ข้อเสนอนโยบายเพื่อสร้างความเป็นธรรมให้แก่เกษตรกรและผู้บริโภค
เวทีสัมมนาวิชาการเกษตรพันธสัญญาประจำปี 2555
“เกษตรพันธสัญญา: ใคร…อิ่ม ใคร…อด?” วันที่ 26 – 27 มิถุนายน 2555
ผลจากการสัมมนาเวทีวิชาการเกษตรพันธสัญญาประจำปี 2555 “เกษตรพันธสัญญา:
ใครอิ่ม ใคร…อด ?” ในวันที่ 26 – 27 มิถุนายน 2555 เครือข่ายเกษตรพันธสัญญา นักวิชาการ สื่อมวลชน และภาคประชาสังคม ได้มีการระดมข้อคิดเห็นเกี่ยวกับปัญหา ทางเลือก และทางออกของระบบเกษตรพันธสัญญา จึงมีข้อเสนอเชิงนโยบาย ดังนี้
1. จากการศึกษาวิจัยเรื่องความไม่เป็นธรรมของระบบเกษตรพันธสัญญาของสถาบันวิชาการหลายแห่ง เช่น ศูนย์การศึกษากฎหมาย คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และ สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) พบว่า มีเกษตรกรจำนวนมากที่ตกอยู่ในวงจรหนี้สิน บางกลุ่มอยู่ในขั้นตอนการบังคับคดีอันเนื่องมาจากสัญญาที่ไม่เป็นธรรม ไม่เท่าทันข้อมูลและสถานการณ์ บางครอบครัวล้มละลาย ซึ่งจะต้องได้รับการเยียวยาโดยเร่งด่วน จึงมีข้อเสนอ ดังนี้
1.1 ให้ คณะอนุกรรมการด้านเกษตรพันธะสัญญาที่ไม่ได้รับความเป็นธรรม ซึ่งได้รับการแต่งตั้งตามคำสั่งคณะกรรมการแก้ไขปัญหาของขบวนการประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรม (ขปส.) ที่ 4/2555 ลงวันที่ 5 มิถุนายน 2555 ลงนามโดย นายยงยุทธ์ วิชัยดิษฐ รองนายกรัฐมนตรี เร่งดำเนินการแต่งตั้งคณะทำงาน เพื่อ สำรวจและขึ้นทะเบียนผู้ที่ได้รับผลกระทบที่จะต้องได้รับการเยียวยา
ภายใน 3 เดือน
1.2 ให้แต่งตั้งคณะทำงานกลางเพื่อแก้ไขความเดือดร้อนจากความไม่เป็นธรรมและหนี้สิน รวมทั้งการฟ้องร้อง ดำเนินคดี เป็นการเฉพาะ เพื่อพิจารณาหลักเกณฑ์และดำเนินการช่วยเหลือและเยียวยาขึ้น ภายใน 1 เดือน หลังจากมีการสำรวจและขึ้นทะเบียนเสร็จ
2. เนื่องจากโครงสร้างของระบบการผลิตทางการเกษตรของไทยในปัจจุบันพัฒนาเข้าสู่โครงสร้างการผลิตแบบระบบธุรกิจอุตสาหกรรมการเกษตรและอาหาร จะต้องใช้ความรู้เกี่ยวกับ การจัดการแบบใหม่ องค์ความรู้เฉพาะในการผลิตและการตลาดแนวใหม่ ทั้งนี้ เพื่อให้เกษตรกรที่อยู่ในระบบและกำลังจะเข้าสู่ระบบ มีข้อมูลองค์ความรู้ในการจัดการการผลิต และการตัดสินในการเข้าสู่ระบบ จึงมีข้อเสนอ ดังนี้
2.1 ให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์การเกษตร สภาเกษตรกรแห่งชาติ และองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น สนับสนุน และส่งเสริมให้เกษตรกรและผู้บริโภค มีความรู้ ข้อมูลข่าวสารที่ทันการณ์ และเท่าทัน ในเรื่องสัญญาที่เป็นธรรม การบริหารจัดการและการผลิตที่เน้นมาตรฐานและคุณภาพ และประกอบการตัดสินใจก่อนเข้าสู่ระบบ
2.2 ให้คณะทำงานในข้อ 1.1 เป็นกลไกหลักในการจัดทำแผนยุทธศาสตร์เพื่อความเป็นธรรมในระบบเกษตรพันธะสัญญา เพื่อใช้เป็นกรอบในการปฏิบัติในการส่งเสริมและสนับสนุน การเข้าสู่ระบบ และอยู่ในระบบอย่างเป็นธรรม มีความรับผิดชอบต่อผลกระทบทางสังคม สิ่งแวดล้อม และทรัพยากรธรรมชาติของส่วนรวม โดยการมีส่วนร่วมของหน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้อง สภาเกษตรกรแห่งชาติ เครือข่ายผู้บริโภค ประชาสังคม และสื่อมวลชน ภายใน 6 เดือน
