ขบวนองค์กรชุมชนภาคเหนือ เปิดศูนย์อำนวยการฟื้นฟูภัยพิบัติ จ.เชียงราย Kick off ทำความสะอาดบ้านผู้สูงอายุ คนพิการ ตำบลแม่ยาว

ขบวนองค์กรชุมชนภาคเหนือ เปิดศูนย์อำนวยการฟื้นฟูภัยพิบัติ จ.เชียงราย Kick off ทำความสะอาดบ้านผู้สูงอายุ คนพิการ ตำบลแม่ยาว

จากสถานการณ์อุทกภัยภาคเหนือตั้งแต่ต้นเดือนสิงหาคมต่อเนื่องถึงเดือนกันยายน 2567  เกิดปรากฏการณ์ธรรมชาติ ฝนตกหนัก น้ำป่าไหลหลาก ดินสไลด์ถล่ม และน้ำล้นตลิ่งกั้นน้ำ เข้าท่วมในบริเวณพื้นที่บ้านเรือน และพื้นที่ทำการเกษตร   ประชาชนในพื้นที่ภาคเหนือ ทำให้เกิดผลกระทบ ในพื้นที่จังหวัด เชียงใหม่ เชียงราย พะเยา น่าน แพร่ และจังหวัดแม่ฮ่องสอน รวม 33 อำเภอ 152 ตำบล ประชาชนได้รับผลกระทบจำนวน 19,781 ครัวเรือน และมีผู้เสียชีวิตจากเหตุการณ์ดังกล่าวมากถึง 10 ราย

โดยในพื้นที่จังหวัดเชียงรายได้รับผลกระทบ จำนวน 5 อำเภอ 20 ตำบล 46 หมู่บ้าน 1 เทศบาลนคร (10 ชุมชน) ตลาดชุมชนเศรษฐกิจ 2 แห่ง ร้านค้า/สถานประกอบการ 92 แห่ง ประชาชนได้รับผลกระทบ 10,499 ครัวเรือนมีผู้เสียชีวิต 3 ราย และบาดเจ็บ 2 ราย ส่วนสถานการณ์ปัจจุบันที่เชียงรายน้ำลดลงทุกพื้นที่แล้ว จากสถานการณ์ดังกล่าวจึงเป็นที่มาของการขับเคลื่อนของคณะทำงานเครือข่ายจัดการภัยพิบัติภาคเหนือในการร่วมกันจัดตั้ง “ศูนย์อำนวยการฟื้นฟูภัยพิบัติโดยขบวนองค์กรชุมชน”

เชียงราย / ล่าสุดวันที่ 27กันยายน 67 ขบวนองค์กรชุมชนภาคเหนือเปิด“ศูนย์อำนวยการฟื้นฟูภัยพิบัติภาคเหนือโดยขบวนองค์กรชุมชน” โดยมีนายโสภณ แก้วล้อมทรัพย์ พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดเชียงราย เป็นประธานในพิธี พร้อม นายวิเชียร พลสยม ผอ.สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (พอช.) สำนักงานภาคเหนือ หน่วยงาน One home พม. เครือข่ายจัดการภัยพิบัติภาคเหนือ ขบวนช่างชุมชนภาคเหนือ ผู้แทนเครือข่ายองค์กรชุมชนระดับจังหวัด 17 จังหวัดภาคเหนือ  ภาคประชาสังคม   เครือข่ายสภาองค์กรชุมชนจังหวัดเชียงราย  และหน่วยงานภาคีความร่วมมือที่เกี่ยวข้อง  เข้าร่วมงานกว่า 150 คน ณ ศาลาประชาคมบ้านสันกอง หมู่ 7 ต.แม่ไร่ อ.แม่จัน จ.เชียงราย

โดยบูรณาการการทำงานทุกหน่วยงาน พร้อมหนุนเสริมการทำงานอย่างเต็มที่ เพื่อเร่งการช่วยเหลือเยียวยาประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัยในพื้นที่ภาคเหนือ พร้อมตั้งเป้า ลงลุยช่วยเหลือทำความสะอาดบ้านผู้สูงอายุ คนพิการ ผู้ได้รับผลกระทบทันที

