ตั้งไข่ “ทีวีบริการชุมชน”กสทช.ระดมความคิดเห็นนักวิชาการและนักสื่อสารระดับชุมชน

ตั้งไข่ “ทีวีบริการชุมชน”กสทช.ระดมความคิดเห็นนักวิชาการและนักสื่อสารระดับชุมชน

 

20151111225914.jpg

นับเป็นความคืบหน้าอย่างเป็นทางการ เมื่อคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ร่วมกับสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (ITU) และยูเนสโก จัดประชุมกลุ่มย่อย (Focus group) ระดมความคิดเห็นเรื่องกิจการโทรทัศน์บริการชุมชนในประเทศไทย ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 11 -13 พฤศจิกายน 2558  ณ โรงแรมอมารี วอเตอร์เกท กรุงเทพมหานคร

การประชุมครั้งนี้ มีความร่วมมือจากนักวิชาการทั้งไทยและต่างประเทศ เพื่อแลกเปลี่ยนพูดคุย กรณีศึกษาทีวีชุมชน  โดย MS.Renny Silfianingrum จากสำนักกระจายเสียง กระทรวงการสื่อสารและเทคโนโลยีสารสนเทศ อินโดนีเซีย ได้แลกเปลี่ยนมุมมองต่อโทรทัศน์บริการชุมชนและเนื้อหารายการของอินโดนีเซีย ซึ่งมีโทรทัศน์อยู่ 4 ประเภท คือ ภาคสาธารณะ ภาคเอกชน แบบระบบสมาชิก และระบบชุมชน ซึ่งมีทั้งวิทยุและโทรทัศน์ทั้งระบบอนาลอค และดิจิตอล จากประสบการณ์ของอินโดนีเซีย ซึ่งปัจจุบันมีทีวีชุมชนที่ได้รับใบอนุญาตแล้วจำนวน 18 สถานี เป็นแบบชั่วคราว 7 สถานี และแบบถาวร 11 สถานี  ใบอนุญาตชั่วคราวมีอายุ 1 ปี และหลังจากมีการประเมินแล้วจะได้รับใบอนุญาตถาวรซึ่งมีอายุ 10 ปี  ส่วนเนื้อหาในการออกอากาศของทีวีชุมชนอินโดนีเซีย  จะมีการออกอากาศ  5 ชั่วโมงต่อวัน ซึ่งเนื้อหา 8 0 เปอร์เซ็นมาจากเรื่องราวในพื้นที่ ซึ่งถ้าคำนวณแล้วไม่ถึงตามข้อกำหนดก็จะมีการถูกแจ้งรายงาน  และอาจถูกยุติการออกอากาศภายใน 3 เดือน ในเรื่องของการหารายได้นั้นทีวีชุมชนที่อินโดนีเซียไม่สามารถที่มีโฆษณาทางการค้าได้ ทำได้เพียงข่าวประชาสัมพันธ์  ส่วนเงินทุนสนับสนุนจะมาจากสมาชิกในชุมชน และการระดมทุนบริจาค แต่ไม่สามารถรับการสนับสนุนจากแหล่งทุนต่างประเทศได้

20151111225451.jpg

พร้อมกัน มีการระดมความคิดเห็น และอภิปรายกลุ่มย่อย “ความหมายของโทรทัศน์บริการชุมชนสำหรับประเทศไทย รวมถึงปัญหา อุปสรรค โอกาส และความท้าทาย”   ซึ่งมีความคิดเห็นจากผู้เข้าประชุมที่หลากหลาย เช่น   ทีวีบริการชุมชนต้องเป็นของชุมชน  โดยชุมชน และเพื่อประโยชน์ของชุมชน โดยเป็นพื้นที่สร้างการมีส่วนร่วมของชุมชน   ซึ่งผู้เข้าร่วมประชุมมองว่าอีกข้อจำกัดของการก่อตั้งทีวีบริการชุมชนในประเทศไทย คือ ยังเป็นเรื่องราวที่มีความสนใจเฉพาะกลุ่ม จึงจำเป็นต้องสร้างการมีส่วนร่วมและความเป็นเจ้าของ รวมทั้งสนับสนุนส่งเสริมทักษะการผลิตรายการแก่สื่อชุมชนที่สนใจ

20151111225420.jpg

และเพื่อแลกเปลี่ยนผลการศึกษาและระดมความคิดเห็นก่อนนำไปสู่การศึกษาและออกแบบแนวปฏบัติการทำทีวีชุมชน ในวันที่13 พฤศจิกายน 2558  สำนักงาน กสทช. และสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ หรือ ITU  และองค์การการศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (องค์การยูเนสโก) ได้จัดประชุมเชิงวิชาการเรื่องกิจการโทรทัศน์บริการชุมชนในต่างประเทศและในประเทศไทย

วันศุกร์ที่ 13 พฤศจิกายน 2558

​08:00-09:00

ลงทะเบียน

​09:00-09:40

เปิดประชุม

•   กล่าวต้อนรับ โดย นายสมศักดิ์ สิริพัฒนากุล ผู้อำนวยการสำนักกิจการโทรทัศน์ในระบบดิจิตอล สำนักงาน กสทช.
•   กล่าวเปิดงานและปาฐกถา โดย กสทช. สุภิญญา กลางณรงค์

