ความเงียบและการปนเปื้อนกัมมันตรังสี มรดกของอุบัติภัยนิวเคลียร์ในฟูกูชิมา

ความเงียบและการปนเปื้อนกัมมันตรังสี มรดกของอุบัติภัยนิวเคลียร์ในฟูกูชิมา

เกือบ 1 ปีหลังจากที่เกิดอุบัติภัยฟูกูชิมาจากโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ของญี่ปุ่น  ถึงเวลาที่จะต้องมองกลับไปดูที่สิ่งที่เราทิ้งไว้เป็นมรดกแก่คนรุ่นหลัง และใช้โอกาสนี้เพื่อที่จะยืนหยัดกับผู้คนที่ยังคงประสบกับผลกระทบอย่างใหญ่หลวง เรากำลังเรียกร้องให้ไม่มีโรงไฟฟ้านิวเคลียร์  ใช้พลังงานหมุนเวียนทดแทนในอนาคต และเชิญคุณมาร่วมกับเราที่จะส่งข้อความนี้เพื่อสนับสนุนและเป็นความหวังให้กับชาวญี่ปุ่น http://on.fb.me/xfbHYJ

ความเงียบและการปนเปื้อนกัมมันตรังสีถูกทิ้งไว้เบื้องหลังอุบัติภัยฟูกูชิมา ผ่านนิทรรศการภาพถ่ายออนไลน์ “ดินแดนในเงาหม่น (Shadowlands)” http://bit.ly/AbAhww โดย โรเบิร์ต นอท์ท  ภาพหลอนของหมู่บ้านว่างเปล่า สนามเด็กเล่นและทุ่งนารกร้าง ไม่เพียงแต่ทำหน้าที่เตือนให้เราขนหัวลุกถึงของต้นทุนของพลังงานนิวเคลียร์ แต่มันจะเป็นแรงผลักดันต่อการเรียกร้องอนาคตที่ปลอดภัยจากความเสี่ยงของพลังงานนิวเคลียร์ นอกจากนี้เรายังนำเรื่องราวของหลายผู้คนซึ่งต้องมีชีวิตอยู่กับความวิตกกังวลอย่างต่อเนื่องเกี่ยวกับวิธีการดูแลสุขภาพของบุตรหลานที่ได้รับผลกระทบจากกัมมันตรังสี”

“สำหรับเราแล้ว นิทรรศการครั้งนี้เกี่ยวข้องกับความสูญเสีย การสูญเสียวัฒนธรรมและประเพณี การสูญเสียชุมชนและวิถีชีวิต และการสูญเสียสุขภาพ และแม้แต่การสูญเสียชีวิตเอง หมู่บ้านเหล่านี้เคยมีผู้อาศัยมากว่า 2,000 ปี

แต่กลับต้องมีการอพยพและถูกทิ้งไว้ให้ว่างเปล่า การที่คนเราจะใช้ชีวิตได้อย่างกลมกลืนเข้ากับพื้นที่ได้อย่างลงตัวนั้น จำเป็นต้องใช้ระยะเวลา ความละเอียดลออ และความใส่ใจ คุณสามารถมองเห็นถึงการเคารพธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของคนญี่ปุ่นได้จากการสร้างอาคารบ้านเรือน การจัดตกแต่งสวน และวิถีการทำเกษตรกรรมของเกษตรกร และการดูแลปศุสัตว์ ทว่า ในช่วงระยะเวลาเพียงไม่กี่เดือน ทุกสิ่งทุกอย่างที่หยั่งรากลึกและได้รับการอนุรักษ์มาอย่างดีนับหลายศตวรรษกลับเริ่มเลือนหายไป” –  photographer Robert Knoth

นับตั้งแต่วิกฤตนิวเคลียร์ฟูกูชิมาเริ่มขึ้นในวันที่ 11 มีนาคม 2554 ผู้เชียวชาญด้านรังสีของกรีนพีซทำการสำรวจบันทึกผลกระทบของการปนเปื้อนรังสี ต่อสิ่งแวดล้อม อาหารและอาหารทะเล  เพื่อแสดงให้เห็นว่าเจ้าหน้าที่รัฐบาลของญี่ปุ่นนั้นได้ประเมินและรายงานผล กระทบจากรังสีรอบๆ พื้นที่แถบฟูกูชิมาคลาดเคลื่อนไปจากความเป็นจริง

ผู้เชี่ยวชาญด้านรังสี  Rianne Teule ที่ทำงานเป็นนักรณรงค์ของกรีนพีซด้านนิวเคลียร์มากว่าสิบปี ได้เห็นตัวอย่างผลกระทบจากอุบัติภัย Chernobyl  ดังนั้นหลังจากที่เธอได้ยินเกี่ยวกับสถานการณ์ที่ฟูกูชิมา ความคิดแรกของเธอต่อคนที่อาศัยอยู่ในบริเวณใกล้เคียง  คือ "ฉันรู้ว่ามีประชากรจะได้รับความเสี่ยงอย่างไร ตลอดจนความยุ่งยากและระยะเวลาที่ยาวนานต่อผลที่จะตามมาของอุบัติเหตุนิวเคลียร์ที่จะเกิดขึ้นได้"
 
ปีต่อมา 150,000 คนญี่ปุ่นต้องย้ายออกจากบ้านของพวกเขาเพราะอุบัติภัยในฟูกูชิมา – และบางคนก็ ไม่สามารถที่จะกลับมาที่เดิมได้

วันนี้เธอจะส่งข้อความของเธอเองเพื่อความสมานฉันท์ให้กับชาวญี่ปุ่น:

"ฉันขอเป็นกำลังใจให้คุณ ฉันหวังเป็นอย่างยิ่งว่าความทุกข์ของคุณจะไม่ถูกลืมเลือนและว่ามันจะทำหน้าที่คอยปลุกคนทั่วโลก ฉันขออธิษฐานให้การเกิดอุบัติภัยในฟูกูชิมาครั้งนี้ จะเป็นบทเรียนและกรุยทางไปสู่การปฏิวัติพลังงาน  และช่วยผลักดันโลกไปสู่อนาคตพลังงานที่สะอาดอย่างแท้จริง."

คุณสามารถส่งข้อความของคุณเพื่อเป็นกำลังใจให้ชาวญี่ปุ่นได้ที่…
Facebook
http://on.fb.me/xfbHYJ    หรือ Twitter http://bit.ly/xyhh11 #msgFukushima

author

ปฏิทินกิจกรรม EVENT CALENDAR

เข้าสู่ระบบ