Img 4536

ศูนย์อำนวยการฟื้นฟูภัยพิบัติภาคเหนือโดยขบวนองค์กรชุมชน

                นายกนกศักดิ์ ดวงแก้วเรือน ผู้อำนวยศูนย์อำนวยการฟื้นฟูภัยพิบัติโดยขบวนองค์กรชุมชนภาคเหนือ กล่าวถึงระบบการทำงานของศูนย์ฯ ดังกล่าว ว่า ศูนย์นี้จะเป็นจุดประสานงาน  เพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์และร่วมออกแบบแผนการจัดการภัยพิบัติของภาคเหนือ  และ การฟื้นฟูครัวเรือนที่ได้รับผลกระทบจากการเกิดภัยพิบัติในพื้นที่จังหวัดเชียงราย  เพื่อให้ผู้ด้อยโอกาส หรือ “กลุ่มเปราะบางในสังคม”  ได้มีโอกาสเข้าถึงการอยู่อาศัยที่มีความมั่นคง เป็นการแก้ไขปัญหาครัวเรือนผู้มีรายได้น้อยและเดือดร้อนด้านที่อยู่อาศัย มีที่อยู่อาศัยที่ มั่นคง และปลอดภัย  โดยการดำเนินงานร่วมกันของชุมชน ,ท้องถิ่น และภาคีพัฒนาทุกภาคส่วน ที่เข้ามาร่วมดูแลและช่วยเหลือ  ทั้งการฟื้นฟู การซ่อมแซมปรับปรุงที่อยู่อาศัย ให้สามารถอยู่ได้อย่างอบอุ่น ปลอดภัย และมีความสุข

4

นายกนกศักดิ์ กล่าวต่อ ที่ผ่านมา จังหวัดเชียงราย ได้ดำเนินการขับเคลื่อน ส่งเสริมการสร้างความร่วมมือโดยการบูรณาการความร่วมมือกับทุกภาคส่วน ร่วมมือร่วมใจ  อันเป็นภารกิจหนึ่งที่จะร่วม “บำบัดทุกข์ บำรุงสุข” พัฒนาทุกพื้นที่ในการเสริมสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีอย่างยั่งยืนให้กับพี่น้องประชาชน ซึ่งในปี 2567 นี้ จังหวัดได้มีแนวทางสำคัญ คือ การบูรณาการงานทุกอย่างทุกมิติในพื้นที่ โดยมุ่งขับเคลื่อนให้เกิดทีมจิตอาสาในพื้นที่ ทุกคนเป็นเจ้าของ ทุกหน่วยงานเป็นแรงเสริมหนุน เป็น “หุ้นส่วนในการพัฒนา” ซึ่งจะเป็นแนวทางการพัฒนาที่ยั่งยืน

5
นายโสภณ แก้วล้อมทรัพย์  พมจ. เชียงราย

นายโสภณ แก้วล้อมทรัพย์  พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดเชียงราย ได้กล่าวให้กำลังใจและกล่าวเปิดศูนย์ฯว่า มีความรู้สึกปลาบปลื้มใจแทนพี่น้องชุมชนผู้เดือดร้อน ผู้ประสบภัยพิบัติ ในพื้นที่จังหวัดเชียงราย ซึ่งภัยพิบัติในครั้งนี้ได้เกิดความเสียหายในวงกว้าง ทั่วจังหวัด ทั้งบ้านเรือนที่อยู่อาศัย พื้นที่ทำการเกษตร ย่านธุรกิจการค้า สถานที่ราชการ เส้นทางคมนาคม ฯ  การเปิดศูนย์ภัยพิบัติในวันนี้ เกิดจากการความร่วมมือของพี่น้องชุมชนทั้งภาคเหนือ ขอขอบคุณเป็นอย่างยิ่ง ที่ท่านนายอำเภอแม่จัน  ผู้ช่วยผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน  หัวหน้าส่วนราชการ หน่วยงานภาคีความร่วมมือ  และพี่น้องเครือข่ายขบวนองค์กรชุมชน ทั้ง 17 จังหวัดภาคเหนือ ที่มาให้กำลังใจ ฟื้นฟู ช่วยเหลือพี่น้องผู้ประสบภัย และ ให้เกียรติมาร่วมงาน เปิดศูนย์อำนวยการฟื้นฟูภัยพิบัติภาคเหนือโดยขบวนองค์กรชุมชน

