คำต่อคำ “ดร.ปณิธาณ วัฒนายากร” กรณี สหรัฐฯ เตือนเหตุก่อการร้ายในไทย

คำต่อคำ “ดร.ปณิธาณ วัฒนายากร” กรณี สหรัฐฯ เตือนเหตุก่อการร้ายในไทย

คำต่อคำ “ดร.ปณิธาณ วัฒนายากร” กรณี สหรัฐฯ เตือนเหตุก่อการร้ายในไทย

13 ม.ค.2555 เมื่อเวลาประมาณ 21:45 นายปณิธาณ วัฒนายากร นักวิชาการ จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ให้สัมภาษณ์ในรายการ ที่นี่ ไทยพีบีเอส เกี่ยวกับกรณีที่สหรัฐฯ แจ้งเตือนเหตุก่อการร้ายในประเทศไทย โดยมีนางสาวณัฏฐา โกมลวาทิน ดำเนินรายการ 

ณัฏฐา : การที่สหรัฐอเมริกาออกมาเตือนพลเมืองของเค้าเช่นนี้ หมายถึงอะไร
 
อ.ปณิธาน : การแจ้งเตือน ซึ่งได้ทำกันมาล่วงหน้าหลายอาทิตย์เกี่ยวกับกลุ่มบุคคลต้องสงสัย ที่สหรัฐฯ ถือว่าเป็นกลุ่มก่อการร้าย และไม่คืบหน้าเท่าไหร่นัก จึงได้มีการแจ้งเตือนไปยังประชาชนของตัวเองโดยตรง และมีการจับกุมหลังจากนั้น ซึ่งอาจเป็นความบังเอิญหรือตรงเวลากันพอดี

อีกส่วนถ้าเป็นฮีสบัลเลาะห์ ที่มีปัญหากับอิสราเอลมาอย่างต่อเนื่องนับตั้งแต่อิสราเอลได้เข้าไปปฎิบัติการในเบรุต เลบานอน ที่มีการต่อต้านและจับกุมผู้นำแต่ละฝ่ายกันไปมา และมีการลอบสังหารกัน ซึ่งกลุ่มฮิสบัลเลาะห์พยายามโจมตีเป้าหมายของอิสราเอลในหลายประเทศ

ในประเทศไทย ถึงแม้ไม่มีประวัติอย่างนั้น อิสราเอลก็คงเป็นกังวล และมีการดำเนินการ ในเมื่อสืบทราบว่ามาจะมีกลุ่มบุคคลเหล่านี้อยู่ในบัญชีรายชื่อของกลุ่มก่อการร้ายเดินทางผ่านเข้ามาในประเทศไทย ก็คงจะเห็นกิจกรรมพวกนี้นำไปสู่การแจ้งเตือนทางสาธารณะ ซึ่งจะไม่เกิดขึ้นบ่อยครั้ง

ณัฏฐา :การตั้งเป้าหรือเตรียมการโจมตีของกลุ่มฮีสบัลเลาะห์ ที่เตรียมจะปฎิบัติการในเมืองไทยนั้น หนักหนาขนาดไหน

อ.ปณิธาน : ขณะนี้เรายังไม่ทราบว่าเป็นจริงหรือไม่ เข้าใจว่ายังอยู๋ในชั้นการสืบสวนสอบสวน ซึ่งไทยไม่เคยมีประวัติในการเข้าไปเกี่ยวข้อง หรือเป็นเป้าหมายของกลุ่มคนเหล่านี้ ส่วนใหญ่ไทยเป็นประเทศที่เค้าเดินทางผ่านมากกว่า ในบางกรณีที่เป็นบุคคลที่ไม่ค่อยจะดีกับประเทศไทย เราก็ได้ขอไม่ให้เค้าเดินทางผ่าน เราก็ไม่มีปัญหาอะไรกับกลุ่มเหล่านี้แม้ว่าเค้าจะมีความสัมพันธ์กับกลุ่มพวกนักบวชในพื้นที่ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เช่น กลุ่มวาฮาบิ

