ผ่าทางตันการก่อเกิดทีวีชุมชน : ดร.สิขเรศ ศิรากานต์
ดร.สิขเรศ ศิรากานต์ นักวิชาการอิสระ ด้านสื่อดิจิทัลและสื่อใหม่ กล่าวเสนอเพื่อหาทางออกในข้อจำกัดการเกิดขึ้นของทีวีชุมชนของไทย ในวงเสวนา “เปิดห้องเรียนทีวีชุมชน เรียนรู้เพื่อก้าวไปข้าวหน้า สู่สื่อสาธารณะชุมชน” ที่ไทยพีบีเอสจัดขึ้นในการประชุมเครือข่ายสื่อพลเมืองประจำปี 2557
หลายๆประเทศเขาไม่ได้ใช้เวลาแค่เปลี่ยนผ่านระบบแอนาล็อคเป็นดิจิตอลในระยะสั้น อย่างประเทศสหรัฐอเมริกาใช้เวลาในการเปลี่ยนผ่าน 13 ปี ส่วนประเทศอังกฤษเคยทำไม่สำเร็จมาสองครั้งจนต้องกลับมาทำเกี่ยวกับทีวีดิจิตอลอีกครั้งปี 2008 – 2012 การประกาศเปลี่ยนผ่านระบบสู่ดิจิตอลในหลายประเทศเป็นภูมิภาคสู่ภูมิภาค เขตสู่เขต ดังนั้นหากในแผนเดิมของกสทช. เปลี่ยนผ่าน 11 จังหวัดไปก่อนเรียบร้อยไปแล้ว เพราะฉะนั้นอาจจะกำหนดว่าทีวีชุมชนหรือทีวีอะไรก็แล้วแต่ที่เราพูดถึง เอา 11 จังหวัดที่พร้อมก่อนแล้วมาพิจารณาเรื่องเกี่ยวกับใบอนุญาตได้ไหม หรือจะเปลี่ยนผ่านเป็นระยะต่อระยะ
กรณีของอังกฤษกำหนดเป็นนโยบายของรัฐบาล เป็นนโยบายวาระแห่งชาติ ในปี 2011 ที่น่าสนใจคือ ซึ่งตรงกับไทยพีบีเอสที่กำลังจะทำอยู่ คือรัฐบาลอังกฤษประสานงานกับ BBC ให้ 1 .เงินทุนสนับสนุนการเกิดขึ้นของทีวีชุมชน 2.ทำ MOU ว่าถ้าคุณจะได้เงินทุนสนับสนุนก้อนนี้คุณต้องทำงาน เช่นในกรณีของ BBC TRUST รัฐบาลให้เงินไว้ 44 ล้านปอนด์ เพื่อสนับสนุนสาธารณูโภคขั้นพื้นฐานของชุมชนหรือทีวีท้องถิ่น 25 ล้านปอนด์ ผลิตรายการท้องถิ่น 15 ล้านปอนด์ และก็มีงบผูกพันต่อเนื่อง 3 ปีต่อไปเรื่อยๆ ซึ่งนี้คือรูปธรรมตอบปัญหาตอบโจทย์ในเรื่องที่ กสทช.กำลังกังวลเรื่องเงินกองทุนหรือไม่ ตนเห็นว่าเรามีทางเลือกใหม่ที่จะทำให้เกิดขึ้นนอกเหนือจากเงินกองทุนที่กล่าวถึง
ตัวอย่างที่สอดคล้องกับประเทศไทยเหมือนกัน คือประเทศออสเตรเลีย ในออสเตรเลียมี “ทีวีซิดนีย์” คือทีวีซิดนีย์เป็นทีวีของชุมชน ทีวีชุมชนประเภทนึง แต่ประกอบกิจการโดยมหาวิทยาลัยในซิดนีย์ (เวสเทอร์ซิดนีย์)เป็นผู้ประกอบการ ใช้บุคลากรจากอาจารย์ นักศึกษาและเป็นเวทีที่ในนักศึกษาได้ทำงานและชุมชนซิดนีย์ในตะวันตกด้วยเหมือนกัน นอกจากนั้นที่ประเทศนิวซีแลนด์มีช่อง เมาลีแชแนล เป็นช่องสำหรับคนพื้นถิ่นพื้นเมือง มีความทันสมัยและยกระดับเนื้อหาเทียบเท่าช่องระดับชาติ หลายประเทศเช่นแคนนาดามี พ.ร.บ.เหมือนกับไทย และแจกใบอนุญาตมีการสนับสนุนเฉพาะเจาะจงด้วย
ดังนั้นเห็นว่า กรณีของทีวีชุมชนไทย เรามีระบุใน พ.ร.บ. จะมีการแทรกย่อหน้าหนึ่ง หรือมีการออกประกาศแนบท้ายเพิ่มเติมก็สามารถทำได้ เพราะอารยประเทศเขาทำกันแล้ว อย่างแคนนาดา, นิวซีแลนด์, ออสเตรเลีย ดังนั้นข้อเสนอของตนคือ
