การพัฒนาแอปพลิเคชัน “PHUP โฮมฮัก ฮีลใจ วัยทีน”

การพัฒนาแอปพลิเคชัน “PHUP โฮมฮัก ฮีลใจ วัยทีน”


          สถานการณ์สุขภาพจิตในประเทศไทยจากรายงานสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ภาวะด้านสังคมไตรมาส 4 พ.ศ.2565 พบว่าโรคซึมเศร้าและการฆ่าตัวตายจากปัญหาสุขภาพจิตมีอัตราเพิ่มขึ้น และจากข้อมูลของกรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุขพบว่า จำนวนผู้ป่วยโรคซึมเศร้า ในปี พ.ศ. 2563 มีอยู่ 355,537 ราย และในปี พ.ศ. 2564 เพิ่มเป็น 358,267 ราย รวมถึงอัตราการฆ่าตัวตายในปี พ.ศ. 2564 อยู่ที่ 7.38 รายต่อประชากรแสนคน ซึ่งมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นจาก ช่วงปีพ.ศ. 2547 – 2563 ที่ทรงตัวอยู่ในระดับ 5 – 6 รายต่อประชากรแสนคน โดยพบว่ากลุ่มที่มีการฆ่าตัวตายสูงสุด คือ กลุ่มอายุ 15 – 34 ปี เป็นกลุ่มวัยเรียนและวัยทำงานตอนต้น โดยมีปัจจัยหลัก คือ ปัญหาเรื่องความสัมพันธ์กับคนใกล้ชิดหรือคนในครอบครัว ในสถานที่ทำงาน หรือในโรงเรียน รวมทั้งภาวะป่วยกายหรือใจเรื้อรัง การใช้สุรา และสารเสพติด และภาวะเครียดจากผลกระทบทางเศรษฐกิจ เป็นต้น 

สถานการณ์ภาวะสุขภาพจิตในภาคเหนือ มีอัตราฆ่าตัวตายและสำเร็จ 15.31 รายต่อแสนประชากร ซึ่งสูงสุดเป็น อันดับ 1 ของประเทศ และสถิติผู้พยายามฆ่าตัวตายมากถึง 1,816 ราย โดยร้อยละ 50 เป็นกลุ่มวัยเรียนมีช่วงอายุ 10 – 24 ปี ประกอบด้วย จังหวัดเชียงราย จำนวน 214 ราย จังหวัดเชียงใหม่ 198 ราย จังหวัดลำปาง จำนวน 138 ราย และจังหวัดพะเยา จำนวน 132 ราย (ที่มา: ข้อมูล รง 506S ปีงบประมาณ 2565) ในส่วนของมหาวิทยาลัยพะเยาพบรายงานการเข้ารับบริการศูนย์ให้คำปรึกษานิสิต ผลสำรวจจาก การมารับบริการในปี 2563 – 2566 เรียงจากมากไปหาน้อย 3 ลำดับ ได้แก่ ปัญหาซึมเศร้า ปัญหาการเรียน และปัญหาครอบครัวมีจำนวนเพิ่มขึ้นทุกปี นิสิตที่สังกัดคณะสาธารณสุขศาสตร์ส่วนหนึ่งได้เข้ารับบริการเช่นกัน ด้วยเหตุนี้ส่วน หน่วยคุณภาพนิสิตและกิจการนิสิตของคณะสาธารณสุขศาสตร์จึงเล็งเห็นถึงความสำคัญและตระหนักถึงปัญหาดังกล่าว พร้อมหาแนวทางการแก้ไขป้องกัน คณะสาธารณสุขศาสตร์จึงประเมินปัญหาทางด้านสุขภาพจิตของนิสิต ในหลาย ๆ มิติ ประกอบด้วย มิติภาวะความเครียด (ST-5) มิติด้านภาวะเสี่ยงซึมเศร้า (9Q) และภาวะเสี่ยงฆ่าตัวตาย (8Q) และคณะผู้บริหารได้ให้ความสำคัญในการแก้ไขปัญหาด้านสุขภาพจิต จึงได้มีนโยบายและมีการดำเนินการออกแบบกิจกรรมต่าง ๆ แบบมีส่วนร่วม ซึ่งมุ่งเน้นเติมพลังวัคซีนใจให้กับผู้เกี่ยวข้องในทุกมิติ ได้แก่ วัคซีนใจนิสิต วัคซีนใจบุคลากร และวัคซีนใจผู้ปกครอง เช่น กิจกรรม Strong Together (เสริมพลังใจนิสิตใหม่) กิจกรรม “งานสร้างสุข สู่องค์กรสร้างสรรค์” กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการ “แกนนำวัคซีนใจ สร้างภูมิคุ้มกันสุขภาวะ” รุ่นที่ 1 เป็นต้น เพื่อเป็นการเสริมสร้างความเข้มแข็งทางใจ ทักษะในการดูแลตนเอง และการดูแลผู้ใกล้ชิดได้อย่างถูกต้อง

