#เครือข่ายป้องกันและต่อต้านการทุจริตจังหวัดตราด“โครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้มีจิตสาธารณะจังหวัดตราด”สนับสนุนโดยกองทุนส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคมจังหวัดตราดเครือข่ายป้องกันและต่อต้านการทุจริตจังหวัดตราด ขบวนองค์กรชุมชนฅนตราด ร่วมกับหน่วยงานภาคี สำนักงานจังหวัดตราด, สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดตราด, ศูนย์พัฒนาการเมืองภาคพลเมือง สถาบันพระปกเกล้า จังหวัดตราด,สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) และ สำนักงานป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ เขต 2
จัดเวทีอบรมพัฒนาศักยภาพผู้กล้าจังหวัดตราด “โครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้มีจิตสาธารณะจังหวัดตราด” วันที่ 28 – 29 สิงหาคม 2566 ณ ศูนย์เอื้ออาทรผู้สูงอายุ องค์การบริหารส่วนจังหวัดตราด ตำบลวังกระแจะ อำเภอเมืองตราด จังหวัดตราด โดยใช้หลักสูตรร่วม จากสำนักงานป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ เขต 2, องค์กรชุมชนฅนตราด และศูนย์พัฒนาการเมืองภาคพลเมืองสถาบันพระปกเกล้า จังหวัดตราด
ในการจัดเวทีครั้งนี้ นางสาวศิริวรรณ บุตราช ประธานขบวนองค์กรชุมชนฅนตราด กล่าวถึงความสำคัญในความร่วมมือการพัฒนาที่สำคัญ ดังนี้1. ผู้กล้าที่ได้รับการอบรมมีความรู้ความเข้าใจ และมีแผนปฏิบัติการในการลงพื้นที่ขับเคลื่อนการสร้างพื้นที่สุจริต โปร่งใส ไม่มีการทุจริต และเชื่อมโยง ขยายเครือข่ายได้อย่างน้อย 10 คน ต่อ พื้นที่2. เกิดการขยายพื้นที่ขับเคลื่อนการป้องกันและต่อต้านการทุจริต3.เกิดการถ่ายทอดความรู้สู่พื้นที่ และนำไปสู่การกระตุ้นจิตสำนึกรักท้องถิ่น4.เกิดการสร้างความร่วมมือกับท้องที่ ท้องถิ่น ในการสร้างพื้นที่สุจริตร่วมกัน5. ไม่พบข้อร้องเรียนในพื้นที่ ทั้งในกรณีการทุจริต หรือโครงการเกี่ยวกับการดำเนินงานต่างๆในพื้นที่จากนั้น ทีมวิทยากรจากสำนักงานป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ เขต2 ได้บรรยายในหัวข้อ “แนวทางและกลไกการมีส่วนร่วมในการป้องกันและต่อต้านการทุจริต จังหวัดตราด” ซึ่งได้ให้ความรู้กับผู้กล้าในหัวข้อเรื่องต่างๆที่จะส่งเสริมให้เกิดแนวทาง และกลไกร่วมในการป้องกันและต่อต้านการทุจริต สอดส่อง สงสัย ส่งข่าว ไปยัง สำนักงานป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ เขต2
1. ข้อมูล Corruption Perceptions Index (CPI) และ ITA ที่ภาคประชาชนจะมีส่วนสำคัญในการช่วยกันขับเคลื่อน สร้างพลังพลเมืองร่วมกับหน่วยงาน ภาคี เครือข่ายเพื่อให้แก้ไขปัญหาดังกล่าว2. ข้อมูล และกรณีศึกษาการทุจริต และประพฤติมิชอบในหน่วยงาน และองค์กรต่างๆ ให้แลกเปลี่ยน เรียนรู้ และทำความเข้าใจ ให้ผู้กล้าสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการวิเคราะห์สถานการณ์ในพื้นที่ในการช่วยกันสอดส่องการทุจริต ประพฤติมิชอบในพื้นที่3. ช่องทางการส่งข้อมูล ข่าวสาร ไปยัง สำนักงานป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ เขต2 ทั้งทางสายตรง ออนไลน์ หรือช่องทางอื่นๆ ที่สำนักงาน ป.ป.ท.จัดไว้ให้อำนวยความสะดวกแก่ผู้แจ้งเบาะแส
