ผลสำรวจความคิดชาวนาต่อนโยบายจำนำข้าว

ผลสำรวจความคิดชาวนาต่อนโยบายจำนำข้าว

ชาวนา ร้อยละ 78.77 วิตกกังวลปัญหาการจ่ายเงินจาโครงการรับจำนำข้าวที่ล่าช้า  และร้อยละ 47.70 แนะรัฐบาลควรเร่งแก้ไขปัญหา   การจ่ายเงินในโครงการรับจำนำนี้โดยเร็ว  และชาวนาร้อยละ 38.97 บอกว่าจะไม่เข้าร่วมโครงการแล้ว โดยให้เหตุผลว่าชาวนาได้รับประโยชน์จากโครงการดังกล่าวน้อยและเป็นช่องทางให้เกิดการทุจริตคอรัปชั่นมากและประสบปัญหาได้รับเงินล่าช้า 

นโยบายรับจำนำข้าว ระยะแรกเริ่มต้นเมื่อปีการผลิต 2527/28 ซึ่งมีการพัฒนาและปรับปรุงการบริหารจัดการให้เกิดความสะดวกต่อเกษตรกรและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเรื่อยมา โดยหลักการเริ่มแรก เพื่อเป็นหลักประกันราคาข้าวขั้นต่ำให้แก่ชาวนา คือ หากราคาข้าวในตลาดสูง ชาวนาสามารถมาไถ่ถอนเพื่อนำข้าวไปขายเองได้ แต่หากราคาข้าวต่ำกว่าราคาตลาด ชาวนาจะปล่อยให้ข้าวหลุดจำนำโดยที่ไม่ต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายใดๆ

วิวัฒนาการของโครงการรับจำนำข้าวได้เปลี่ยนแปลงไป เมื่อระยะหลังได้มีการนำโครงการดังกล่าว มาใช้เพื่อเป็นเครื่องมือในการสร้างความนิยมทางการเมือง โดยมีการกำหนดราคารับจำนำข้าวที่สูงกว่าท้องตลาด ผลจากการแทรกแซงกลไกตลาดและราคาข้าวนี้เองทำ ให้นโยบายนี้ถูกวิพากษ์วิจารณ์ ในแง่ของการใช้งบประมาณเป็นจำนวนมากและมีความเสี่ยงในการทุจริตทุกช่องทาง โดยเฉพาะการดำเนินนโยบายในปีการผลิต 2554/55 จนถึงปัจจุบัน ที่มีหลักการรับจำนำข้าวทุกเมล็ด ซึ่งได้สร้างความเสียหายต่องบประมาณในการนำมาดำเนินโครงการ จนเกิดปัญหาการจ่ายเงินค่ารับจำนำข้าวล่าช้า สร้างความเดือดร้อนแก่ชาวนาที่เข้าร่วมโครงการดังในปัจจุบัน ดังนั้นศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและพยากรณ์ทางการเกษตร (แม่โจ้โพลล์) จึงได้สำรวจความคิดเห็นของชาวนาทั่วประเทศ ในหัวข้อ “อนาคตจำนำข้าว อนาคตชาวนาไทย” เพื่อให้ทราบถึงความคิดเห็นต่อสภาพปัญหาจากโครงการรับจำนำข้าว จำนวน 767 ราย ระหว่างวันที่  13 มกราคม –  19 กุมภาพันธ์ 57         สรุปผลได้ดังนี้    

จากการสอบถามความวิตกกังวลต่อปัญหาการจ่ายเงินจากโครงการรับจำนำข้าวที่ล่าช้า พบว่าชาวนาส่วนใหญ่ ร้อยละ 78.77 มีความวิตกกังวล โดยให้เหตุผลว่ารัฐบาลไม่มีงบประมาณในการนำมาจ่ายให้กับชาวนาและกังวลว่าอาจจะไม่ได้รับเงินดังกล่าว ส่วนร้อยละ 21.23 ไม่มีความวิตกกังวล โดยเชื่อมั่นว่ารัฐบาลจะสามารถหาเงินมาจ่ายให้กับชาวนาได้อย่างแน่นอน  

