เครือข่ายลุ่มน้ำในภาคเหนือ ที่คาดว่าจะได้รับผลกระทบจากแผ่นบริหารจัดการน้ำ 3.5 ล้าน พูดคุยแลกเปลี่ยนถึงแนวทางการจัดการน้ำโดยชุมชนและร่วมกันปลูกป่าต้นน้ำในตำบลสะเอียบ อำเภอสอง จังหวัดแพร่ เพื่อเป็นสัญลักษณ์ว่าช่วยกันรักษาป่าผืนป่า
ชาวบ้าวตำบลสะเอียบ อำเภอสอง จังหวัดแพร่ และเครือข่ายสภาลุ่มน้ำภาคเหนือ ได้ร่วมพูดคุยแลกเปลี่ยนถึงโครงการบริหารจัดการน้ำ 3.5 แสนล้านบาท ซึ่งเป็นนโยบาย บริหารจัดการน้ำของรัฐบาลที่ผ่านมา หลังแลกเปลี่ยนพูดคุย พวกเขา เดินทางเข้าป่า ที่เป็นป่าต้นน้ำของของชุมชน เพื่อปลูกป่าซ่อมแซม เพื่อเป็นประโยชน์ต่อชุมชนและการเรียนรู้ในพื้นที่ป่าสักทองที่ถือว่าเป็นต้นน้ำสำคัญของลุ่มน้ำยม โดยนายประสิทธิพร กาฬอ่อนศรี เครือข่ายลุ่มน้ำยมให้ข้อมูลว่า “ปกติเครือข่ายชาวบ้านลุ่มน้ำภาคเหนือจะมีการประชุมปรึกษาหารือกันทุกสามเดือน วันนี้โอกาสดีที่ท่านพระครูได้มีดำริเรื่องการปลูกป่า ซึ่งปลาที่เราไปปลูกก็คือป่าต้นน้ำประปาภูเขาของชุมชนสะเอียบ โดยเฉพาะบ้านดอนแก้ว บ้านดอนชัย บ้านดอนชัยสักทอง ซึ่งมีความคิดว่าควรจะมีการฟื้นฟูป่าเพื่อให้เกิดความชุ่มชื่นให้น้ำมีความอุดมสมบูรณ์”
นอกจากนั้นแล้วกล้าไม้ที่นำมาปลูกในครั้งนี้ ได้มาจากบ้านแต่ละบ้านที่พวกเขาช่วยกันเพาะ ส่วนหนึ่ง และจากการเพาะจากพระครูพระครูสุธรรม ชัยสิทธิ เจ้าอาวาทวัดดอนชัย เพื่อแสดงออกถึงการมีส่วนรวมของ ในการดูแลรักษาผืนป่า และเชื่อว่าจะแก้ไขน้ำท่วม น้ำแล้ง ซึ่งพระครูบอกว่า “เป็นการต่อสู้ด้วยสันติวิธี เนื่องจากพื้นที่นี้เคยถูกกำหนดให้เป็นพื้นที่สร้างเขื่อนแก่งเสือเต้นหรืออ่างเก็บน้ำยมบนยมล่าง นอกจากนั้นยังเป็นการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมที่ไม่ใช่ของใครคนหนึ่ง แต่เป็นของทุกคนเพราะที่นี่คือป่าชุมชน นอกจากนั้นยังจะมีการรณรงค์ส่งเสริมให้เกิดโครงการณ์นี้ทั่วตำบลสะเอียบอีกด้วย เพื่อเป็นการคืนผืนป่าให้กับธรรมชาติ อย่างโครงการแม่แจ่ม ซึ่งแผนที่จะทำต่อไปในอนาคตคือจะขอคืนพื้นที่ทำกินจากชาวบ้านเพื่อปลูกป่า เช่นชาวบ้านมีไร่ข้าวโพด 30 ไร่ ก็ขอคืน 5 ไร่เพื่อปลูกต้นไม้ “พระครูกล่าว
การปลูกป่าในวันนี้นอกจากจะเป็นการฟื้นฟูผืนป่าแล้ว ยังเป็นการสานสัมพันธ์ของเครือข่ายลุ่มน้ำที่สะท้อนความเห็นในทิศทางเดียวกัน ถึงการไม่เห็นด้วยกับการสร้างเขื่อน และเป็นแนวทางหนึ่งที่จะแก้ปัญหาน้ำท่วม น้ำแล้ง “ที่ผ่านมาทางกลุ่มราษฏรษ์ป่าตำบลสะเอียบ ได้เสนอแนวทางการแก้ไขปัญหาเรื่องการจัดการน้ำ 14 แนวทาง ซึ่งข้อแรกก็คือเรื่องการฟื้นฟูป่าต้นน้ำให้อุดมสมบูรณ์ เนื่องจากเราเห็นว่าป่าจะอุ้มน้ำไว้และในฤดูแล้งมันก็จะค่อยๆซึมปล่อยน้ำออกมาในลำห้วยได้มีชีวิตที่ยืนยาวต่อไป ถ้าเรามุ่งไปเฉพาะเขื่อนขนาดใหญ่ พอถึงฤดูแล้งเขื่อนไม่มีน้ำก็จะเกิดปัญหาอย่างที่ผ่านๆมา” นายประสิทธิพรกล่าว
ชาวบ้านและเครือข่ายลุ่มน้ำมีความเห็นที่ตรงกันว่าการกลับมาคิดถึงเรื่องการฟื้นฟูป่า การรักษาน้ำอย่างยั่งยืน โดยให้แต่ละชุมชนได้วางแผนการจัดการน้ำของตัวเอง ได้มีโอกาสฟื้นฟูป่าของตัวเอง จะเป็นการอนุรักษ์ที่ยั้งยืนและมีความอุดมสมบูรณ์ให้ลูกหลายได้ใช้ต่อไป