ผมว่าก็ต้องระวังนะครับ ไม่ให้การแจ้งเตือนของประเทศเหล่านี้ ที่เค้าเป็นกังวลเกี่ยวกับประชาชนของเค้ามากระทบต่อภาพลักษณ์ของประเทศไทย หรืออุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของไทย หรือคนไทยที่อาจจะตื่นตระหนกจากกิจการเหล่านี้

ณัฏฐา : ประเด็นการส่งตัวผู้ต้องสงสัยไปให้รัฐบาลสหรัฐฯ ควรต้องระวังอะไรหรือไม่

อ.ปณิธาณ : ใช่ครับ เรายังไม่ทราบว่าบุคคลที่เราจับตัวได้คือใครกันแน่ ในกลุ่มฮีสบอร่า มีสมาชิกอยู่เป็นหมื่นคน บางคนเป็นนักการเมืองที่มีกิจกรรมที่ถูกต้องตามกฎหมายหลายประเทศ บางคนเกี่ยวข้องกับรัฐบาลของเค้าเอง บางกลุ่มก็เป็นกองกำลังติดอาวุธ บางกลุ่มก็เป็นแค่สมาชิกโดยทั่วไป บางคนก็ยังถือหนังสือเดินทางของประเทศตะวันตก ซึ่งเราก็คงต้องระมัดระวังในการไปกล่าวหาหรือสอบสวนคนเหล่านี้ ต้องให้เห็นผลอย่างชัดเจนก่อน

แต่ถ้าหากเป็นจริง ผมคิดว่าเราต้องมีการปรับปรุงการทำงานเรื่องการต่อต้านการก่อการร้ายให้ดีขึ้นกว่านี้ เพราะนอกจากจะทำให้เราสกัดกั้นคนเหล่านี้ไม่ให้เข้ามาในประเทศได้แล้ว ก็คงต้องป้องกันให้คนไทยของเราเอง ได้รับการแจ้งเตือนให้เร็วกว่านี้หากเป็นเรื่องจริง แต่ถ้าไม่ใช่เรื่องจริงก็ต้องดูว่าผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อไทย ภาพลักษณ์ของประเทศไทยจะเป็นอะไรขนาดไหน เราจะกลายเป็นจุดสนใจ หรือว่าไปดึงดูดกลุ่มคน หรือองค์กรที่จะกลายมาเป็นศัตรูของเราหรือไม่

ณัฏฐา : เรื่องการประสานระหว่างหน่วยงานความมั่นคงของไทยและสหรัฐ ควรประสานกันในเชิงลับเหมือนกรณีฮัมบารี หรือควรเปิดเผยให้สาธารณะชนรับทราบเหมือนคำเตือนวันนี้

อ.ปณิธาณ  : ก็ควรจะทำควบคู่กันไป การแจ้งเตือนในเชิงลับ การปฎิบัติงานโดยไม่ให้เป้าหมายระแคะระคายก็ควรเป็นเรื่องที่ดีที่สุด สามารถจับกุมได้อย่างประสบความสำเร็จอย่างที่เราเห็น เราจับกุมบุคคลต่างๆ ที่เป็นที่สงสัยในอดีต ได้เป็นอย่างดี แต่ในขณะเดียวกันเราก็ต้องพัฒนารูปแบบการแจ้งเตือนในเชิงสื่อสาธารณะผ่านอินเทอร์เน็ตก็ดี ผ่านเครือข่ายอื่นก็ดีให้ละเอียดรอบคอบกว่านี้ เพราะไม่เช่นนั้นการนำไปใช้ในทางเปิด ก็จะทำให้เกิดความตื่นตระหนก หรือเป็นที่วิพากย์วิจารณ์กันอย่างกว้างขวาง ไม่เป็นผลดีในการต่อต้านการก่อการร้าย

author

ปฏิทินกิจกรรม EVENT CALENDAR

เข้าสู่ระบบ