การสร้างนิเวศการเรียนรู้สำหรับผู้เรียนสู่ ขุนหาญเมืองน่าอยู่ ที่ ขวส. ศรีสะเกษ

การสร้างนิเวศการเรียนรู้สำหรับผู้เรียนสู่ ขุนหาญเมืองน่าอยู่ ที่ ขวส. ศรีสะเกษ

โรงเรียนขุนหาญวิทยาสรรค์ สังกัด องค์การบริหารส่วนจังหวัดศรีสะเกษ จัดกิจกรรม สร้างกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ นวัตกรรมการศึกษาเชิงพื้นที่ที่ส่งผลต่อคุณภาพผู้เรียนอย่างเป็นองค์รวม “การสร้างนิเวศการเรียนรู้สำหรับผู้เรียนสู่ ขุนหาญเมืองน่าอยู่” โดยมีเป้าหมายแรกคือ ครูผู้ทำการเรียนการสอน โดยได้รับการสนับสนุนที่ดีจาก องค์การบริหารส่วนจังหวัดศรีสะเกษ มีคุณ ณชา แสนจันทร์ ศึกษานิเทศก์ มาร่วมสร้างกระบวนการและให้กำลังใจอย่างใกล้ชิด

โดยมีทั้งหมด 6 ห้องเรียน ได้แก่ ห้องเรียนที่ 1 “รักษ์ขุนหาญ บ้านของเฮา” ดร. สมหมาย วันสอน ผู้ก่อตั้งมูลนิธิบัณฑิตคืนถิ่น

ห้องเรียนที่ 2  “Content ศิลปะการสื่อสาร สร้างงาน สร้างเงิน ผศ.ดร. กิจติพงษ์ ประชาชิต อาจารย์ประจำสาขาวิชาศิลปะและการออกแบบ มรภ. ศรีสะเกษ

ห้องเรียนที่ 3  “AI เพื่อการจัดการเรียนการสอน และการพัฒนาสื่อ ผศ. ธีรพงศ์ สงผัด อาจารย์ประจำสาขาวิชาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ และดิจิทัล มรภ. ศรีสะเกษ ผอ. ศิริริชัย สงผัด จ่าสิบตรีจิรานุวัฒน์ สงผัด

ห้องเรียนที่ 4  “ห้องเรียนเกษตรวิถีใหม่ เพิ่มมูลค่า พัฒนาชุมชน” นายธวัชชัย ดีลาส เกษตรอำเภอขุนหาญ นายเวียง สุภาพ นายชนินทร ท้าวธงชัย

ห้องเรียนที่ 5 “สุขภาวะฉบับ Khunhan (Well-being Khunhan Model) เรียนรู้การสร้างระบบสุขภาพที่ยั่งยืนผ่านเรื่องปากท้อง” นางจันทรา อุปมัย และทีม CG นายธีรพนธ์ นามมนุษย์ นางสุรีย์ ใจคง นางไพรรุด ในเรือน นางอรุณลักษณ์ คำโท นางสาวเยาวลักษณ์ ดอกพวง นางณัฐณิชา ตองอ่อน และนางนงคราญ หนองม่วง

และห้องเรียนสุดท้าย ห้องเรียนที่ 6 “ห้องเรียนนักสื่อสารชุมชน” นายธีรพล แก้วลอย นายขวัญชิต โพธิ์กระสังข์  นักสื่อสารชุมชน ในนาม สื่อชุมชนคนชายแดนไทยกัมพูชา โดยกิจกรรมถูกแบ่งเป็นสาม ส่วน ได้แก่ ส่วนที่หนึ่ง เปิดห้องเรียนให้ปราชญ์และผู้รู้นำเสนอพื้นที่และกิจกรรมที่ตัวเองทำอย่างโดดเด่น และให้ครูเป็นผู้เลือกเรียนรู้ในห้องนั้น ๆ  ส่วนที่สอง ให้เข้าศึกษาและเรียนรู้เก็บองค์ความรู้และเรื่องราวจากปราชญ์หรือผู้รู้ในห้องเรียนนั้น ๆ และส่วนสุดท้าย ให้แต่ละห้องเรียนนำเสนอสิ่งได้ที่จากองค์ความรู้แต่ละห้องเป็นอย่างไร นำไปต่อยอดกับการเรียนการสอนให้กับนักเรียนต่อไปได้อย่างไร และมีเป้าหมายแต่ละห้องนั้น จะนำไปสู่ การเป็นขุนหาญเมืองน่าอยู่ได้อย่างไร

และในห้องเรียน “นักสื่อสารชุมชน” นั้น ได้มีการนำเสนอผลงานที่ทำมีวิธีคิด วิธีการ และการนำเสนออย่างไร และการนำเสนอแต่ละอย่างเป็นอย่างไร มีผลกับชุมชนหรือท้องถิ่นบ้านเกิดมากน้อยแค่ไหนหรือมีแนวทางในการนำเสนอเรื่องราวในอนาคตแบบไหนอย่างไร โดยมีทีมงานผู้ผลิตสารคดีอิสระ / นักข่าวพลเมือง ไทยพีบีเอส ในนามสื่อชุมชนคนชายแดน หรือ คนชายแดน เป็นผู้ให้ความรู้กับคณะครูที่เลือกเรียนรู้การสื่อสารเข้ามา

author

ปฏิทินกิจกรรม EVENT CALENDAR

เข้าสู่ระบบ