สำหรับจังหวัดกระบี่เป็นอีกหนึ่งจังหวัดที่มีทุนทางธรรมชาติอยู่อย่างอุดมสมบูรณ์ เป็นเมืองท่องเที่ยวอันดับโลกของทะเลฝั่งอันดามัน ทั้งหาดทราย ชายทะเล กลุ่มเกาะ น้ำตก มีภูเขาน้อยใหญ่จำนวนมาก และโถงถ้ำเป็นจุดดำน้ำสำคัญระดับโลกและเป็นแหล่งสำคัญทางธรณีวิทยา ทำให้กระบี่เป็นหนึ่งในจุดหมายปลายทางในวันพักผ่อนของนักท่องเที่ยว
รวมถึงเป็นจังหวัดที่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจ คู่ขนาน 2 ฐาน คือ ภาคการท่องเที่ยวกับการเกษตร มีความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจสูงจากภาคบริการท่องเที่ยวและภาคเกษตร ต้องเจอกับโจทย์สำคัญ จากแผนยุทธศาสตร์การบริหารจัดการแร่ 20 ปี เพื่อประกอบการหินอุตสาหกรรม ที่สวนทางกับต้นทุนของพื้นที่ ซึ่งจะทำอย่างไรให้การพัฒนาสมดุลกับฐานทรัพยากรที่มีมูลค่ามหาศาล
ฟังเสียงประเทศไทยพาลงพื้นที่ไปที่จังหวัดกระบี่ เป็นหนึ่งในจังหวัดที่กำลังพูดคุยถึงต้นทุนทางทรัพยากรกันอย่างจริงจัง เราอยู่กันที่บ้านถ้ำเพชร ต.อ่าวลึกเหนือ อ.อ่าวลึก จ.กระบี่ ที่นี่มีต้นทุนทรัพยากรจากธรรมชาติที่สร้างสรรค์ความสวยงามอยู่ในตัว มีภูเขาสูงเด่นเป็นสง่า มีถ้ำสวยๆด้วยปติมากรรมจากธรรมชาติ ที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว ส่วนใหญ่จะเป็นหินงอกหินย้อย ไม่ไกลกันนัก มีเขาหินปูนอยู่กลุ่มหนึ่ง พบแหล่งถ้ำที่มีร่องรอยของเศษกระดูก เครื่องใช้ดินเผา ภาพเขียนสีบนผนังถ้ำ ที่สวยงามและมีคุณค่ามาก เราชวนคุยถึง มหัศจรรย์ถ้ำกระบี่กับอนาคตทางเศรษฐกิจ
กิตติชัย เอ่งฉ้วน รองนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดกระบี่กล่าวว่า เมื่อก่อนตอนเราเด็กๆ สุสานหอย 75 ล้านปี เป็นสิ่งที่ทำให้คนรู้จักกระบี่ บางคนบอกว่ามากระบี่แล้วไม่มาสุสานหอยมาไม่ถึงกระบี่ หลังๆมาเริ่มมีแหล่งท่องเที่ยวอื่นๆ เช่น เกาะพีพีที่สวยงาม เราอยากเห็นภาพเมื่อก่อนที่มีต้นมะพร้าว มีทะเลสองฝั่ง หาดสองหาดชนติดกัน สิ่งที่กระบี่มีคือธรรมให้มา มีอยู่ช่วงหนึ่งที่กระบี่ถูกจัดอันดับอันซีนไทยแลน ติดอันดับ 1มี น้ำพรุร้อนเค็มและอ่าวมาหยา
เราภาคภูมิใจที่กระบี่มีทรัพยากรที่สวยงาม ทะเลเป็นสิ่งดึงดูดและสิ่งที่ตามมาเราเห็นทะเลไม่เหมือนเดิมแล้ว เเต่มีนักท่องเที่ยวบางกลุ่มที่เขาตั้งใจมาเที่ยว เพราะรู้ว่ากระบี่มีถ้ำ มีแหล่งท่องเที่ยวแนวแอดเวนเจอร์ และเรื่องเกษตร เป็นความดั่งเดิมของคนกระบี่ เป็นพื้นที่ที่เกิดโรงงานแห่งแรก ก่อนหน้านี้เราคลองแชมป์เป็นพื้นที่ที่มีการปลูกปาล์มมากที่สุดในประเทศไทย
