ปฏิบัติการชุมชนบ้านปง ทำไมต้องบ้านปง

ปฏิบัติการชุมชนบ้านปง ทำไมต้องบ้านปง

ปีนี้ยาวไปปีหน้า สภาวะโลกเดือด เอลนีโญ
ฤดูฝุ่นควันไฟป่า pm2.5 เราจะอยู่กันต่อไปอย่างไร
จังหวัดเชียงใหม่ มีเนื้อที่ประมาณ 13,834,594.19 ไร่
เป็นพื้นที่ป่า 9,627,355.98 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 69.59 ของจังหวัด
(กรมป่าไม้ : 2562)
อุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ-ปุย อยู่ใจกลางเมืองเชียงใหม่
มีพื้นที่อยู่ในเขต อ.เมืองเชียงใหม่ อ.แม่ริม อ.หางดงมีพื้นที่ทั้งหมด 163,162.5 ไร่ ที่หลายหน่วยงานต้องดูแลและเฝ้าระวังในส่วน อ.หางดง ตำบลบ้านปง ซึ่งเป็นพื้นที่ตีนดอยด้านทิศใต้
เขตอุทยานดอยสุเทพ-ปุย ส่วนใหญ่เป็นป่าผลัดใบ ทิ้งใบ
ในฤดูแล้ง แต่ละปีจึงมีชีวมวล ที่เป็นใบไม้กิ่งไม้แห้งร่วงหล่น
เป็นเชื้อเพลิงสะสมจำนวนมาก และชุมชนยังคงมีวิถีการใช้ไฟ
ในการดำรงชีวิตอยู่ ทั้งยังเป็นพื้นที่เข้าถึงยากหลายจุด
จึงเปรียบเสมือนด่านหน้าของเมืองเชียงใหม่ ที่ต้องเฝ้าระวังอีกพื้นที่นึง

พื้นที่ป่าของบ้านปง ด้านทิศตะวันออกเป็นป่าอนุรักษ์ มีเนื้อที่ประมาณ 2,609 ไร่ คาบเกี่ยวระหว่างเขตอุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ-ปุย และอุทยานแห่งชาติออบขาน ส่วนด้านทิศตะวันตกเป็นเขตป่าสงวนแห่งชาติแม่ท่าช้าง-แม่ขนิน พื้นที่ประมาณ 1,809 ไร่

ตำบลบ้านปง อ.หางดง จ.เชียงใหม่ เป็นพื้นที่สำคัญที่เป็น ป่าใกล้เมือง คนอาศัยอยู่จำนวนมาก เป็นอีกพื้นที่หนึ่งของป่าดอยสุเทพ-ปุย ทางด้านทิศใต้ เนื่องจากระบบนิเวศน์ป่าส่วนใหญ่เป็นป่าผลัดใบ ทิ้งใบในฤดูแล้งในแต่ละปีจะมีใบไม้กิ่งไม้แห้งร่วงหล่นเป็นเชื้อเพลิงสะสมจำนวมาก ด้วยพื้นที่ป่ามีการเข้าถึงได้ง่ายและใช้ประโยชน์จากคนหลายกลุ่ม ทั้งคนในพื้นที่และนอกพื้นที่

จากป่าเต็งรัง เบญจพรรณ ทั้งไว้กินและชาย เป็นวิถีกันมานาน ขณะที่การบริหารเชื้อเพลิงบางอย่างด้วยการใช้ไฟในพื้นที่จำเป็นที่ผ่านมาก็ยังทำไม่ได้เนื่องจากอยู่ใกล้ตัวเมืองเชียงใหม่ หน่วยงานและคนในเมืองยังไม่เข้าใจและยอมรับในการบริหารเชื้อเพลิงแบบการใช้ไฟ รวมถึงการทำงานในพื้นที่ในขณะเกิดเหตุไฟมา หรือฤดูกาลฝุ่นควันพิษ

created by dji camera

ด้วยหลายปัจจัย หลายเรื่อง ทำให้เขตบ้านปงเกิดไฟแอบจุด ไฟที่ไม่มีการควบคุมขึ้นได้ง่าย และเมื่อเกิดแล้วก็มีโอกาสลุกลามเข้าสู่เขตโดยรอบและพื้นที่สำคัญด้านบนของดอยปุย ซึ่งเป็นป่าดิบแล้ง ดิบชื้น และสนเขา ซึ่งเป็นนิเวศน์ป่าที่อ่อนไหว ไม่ควรจะมีไฟเกิดขึ้น พื้นที่บ้านปงจึงมีความสำคัญอย่างมาก ในการจัดการดูแลตั้งแต่ต้น หากเราไม่ต้องการให้เกิดไฟไหม้ในเขตตั้งแต่กลางดอยไปจนถึงยอดของดอยสุเทพด้านทิศใต้

