ปฏิบัติการสื่อแบบMulti-platform กับเยาวชน2มหาวิทยาลัยภาคเหนือ

ปฏิบัติการสื่อแบบMulti-platform กับเยาวชน2มหาวิทยาลัยภาคเหนือ

      คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยพายัพ เครือข่ายที่ร่วมผลักดันและทำงานร่วมกับทีวีจอเหนือ สนใจที่ จะต่อยอดและพัฒนานักศึกษาเพื่อเรียนรู้การทำงานด้านสื่อในสถานการณ์จริง จึงเชื่อมกับสำนักเครือข่ายสื่อพลเมือง นำนักศึกษาคณะนิเทศศาสตร์ที่มีความรู้และทักษะเกี่ยวกับงานด้านนิเทศศาสตร์ที่สนใจมาเข้าร่วมกระบวนการ Workshop เข้าร่วมกระบวนการเรียนรู้การใช้เครื่องมือMulti-Platform แต่การทำงานด้านสื่อกับเครื่องมือMulti-Platform มีแนวคิดที่ว่า ใครก็ก็ได้ที่สนใจและมีประเด็นที่จะสื่อสาร สามารถเรียนรู้และใช้เครื่องมือMulti-Platformได้ ทั้งนี้นักศึกษาภาควิชาสังคมวิทยาและมนุษย์วิทยา คณะสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ก็มีความสนใจและอยากร่วมเรียนรู้การใช้เครื่องมือMulti-Platform เพื่อนำไปเป็นเครื่องมือในถ่ายทอดเรื่องราวที่ตนเองได้รู้มา
       กระบวนการ Workshop กระบวนการเรียนรู้การใช้เครื่องมือMulti-Platformครั้งนี้ จัดขึ้นในวันที่ 7 ก.ค. 2555 จึงให้น้องๆนักศึกษาทั้ง 2 ภาควิชา ทั้งนิเทศศาสตร์ และสังคมวิทยาฯ รวมกลุ่มกัน โดยแบ่งเป็น 3 กลุ่มคละกัน และคิดประเด็นที่ตนสนใจและอยากนำเสนอ โดยเป็นการสื่อสารเรื่องราวผ่านเวทีนำเสนอผลงานวิจัย ในการประชุมวิชาการประจำปี 2555 ในหัวข้อเรื่อง “กระบวนทัศน์ใหม่ของการสื่อสารศึกษาไทย” ที่จัดขึ้น ในวันที่ 8 ก.ค. 2555 น้องนักศึกษาทั้ง 3 กลุ่มได้คิดและนำเสนอประเด็นที่สนใจ เช่น ความหมายของกระบวนทัศน์ใหม่ใหม่ของการสื่อสารศึกษาไทย , การสื่อสารอัตลักษณ์ความเป็นชาติในมวยไทย , การวิเคราะห์วาทกรรมในข่าวอาชญากรรมและถอดรหัสข่าวอาชญากรรมโดยอาชญากร , การวิเคราะห์โครงสร้างเรื่องเล่าในภาพยนตร์โฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ฯ


[SIZE=1]Thanks:   ฝากรูป[/SIZE]

Thanks:   ฝากรูป

       วันที่ 8 ก.ค. 2555 น้องๆนักศึกษาทั้ง 3 กลุ่มใช้ชื่อเรียกตนเองว่า นักข่าวเยาวชน (เชียงใหม่) เริ่มสื่อสารเรื่องราวที่เกิดขึ้นภายในงานนำเสนอผลการวิจัย ตามแผนที่ว่างไว้ในวันที่ 7 ก.ค. 2555 โดยสื่อสารออกมาในรูปแบบของข่าวสั้น ,บทความ ,และคลิปข่าว หลังจากเสร็จสิ้นภารกิจที่จะสื่อสารเรื่องราวภายในงานแล้ว น้องได้ร่วมกันถอดประบทเรียน น้องนักศึกษาจากภาควิชานิเทศศาสตร์ ถอดบทเรียนว่า “การฝึกปฏิบัติในครั้งนี้ได้ประสบการณ์ เช่น เมื่อเราลงสนามการทำงานจริงต่างจากการเรียนในห้องเรียน บางเรื่องก็ไม่ตรงตามแผนที่ว่างไว้ ก็ต้องมีการปรับตัวเมื่อเจอกับสถานการณ์จริง เช่นเดียวกับน้องนักศึกษาภาควิชาสังคมวิทยา ถอดบทเรียนว่า “เราเรียนทางด้านสังคม ไม่เคยทำข่าวมาก่อนจึงต้องปรับตัวอยู่บ้างพอสมควร จากที่ไม่เคยเขียนข่าว ก็ได้เขียน ไม่เคยสัมภาษณ์ก็ได้ทำ ไม่เคยลงเสียงบรรยาย ก็ได้ทำ คิดว่าจะนำประสบการณ์ที่ไก้ในครั้งไปใช้ และสื่อสารเรื่องราวต่อไปในอนาคต”
       ถึงแม้จะเป็นการลงสนามกับการสื่อสารเรื่องราวเป็นครั้งแรกของน้อง ๆ หลายคน แต่ชิ้นงานที่ออกมา บ่งบอกถึงความพยายามและตั้งใจที่จะถ่ายทอดเรื่องราวที่เกิดขึ้น และยังเป็นต้นกล้าที่สามารถพัฒนาต่อยอดเป็นนักสื่อสารของสังคมในอนาคตต่อไป….[/size]

       

ผลงานการฝึกปฏิบัติการสื่อสาร
“กระบวนทัศน์ใหม่ของการสื่อสารศึกษาไทย”โดย ดร.กาญจนา  แก้วเทพ
8/7/2012 นักข่าวพลเมือง (Embedding disabled, limit reached)

การวิเคราะห์วาทกรรมในข่าวอาชญากรรมและการถอดรหัสข่าวอาชญากรรมโดยอาชญากร
tpbs vdo (Embedding disabled, limit reached)

การวิเคราะห์โครงสร้างเรื่องเล่าภาพยนตร์โฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ หลังพรบ.เครื่องดื่มแอลกอฮอล์2551

การสื่อสารอัตลักษร์ความเป็นชาติในมวยไทย
TPBS สื่อสารศึกษาไทย1 (Embedding disabled, limit reached)
TPBS สื่อสารศึกษาไทย 2 (Embedding disabled, limit reached)

        และข่าวบท//ความออนไลน์ติดตามได้ที่

author

ปฏิทินกิจกรรม EVENT CALENDAR

เข้าสู่ระบบ