​09:40-10:20

หัวข้อที่ 1 : ปรัชญาและหลักการของบริการโทรทัศน์และวิทยุบริการชุมชน 
(ดำเนินรายการเป็นภาษาอังกฤษโดยมีการแปลเป็นภาษาไทย) 

•   โดย Dr. Murray Green ที่ปรึกษาด้านการพัฒนาสื่อและที่ปรึกษากฎหมายด้านสื่อ 
•   โดย ดร. จิราพร วิทยศักดิ์พันธุ์ คณบดีคณะการสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

​10:20-10:40

ถ่ายรูปหมู่ และ พักรับประทานของว่าง

​10:40-12:00

หัวข้อที่ 2 : บริบทการพัฒนาโทรทัศน์บริการชุมชนในประเทศไทย 
(ดำเนินรายการเป็นภาษาไทยโดยมีการแปลเป็นภาษาอังกฤษ) 

•   การเปลี่ยนผ่านไปสู่โทรทัศน์ภาคพื้นดินระบบดิจิตอล โดย นายสมศักดิ์ สิริพัฒนากุล ผู้อำนวยการสำนักกิจการโทรทัศน์ในระบบดิจิตอล 
•   บริบทการพัฒนาโทรทัศน์บริการชุมชน โดย ผศ.ดร.พิรงรอง รามสูต รณะนันท์ คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

​12:00-13:00

พักรับประทานอาหารกลางวัน

​13:00-14:30

​หัวข้อที่ 3 : หลักการและแนวทางปฏิบัติในต่างประเทศ 
(ดำเนินรายการเป็นภาษาอังกฤษโดยมีการแปลเป็นภาษาไทย) 

•   กรณีศึกษาและแนวทางของประเทศออสเตรเลีย โดย Dr. Murray Green ที่ปรึกษาด้านการพัฒนาสื่อและที่ปรึกษากฎหมายด้านสื่อ 
•   กรณีศึกษาและแนวทางของประเทศสหรัฐอเมริกา โดย Mr. Merlyn Reineke หัวหน้าผู้บริหารระดับสูง สื่อชุมชนมองโกเมอรี่ จังหวัดมองโกเมอรี่, มลรัฐแมรี่แลนด์ 
•   กรณีศึกษาและแนวทางของประเทศญี่ปุ่น โดย Professor Hitoshi Mitomo มหาวิทยาลัยวาเซดะ 
•   กรณีศึกษาและแนวทางของประเทศอินโดนีเซีย โดย กระทรวงการสื่อสารและเทคโนโลยีสารสนเทศอินโดนีเซีย

​14:30-14:45

พักรับประทานของว่าง

​​14:45-15:45

หัวข้อที่ 4 : กรณีศึกษาโทรทัศน์บริการชุมชนในประเทศไทย 
(ดำเนินรายการเป็นภาษาไทยโดยมีการแปลเป็นภาษาอังกฤษ) 

•   แนวทางการพัฒนาและทดลองดำเนินการโทรทัศน์บริการชุมชนในประเทศไทย โดย ผศ.ดร. ภัทรา บุรารักษ์ สาขาวิชาการสื่อสารใหม่ คณะวิทยาการจัดการและสารสนเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา
•   กรณีศึกษา: สื่อสร้างสุข โดย นายสุชัย เจริญมุขยนันท มูลนิธิสื่อสร้างสุข จังหวัดอุบลราชธานี 
•   กรณีศึกษา: พะเยาทีวีชุมชน โดย นายชัยวัฒน์ จันธิมา พะเยาทีวีชุมชน จังหวัดพะเยา

​15:45-16:45

หัวข้อที่ 5 : เสวนาเรื่องแนวทางการพัฒนากิจการโทรทัศน์บริการชุมชนในประเทศไทย 
หัวข้อนี้จะเป็นการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในประเด็นเกี่ยวกับกรอบดำเนินการด้านกำกับดูแลกิจการ การออกใบอนุญาตประกอบกิจการ การดำเนินกิจการ รายการโทรทัศน์ การหารายได้ มาตรการเพื่อส่งเสริมการให้บริการ และข้อคิดที่ได้จากการให้บริการวิทยุกระจายเสียงบริการชุมชน 
(ดำเนินรายการเป็นภาษาไทยโดยมีการแปลเป็นภาษาอังกฤษ) 

ผู้ดำเนินรายการ : นายวิสิฐ อติพญากุล สหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (ITU) 
•   ผศ.ดร. ภัทรา บุรารักษ์ สาขาวิชาการสื่อสารใหม่ คณะวิทยาการจัดการและ สารสนเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา 
•   นายสมเกียรติ จันทรสีมา ผู้อำนวยการสำนักเครือข่ายสื่อข่ายสาธารณะ องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย 
•   นายพิภพ พานิชภักดิ์ กรรมการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ และผู้ผลิตรายการอิสระ 
•   สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย 
•   ผู้ร่วมเสวนาท่านอื่นๆ

​16:45-17:00

สรุปและปิดการประชุม
•   กล่าวปิดงาน โดย กสทช. สุภิญญา กลางณรงค์

 

author

ปฏิทินกิจกรรม EVENT CALENDAR

เข้าสู่ระบบ