นิยาย หิมะเมืองไทย

นิยาย หิมะเมืองไทย

เมื่อวันที่ 20 ธันวาคม เป็นต้นมา นายตัน ภาสกรนที ได้เปิดงาน Nimmam Snow Festivel เพื่อกระตุ้นการท่องเที่ยวในจังหวัดเชียงใหม่ ช่วงฤดูหนาว โดยมีการจำลองหิมะเทียม ซึ่งทำมาจากเกลือบริสุทธิ์แบบแห้งหรือ โซเดียมคลอไรด์ ที่ไม่มีสารละลายไอโอดีน แต่มีความเค็ม ลงบริเวณลานการค้า Think Park ณ สี่แยกรินคำ ถนนนิมมานเหมินทร์ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่

มีนักท่องเที่ยว ทั้งเด็กเล็กและผู้ใหญ่ ทั้งไทยและต่างประเทศ เข้ามาสัมผัสกับหิมะเทียมเป็นจำนวนมาก ซึ่งนักท่องเที่ยวบางคนก็ยังไม่รู้ว่าหิมะเทียมนี้ทำมาจากอะไร เช่นเดียวกับ สุรางค์รัฐ โชคชิติรัตน์ หรือ Miss.HUA XU ที่มาอาศัยอยู่ในเมืองไทยกว่า 5 ปี พาลูกน้อยอายุราว 2 เดือน มาเที่ยวลานหิมะเทียมที่จัดขึ้น ก็เพิ่งทราบว่ามีการนำเกลือบริสุทธิ์มาทำเป็นหิมะเทียม เพียงแค่ 10 นาที ก็พาลูกน้อยกลับ เนื่องจากกลัวเป็นอันตรายกับลูกน้อยเช่นเดียวกัน 

หลังจากวันที่มีการโรยเกลือบริสุทธิ์ กว่า 240 ตัน กว่า10 วันที่ผ่านมาทางผู้จัดทำต้องโรยเกลือหิมะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เพราะเนื่องจากมีนักท่องเที่ยวจำนวนมากเข้ามาสัมผัสกับเกลือหิมะดังกล่าว ทำให้เกลือหิมะถูกชะล้างออกไป โดยมีการระเหยออกมาตามอากาศ ตามทางเดินเท้า ถนน และบริเวณใกล้เคียง ทำให้หลายฝ่ายเกิดความกังวลว่าจะกระทบกับสุขภาพและสิ่งแวดล้อม จึงมีชาวชุมชนนิมมานเหมินทร์บางท่านออกมาตั้งข้อสังเกตกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นทั้งหมด 16 ข้อ ได้แก่ 

1. ตั้งแต่ก่อนเริ่มงาน การจัดเตรียมสถานที่ ในช่วงวันที่ 18-19 ธันวาคม มีการโรยเกลือไปทั่วพื้นที่ ทั้งส่วนที่เป็นพื้นที่ของThink Park เอง และในที่สาธารณะบนทางเท้า ถือว่าเป็นการใช้สถานที่ลุกล้ำเข้าไปในที่สาธารณะ

2. การจัดงานครั้งนี้มีการขออนุญาตจัดงานดังกล่าวอย่างถูกต้องหรือไม่ ถ้ามี หน่วยงานไหนเป็นผู้ให้อนุญาต มีการจัดทำ เสนอแผน รายละเอียด และการศึกษาผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมหรือไม่

3. ข้าราชการและเจ้าหน้าที่ของรัฐ ที่ไปร่วมเปิดงาน อาจจะโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ หรือเพิกเฉย ที่ไม่ดำเนินการใดๆ ในทันที ทั้งๆที่ เห็นการกระทำซึ่งหน้า

4. ผู้จัดการออกมาชี้แจงว่า มีการปูแผ่นพลาสติกป้องกัน และดำเนินการโดยมืออาชีพ แต่สิ่งที่เห็น คือ มีทั้งการปูรองด้วยแผ่นพลาสติกป้องกันการรั่วไหล และการชะล้างทำความสะอาดด้วยน้ำจนไหลออกไปบนผิวถนน

5. การตรวจสอบโดยภาครัฐเกิดขึ้นหลังจากการเท “เกลือ” จำนวนมหาศาลกว่า 40 ตัน ไปแล้วกว่า 48 ชั่วโมง การตรวจสอบคุณภาพของสิ่งแวดล้อม การรั่วไหลปนเปื้อนจากเกลือ อาจไม่สามารถเชื่อมั่นได้ว่า มีมาตราฐานทางวิชาการมากพอที่จะบ่งบอกได้ว่า มีความปลอดภัยต่อมนุษย์ สิ่งมีชีวิตอื่น พืชพรรณ ยวดยานพาหนะที่สัญจรผ่านไปมา