          จาการดำเนินงานในหลาย ๆ มิติ หน่วยคุณภาพนิสิตและกิจการนิสิต คณะสาธารณสุขศาสตร์ต้องการ ที่จะทำงานเชิงรุกเพื่อลดปัญหาด้านสุขภาพจิตในกลุ่มนิสิตและขยายผลรวมถึงบุคลากรของมหาวิทยาลัยพะเยา จึงทำให้เกิดแนวคิดแก้ไขปัญหาดังกล่าว ผ่านช่องทางโซเชียลมีเดีย รูปแบบแอปพลิเคชันไลน์ ที่ชื่อว่า “PHUP โฮมฮัก ฮีลใจ วัยทีน” และเพื่อเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของแอปพลิเคชัน จึงมีแนวคิดพัฒนาให้สามารถใช้งานได้อย่างครอบคลุมในระบบ IOS และ Android

          คณะสาธารณสุขศาสตร์ ได้ดำเนินลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการ (MOU) การดูแลจิตใจ สร้างเครือข่ายด้านสุขภาพจิต ระหว่าง โรงพยาบาลสวนปรุง และศูนย์สุขภาพจิตที่ 1 เชียงใหม่ กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข เพื่อพัฒนาศักยภาพบุคลากรทางการศึกษา นิสิต ในการดูแลด้านสุขภาพจิต ทักษะการจัดกิจกรรม และทักษะชีวิตที่จำเป็น เพื่อให้เกิดความร่วมมือในการส่งเสริม สนับสนุน การพัฒนาองค์ความรู้ เทคโนโลยี นวัตกรรมและวิจัยในเชิงพื้นที่ภาคเหนือตอนบน และเพื่อให้เกิดภาคีเครือข่ายการดำเนินงานด้านความรอบรู้ และส่งเสริมการป้องกันปัญหาสุขภาพจิต ต่อไป

          ในโอกาสนี้ ขอขอบพระคุณ รองศาสตราจารย์ ดร.สุภกร พงศบางโพธิ์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยพะเยา พร้อมด้วยคณะผู้บริหารมหาวิทยาลัยพะเยา นายแพทย์กิตต์กวี โพธิ์โน ผู้ช่วยอธิบดีกรมสุขภาพจิตและผู้อำนวยการโรงพยาบาลสวนปรุง ว่าที่ร้อยโทโฆษิต กัลยา ผู้อำนวยการศูนย์สุขภาพจิตที่ 1 เชียงใหม่ และคณะผู้บริหาร บุคลากร และนิสิตคณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา ที่ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญในการแก้ไขปัญหาด้านสุขภาพจิตของนิสิตและบุคลากรในมหาวิทยาลัยพะเยา


บทความโดย นายณรงค์ศักดิ์ ใจเที่ยงธรรม                   

นักวิชาการศึกษา 

คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา


การพัฒนาแอปพลิเคชัน “PHUP โฮมฮัก ฮีลใจ วัยทีน”

การพัฒนาแอปพลิเคชัน “PHUP โฮมฮัก ฮีลใจ วัยทีน”

การพัฒนาแอปพลิเคชัน “PHUP โฮมฮัก ฮีลใจ วัยทีน”

การพัฒนาแอปพลิเคชัน “PHUP โฮมฮัก ฮีลใจ วัยทีน”

การพัฒนาแอปพลิเคชัน “PHUP โฮมฮัก ฮีลใจ วัยทีน”

การพัฒนาแอปพลิเคชัน “PHUP โฮมฮัก ฮีลใจ วัยทีน”

การพัฒนาแอปพลิเคชัน “PHUP โฮมฮัก ฮีลใจ วัยทีน”

การพัฒนาแอปพลิเคชัน “PHUP โฮมฮัก ฮีลใจ วัยทีน”

การพัฒนาแอปพลิเคชัน “PHUP โฮมฮัก ฮีลใจ วัยทีน”

author

ปฏิทินกิจกรรม EVENT CALENDAR

เข้าสู่ระบบ