ทิศทางกระบี่ เราไม่ต้องตามใคร เรามีตัวตน เป็นสายกรีน ที่ทำให้เราสู้เพื่อนๆได้ เป็นทางเดียวที่เราไปได้ต่อ ทำอย่างไรให้เรารักษาธรรมชาติให้คงอยู่ เมื่อไดเราเปลี่ยนแนวทางเราก็จบเลย เราเป็นเมืองที่มีความสงบ เป็นเมืองแห่งการท่องเที่ยวพักผ่อน
เราต้องเริ่มสร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์ กระแสการอนุรักษ์ ซึ่งยังมีน้อย หากถ้ำเหล่านี้โดนระเบิดเมื่อได จบแล้วจบเลย ไม่มีให้เราได้เห็นแล้ว เพราะสร้างมาไม่รู้กี่ล้านปี เป็นสิ่งที่มีคุณค่ามหาศาล หากถ้ำเหล่านี้จะพังอยากให้พังโดยธรรมชาติ แต่อย่าให้เป็นด้วยน้ำมือมนุษย์
คุณมนัสวุฒิ ชูแสง ชมรมคนรักถ้ำกระบี่ กล่าาว่า ถ้ำบ้านเราเป็นถ้ำที่มีศักยภาพทางการท่องเที่ยว ระดับโลก ทางการศึกษาสามารถเอามาใช้ได้มากมาย ที่นี่เราน่าจะเอาไปใช้ในศักยภาพการท่องเที่ยวได้ กระบี่เป็นเมื่อท่องเที่ยว ระดับ 4 ของประเทศมีรายได้เกินแสนล้าน เรามีข้อจำกัด ในช่วงลมมรสุม หน้าโลซีซัน เราไปเที่ยวทะเลไม่ได้ ไปเที่ยวที่อื่นไม่ได้ แต่ถ้ำเราสามารถไปเที่ยวได้ตลอด เราสามารถใช้ถ้ำในการท่องเที่ยวได้ตลอดทั้งปี ทั้งหน้าไฮซีซัน เเละโลซีซัน ด้วยความที่เรามีความชำนาญเรื่องถ้ำเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว เพราะการท่องเที่ยวถ้ำไม่เหมือนกับการท่องเที่ยว กระแสหลักทั่วไป ไกด์เลไม่สามารถมาเป็นไกด์ถ้ำได้ ซึ่งบริบทไม่เหมือนกันและการบริหารจัดการแต่ละถ้ำก็ไม่เหมือนกัน เพราะฉะนั้น มองว่าเป็นข้อได้เปรียบ ทำให้คนที่เป็นไกด์ถ้ำได้ก็คือคนในชุมชน สามารถกระจายงานมายังชุมชน
หน่วยงานด้านการท่องเที่ยวต่างๆเราจะช่วยกันอย่างไร ในการพัฒนาทักษะให้คนในชุมชน เชื่อว่าถ้าคนในชุมชนสามารถทำงานในชุมชนเองได้ เขาไม่อยากไปไหน เราทำงานที่บ้านเองสุดยอดแล้ว
กระบี่มีถ้ำ 500 กว่าถ้ำ ภูเขา 200 กว่าลูก ผมสำรวจถ้ำมา 20 กว่าปีมองว่าที่สำรวจไปยังไม่ถึง 20 % มีอีกมากมาย เสน่ห์ของการท่องเที่ยวถ้ำคือความตื่นเต้น เเละนักท่องเที่ยวกลุ่มนี้ที่มาเที่ยวพร้อมจ่ายในราคาที่สูง เพราะถ้ำที่นี่มีความสวยงามระดับโลก
ล่าสุดมีการทำรายการ มหัศจรรย์ถ้ำไทย ถ้ำกระบี่สุดยอดที่สุดในประเทศไทย สมควรอย่างยิ่งที่จะเอาเรื่องการท่องเที่ยว แบบมีพรีเมี่ยม เราต้องมีกฎกติกา มีไกด์ ที่มีความรู้ ต้องมีการอบรม
