธิเกษตรกรรมยั่งยืน
๒๒)   เครือข่ายเกษตรทางเลือก 4 ภาค
๒๓)   โครงการกินเปลี่ยนโลก
๒๔)   สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่
๒๕)   สำนักงานเทศบาลตำบลอุโมงค์ จังหวัดลำพูน
๒๖)   สมาคม วาย เอ็ม ซี เอ  เสาหิน
๒๗)   โรงเรียนดาราวิทยาลัย
๒๘)   โรงเรียนปรินส์รอยัลวิทยาลัย
๒๙)   โรงเรียนมงฟอร์ตวิทยาลัย
๓๐)   โรงเรียนยุพราชวิทยาลัย
๓๑)   โรงเรียนวัฒโนทัยพายัพ
๓๒)   ร้านโขงสาละวิน จังหวัดลำพูน

   ผู้ประสานงานการจัดงานและที่ติดต่อ
   ดร. ชมชวน  บุญระหงษ์
   สถาบันชุมชนเกษตรกรรมยั่งยืน
   363 หมู่ 4 ต. หนองจ๊อม อ. สันทราย จ. เชียงใหม่ 50210
   โทรศัพท์/โทรสาร 053-354053, 4 มือถือ 081-8856272
   boonrahong@hotmail.com

author

ปฏิทินกิจกรรม EVENT CALENDAR

เข้าสู่ระบบ