6. ได้มีการตรวจสอบปริมาณ สารเคมีโซเดียมคลอไรน์ หรือเกลือบริสุทธ์ ดังกล่าวมากน้อยเพียงใด มีการแจ้งจำนวนที่ ใช้ไปจริงเพียงใด สารเคมีดังกล่าวได้รับอนุญาตแล้วหรือไม่ มีเอกสารดังกล่าวเปิดเผยและสามารถตรวจสอบได้อย่างไร หน่วยงานราชการใดเป็นผู้ควบคุมดูแลการใช้สารเคมีในปริมาณมากเช่นนี้

7. การจัดงานในสถานที่เปิด โล่งแจ้ง ไม่สามารถควบการฟุ้งกระจายของสารดังกล่าวได้ เทศบัญญัติที่ควบคุมดูแลที่มีอยู่ ทำไมจึงไม่นำมาบังคับใช้

8. ผู้จัดงาน ได้ติดประกาศเกี่ยวกับข้อเท็จจริงของวัสดุเคมีโซเดียมคลอไรน์ ที่นำมาใช้และบอกว่าคือหิมะเทียมให้กับผู้มาเที่ยวเล่นหรือไม่ และบอกกล่าวถึงข้อบ่งชี้ ของสารเคมีดังกล่าวหรือไม่

9. สสจ. ออกมาให้ข้อมูลด้านเดียวเรื่องคำแนะนำในการเข้าไปเที่ยวเล่นในพื้นที่ ข้อมูลดังกล่าวนั้นเพิ่งจะมีการติดประกาศอย่างชัดเจนให้กับนักท่องเที่ยว หลังจากมีการทักท้วงไปแล้วเป็นเวลาหลายวัน

10. การควบคุมตรวจสอบโดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ก็มิได้มีการประชาสัมพันธ์ให้สังคมเกิดความเชื่อมั่นว่ามีการเฝ้าระวังอย่างรัดกุม จากการเก็บตัวอย่างเฉพาะทางท่อระบายน้ำ ส่วนการการฟุ้งกระจายของเกล็ดเกลือ ไอจากการระเหย และนักท่องเที่ยวโปรยเล่น  มีการตรวจวัดการแพร่กระจายทางอากาศด้วยหรือไม่ เพราะโซเดียมคลอไรน์จะต้องมีการระเหยเป็นไอขึ้นไปในอากาศ และสามารถละลายปนเปื้อนลงไปได้ทั้งน้ำและดิน ที่ผ่านมา มีการเก็บตัวอย่างไปแล้ว 2 ครั้ง คือครั้งแรกวันที่ 22 และอีกครั้งวันที่ 25 ธันวาคม ในขณะที่มีการจัดกิจกรรมนี้ผ่านไปแล้ว 6 วัน

11. เทศบาลนครเชียงใหม่รายงานว่า ถ้ามีการปนเปื้อนลงสู่ทางน้ำ ท่อน้ำทิ้งไหลผ่านทางระบายน้ำถนนห้วยแก้วและไหลผ่านถนนบุญเรืองฤทธิ์ไม่ได้ไหลลงคูเมือง จึงเกิดข้อข้องใจว่าน้ำในคูเมืองทั้งหมดรับน้ำจากน้ำที่ไหลมาเติมที่แจ่งหัวริน เป็นน้ำที่มาจากไหน หากไม่เป็นน้ำที่ไหลมาจากทางห้วยแก้วผ่านทางระบบส่งน้ำที่มีอยู่เดิมผ่านทางถนนห้วยแก้ว

12. เมื่อนักท่องเที่ยวมีการไปล้างตัวล้างเท้า มีการจัดบริเวณ และควบคุมทางไหลของน้ำที่เกิดจากการชำระล้างคราบเกลือ และมีการตรวจสอบน้ำจากจุดนี้อย่างไร

13. ตลอดระยะทางที่น้ำไหลผ่านมีการตรวจสอบบ้างหรือไม่ เปรียบเทียบคุณภาพน้ำตั้งแต่ต้นก่อนผ่านบริเวณรอบๆ Think Park ทั้งด้านหน้าและด้านหลัง และ ณ จุดโดยรอบ เวลาในการเก็บตัวอย่างอาจเป็นอีกหนึ่งปัจจัย ที่ทำให้ผลคุณภาพของสารปนเปื้อน มีความเบี่ยงเบนไปได้

