ท่าเรือน้ำลึกและนิคมอุตสาหกรรมทวาย รัฐบาลต้องฟังประชาชนก่อนถลำสู่ความผิดพลาด

ท่าเรือน้ำลึกและนิคมอุตสาหกรรมทวาย รัฐบาลต้องฟังประชาชนก่อนถลำสู่ความผิดพลาด

ภาคประชาชนทั้งไทยและต่างชาติที่ติดตามโครงการท่าเรือน้ำลึกและนิคมอุตสาหกรรมทวายร่วมกันออกแถลงการเมื่อวันที่ 5 มกราคม 2555 ระบุึถึงการเจรจาระหว่าวรัฐบาลไทยและพม่าในการผลักดันการพัฒนาโครงการท่าเรือน้ำลึกทวาย ทางตอนใต้ของพม่า แฉข้อเท็จจริงเป็นโครงการเอกชนเพราะให้สัมปทานอิตาเลียนไทย  ตั้งคำถามและเรียกร้องให้ฟังประชาชนก่อนก้าวพลาด

แถลงการณ์ระบุึว่าระหว่างการประชุมสุดยอดผู้นำอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง ที่กรุงเนปิดอร์ ประเทศพม่า เมื่อวันที่ 19-20 ธันวาคม 2554 ได้มีการเจรจาระหว่างรัฐบาลไทยและรัฐบาลพม่าเพื่อผลักดันการพัฒนาโครงการท่าเรือน้ำลึกทวาย ทางตอนใต้ของพม่า โครงการนี้ประกอบด้วยนิคมอุตสาหกรรม โรงไฟฟ้าถ่านหิน ระบบโลจิสติกส์เชื่อมระหว่างเมืองทวาย ผ่านจังหวัดกาญจนบุรีไปยังท่าเรือน้ำลึกแหลมฉบังของไทย มีการระบุว่านี่คือเส้นทางสายตะวันออก-ตะวันตกสายใหม่ของอนุภูมิภาคแม่น้ำโขง อย่างไรก็ตาม โดยข้อเท็จจริงโครงการนี้เป็นของเอกชนโดยสมบูรณ์ เพราะรัฐบาลพม่าได้ให้สิทธิสัมปทานโครงการนี้แก่บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวลล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน) บริษัทสัญชาติไทย ตั้งแต่เมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน 2553 อายุสัมปทาน 60 ปี โดยโครงการประกอบด้วยการก่อสร้างนิคมอุตสาหกรรมครอบคลุมพื้นที่รวม 250 ตารางกิโลเมตร (156,250 ไร่) และถนนเชื่อมระหว่างไทยและพม่า แต่การณ์กลับปรากฏว่า รัฐบาลไทยกำลังพิจารณาสนับสนุนโครงการนี้อย่างจริงจัง เพราะจะมีการประชุมระดับรัฐมนตรีไทยและพม่า 5 กระทรวง (การต่างประเทศ, อุตสาหกรรม, พลังงาน, การคลัง และคมนาคม) ที่เมืองทวาย ในวันที่ 7 มกราคม 2555 สื่อมวลชนรายงานว่า มี “ความร่วมมือโครงการท่าเรือน้ำลึกทวาย” เป็นหนึ่งในสามหัวข้อหลักของการประชุม

องค์กรตามรายนามท้ายแถลงการณ์นี้ขอตั้งคำถามและแสดงความห่วงใยต่อปัญหาธรรมาภิบาลของโครงการท่าเรือนำลึกทวายในสามประการ ดังนี้

ประการแรก ควรหรือไม่ที่รัฐบาลจะพิจารณาใช้ทุนสาธารณะมูลค่า 5.2 หมื่นล้านบาท เพื่อก่อสร้างถนนมอเตอร์เวย์ระยะทางประมาณ 167 กิโลเมตร จากท่าเรือน้ำลึกแหลมฉบังไปยังชายแดนไทยที่จังหวัดกาญจนบุรี รวมถึงการเวนคืนที่ดินเพื่อก่อสร้างถนนสายนี้ เพื่อรองรับโครงการของเอกชน