นภาพร ขุนชนะ วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีกระบี่ กล่าวว่า เรากำลังที่จะไปข้างหน้าเราต้องช่วยกัน ในส่วนของวิชาการเราต้องผลิตนักศึกษา สู่สถานประกอบการ ต้องทำให้ชุมชนมีจุดแข็งให้นักศึกษาที่เข้ามาเรียนรู้ ได้ฝึกปฎิบัติ เเละมองว่าที่ผ่านมาเราจะหาไกด์ด้านต่างๆได้ แต่ไกด์ด้านการเกษตกรยังไม่มี ถ้าเกิดเราจะผลิตนักศึกษาด้านนี้ได้ วิทยาลัยก็สนับสนุน เเละหากชุมชนท้องถิ่นอยากให้มีการเต็มทักษะ สามารถปรึกษาหารือได้ เป็นโอกาสดีที่เราจะได้ผลิตแรงงานที่ตอบโจทย์ชุมชน
อธิราษฎร์ ดำดี อดีตกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการนโยบายปาล์มน้ำมันเเห่งชาติกล่าวว่า เขาบอกว่ารายได้กระบี่เป็นแสนล้าน ผมเป็นกรรมการไปประเด็นตามหมู่บ้านอยู่สามปี ผมพบว่ารายได้ของพี่น้องที่อยู่ตามหมู่บ้าน รายได้หลักมาจากการเกษตร ในช่วงโลซีซันชาวบ้านกลับมาพึ่งพาเกษตร ปากท้องพี่น้องอยู่ที่การเกษตร มีรายได้จาก ปาล์ม ยาง สวนผลไม้ เพราะนั้นอย่าให้ความสำคัญกับด้านไดด้านหนึ่งไม่ได้ เพราะกระบี่เป็นเศรษฐกิจสองขา คือท่องเที่ยวเเละเกษตร การเกษตรสามารถเพิ่มทางเลือกเป็นท่องเที่ยวเชิงเกษตรได้ มีนักท่องเที่ยวระดับ CEO จากยุโรป เขาสนใจเรื่องปาล์มมากเพราะบ้านเขา นำเข้าน้ำมันจำนวนมาก เขาอยากรู้เรื่องปาล์เราเองมีความรู้เรื่องปาล์ม สามารถให้ความรู้ได้
หากถามถึง นักท่องเที่ยวที่มาเที่ยวกระบี่มากๆ เขากินข้าวที่ไหน กระบี่เราไม่ได้ปลูกข้าว เรานำเข้าข้าวจากที่อื่นๆเข้ามา เพราะเราปลูกพืชเชิงเดี่ยวมาก ปรากฏว่าตอนนี้ผักต่างๆมาจากที่อื่นๆเกือบทั้งหมด ส่วนอาหารทะเล ไม่ได้มาจากทะเลกระบี่ ถ้ามีก็เป็นส่วนน้อย
“คนกระบี่มักพูดว่าตู้กับข้าวฝากเพื่อน” สิ่งที่เราต้องพัฒนาคือเราต้องพัฒนาพื้นที่เกษตรให้สามารถรองรับเศรษฐกิจได้มากกว่านี้ ตอนนี้กระบี่เริ่มเปลี่ยนจากยางพารามาเป็นปาล์มน้ำมันเยอะ และบางส่วนเปลี่ยนไปทำสวนผลไม้เพราะมองว่าสามารถรองรับตลาดจากการท่องเที่ยวได้
แต่ปัญหาการทำการเกษตรคือ แหล่งน้ำ ฉะนั้นการรักษาแหล่งน้ำ เราต้องรักษาธรรมชาติให้พร้อมสำหรับการเกษตรเพราะคือปัจจัยสี่ คือปากท้อง เกษตรเป็นเศรษฐกิจที่แท้จริงที่เข้าถึงทุกครัวเรือน โจทย์สำคัญเราจะทำการเกษตรให้มีคุณค่าระดับไหน? เราจำเป็นต้องใส่นวัตกรรม ทำให้มีแปรรูปที่หลากหลายตอบโจทย์ความต้องการของตลาด
รับฟังข้อมูลเพิ่มเติม