14. น้ำจากท่อระบายน้ำทั้งหมดจะไหลไปสู่สถานีบำบัดน้ำที่ 8 ทางด้านใกล้กับสุสานหายยา ก่อนปล่อยลงสู่ระบบทางน้ำธรรมชาติต่อไป ในสภาวะปกติโรงบำบัดน้ำเสียย่อย จะรองรับบำบัดน้ำเสียจากชุมชนซึ่งเป็นน้ำทิ้งจากการอุปโภคบริโภค  ที่เป็นอินทรีย์สารหรือสิ่งปฏิกูล สารแขวนลอยและสามารถบำบัดได้ด้วยกรรมวิธีปกติ แต่ในสถานการณ์ที่เป็นสารปนเปื้อนที่เป็นสารละลาย สามารถดำเนินการกำจัดให้หมดสิ้นไปได้หรือไม่ หากไม่ผ่านกระบวนการกรองอย่างมีประสิทธิภาพ จะเป็นอย่างไร

15. ความเสี่ยงที่เกลือจะซึมลงไปในดินและพัดพาลงสู่ทางน้ำ ขณะนี้จังหวัดเชียงใหม่เข้าสู่ฤดูหนาว หยาดน้ำฟ้าในเวลากลางคืน หรือน้ำค้าง ตกลงมา มีการละลายและซึมลงดินในบริเวณทางสาธารณะ ที่ถูกโรยด้วยเกลือไปก่อนหน้าหรือไม่  หากมีฝนหลงฤดู (ซึ่งในหลายปีที่ผ่านมาจังหวัดเชียงใหม่เจอสภาวะฝนตกกลางฤดูหนาวเป็นประจำ) จะรับมือยังไง

16. เกิดข้อกังวลว่าหลังจากงานสิ้นสุด ทางโครงการและผู้จัดงานจะดำเนินการ จัดเก็บ กำจัดสารโซเดียมคลอไรด์ อย่างไร ตามที่อ้างว่าจะมีการส่งกลับสู่ผู้ผลิตเพื่อดำเนินการกำจัดต่อไป เพื่อไม่ให้กระทบต่อสิ่งแวดล้อม

จากการตรวจสอบสภาพน้ำทางน้ำไหล 2 ครั้ง ที่ผ่านมา คือ วันที่ 22 และวันที่ 25 ธันวาคม 2557 โดยสำนักงานสิ่งแวดล้อมแห่งที่๑(เชียงใหม่) กรมควบคุมมลพิษ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้ตรวจวัดคุณภาพทั้งหมด 6 จุด จุดที่1 คือท่อระบายน้ำเหนือ Think Park 20 เมตร จุดที่2 คือ จุดตรวจใต้จุดจัดงานห่างออกมา 20 เมตร ใมใมมใจุดที่3 คือ ท่อระบายน้ำฝั่งเมย่า จุดที่4 คือ ท่อระบายน้ำใต้ Think Park ก่อนถึงโรงแรมโลตัสปางสวนแก้ว จุดที่5 คือ คูเมืองแจ่งหัวริน จุดที่6 คือ หน้าสถานีสูบน้ำเสียที่8  ผลออกมาพบว่า ทุกจุดตรวจวัดคุณภาพน้ำอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานตามคุณภาพน้ำทิ้งทางกรมชลประทาน แต่จุดที่ 1,2 และ 4 ฝั่งด้านที่มีการจัดงาน พบว่ามีค่าการนำไฟฟ้า ค่าความเค็ม และค่าของแข็งที่ละลายน้ำสูงกว่าเดิมมาก จึงเป็นไปได้ว่าขณะนี้ มีการรั่วไหลหรือแพร่กระจายของเกลือสู่ท่อน้ำไหลบริเวณจัดงานดังกล่าว

ล่าสุดเมื่อวันที่ 29 ธันวาคม เวลา 10.00 น. นายตัน ภาสกรนที เจ้าของโครงการ Nimmam Snow Festivel บริเวณ Think Park เข้าพบ นายสุริยะ ประสาทบัณฑิตย์ ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ เพื่อชี้แจ้งกรณีหิมะเทียม ว่าจะไม่สร้างความเดือนร้อนด้านมลพิษ ยืนยันจะจัดงานจนถึงวันที่ 4 มกราคม 2558 ยืนยันจะรับผิดชอบเต็มที่หากเกลือหิมะทำให้เกิดผลกระทบจริง

 

 

 

 

author

ปฏิทินกิจกรรม EVENT CALENDAR

เข้าสู่ระบบ