พลิก “วิกฤติ” นักสิทธิแรงงานข้ามชาติ แนะไทยนำอาเซียนคุ้มครองแรงงานประมง

พลิก “วิกฤติ” นักสิทธิแรงงานข้ามชาติ แนะไทยนำอาเซียนคุ้มครองแรงงานประมง

จากกรณีกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) จัดชุดเฉพาะกิจช่วยเหลือลูกเรือประมงไทยที่ตกค้างบนเกาะอัมบน สาธารณรัฐอินโดนีเซียกว่า 750 คน พร้อมรับแรงงานไทยล็อตแรก 21 คน เดินทางถึงดอนเมืองในช่วงค่ำวันนี้ (27 มีนาคม 2558) 

20152703173751.jpg

นายอดิศร เกิดมงคล ผู้เชี่ยวชาญด้านสิทธิแรงงานข้ามชาติ จากเครือข่ายองค์กรด้านประชากรข้ามชาติ (MWG) กล่าวว่า ขณะนี้ปัญหาไม่ได้จำกัดอยู่เฉพาะไทยกับสาธารณรัฐอินโดนีเซีย จึงมีความจำเป็นต้องสร้างกลไกในระดับภูมิภาคเข้ามาจัดการเรื่องนี้ โดยเสนอว่า ควรมีข้อตกลงร่วมกันในอาเซียนเรื่องประมงทะเล ถ้าจะให้กลไกในการคุ้มครองลูกเรือประมงทะเลไม่ควรจะทำเฉพาะไทย ดังนั้นไทยควรเป็นผู้นำในการสร้างมาตรฐานคุ้มครองแรงงานประมงทะเลในภูมิภาคอาเซียน ซึ่งเวลานี้ถือเป็นจังหวะเวลาที่เหมาะสมที่สุดอีกทั้งเป็นการแสดงท่าทีที่ดีในประชาคมโลก 

“จะช่วยเหลือเฉพาะแรงงานไทยอย่างเดียวหรือไม่ เพราะถ้าเป็นแรงงานข้ามชาติ เช่น พม่า กัมพูชาจะปล่อยเขาไว้อย่างนั้นหรือ  อาจจะต้องคุยให้ชัดเจนเกี่ยวกับขอบเขตในการดูแลควรครอบคลุมแรงงานชาติอื่นๆ ด้วย เพราะระยะยาวคือ การติดตามลงโทษและดูแลเรื่องสวัสดิการจากการละเมิดของนายจ้าง ทำให้ปัญหานี้ไม่จบในระยะยาว”

นายอดิศร กล่าวว่า จากที่ประเมินสถานการณ์พบว่า มีปัญหาอยู่สองส่วนคือ กลไกในการคุ้มครองแรงงานที่ทำงานในเรือประมงทะเลมีข้อจำกัดตั้งแต่ต้นคือข้อจำกัดในการส่งเข้าไปทำงานในเรือประมงยังไม่มีกระบวนการจัดทำข้อมูลเอกสารแต่อย่างใด ส่วนที่สองคือ กลไกคุ้มครอง กรณีที่ประมงออกนอกน่านน้ำ ยังไม่มีระบบติดตาม คุ้มครอง ปัญหาหลักคือ ไม่มีข้อมูลพื้นฐานด้านเรือประมงที่ออกไปในและนออกน่านน้ำไทย ส่วนที่สามคือ คนไทยหรือลูกเรือไทยที่ประสบปัญหานอกราชอาณาจักร กระบวนการช่วยเหลือทั้งในส่วนของกระทรวงแรงานและกระทรวงการต่างประเทศยังไม่มีแนวปฏิบิติในการช่วยเหลืออย่างชัดเจน

สำหรับกรณีที่ประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) มีมติเอกฉันท์เห็นชอบร่างพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ให้ประกาศใช้เป็นกฎหมายนั้น  นายอดิศร กล่าวเพิ่มเติมว่า อาจได้ผลในส่วนของการเฝ้าระวังและมีกระบวนการในการตรวจเรือ อย่างไรก็ตาม เชื่อว่ายังไม่สามารถใช้ได้ในทุกกรณี เนื่องจากยังมีข้อจำกัดสูงและในแง่ของการปรับโครงสร้างและการจดทะเบียนเรือยังเป็นปัญหาอยู่ในปัจจุบัน ดังนั้นควรวางกรอบกฎหมายที่ครอบคลุมชัดเจนมากยิ่งขึ้น 

ที่มาภาพ: ประชาไท

 

author

ปฏิทินกิจกรรม EVENT CALENDAR

เข้าสู่ระบบ