หลังจากอ่านชุดข้อมูลเเล้วทางรายการได้จัดทำฉากทัศน์ตั้งต้นให้ทุกท่านได้ลองเลือกกันดูว่า ฉากทัศน์ไหนที่ทุกคนอยากจะให้เกิดขึ้นจริง
ฉากทัศน์ที่ 1 ฉากทัศน์ที่ 1 กระบี่ แลนด์มาร์คท่องเที่ยวสายลุยระดับโลก (ท่องเที่ยวเชิงผจญภัยไปกับการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ)
- จุดเด่นของจ.กระบี่ ที่มีทรัพยากรธรรมชาติและแหล่งท่องเที่ยวที่สมบูรณ์หลากหลาย ทะเล ภูเขา ถ้ำ น้ำตก แหล่งโบราณคดี ดึงดูดนักท่องเที่ยวจากทั่วทุกมุมโลก โดยเฉพาะกลุ่มนักท่องเที่ยวที่ชอบการผจญภัย ที่นี่เป็นแหล่งดำน้ำที่มีชื่อเสียงในระดับโลก และมีชื่อเสียงในหมู่นักสำรวจถ้ำว่ากันว่า ถ้ำกระบี่มีความสวยงามและความสมบูรณ์ขึ้นชื่อระดับต้นๆ ของเอเชีย เป็นแลนด์มาร์คดึงดูดนักท่องเที่ยว Adventure Tourism ท่องเที่ยวแนวใหม่ที่กำลังมาแรง ซึ่งนักท่องเที่ยวกลุ่มนี้ เป็นกลุ่มที่ให้ความสำคัญและเป็นกลุ่มที่มีรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมและค่อนข้างมีคุณภาพและมีกำลังทรัพย์ที่จะจ่ายค่อนข้างสูง
- ซึ่งจะต้องเพิ่มสัดส่วนและทักษะแรงงานภาคท่องเที่ยวท้องถิ่นที่มีความเชี่ยวชาญพิเศษ ให้เพียงพอรองรับการขยายตัวของนักท่องเที่ยว ซึ่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจำเป็นต้องสนับสนุนหลักสูตร องค์ความรู้ ภาษา อุปกรณ์ที่มีมาตรฐาน กฎกติกาและแรงจูงใจ พัฒนาและหนุนเสริมไกด์ชุมชนรุ่นใหม่ให้มีความรุ้ความเข้าใจ ซึ่งถ้าทำได้จากการท่องเที่ยวนี้ก็เข้าไปหมุนเวียนในเศรษฐกิจท้องถิ่นโดยตรงมากกว่า ซึ่งไปช่วยให้เกิดการกระจายรายได้ การยกระดับคุณภาพชีวิต และนำรายได้กลับมาบำรุงฟื้นฟู
- ซึ่งต้องอาศัยการผลักดันทั้งในระดับท้องถิ่นและนโยบายที่สอดคล้องกับศักยภาพของพื้นที่ และต้องอาศัยการตลาดเชิงรุกทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ โปรโมทการเพิ่มช่วงเวลาของการท่องเที่ยวในจังหวัดกระบี่ให้สามารถเดินทางมาท่องเที่ยวได้ทั้งปี ทุกฤดูกาล ออกแบบแผนที่การท่องเที่ยวเรียนรู้โดยอาศัยเทคโนโลยีเชื่อมฐานข้อมูล และเชื่อมต่อกิจกรรมท่องเที่ยวในอันดามันหลายภาษาเพื่อตอบสนองนักท่องเที่ยวคุณภาพ