ทั้งนี้ ขอชื่นชมพลังของความร่วมมือ ระหว่างพี่น้องประชาชน เครือข่ายขบวนองค์กรชุมชนจังหวัดเชียงราย และหน่วยงานภาครัฐ ภาคีท้องถิ่น ท้องที่ในจังหวัด ที่ได้ร่วมกันผลักดัน สนับสนุนและให้ความร่วมมือเพื่อแก้ไขปัญหาแก่ผู้เดือดร้อน ผู้ประสบภัยด้านที่ดินและที่อยู่อาศัย การซ่อมแซมปรับปรุงที่อยู่อาศัย การจัดทำครัวกลาง และ การวางแผนการช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติในระยะยาว โดยพี่น้องขบวนองค์กรชุมชน การขับเคลื่อนการพัฒนาของพี่น้องประชาชน และการมีส่วนร่วมจากทุกฝ่าย มีความเข้มแข็งเต็มพื้นที่ประเทศไทย อย่างเป็นรูปธรรม

Img 4606
เตรียมขนของเพื่อไปปฏิบัติการทำความสะอาดในพิ้นที่

Kick off ทำความสะอาดบ้านผู้สูงอายุ คนพิการ ที่ได้รับผลกระทบจากภัยพิบัติภาคเหนือ

ส่วนในวันที่ 28 กันยายน 2567  ขบวนองค์กรชุมชนป้องกันภัยพิบัติภาคเหนือ ร่วมมือกับช่างชุมชนอาสาทั้งจาก 17 จังหวัดภาคเหนือ ลงพื้นที่ Kick off  ทำความสะอาดบ้านกลุ่มผู้เปราะบางทางสังคม ผู้สูงอายุ และผู้พิการ และสำรวจความเสียหายต่อครัวเรือนเพื่อทำข้อมูลประกอบแผนในการซ่อมแซมในระยะต่อไป หลังจากนี้ จะเป็นการเริ่มกระบวนการฟื้นฟู ไปตลอดจนถึงเดือนธันวาคม 67 โดยมีกระบวนการตั้งแต่การสำรวจพื้นที่จุดสี่ยง การซ่อมสร้าง การย้ายไปจุดรับรองใหม่ หารือหน่วยงานภาคีถึงแนวทางในการใช้ที่ดิน การทำผังที่ดิน ระบบสาธารณูปโภค การจัดทำแผนฟื้นฟูคุณภาพชีวต ไปจนถึงการเตรียมรับมือกับภัยพิบัติในปีต่อไป แลได้ลงพื้นที่ 2 ชุมชน คือ  พื้นที่ 1 ชุมชนกะเหรี่ยงรวมมิตร  ตำบลแม่ยาว อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย และพื้นที่ 2 ชุมชนผาจม  ตำบลเวียงพางคำ  อำเภอแม่สาย  จังหวัดเชียงราย

“อย่างไรก็ดีแม้ระดับน้ำที่จังหวัดเชียงรายจะลดลงไปแล้ว แต่ยังคงทิ้งความเสียหายไว้จำนวนมาก แต่ฟ้าหลังฝนย่อมสดใสเสมอ วันนี้เราได้เห็นความร่วมมือในการจัดการและรับมือกับภัยพิบัติ โดยเป็นการบูรณาการกันจากทุกภาคส่วนจนเกิดออกมาเป็นรูปธรรมความสำเร็จ และยังได้เห็นน้ำใจของคนในชุมชนที่ช่วยกันลุกขึ้นมาแก้ปัญหาร่วมกัน !!!”

Img 4592

Img 4647
เด็กในโรงเรียนบ้านรวมมิตรกำลังเลือกเสื้อผ้าที่ได้รับบริจาค
10

Img 4639
Img 4636
Img 4626
Img 4627
ความเสียหายในพื้นที่ ตำบลแม่สาย อำเภอเมืองเชียงราย เชียงราย 

ทั้งนี้เครือข่ายองค์กรชุมชน 17 จังหวัดภาคเหนือ ขอเชิญร่วมสมทบทุนในการช่วยเหลือผู้ที่ได้รับผลกระทบจากภัยพิบัติในเขตพื้นที่ภาคเหนือ บัญชี “ช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติโดยขบวนองค์กรชุมชนภาคเหนือ” เลขที่ 501-0-80833-1 บัญชี ธนาคารกรุงไทย สาขาท่าแพ  หรือ ร่วมสมทบสำหรับการเตรียมการรับมือกับสถานการณ์น้ำท่วมในพื้นที่ภาคอีสานจังหวัดที่ติดแม่น้ำโขง บัญชี “โครงการฟื้นฟูภัยพิบัติภาคตะวันออกเฉียงเหนือ” เลขที่ 788-0-42616-7 บัญชี ธนาคารกรุงไทย

author

ปฏิทินกิจกรรม EVENT CALENDAR

เข้าสู่ระบบ