ประการที่สอง การให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) เจรจาทำสัญญาซื้อขายไฟฟ้าจำนวน 3,600 เมกะวัตต์ จากโรงไฟฟ้าถ่านหินภายในโครงการท่าเรือน้ำลึกทวายอันเป็นกิจการเกี่ยวเนื่องที่จะดำเนินการโดยบริษัทเจ้าของสัมปทาน เป็นการดำเนินนโยบายที่เอื้อประโยชน์ต่อบริษัทเอกชนที่อาจส่งผลต่อความมั่นคงของระบบไฟฟ้าของไทย กล่าวคือไฟฟ้า 3,600 เมกะวัตต์ เป็นสัดส่วนการซื้อไฟฟ้าจากต่างประเทศที่สูงถึง 30% จากปริมาณ 11,669 เมกะวัตต์ ที่วางแผนจะซื้อจากต่างประเทศในช่วงปี 2553-2573 และหากรวมการรับซื้อไฟฟ้าจากเขื่อนไฟฟ้าพลังน้ำ ฮัตจี และท่าซาง ประมาณ 8,000 เมกะวัตต์ (ทั้งสองเขื่อนนี้ บริษัท กฟผ. อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด เป็นผู้ได้สิทธิสัมปทานด้วย) ที่จะมีการหารือในครั้งนี้ด้วยแล้ว ปริมาณการรับซื้อไฟฟ้าจากพม่าเพียงประเทศเดียวอาจสูงถึง 11,600 เมกะวัตต์ หรือเกือบ 100% ของปริมาณการรับซื้อไฟฟ้าจากต่างประเทศของไทยในอีก 20 ปีข้างหน้า และยังถือเป็นการเพิ่มความเสี่ยงให้กับระบบไฟฟ้าของประเทศที่ต้องพึ่งไฟฟ้าจากโครงการเดียวในประเทศพม่าถึงร้อยละ 8-10 ของระบบไฟฟ้าทั้งหมดด้วย

ประการที่สาม มีแนวโน้มที่การป้องกันและควบคุมผลกระทบด้านสังคมและสิ่งแวดล้อมจากกิจกรรมต่างๆภายใต้โครงการนี้จะมีกลไกการตรวจสอบที่น้อยกว่าที่บังคับใช้ในประเทศไทย เสมือนเป็นการผลักภาระด้านสิ่งแวดล้อมและปัญหาที่อาจเกิดขึ้นหากมีการก่อสร้างโครงการนี้ในไทยไปยังประเทศเพื่อนบ้านซึ่งมีมาตรฐานการคุ้มครองทางสังคมและสิ่งแวดล้อมที่ต่ำกว่า อีกทั้งโครงการนี้จะนำไปสู่ปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชนในพม่า และผลที่อาจติดตามมาคือการอพยพย้ายถิ่นของชาวทวายที่สูญเสียวิถีชีวิตดั้งเดิม เพื่อมาเป็นแรงงานรับจ้างในประเทศไทย

จึงขอเรียกร้องให้รัฐบาลไทยพิจารณาถึงผลประโยชน์และผลกระทบต่างๆที่อาจเกิดขึ้นอย่างรอบคอบ ด้วยการตั้งคณะกรรมการอิสระเพื่อศึกษาผลกระทบเชิงยุทธศาสตร์จากโครงการท่าเรือน้ำลึกทวาย นิคมอุตสาหกรรม และกิจการเกี่ยวเนื่องทั้งหมด และรับฟังความเห็นของประชาชนทุกกลุ่ม ก่อนการตัดสินใจใดๆ

กลุ่มทวายวอชต์ (Tavoy Watch)
คณะกรรมการประสานงานองค์กรพัฒนาเอกชนภาคเหนือ
โครงการฟื้นฟูนิเวศในภูมิภาคแม่น้ำโขงและพม่า
มูลนิธินโยบายสุขภาวะ
มูลนิธิศักยภาพเยาวชน (ไทยัพ)
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
กลุ่มเขลางค์เพื่อการพัฒนา จ.ลำปาง
กลุ่มฮักเมืองก๊ก
คณะกรรมการองค์กรเอกชนด้านเอดส์
ศูนย์พิทักษ์และฟื้นฟูสิทธิชุมชนท้องถิ่น
ศูนย์พัฒนาเครือข่ายเด็กและชุมชน
Burma Rivers Network
Burma Environment Working Group
Ethnic Community Development Forum
Karen Environment and Social Action Network
Karen Rivers Watch
Shwe Gas Movement
Salween Watch