- เเต่ฉากนี้ไม่ง่าย ต้องรับมือกับปัญหาขยะมูลฝอยจากการท่องเที่ยว รวมถึงการกำหนดเกณฑ์มาตรฐานด้านการท่องเที่ยวที่ให้ความสำคัญกับทั้งแหล่งท่องเที่ยว การจัดการการท่องเที่ยวที่ไม่ส่งผลกระทบต่อสภาพธรรมชาติ และความปลอดภัยจากกิจกรรม และส่งเสริมความยั่งยืนของการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ โดยการอนุรักษ์และฟื้นฟูป่าไม้หรือแหล่งนํ้า เนื่องจากมีความอ่อนไหวต่อการถูกทำลายทั้งสาเหตุที่เกิดจากภัยธรรมชาติและจากการกระทำของมนุษย์ จึงจำเป็นต้องมีการวางแผนจัดการและพัฒนาทรัพยากรอย่างเป็นระบบควบคู่กับความรู้ทางวิชาการ ซึ่งต้องอาศัยความร่วมมือของทุกภาคส่วน ภาครัฐ เอกชน ท้องถิ่น ชุมชนและ นักท่องเที่ยว
ฉากที่ 2 กระบี่ เมืองเกษตรอุตสาหกรรมอัจฉริยะครบวงจร
- เน้นการพัฒนาภาคการเกษตรอุตสาหกรรม ผ่านการยกระดับไปสู่ความเป็น “เกษตรอุตสาหกรรมอัจฉริยะ” ที่สามารถลดต้นทุน และเพิ่มศักยภาพให้กับภาคการผลิต โดยใช้การใช้บิ๊กดาต้าเพื่อนำข้อมูลต่างๆ มาวิเคราะห์ความเป็นไปได้ที่อาจจะเกิดขึ้น เพื่อช่วยแก้ปัญหาทั้งด้านพื้นที่การเกษตรที่ลดลงเพราะการขยายตัวของสังคมเมือง สภาพดินฟ้าอากาศที่ไม่แน่นอน จำนวนเกษตรกรที่น้อยลง ผลกระทบจากภัยพิบัติ เพื่อให้มีผลผลิตเพียงพอต่อความต้องการบริโภค อุตสาหกรรมอาหารแปรรูปโดยใช้นวัตกรรมและตอบโจทย์กับความต้องการของตลาดที่เน้นเทรนด์การรักสุขภาพ เป็นโอกาสในการสร้างผลิตภัณฑ์ใหม่ในเชิงนวัตกรรมและเชิงสุขภาพ ที่ได้มาตรฐานเพื่อรองรับประชากรสูงวัยนักท่องเที่ยวสูงวัย อาทิ ผลิตภัณฑ์ปาล์มปาล์มน้ำมันในพื้นที่ภาคใต้ เครื่องสำอาง ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด ผลิตภัณฑ์เพื่อการดูแลร่างกาย กาแฟขี้ชะมด ผ้ามัดย้อม แปรรูปผลไม้ ทุเรียน มังคุด
- การพัฒนาภาคบริการ เชื่อมโยงภาคการท่องเที่ยว เน้นการสร้างคุณค่าการเดินทางเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันด้านการตลาดสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน (High Value Sustainable Tourism) กระจายรายได้สู่ชุมชนยกระดับเศรษฐกิจฐานราก ยกระดับผู้ประกอบการในพื้นที่จังหวัดกระบี่ เร่งขับเคลื่อนการพัฒนาสินค้าชุมชนประเภทของฝากของที่ระลึก เพื่อรองรับการท่องเที่ยวในอนาคตแโดยพัฒนาองค์ความรู้และทักษะที่จำเป็น ตลอดจนออกแบบผลิตภัณฑ์อย่างสร้างสรรค์
- ฉากทัศน์นี้ จำเป็นต้องเกษตรกร ปรับตัวให้สอดรับกับความเปลี่ยนแปลงและพฤติกรรมการบริโภค ทั้งในเรื่องของการปรับแนวคิด การเปลี่ยนรูปแบบการผลิตจาก “สินค้าโภคภัณฑ์” ไปสู่ “สินค้านวัตกรรม”การกำหนดช่องทางตลาดเพื่อให้ผลิตภัณฑ์เป็นที่ต้องการ Upskill Reskill และเติมความรู้ด้านเทคโนโลยีและดิจิตอล การบริหารธุรกิจและการวางแผนอย่างเป็นระบบ ซึ่งอาจจะต้องเจอกับความไม่แน่นอนผลผลิตทางการเกษตร