และเมื่อสอบถามต่อไปว่าหากมีการดำเนินโครงการรับจำนำข้าวต่อไป จะเข้าร่วมโครงการหรือไม่นั้น พบว่าร้อยละ 38.97 บอกว่าจะไม่เข้าร่วมโครงการแล้ว โดยให้เหตุผลว่าชาวนาได้รับประโยชน์จากโครงการดังกล่าวน้อยและเป็นช่องทางให้เกิดการทุจริตคอรัปชั่นมากและประสบปัญหาได้รับเงินล่าช้า จึงควรให้ยกเลิกโครงการรับจำนำข้าว    ส่วนร้อยละ 36.73 บอกว่ายังจะเข้าร่วมโครงการต่อไป โดยให้เหตุผลว่าสามารถขายข้าวได้ในราคาที่สูงกว่าท้องตลาด ทำให้มีรายได้เพิ่มขึ้น จึงอยากให้มีโครงการต่อไปแต่ควรมีการจำกัดปริมาณข้าวที่จะเข้าร่วมโครงการและวงเงินในการรับจำนำข้าว และร้อยละ 24.30 ยังไม่แน่ใจ เพราะไม่มั่นใจว่ารัฐบาลจะมีเงินมาจ่ายค่าข้าวหรือไม่ 

ด้านความเป็นห่วงต่อสถานการณ์การผลิตข้าวของประเทศไทยในปัจจุบันนั้น พบว่า   อันดับ 1 ร้อยละ 84.91 คือ มีต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้น อันดับ 2 ร้อยละ 53.35 คือ มีการใช้สารเคมีทางการเกษตรในนาข้าวเพิ่มมากขึ้น อันดับ 3 ร้อยละ 45.11 คือ คุณภาพข้าวลดลง อันดับ 4 ร้อยละ 44.13 คือ ผลผลิตต่อไร่ลดลง และอันดับ 5 ร้อยละ 34.63 จำนวนชาวนาที่ลดลง ไม่มีคนสืบทอดอาชีพทำนา  

 ส่วนข้อเสนอแนะต่อการดำเนินนโยบายรับจำนำข้าวนั้น พบว่าส่วนใหญ่ ร้อยละ 47.70 แนะรัฐบาลควรเร่งแก้ไขปัญหาการจ่ายเงินในโครงการรับจำนำนี้โดยเร็ว ร้อยละ 23.86 บอกว่ารัฐบาลควรมีความจริงใจในการแก้ไขปัญหา ไม่โยนความรับผิดชอบให้กับหน่วยงานอื่นๆ ร้อยละ 18.35 แนะควรในการช่วยเหลือชาวนาในด้านอื่นๆ เช่น ลดต้นทุนการผลิต และร้อยละ 10.09 มีการชดเชยให้กับชาวนาที่ยังไม่ได้รับเงิน

แม้โครงการรับจำนำข้าวในรัฐบาลหลายยุคที่ผ่านมาจะช่วยยกระดับรายได้ให้กับชาวนาที่เข้าร่วมโครงการ แต่คงปฏิเสธไม่ได้ในแง่ของการใช้งบประมาณที่มหาศาลและการขาดการวางแผนการดำเนินโครงการทั้งการป้องกันการทุจริตและยังสร้างความเสียหายแก่ระบบการผลิตและการตลาดของข้าวไทย ไม่ว่าโครงการรับจำนำข้าวจะถูกกำหนดขึ้นด้วยเหตุผลใดก็ตาม แต่สิ่งหนึ่งที่ชาวนาได้ให้ข้อเสนอแนะคือ การขอให้รัฐบาลและผู้ที่เกี่ยวข้องเร่งช่วยกันแก้ไขปัญหาที่กำลังเป็นอยู่ในปัจจุบันด้วยความจริงใจ ไม่ใช่เพื่อความเชื่อมั่นต่อรัฐบาลและหน่วยงานภาครัฐเท่านั้น แต่เพื่อเป็นการต่อชีวิตให้กับกลุ่มคนที่ได้ชื่อว่าเป็นกระดูกสันหลังของชาติให้สามารถผลิตข้าวเพื่อเลี้ยงคนในประเทศและสร้างความมั่นคงทางอาหารให้แก่ประเทศไทยต่อไป