เมื่อเรามีฤดูฝุ่นควันอยู่ทุกปี โดยเฉพาะภาคเหนือตอนบนของไทยเรา
ประสบภัยฝุ่นควันและยังเกินค่ามาตรฐานอีกในช่วงหลายปีหลังที่ผ่านมาโดนเฉพาะช่วงมกราคมถึงเมษายนโดยในปี พศ. 2566 จังหวัด เชียงใหม่ มีค่าฝุ่นเกินมาตรฐานมากที่สุด ติดต่อกันมา 98 วัน ที่อาจทำให้เราต้องดูแลตัวเองและป้องกันเท่าที่ทำได้ในช่วงนี้ไปก่อน แต่ผลกระทบเหล่านี้ไม่ใช่แค่ที่เดียวแต่นั่นคือ อากาศที่มนุษย์ทุกคนหายใจเข้าไป เพื่อดำรงชีวิตอยู่ เราจะมาช่วยกันหาทางทวงคืน อากาศสะอาดของเราคืนมา
ต้นปี 2566 นี้ เราได้มาติดตามที่ตำบลบ้านปง อ.หางดง จ.เชียงใหม่ โดยพื้นที่บ้านปง มี 11 หมู่บ้าน แต่ละชุมชนก็มีพี่น้องชาติพันธุ์อาศัยอยู่สลับกันไปมา เส้นทางนี้เป็นเส้นทางไปสู่ อ.สะเมิง มีแหล่งท่องเที่ยวธรรมชาติหลากหลายที่
ผมมาลงพื้นที่ หมู่ 2 ต.บ้านปง ซึ่งเป็นพื้นที่ตีนดอยของ เขตอุทยานดอยสุเทพ-ปุย ซึ่งเปรียบเสมือนด่านหน้าของเมืองเชียงใหม่ฝั่งนี้ เป็นป่าใกล้เมืองที่ต้องเฝ้าระวังพื้นที่ป่าและดูแลร่วมกันกับเจ้าหน้าที่ ไม่ให้เกิดไฟป่าเพราะด้วยพื้นที่ติดกับตัวเมืองเวลาที่เกิดเหตุไฟป่าขึ้นมา อาจส่งผลกระทบต่อดอยสุเทพและชุมชนเมืองอย่างมาก