- ซึ่งยังใช้เวลาและต้องอาศัยการสนับสนุนจากภาครัฐ ในการเข้าถึงแหล่งทุน องค์ความรู้ แพตฟอร์ม กลไกตลาดอย่างครบวงจร รวมถึงสร้างแรงจูงใจกลุ่มเกษตรกร ผู้ประกอบการและกลุ่มคนรุ่นใหม่ จะช่วยเป็นแรงผลักดันให้เกิดการปรับตัวที่เร็วขึ้น
ฉากที่ 3 “กระบี่ มหานครบรรพชีวิน” แหล่งเรียนรู้ อุทยานธรณีโลก
- กระบี่มี มรดกทางวัฒนธรรมที่สะท้อนให้เห็นถึงความรุ่งเรืองในอดีตของจังหวัดกระบี่ เป็นแหล่งโบราณคดีที่สำคัญแห่งหนึ่งที่เก่าแก่และมีพื้นที่เชื่อมโยงชุมชนโบราณ แหล่งซากดึกดำบรรพ์ แหล่งซากดึกดำบรรพ์ “ไฮยีนาลายจุด” ซากดึกดำบรรพ์ สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมมีชีวิตในสมัยดึกดำบรรพ์ที่เก่าแก่ที่สุดอายุราว 400,000 ปีและเป็นหนึ่งในหลักฐานสำคัญที่บ่งชี้อายุทางธรณีวิทยาและสภาพแวดล้อมบรรพกาลที่เป็นทุ่งหญ้าสะวันนาในอดีต
- มีศักยภาพเป็นแหล่งซากดึกดำบรรพ์ที่สามารถพัฒนาสำหรับการเรียนรู้ทางด้านธรณีวิทยาและบรรพชีวินวิทยาของบุคคลทั่วไป การศึกษา วิจัยของนักวิชาการ และการอนุรักษ์และท่องเที่ยวของชุมชน
- ชุมชน จังหวัด โรงเรียน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต้องมีส่วนร่วม ผลักดัน มรดกทางธรณีวิทยา ทำงานร่วมกับจังหวัด หน่วยงานภาครัฐในการเตรียมความพร้อม ทั้งความเข้าใจ การให้ความรู้ สร้างไกด์พื้นที่
- ส่งเสริมอาชีพพัฒนาเศรษฐกิจ เพื่อรองรับนักท่องเที่ยวคุณภาพจากทั่วทุกมุมโลก มีการแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ระหว่างสมาชิกเครือข่ายของอุทยานธรณีโลก ซึ่งจะเป็นผลให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืนแก่ชุมชนและท้องถิ่น
- เกิดจิตสำนึกในการอนุรักษ์และหวงแหน ส่งผลให้ทรัพยากรธรรมชาติที่มีคุณค่าได้รับการปกป้องคุ้มครอง เกิดเครือข่ายความร่วมมือพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวทางธรณีวิทยาอย่างยั่งยืน เป็นแหล่งศึกษา วิจัย ของนักวิชาการทั้งในและต่างประเทศ
- ทั้งนี้แผนพัฒนาจังหวัด อาจมีความเสี่ยงในการประเมิน จะต้องปฎิบัติตามกรอบและเงื่อนไขที่ทางยูเนสโกกำหนดไว้ มีการตรวจประเมินทุก 4 ปี ถ้าบกพร่องในการบริหารจัดการ ก็จะถูกถอดออกจากการเป็นสมาชิก
ร่วมโหวตฉากทัศน์ : ได้ที่นี่