ติดต่อสัมภาษณ์เพิ่มเติม
นายมนตรี  จันทวงศ์  โครงการฟื้นฟูนิเวศในภูมิภาคแม่น้ำโขงและพม่า โทร. 081 950 0560
นายศุภกิจ นันทะวรการ  มูลนิธินโยบายสุขภาวะ โทร. 089 494 7677

Tavoy/Dawei Deep Sea Port project: Government must listen to people or risks sliding into mistake

The recent Greater Mekong Subregion Summit on December 19-20, 2011 in Naypyidaw, Myanmar/Burma, provided an opportunity for Thailand and Burma to push ahead with the Tavoy Deep Sea Port project, which includes an industrial zone, a coal-fired power plant, and construction of transport links between Tavoy in Burma through Kanchanaburi Province to Laem Chabang Deep Sea Port in Thailand.  This route is being heralded as a new East-West corridor linking the Mekong subregion with other countries and promoting economic development. A concession to develop the Tavoy/Dawei Deep Sea Port was awarded to the Italian Thai Development Co. Ltd. under a “Build, Operate, Transfer” agreement in a 250 sq km (156,250 rai) area, including the industrial zone and the transport link between Thailand and Myanmar/Burma, for a period of 60 years, thus the project is fully in the hands of a Thai private company. However, there is a tendency that the project will receive strong back-up from Thai government. A clear indication is the planned bilateral ministerials on January 7, 2012, with five Ministers from Thailand (Foreign Affairs, Industry, Energy, Finance and Transportation) to meet with their counterparts from Myanmar/Burma. Out of the three key agenda of the ministerials, according to news reports, will be the cooperation on the Tavoy/Dawei Deep Sea Port Project.
We, the organizations signed below, would like to bring forward our questions and concerns with regard to the governance of the Tavoy/Dawei Deep Sea Port Project in at least three respective areas:
1.   Is it appropriate that Thai government will spend public money amounting to 52 billion baht to build the 167 km motorway from deep sea port of Laem Chabang in eastern Thailand to the Thai border at Kanchanaburi province, which will involve expropriation of land to make way for this motorway construction?
2.   Entrusting Electricity Generating Authority of Thailand (EGAT) to begin negotiating to buy as much as 3,600 MW of electricity from the coal fired power plant at the Tavoy/Dawei Deep Sea Port, which will be built by the same developer is premature and might lead to the question concerning Thailand’s electricity system security. This electricity constitutes 30% of the total amount of power (11,669 MW) planned to be purchased from abroad by Thailand between 2010 and 2030. Combining with the purchase of 8,000 MW from hydropower dams in Myanmar/Burma, namely from the Hatgyi and Tasang dams on the Salween River (which are both jointly invested in by EGAT International) which will also be discussed at the upcoming ministerials, amount of power purchased from Myanmar/Burma alone will total almost 100% of the amount planned to be purchased from abroad for the next 20 years.
3.   There is a tendency that the social and environmental protection in relations to the Tavoy/Dawei deep seaport project will be below the standards enforced within Thailand and this is equal to pushing Thailand’s environmental burden onto its neighbouring country where measures to protect the affected communities and the environment remain far too inadequate. The environmental and social impacts in Myanmar/Burma will lead to increased problems of human rights abuses and increased migration to Thailand.

We, the organizations signed below, ask the Thai government to carefully consider the benefits and the impacts which will result from supporting the Tavoy/Dawei Deep Sea Project. We call for the setting up of an independent committee for strategic environmental assessment of the deep sea port development and all subsequent industrial activities.  And we urge the government to listen to voices of all before making any decision.

Tavoy Watch
Northern NGO-COD, Thailand
Towards Ecological Recovery and Regional Alliance (TERRA)
Healthy Public Policy Foundation
Thai Youth Action Program Foundation (TYAP)
Midnight University
Kelang Development Group, Lampang
Hak Muang Kok Group
Thai NGO Colition on AIDS
Center for Protection and Revival of Local Community Rights
Center for Development of Children and Community Network (DCCN)
Burma Rivers Network
Burma Environment Working Group
Ethnic Community Development Forum
Karen Environment and Social Action Network
Karen Rivers Watch
Shwe Gas Movement
Salween Watch

For further information please contact:
Mr Montree Chantavong, TERRA, Tel. 08 1950 0560
Mr Suphakij  Nuntavorakarn, Healthy Public Policy Foundation, Tel. 08 9494 7677

 

author

ปฏิทินกิจกรรม EVENT CALENDAR

เข้าสู่ระบบ