สายน้ำและชีวิต ของหมู่บ้าน เเม่กานาไร่เดียว

สายน้ำและชีวิต ของหมู่บ้าน เเม่กานาไร่เดียว

หมู่บ้านแม่กานาไร่เดียว ตั้งอยู่ในหมู่ที่ 14 ตำบลแม่กา อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา มีประชากรประมาณ 120 ครัวเรือน 

อยู่ทางทิศใต้ของตัวอำเภอเมืองพะเยา และมีถนนพหลโยธินเป็นเส้นทางสำคัญใกล้เคียง นอกจากนี้ พื้นที่ตำบลยังติดกับอำเภองาว จังหวัดลำปาง ปัจจุบันในพื้นที่นี้ยังอยู่ใกล้กับที่ตั้งของมหาวิทยาลัยพะเยา ทำให้มีการขยายตัวของชุมชนและหมู่บ้านเพิ่มขึ้น 

อาชีพหลักๆของคนในหมู่บ้านแม่กานาไร่เดียว คือการทำอาชีพเกษตรกร และรับจ้างทั่วไป โดยทำการปลูกข้าวโพด รายได้เฉลี่ยต่อครัวเรือนจะอยู่ที่ 40,000 บาท แต่ถ้าหากว่างบางบ้านจะมีการนำไม้กวาดมาถักขายเพื่อเป็นรายได้เสริมให้กับครอบครัว

ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม 

บ้านแม่กานาไร่เดียว เป็นพื้นที่ที่มีแหล่งน้ำเป็นลักษณะ 2 ประเภท คือ พื้นที่แหล่งน้ำธรรมชาติ และแหล่งน้ำที่สร้างขึ้น โดยแหล่งน้ำธรรมชาตินั้นมีลำห้วยจากน้ำธรรมชาติและการทำฝายภายในหมู่บ้าน โดยพื้นที่รอบหมู่บ้านเป็นภูเขาลักษณะคล้ายหลังเต่า

หมู่บ้านแม่กานาไร่เดียวมีทรัพยากรธรรมชาติ 

• ทรัพยากรป่าไม้ 

• ทรัพยากรน้ำ 

• ทรัพยากรดิน 

ทรัพยากรป่าไม้ 

โดยในหมู่บ้านทั้งสองฝากถนนจะติดกับป่าไม้สงวนและป่าไม้คุ้มครองโดยชาวบ้านสามารถไปเก็บของป่าและไม้บางชนิดมาใช้งานภายในครัวเรือน

ทรัพยากรน้ำ

ภายในหมู่บ้านจะใช้น้ำจาก 2 แหล่งนั่นก็คือน้ำจากภูเขาและน้ำประปาเนื่องจากหมู่บ้านนี่เป็นหมู่บ้านสุดท้ายที่รับ 

น้ำจึงทำให้หมู่บ้านขาดแคลนน้ำเมื่อถึง ฤดูแล้งที่น้ำบนภูเขาก็แห้งและน้ำจากปะปาก็ไม่พอเพียงบางครั้งก็ไม่สามารถนำน้ำมาใช้ได้ บางบ้านจึงต้องซื้อถังน้ำมากักเก็บน้ำไว้ใช้ ในหน้าแล้ง 

ทรัพยากรดิน 

นื่องจากเป็นหมู่บ้านที่ติดภูเขาจึงมีดินที่ดี แต่เนื่องจากขาดแคลนน้ำจึงทำให้ไม่สามารถดึงศักยภาพของดินออกมาได้อย่างเต็มที่

พื้นที่ทางการเกษตร 

ชาวบ้านมีไร่ในการปลูกพืชหมุนเวียนชาวบ้านยังปลูกพืชหมุนเวียนหลังการเก็บเกี่ยวข้าว เช่น ข้าวโพด 

สวนผลไม้และพืชผักสวนครัว 

– สวนผลไม้ หมู่บ้านแม่กาไร่นาเดียวมีสวนผลไม้ขนาดเล็กที่เป็นผลไม้ท้องถิ่นหลากหลายเช่น มะม่วง มะละกอ กล้วย และส้มเขียวหวาน ซึ่งนอกจากใช้บริโภคเองแล้วยังสามารถจำหน่ายให้กับชุมชนใกล้เคียงหรือส่งตลาดได้ 

– พืชผักสวนครัว ชาวบ้านปลูกผักสวนครัวหลากหลายชนิด เช่น กะเพรา โหระพา ผักบุ้ง ตำลึง และฟักทอง โดยเน้นการปลูกแบบเกษตรอินทรีย์ ซึ่งลดการใช้สารเคมีและรักษาคุณภาพดิน ผักเหล่านี้สามารถใช้เป็นอาหารในครัวเรือนและลดค่าใช้จ่ายด้านอาหารได้

ปัญหาสิ่งแวดล้อม 

1. มลพิษจากการเกษตร: การใช้สารเคมีในการเกษตร เช่น ยาฆ่าแมลงและปุ๋ยเคมี ส่งผลต่อสุขภาพของผู้คนและสัตว์น้ำในบริเวณนั้น 

2. การตัดไม้ทำลายป่า: ปัญหาการตัดไม้ทำลายป่าเพื่อก่อสร้างทางรถไฟที่ส่งผลกระทบต่อชุมชน 

3. ปัญหาการบริหารจัดการขยะ: ที่ชาวบ้านจัดการกันเองนำไปเทรวมกันไว้ที่บ่อขยะเมื่อถึงเวลาก็จะเผาขยะเหล่านั้นซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม

ปัญหาของหมู่บ้านนี้ ช่างคล้ายคลึงกับ สารคดีเรื่อง Reflection a walk with water ที่ในเรื่องนี้ ได้พูดถึงปัญหาภัยเเล้งว่าถ้าเกิดเราขาดเเคลนน้ำ จะมีผลกระทบต่อสิ่งเเวดล้อมเเละสิ่งมีชีวิตในพื้นที่อย่างไรบ้าง

https://www.google.com/url?sa=i&url=https%3A%2F%2Fdocumentaryclubthailand.com%2Freflection-a-walk-with-water%2F&psig=AOvVaw3Pf_dKwX1CSIEgpqoRKNlA&ust=1731405647966000&source=images&cd=vfe&opi=89978449&ved=0CBQQjRxqFwoTCIj4nuyC1IkDFQAAAAAdAAAAABAQ

สารคดีเรื่องนี้เกี่ยวข้องกับสื่อพลเมือง ตรงที่เป็นการนำเสนอเรื่องราวกับกลุ่มคนที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤตน้ำขาดแคลน โดยสื่อพลเมืองมีหน้าที่เป็นสื่อกลางให้แก่กลุ่มคนในพื้นที่นั้นเพราะคนในพื้นที่ไม่มีช่องทางในการสื่อสารเกี่ยวกับปัญหาที่เกิดขึ้น ดังนั้นสื่อพลเมืองจึงมีหน้าที่เป็นช่องทางให้แก่คนชุมชนนั้นๆ

แนวคิดเกี่ยวกับสารคดีชุดนี้สุดท้ายแล้วพยายามที่จะเป็นกระบอกเสียงเรื่องการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ

author

ปฏิทินกิจกรรม EVENT CALENDAR

เข้าสู่ระบบ