หนึ่ง ควรจะมี Road Map สัก 10 ปี ถ้าเราเริ่มนับหนึ่งตั้งแต่ปี 2558 – 68 แบ่งเป็นระยะ 4 ปีแรกคือก่อสร้างสร้างตัว 3 ปีต่อมาคือเรียนรู้และพัฒนา 3 ปีสุดท้ายเป็นช่วงเวลาที่ดำรงอยู่อย่างคงที่ ซึ่งจะสอดคล้องกับช่วงเวลา เช่น ระยะแรก ไม่ว่าเราจะรักหรือไม่รักสภาวะของสังคมและการเมืองเป็นอยู่ แต่อย่างน้อยๆควรแปลงวิกฤตให้เป็นโอกาส เมื่อมีสปช. สนช.และรัฐบาล หรือกรรมมาธิการที่เกี่ยวกับการปฏิรูปสื่อก็เป็นคนที่ทำวิจัยเรื่องวิทยุชุมชน ตนจึงเสนอว่าโครงสร้างส่วนบนจะมีวิธีไหนดำเนินการให้เป็นเพื่อแก้ไขล็อคที่มีอยู่
สอง กลไกการขับเคลื่อน ไม่ว่ากสทช.จะเปลี่ยนหรือจะยังคงอยู่ แต่ กสทช.ก็ยังเป็นหน่วยงานผลักดันที่สำคัญ
สาม คลังสมอง ซึ่งตนคิดมาว่าถูกและต้องขอบคุณไทยพีบีเอสด้วย การทำ MOU กับมหาวิทยาลัยต่างๆ เป็นสิ่งที่ประเสริฐมาก ขณะเดียวกันการที่กสทช.มีคอร์สฝึกอบรมบางอย่างก็เป็นส่วนเสริม หากมาปรับโครงสร้างในการทำงานให้ได้เนื้อหาทางวิชาการ เพราะมีมหาวิทยาลัยที่มีการเรียนการสอนด้านนิเทศศาสตร์มากมาย เราจะพัฒนาส่วนนี้ได้อย่างไร
สี่ ภาคสนับสนุนอย่างเช่น ไทยพีบีเอสที่ขณะนี้มีโมเดลสอดคล้องกับ BBC และส่วนสุดท้ายคือภาคประชาชน เครือข่าย
ดร.สิชเรศ มองว่าในอนาคตเกณฑ์บิวตี้คอนเทสต์ที่จะพิจารณาให้ใบอนุญาตทีวีชุมชนต้องชัดเจน และเราต้องพยายามศึกษาว่ามันมีแหล่งเงินทุนแบบอื่นได้หรือไม่ และเราต้องกลับสู่โลกแห่งความเป็นจริง คือกลับไปดูในพรบ. ว่าคำว่าหารายได้ไม่ได้ หารายได้ได้เพียงพอ หรือสนับสนุนรายการตรงนี้ เราจะทำอย่างไรให้ตรงกับเจตนารมณ์ที่เราอยากจะเป็น โลกใบนี้ไม่ได้มีแค่โมเดลเดียวหรือแค่สองโมเดล ซึ่งมันมีโมเดลอีกเยอะมากมายที่เป็นแหล่งเงินทุน วิธีการหาเงินทุน เช่นโมเดลของนิวซีแลนด์ที่มีกองทุน และมีคณะกรรมการที่เป็นอิสระ อาจจะใช้วิกฤตเป็นโอกาส เพราะไหนๆกสทช.ถูกส่งเงินเข้าคลังเรียบร้อยแล้ว จะมีวิธีรูปแบบพรบ.หรืออะไรก็แล้วแต่เป็นทุนได้ เดี๋ยวเราจะมีพรบ.สื่อสร้างสรรค์ขึ้นมา แต่ตนก็ยังไม่เห็นในส่วนที่จะมันจะสนับสนุนเรื่องเกี่ยวกับตรงนี้
ประเด็นก็คือว่าเราจะทำอย่างไร เราต้องการองค์ความรู้มาก งบประมาณไม่ว่าจะเงินกองทุนจากไหน และตนมีความฝันว่าจะเกิดไทยพีบีเอสอคาเดมี่ เอ็นบีทีอคาดิมี่ เอ็มคอทอคาดิมี่ที่จะช่วยและอาจเป็นเงื่อนไขเสริมด้วยที่อาจต้องมี MOU หรือเงื่อนไขที่คุณต้องบริการความรู้และบริการการเปลี่ยนผ่านหรือบริการทางเทคนิคตรงนี้ให้กับประชาชนหรือโทรทัศน์ชุมชนด้วย และหลักการหนึ่งที่ตนชื่นชมกสทช.ก็คือการแชร์สาธารณูปโภคที่ตนคิดว่าเป็นหลักการที่ดีมาก เพราะฉะนั้นกรณีทีวีชุมชนตนไม่เห็นด้วยที่ทุกคนจะต้องลงทุนมหาศาล ตนคิดว่ามันไม่มีประโยชน์อะไร เราต้องมีอะไรก็แล้วแต่ที่เป็นทางออกที่ได้กันทั้งสองฝ่าย ในส่วนของมหาวิทยาลัยก็มีการประเมินคุณภาพที่ได้บริการวิชาการก็ได้แต้ม ตนคิดว่าสามเส้าในการที่จะพัฒนาองค์ความรู้ตรงนี้เป็นส่วนที่สำคัญมากๆ ทุนและการพัฒนาองค์ความรู้เราจะทำอย่างไรต่อไปเป็นสิ่งสำคัญ
—————————————————————