2.3 ให้ สภาเกษตรกรแห่งชาติ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เครือข่ายผู้บริโภค เครือข่ายเกษตรกรพันธสัญญา สื่อมวลชน และภาคประชาสังคม จัดให้มีสมัชชาเพื่อรับฟังความคิดเห็น รวบรวมปัญหาและผลกระทบ และข้อเสนอ เพื่อจัดทำ “ธรรมนูญของเกษตรกร” และนำผลการจัดทำสมัชชา
มาจัดทำข้อเสนอเชิงนโยบายเพื่อการพัฒนาปรับปรุงกระบวนการดำเนินงานตามกรอบแผนยุทธศาสตร์ อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
3. เนื่องจากโครงสร้างของระบบการผลิตทางการเกษตรของไทยในปัจจุบันพัฒนาเข้าสู่โครงสร้างการผลิตแบบระบบธุรกิจอุตสาหกรรมการเกษตรและอาหาร ดังนั้น จึงมีความจำเป็นที่จะต้องปฎิรูประบอบกฎหมายที่สามารถอำนวยให้เกิดความเป็นธรรมให้แก่ เกษตรกร ผู้บริโภค ผู้ประกอบการ สังคม รวมถึงการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ข้อเสนอเพิ่มเติม
1.ข้อเสนอประเด็นเร่งด่วน
2. ข้อเสนอเชิงมาตรการ
– ข้อเสนอเพิ่มเติม
1. รัฐควรมีนโยบายกฎหมาย ระเบียบปฏิบัติในการประกาศหรือประชาสัมพันธ์กิจกรรมเกษตรพันธสัญญาให้ประชาชนเข้าใจ
2. ส่งเสริมเกษตรกรพันธสัญญาที่เป็นการจัดการและการป้องกันแก้ไขปัญหาโดยเกษตรกรกลุ่มองค์กรและหน่วยงานในทุกระดับ โดยเฉพาะท้องถิ่น
3. ก่อนดำเนินการหรือระหว่างดำเนินการเกษตรพันธสัญญาต้องมีการสร้างข้อตกลงความร่วมมือและขออนุญาตองค์กรท้องถิ่นและประชาชนในพื้นที่
4. วางมาตรการป้องกันผลกระทบทั้งด้านการผลิต (ระบุให้ชัดว่าราชการและท้องถิ่นในการจัดกาต่างๆ แก่เกษตรกร รวมทั้งผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม) (ระบุให้ชัดลงไปเลย)
5. (ข้อ 2.3 ตรงค่ามาตรฐานกลางของปัจจัยการผลิตฯ) ที่สอดคล้องกับองค์ความรู้ ทุน และเทคโนโลยีที่สามารถจัดหาและดำเนินการได้ของเกษตรกรและท้องถิ่นได้
6. (ข้อ 2.4) ระบบการส่งเสริมดูแลและตรวจสอบกระบวนการผลิตตั้งแต่การจัดหาปัจจัยการผลิต, การผลิต และการจำหน่ายโดยการมีส่วนร่วมของทุกระดับ
7. (ข้อ 2.5) มีกระบวนการจัดการผลผลิตและการจำหน่ายที่สอดคล้องกับต้นทุน กำรที่เหมาะสมแก่เกษตรกรและผู้บริโภค
8. (ข้อ2.6 การไกล่เกลี่ยและการระงับข้อพิพาท) ทั้งกระบวนการสร้างความเข้าใจ, ความร่วมมือและกระบวนการทำงานในทุกระดับ
9. (ข้อ 2.7 สัญญาที่มีแบบมาตรฐาน) ที่เกษตรกรและท้องถิ่นจัดการได้
10. (ข้อ 2.8 ส่งเสริมให้เกษตรกรมีความรู้) ต้องมี “คนกลาง” เป็นผู้ดำเนินงานและลดการประชาสัมพันธ์ หรือจัดการโดยฝ่ายทุน, การเมือง(ขี้โกง) และราชการ (กังฉิน)
3. ข้อเสนอเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงระดับโครงสร้าง
คณะทำงานเครือข่ายเกษตรพันธสัญญา
เครือข่ายเกษตรกรพันธสัญญา (เครือข่ายเกษตรกรผู้เลี้ยงหมู เกษตรกรผู้เลี้ยงไก่ เกษตรกรผู้เลี้ยงปลากระชัง เกษตรกรผู้ปลูกข้าวโพด เกษตรกรผู้ปลูกอ้อย)
เครือข่ายเกษตรกรรมทางเลือกภาคอีสาน, มูลนิธิชีววิถี, มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค
สถาบันชุมชนเพื่อเกษตรกรรมยั่งยืน, คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
แผนงานพัฒนาคุณภาพชีวิตแรงงาน