รายละเอียดผลสำรวจ

1.ความวิตกกังวลต่อปัญหาการจ่ายเงินค่าข้าวจากโครงการรับจำนำที่ล่าช้า
1.วิตกกังวล
โดยให้เหตุผลว่ารัฐบาลไม่มีงบประมาณในการนำมาจ่ายให้กับชาวนาและกังวลว่าอาจจะไม่ได้รับเงิน      ร้อยละ  78.77
2.ไม่วิตกกังวล  
โดยให้เหตุผลว่ามีความเชื่อมั่นว่ารัฐบาลจะสามารถหาเงินมาจ่ายให้กับชาวนาได้แน่นอน    ร้อยละ  21.22

2.หากมีการดำเนินโครงการรับจำนำข้าวต่อไป จะเข้าร่วมโครงการหรือไม่นั้น
1.เข้าร่วม
โดยให้เหตุผลว่ารัฐบาลไม่มีงบประมาณในการนำมาจ่ายให้กับชาวนาและกังวลว่าอาจจะไม่ได้รับเงิน      ร้อยละ  36.73
2.ไม่เข้าร่วม  
โดยให้เหตุผลว่ามีความเชื่อมั่นว่ารัฐบาลจะสามารถหาเงินมาจ่ายให้กับชาวนาได้แน่นอน    ร้อยละ  38.97
3.ไม่แน่ใจ
โดยให้เหตุผลว่าไม่มั่นใจว่ารัฐบาลจะมีเงินมาจ่ายค่าข้าวหรือไม่     ร้อยละ 24.30

3.ความเป็นห่วงต่อสถานการณ์การผลิตข้าวของประเทศไทยในปัจจุบัน (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
อันดับ 1 มีต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้น    ร้อยละ  84.91
อันดับ 2 การใช้สารเคมีทางการเกษตรในนาข้าวเพิ่มมากขึ้น    ร้อยละ  53.35
อันดับ 3 คุณภาพข้าวลดลง    ร้อยละ  45.11
อันดับ 4 ผลผลิตต่อไร่ลดลง    ร้อยละ  44.13
อันดับ 5 จำนวนชาวนาที่ลดลง ไม่มีคนสืบทอดอาชีพทำนา      ร้อยละ  134.63

4.ข้อเสนอแนะต่อการดำเนินนโยบายรับจำนำข้าว
อันดับ 1 แนะควรรัฐบาลควรเร่งแก้ไขปัญหาการจ่ายเงินในโครงการรับจำนำนี้โดยเร็ว    ร้อยละ  47.70
อันดับ 2 รัฐบาลควรมีความจริงใจในการแก้ไขปัญหา ไม่โยนความรับผิดชอบให้กับหน่วยงานอื่นๆ    ร้อยละ  23.86
อันดับ 3 ควรในการช่วยเหลือชาวนาในด้านอื่นๆ เช่น ลดต้นทุนการผลิต    ร้อยละ  18.35
อันดับ 4  มีการชดเชยให้กับชาวนาที่ยังไม่ได้รับเงิน    ร้อยละ 10.09

ข้อมูลทั่วไปผู้ตอบแบบสอบถาม
1.ภาค
    เหนือ ร้อยละ 14.66               กลาง ร้อยละ 27.09        
ตะวันออกเฉียงเหนือ 40.37          ภาคใต้ ร้อยละ 17.88

2.เพศ
    ชาย  ร้อยละ 5    6.84            หญิง ร้อยละ  43.16

3.อายุ
ผู้ตอบแบบสอบถามมีอายุเฉลี่ย  48.49 ปี  อายุสูงสุด 77  ปี และต่ำสุด 22 ปี

4.ระดับการศึกษา
ประถมศึกษา ร้อยละ 48.53     มัยธมศึกษา        ร้อยละ 27.55         ปวช./ปวส. ร้อยละ 8.11
ปริญญาตรี  ร้อยละ 13.98    สูงกว่าปริญญาตรี   ร้อยละ 1.25         ไม่ได้เรียน  ร้อยละ 0.55 

5.การเข้าร่วมโครงการรับจำนำข้าวรอบการผลิตที่ผ่านมา
    เข้าร่วม  ร้อยละ 84.09        ไม่ได้เข้าร่วม ร้อยละ 15.91

author

ปฏิทินกิจกรรม EVENT CALENDAR

เข้าสู่ระบบ