นักวิชาการชี้โลกปรับทิศสู่เลิก “ถ่านหิน” ธุรกิจกระบี่หวั่น“ถ่านหิน”ทำเสียโอกาส ปักธงใช้พลังงานหมุนเวียน100%

นักวิชาการชี้โลกปรับทิศสู่เลิก “ถ่านหิน” ธุรกิจกระบี่หวั่น“ถ่านหิน”ทำเสียโอกาส ปักธงใช้พลังงานหมุนเวียน100%

20163105135854.jpg

31 พ.ค. 2559 ผศ.ดร.ชโลธร แก่นสันติสุขมงคล คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวในงานเสวนาวิชาการ “บนเส้นทางสู่ความยั่งยืน : การลงทุนพลังงานและธรรมาภิบาลเพื่อการเปลี่ยนผ่าน” ที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย วันนี้ (31พ.ค. 2559) ว่า สถานการณ์ขณะนี้เลวร้ายอย่างมากเมื่ออุณหภูมิของโลกเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ล่าสุดมีความตกลงปารีส เมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมาได้มีการกำหนดเป้าหมายด้วยการรักษาการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิเฉลี่ยของโลกในระดับที่ต่ำกว่า 2 องศาเซลเซียสอย่างชัดเจน 

คิดว่าหนทางเดียวที่จะเกิดขึ้นได้จะต้องมีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างอุตสาหกรรมและรูปแบบการใช้พลังงานโลกในระดับที่น่าจะเรียกว่าเป็นการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งใหม่ ในขณะที่ทิศทางพลังงานของโลกขยับออกจากเชื้อเพลิงฟอสซิล และมีการเพิ่มการลงทุนในพลังงานหมุนเวียนมากขึ้น

“ถ้าคิดว่าการเปลี่ยนแปลงการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งใหม่จะต้องเกิดขึ้นอยู่แล้วเราควรมองการลงทุนระยะยาวเพราะถ้ามองการตัดสินใจจากต้นทุนการเงินที่ต่ำกว่าในระยะสั้นและมองว่า ถ่านหินต้นทุนต่ำ ทั้งที่ต้นทุนนี้ยังไม่ได้นับรวมถึงต้นทุนความขัดแย้งทางสังคม ต้นทุนสิ่งแวดล้อม ด้วยวิธีคิดแบบนี้ บทบาทภาครัฐที่เหมาะสมคือการสร้างบรรยากาศการลงทุนเกิด Low carbon Investment”

20163105135922.jpg

ชื่นชม สง่าราศรี กรีเซน นักวิชาการอิสระด้านนโยบายและการวางแผนพลังงาน ตั้งข้อสังเกตว่า เหตุใดการลงทุนจึงไม่เป็นตามความเสี่ยงด้านสิ่งแวดล้อมและหลักธรรมาภิบาล ทั้งที่ไทยมีศักยภาพผลิตพลังงานหมุนเวียนไม่ใช่ไม่มี หากพิจารณาในแผนพีดีพีจะเน้นไปที่นิวเคลียร์ ถ่านหินและก๊าซ ซึ่งเป็นเชื้อเพลิงที่ก่อให้เกิดมลพิษ 

ชื่นชม ตั้งข้อสังเกตว่า การกำหนดแผนดังกล่าวเป็นการเอื้อประโยชน์ต่อธุรกิจหรือไม่ กรณีต่างประเทศพลังงานหมุนเวียนเป็นทางเลือกการลงทุนที่ถูกที่สุดในการตอบสนองความต้องการที่เพิ่มขึ้น แต่ที่ผ่านมา ไม่ถูกพิจารณาเป็นทางเลือกการลงทุนในประเทศไทย แสดงให้เห็นว่าการตัดสินใจของไทยมีปัญหา

นอกจากนี้ การใช้ผลตอบแทนจากการลงทุนชี้ให้เห็นถึงปัญหาธรรมาภิบาลด้วยเช่นกัน เพราะไม่ได้วางแผนจากความต้องการใช้ไฟฟ้าแต่การวางแผนตั้งอยู่บนการประกันกำไรหรือผลตอบแผนของกฟผ. กลายเป็นผลประโยชน์ทับซ้อน 

“พ.ร.บ.กฟผ.ให้อำนาจกฟผ.ผูกขาดแต่เพียงผู้เดียว ต้องปลดแอกการผูกขาดพลังงานไฟฟ้าและปลดล็อคการรับซื้อพลังงานหมุนเวียนจากชุมชน”

20163105135948.jpg

ธีรพจน์ กษิรวัฒน์ นายกสมาคมธุรกิจการท่องเที่ยวเกาะลันตา จ.กระบี่ กล่าวว่า จ.กระบี่ตั้งเป้าใช้พลังงานหมุนเวียน 100% และเน้นการพัฒนาการท่องเที่ยวที่ยั่งยืน หากพิจารณามูลค่าการท่องเที่ยวของภาคใต้อยู่ที่ 500,000 ล้านบาท โดย จ.กระบี่มีรายได้จากการท่องเที่ยวสูงเป็นอันดับ 2 ของภาคใต้ แต่เมื่อพิจารณาความต้องการใช้ไฟฟ้าอยู่ที่อันดับ 5 ของภาคใต้ 

อย่างไรก็ตามแผนการก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินกระบี่มีความเสี่ยงที่จะส่งผลกระทบต่อพื้นที่ท่องเที่ยวโดยเฉพาะพื้นที่ชุ่มน้ำอำเภอเหนือคลอง อาจจะเป็นการเสียโอกาสของแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญ    

หมายเหตุ: 

อ่านกำหนดการ ‣‣ http://bit.ly/1TIfnsq

ชมการถ่ายทอดสด-คลิปย้อนหลัง เวทีเสวนา บนเส้นทางสู่ความยั่งยืน : การลงทุนพลังงานและธรรมาภิบาลเพื่อการเปลี่ยนผ่าน

ชมถ่ายทอดสด 1 : https://www.facebook.com/greenpeaceseath/videos/vb.9378497097/10153740562582098/?type=2&theater
ชมถ่ายทอดสด 2 : https://www.facebook.com/greenpeaceseath/videos/10153740676872098/
ชมถ่ายทอดสด 3 : https://www.facebook.com/greenpeaceseath/videos/10153740787577098/

author

ปฏิทินกิจกรรม EVENT CALENDAR

เข้าสู่ระบบ