เทคโนโลยีการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชสู่การขยายพันธุ์และอนุรักษ์กล้วยไม้ฟ้ามุ่ย (Vanda coerulea Griff. ex Lindle.)

เทคโนโลยีการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชสู่การขยายพันธุ์และอนุรักษ์กล้วยไม้ฟ้ามุ่ย (Vanda coerulea Griff. ex Lindle.)

       การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชในประเทศไทยเกิดขึ้นตั้งแต่ปี พ.ศ. 2508 โดย ศาสตราจารย์ ดร. ถาวร วัชราภัย ภาควิชาพฤกษศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นคนแรกของประเทศที่นำวิธีการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชมาทดลองใช้ในกล้วยไม้ ส่งผลให้ประเทศไทยเปลี่ยนสถานภาพจากผู้นำเข้ากล้วยไม้มาเป็นผู้ส่งออกรายใหญ่ของโลก และจากผลงานวิจัยนี้ได้ขยายไปยังพืชเศรษฐกิจอื่น ๆ ตลอดจนสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษาทั่วประเทศและในหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์ได้มีการจัดการเรียนการสอน การอบรม การวิจัยและพัฒนาความรู้ทางด้านการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช โดยนำมาใช้ประโยชน์ด้านการขยายพันธุ์พืช การผลิตต้นพันธุ์ที่ปราศจากเชื้อ การผลิตสารสำคัญ และการอนุรักษ์พันธุกรรมและการแลกเปลี่ยนพันธุ์พืช เป็นต้น         

ฟ้ามุ่ย หรือ Blue Vanda มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Vanda coerulea Griff. ex Lindle. เป็นดอกไม้ประจำมหาวิทยาลัยพะเยา ด้วยลักษณะของดอกที่มีสีฟ้าอ่อนจนถึงสีฟ้าอมม่วง มีลายตารางสีครามเข้มบนพื้นสวยงามโดดเด่น จึงถูกยกย่องว่าเป็นราชินีแห่งกล้วยไม้สกุลแวนด้า ซึ่ง “เปรียบประดุจชื่อเสียงของบัณฑิตมหาวิทยาลัยพะเยา ที่จะเป็นคนดีมีคุณภาพ มีชื่อเสียงขจรขจายไปทั่วโลก” ด้วยสีสันและความสวยงามนี้ฟ้ามุ่ยจึงถูกคุกคามนำออกจากป่าเป็นจำนวนมากส่งผลให้ในธรรมชาติมีจำนวนลดน้อยลงเสี่ยงใกล้สูญพันธุ์ ฟ้ามุ่ยเคยถูกจัดให้อยู่ในบัญชีควบคุมทางการค้าระหว่างประเทศอย่างเข้มงวดหรืออยู่ในไซเตส (CITES) บัญชีที่ 1 เพื่อควบคุมไม่ให้มีการนำต้นออกจากป่ามาเพื่อจำหน่าย ต่อมาปี พ.ศ. 2547 ประเทศไทยได้เสนอให้ถอดชื่อกล้วยไม้ฟ้ามุ่ยออกจากไซเตสบัญชี 1 ไปอยู่บัญชี 2 เพื่อเปิดช่องทางให้มีการพัฒนาพันธุ์เพื่อการค้ามากยิ่งขึ้น          

ห้องปฏิบัติการวิจัยเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา มีการดำเนินการเพิ่มจำนวนกล้วยไม้ฟ้ามุ่ยด้วยเทคนิคการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช ซึ่งได้รับความอนุเคราะห์ตัวอย่างฝักจากหมู่บ้านอนุรักษ์กล้วยไม้ฟ้ามุ่ยท้องถิ่นบ้านปงไคร้ ตำบลโป่งแยง อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ มาทำการเพาะเมล็ดในสภาพห้องปฏิบัติการ โดยศึกษาสูตรอาหารที่เหมาะสมในการชักนำเมล็ดให้พัฒนาเป็นต้นที่สมบูรณ์ สำหรับใช้เป็นตัวอย่างในการเรียนการสอน ตลอดจนสร้างความตระหนักและเห็นความสำคัญของการอนุรักษ์กล้วยไม้ฟ้ามุ่ย ซึ่งเป็นดอกไม้ประจำมหาวิทยาลัย นอกจากนี้ห้องปฏิบัติการวิจัยเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชยังเก็บรวบรวมและขยายพันธุ์กล้วยไม้พื้นเมืองสกุลต่าง ๆ เพื่อนำคืนสู่ธรรมชาติในอนาคตต่อไป อาทิเช่น เอื้องช้างน้าว (Dendrobium puchellum Roxb.ex Lindl.) เอื้องเงิน (Dendrobium draconis Rchb.f.) เอื้องคำ (Dendrobium chrysotoxum) เอื้องผึ้ง (Dendrobium lindleyi Steud.) ช้างกระ (Rhynchostylis gigantea Lindl. Ridl.) เข็มขาว (Vanda lilacina Teijsm. & Binn.) กะเรกะร่อนปากเป็ด (Cymbidium finlaysonianum) ว่านเพชรหึง (Grammatophyllum speciosum) และว่านนกคุ้มไฟ (Anoectochilus reinwardti) เป็นต้น


เอกสารอ้างอิง         

จารุวรรณ จาติเสถียร. (2547). การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช : เพื่อประยุกต์ทางเกษตร. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.         

มูลนิธิโครงการสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน โดยพระราชประสงค์ในพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร. สารานุกรมไทย สำหรับเยาวชน เล่มที่ ๓๑ เรื่องที่ 5 การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช (E-book) สืบค้นเมื่อ 13 กรกฎาคม 2567, จาก https://www.saranukromthai.or.th/sub/book/book.php?book=31&chap=5&page=t31-5-infodetail01.html          

อารยา หงส์เพชร. (2545). การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช. วารสารกรมวิทยาศาสตร์, 50(160), 1 – 4.


นางสาวชุติมา ใจเพ็ชร

นักวิทยาศาสตร์ หลักสูตรชีววิทยา

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา

ดอกฟ้ามุ่ยบริเวณหลังอาคารสำนักงานอธิการบดี

ตัวอย่างฝักกล้วยไม้ฟ้ามุ่ย (Vanda coerulea Griff. ex Lindle.) จากหมู่บ้านอนุรักษ์กล้วยไม้ฟ้ามุ่ยท้องถิ่น

บ้านปงไคร้ ตำบลโป่งแยง อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่

ลักษณะเมล็ดของกล้วยไม้ฟ้ามุ่ยภายใต้กล้องจุลทรรศน์แบบสามมิติ

ลักษณะการเจริญเติบโตของเมล็ดฟ้ามุ่ยในสภาพปลอดเชื้อ

ลักษณะการเจริญเติบโตของ Protocorm like body (PLB)ของกล้วยไม้ฟ้ามุ่ยจากการเพาะเลี้ยงเมล็ด

ในสภาพปลอดเชื้อถ่ายภายใต้กล้องจุลทรรศน์แบบสามมิติ

การเก็บรักษาเชื้อพันธุ์กล้วยไม้ด้วยวิธีการทำเมล็ดเทียม (Artificial seed)

ฟ้ามุ่ย (Vanda coerulea Griff. ex Lindle.)

การขยายพันธุ์กล้วยไม้ว่านนกคุ้มไฟ (Anoectochilus reinwardti) ในสภาพปลอดเชื้อ

ตัวอย่างการขยายพันธุ์พืชเศรษฐกิจและพืชกินแมลงในสภาพปลอดเชื้อ

การขยายพันธุ์กล้วยไม้สิงโตพัดแดง (Bulbophyllum lepidum (Blume) J.J.Sm.) ในสภาพปลอดเชื้อ

เอื้องเงิน (Dendrobium draconis Rchb.f.)

ห้องปฏิบัติการวิจัยเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช หลักสูตรชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา

author

ปฏิทินกิจกรรม EVENT CALENDAR

Prev

April 2025

Next

Mon

Tue

Wed

Thu

Fri

Sat

Sun

31
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
1
2
3
4

8 April 2025

Nothing to show.

เข้าสู่ระบบ