ผมได้ติดตามพ่อหลวงแจ้ (ผู้ใหญ่บ้าน)ม.2 ไปทำภารกิจต่างๆในชุมชน ซึ่งมีเขตรับผิดชอบดูแลป่า กว่า 500 ไร่ ต้องอาศัยคนในชุมชนช่วยกันประสานกับ จนท.ต่างๆในการทำงานในเขตป่าแต่ละครั้ง และป่าแถบนี้เป็นป่าเต็งรัง ทำให้ไม้ผลัดใบลงมาทุกปี การดูแลก็จะเข้มข้นกันหน่อย ทั้งการบริหารจัดการเชื้องเพลิงทั้ง แบบเก็บ แบบใช้ไฟ ร่วมกับการทำแนวกันไฟในระยะแรก ซึ่งต้องบอกว่า มันไม่ใช่เรื่องง่ายๆเลย
การชิงเก็บนั้น ส่วนใหญ่ทำพื้นที่ใกล้กับถนน พอให้มีทางการขนย้าย เพื่อนำใบไม้กิ่งไม้แห้ง ใส่เสวียนทำปุ๋ยต่อไป เป็นการลดเชื้อเพลิงทางหนึ่ง ป้องกันการไหม้จากริมถนนเข้าป่าจากเส้นทางถนนรอบอุทยาน ซึ่งก็จะทำอย่างน้อยเดือนละครั้งในช่วงเข้าฤดูกาลฝุ่น
การชิงเผา ส่วนใหญ่ในพื้นที่จะทำพร้อมกับแนวกันไฟไปด้วยในบางครั้ง เพราะมีจำนวนมากถ้าไม่ทำจะสะสมทำให้เชื้อเพลิงมากขึ้น หรืออาจมีการเผาพื้นที่เกษตรในที่ดินทำกิน ส่วนใหญ่ต้องรีบทำก่อนเข้าฤดูฝุ่นควัน หรือตามมาตรการของรัฐ ซึ่งบางทีอาจไม่สอดคล้องต่อการดำเนินชีวิตของคนในพื้นที่ต่างๆกัน
การทำแนวกันไฟ ก็แน่นอน ต้องขึ้นไปทำบนเขา ไหล่เขาและไกล ที่สำคัญสูงชันด้วย พื้นที่ของหมู่ 2 มีการทำแนวกันไฟในเขตติดต่อ ยาวรวมประมาณ 15 กิโลเมตร ซึ่งการทำแนวกันไฟต้องใช้เวลาและคนจำนวนหนึ่ง
ส่วนใหญ่จะทำ วันเสาร์ อาทิตย์ ในวันหยุด เพราะวันปกติคนในชุมชนส่วนใหญ่ก็ไปทำงานกัน จะได้อาสามาช่วยกันในชุมชน ประมาณ 20-30 คน แต่การทำครั้งหนึ่งไม่ใช่จะเสร็จ ด้วยพื้นที่ที่ไกลและสูงชัน ต้องอาศัยร่วมแรงร่วมใจกันทำใน 1 วัน ก็ทำได้ประมาณ 1 กิโลเมตร แต่ถ้าเริ่มไกลก็จะเหลือคนนน้อยลงประมาณ 10 คน เพราะต้องใช้ผู้ชายและคนที่ชำนาญทางเท่านั้น เพราะต้องขนอุปกรณ์ในการทำด้วยเช่น คราด ไม้กวาดแข็ง เครื่องตัดหญ้า เครื่องเป่าลม น้ำมัน(สำหรับใส่เครื่องตัดและเป่า) อาหารและน้ำดื่มอีก การเข้าไปทำในแต่ละครั้งต้องใช้ทั้งแรงคนและงบประมาณ
พอมาเรื่องงบประมาณ แต่ละพื้นที่ได้ไม่เท่ากัน หลักๆคงเป็น ท้องถิ่น และหน่วยงานป้องกันไฟป่า หรือ หน่วยอื่นๆ เอกชนสนับสนุนบ้างตามพื้นที่
แต่หลักๆแล้ว แค่เบื้องต้นในการ ทำแนวกันไฟ ก็เหนื่อยละ
ไหนจะอุปกรณ์ อุปโภค บริโภค ค่าบำรุงดูแล จิปาถะ อื่นๆมากมาย
ไหนจะกฎหมาย การบังคับใช้ ชุมชนคงอยากมีเวทีแลกเปลี่ยนแน่นอน

#ฝุ่นควันไฟป่า #อากาศสะอาด #pm25 #long from ฝุ่นควันไฟป่าภาคเหนือ

#การจัดการไฟ #อุทยานดอยสุเทพ-ปุย #สภาลมหายใจเชียงใหม่ #ตั้งได้ดีมีเรื่องเล่า

#เชียงใหม่ #ลมหายใจคืนมา #บ้านปง #การบริหารเชื้อเพลิง #ไฟจำเป็น


นี่เป็นการเริ่มต้นเท่านั้นในการจัดการการบริหารในแต่ละพื้นที่ที่บริบทต่าง
และทุกอย่างในแต่ละที่มีความต่างของสภาพแวดล้อมแต่ละอย่างไป
ต่อไปการเข้าดูแลไม่ให้เกิดไฟ หรือไปควบคุมไม่ให้ไฟขยายพื้นที่ จะทำกันอย่างไร ในปีต่อๆไป

author

ปฏิทินกิจกรรม EVENT CALENDAR

เข้าสู่ระบบ