จากการที่ปริมาณป่าไม้ในจังหวดพะเยาลดลง ย่อมก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ทางกายภาพ และมีผลต่อปัจจัยทางชีวภาพมีผลกระทบต่อ สภาพดิน น้ำอากาศ สัตว์ป่า สิ่งแวดล้อมอื่นๆ เพราะทั้งทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม จะมีความ สัมพันธ์กัน ไม่ทางตรงก็ทางอ้อม ในระบบนิเวศ ก่อให้เกิดความไม่สมดุลทางธรรมชาติ การทำลายป่าจึงก่อให้เกิดผลกระทบในด้านต่างๆ ดังนี้
1. เกิดการชะล้างพังทลายของดิน
ป่าที่ถูกทำลายจะทำให้ไม่มีต้นไม้ วัชพืช หญ้าปกคลุมดิน เมื่อฝนตกลงมาน้ำฝนจะกัดเซาะหน้าดินที่อุดมสมบูรณ์ให้ไหลไปกับกระแสน้ำ
2. เกิดน้ำท่วมในฤดูฝน
บริเวณป่าที่ถูกทำลายจะไม่มีต้นไม้ วัชพืช และหญ้าที่ปกคลุมหน้าดินช่วยดูดซับน้ำฝน ไว้ ทำให้น้ำไหลบ่าจากที่สูงอย่างรุนแรง และมีปริมาณมากทำให้เกิดน้ำท่วมในพื้นที่ ตอนล่างอย่างฉับพลัน
3. เกิดความแห้งแล้งในฤดูแล้ง
การทำลายป่าไม้ ต้นน้ำลำธารทำให้ป่าไม้ถูกตัด แยกออกเป็นส่วนๆ เกิดการระเหยของน้ำจากผิว ดินสูง แต่การซึม ผ่านผิวดินต่ำ ดินดูดซับและเก็บ น้ำไว้ได้น้อย ส่งผลให้น้ำไหลลงสู่ลำธารน้อยเกิด ความแห้งแล้งในฤดูแล้ง
4. เกิดปัญหาร้อนขึ้น
เนื่องจากป่าไม้เป็นแหล่งของการหมุนเวียนสาร ระหว่างออกซิเจน คาร์บอนไดออกไซด์ น้ำและสารอื่นๆ ในระบบนิเวศที่ สำคัญ การทำลายป่ามีส่วนทำให้เกิดการสะสมของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ในบรรยากาศเพิ่มมากขึ้น ซึ่งเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้อุณหภูมิสูง
5. คุณภาพของน้ำเสื่อมลง
เมื่อฝนตกในบริเวณป่าไม้ที่ถูกทำลายก็จะพัดพาเอาดินโคลน ตะกอนลงสู่ แหล่งน้ำทำให้น้ำขุ่นและเกิดการตื้นเขินส่งผล ให้คุณภาพน้ำทั้งทางด้าน กายภาพ ชีวภาพ และเคมีด้อยลง ไม่สามารถใช้น้ำในการอุปโภค บริโภค ได้
6. พืชและสัตว์ป่ามีจำนวนและชนิดลดลง
ป่าไม้เป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของ พืชและสัตว์ป่า การตัดไม้ทำลายป่าเป็น การทำลายแหล่งอาหาร ที่อยู่อาศัย และความหลากหลายทางชีวภาพ ทำให้พืชและสัตว์ป่าหลายชนิดมีปริมาณ ลดลงจนเกือบสูญพันธ์
ป่าไม้มีความจำเป็นอย่างยิ่ง ต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์และการคงอยู่ของสิ่งแวดล้อมต่างๆ จากการสูญเสียทรัพยากรป่าไม้ในทุกส่วนของประเทศไทยหรือของจังหวัดพะเยา ทำให้ทุกฝ่ายต้องตระหนักถึงการสูญเสียและผลที่ได้รับจากการกระทำอันนี้
Follow me
http://twitter.com/gutarpitlok
Talk about with me
http://www.facebook.com/GUTARPITLOK