นายสิน สื่อสวน ประธานคณะกรรมการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนในการป้องกันและต่อต้านการทุจริต ร่วมบรรยายพิเศษ “การสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชนในการป้องกันและต่อต้านการทุจริต” เน้นในเรื่องการดำเนินงานของขบวนองค์กรชุมชน สิ่งที่จะทำให้เราประสบผลสำเร็จ คือ เปลี่ยนประชาชนเป็นพลเมือง ประชาชนต้องลุกขึ้นมาจัดการปัญหาเอง มีความตื่นรู้ต่อบ้าน ต่อเมือง ไม่จำนนต่อสิ่งไม่ถูกต้อง รวมกลุ่มผู้ก่อการดี สร้างเครือข่ายผู้ก่อการดี ทั้งเชิงพื้นที่ และกลุ่มองค์กร สร้างสังคมสุจริตครอบคลุมทุกพื้นที่ และสร้างพลังความร่วมมือกับภาครัฐให้มีพลัง โดยขยายความร่วมมือในการจัดสมัชชา ร่วมกันผลักดันในเชิงนโยบาย ยึดมั่นในความสุจริต ปลูกฝังลูกหลาน ให้มีจิตสำนึก ไม่เอารัดเอาเปรียบผู้อื่นและสังคมการป้องกันและต่อต้านการทุจริต “ทำทำไม ทำไมต้องทำ” โดยนายสมโภชน์ วาสุกรี ประธานศูนย์พัฒนาการเมือง ภาคพลเมือง สถาบันพระปกเกล้า จังหวัดตราด ตอกย้ำ เติมเต็มให้กับผู้กล้าตราดได้มีความมุ่งมั่น มั่นใจ เชื่อมั่นในการร่วมกันป้องกันปัญหาการทุจริตที่เกิดขึ้น เพราะผู้กล้านั้นมีบทบาทหน้าที่ที่สอดคล้อง กับคณะกรรมการธรรมมาภิบาลจังหวัดตราด มีบทบทสำคัญในการกำกับติดตาม แจ้งเตือนปัญหาการทุจริตในพื้นที่ เราทุกคนไม่ได้มีอำนาจไปชี้ผิดถูกแก่ใคร แต่เรามีหน้าที่ที่ช่วยกันดูแล ผลประโยชน์ของตัวเราเองและชุมชน ด้วยพลังพลเมืองของผู้กล้าตราด
นายวิชัย นะสุวรรณโน รองผู้อำนวยการ สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) มอบเกียรติคุณบัตรแก่ผู้กล้าจังหวัดตราด และกล่าวแสดงความยินดี กับเครือข่ายผู้กล้าจังหวัดตราด ทั้ง 25 ตำบล 150 คน ที่ผ่านการอบรมหลักสูตร “โครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้มีจิตสาธารณะจังหวัดตราด” ว่า การพัฒนาคนในขบวนองค์กรชุมชน นับว่าเป็นเรื่องที่สำคัญ งานทุกอย่างจะสำเร็จได้หัวใจหลักคือ “คน” นับว่าการจัดอบรมครั้งนี้เป็นโครงการที่ดีมาก เป็นสิ่งที่พิสูจน์ความเข้มแข็งของคนตราด เรื่องการป้องกันการทุจริต ถือเป็นเรื่องที่สำคัญ เป็นวาระร่วมที่ทุกภาคส่วนต้องร่วมกันในการแก้ไขปัญหา และขยายเครือข่ายในการทำงานให้มากขึ้น เกิดเครือข่ายผู้กล้า สู่ระบบชุมชนที่เข้มแข็ง จังหวัดตราดถือเป็นจังหวัดต้นแบบในการดำเนินงานการป้องกันการต่อต้านการทุจริต มีการขยายเครือข่ายและพัฒนาศักยภาพ เพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจในการทำงาน การสอดส่อง เฝ้าระวัง ส่งผลให้เกิดการพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนได้มากยิ่งขึ้น
การดำเนินงานของ พอช.ยังมีส่วนในการสนับสนุน เรื่องการป้องกันและปราบปรามการทุจริต หนุนเสริมเครือข่ายองค์กรชุมชนทำงานร่วมกันเต็มพื้นที่ การเชื่อมโยงและขยายผลเรื่องนี้ไปในทุกพื้นที่จะทำให้ขบวนองค์กรชุมชนเกิดความเข้มแข็ง นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นในอนาคตช่วงท้าย เครือข่ายป้องกันและต่อต้านการทุจริตจังหวัดตราด ร่วมประกาศเจตนารมณ์การต่อต้านการทุจริต โดยจะยึดมั่นในสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และการปกครองระบบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข จะประพฤติปฏิบัติตนในสัมมาอาชีพ ด้วยความซื่อสัตย์ สุจริต โปร่งใส เป็นธรรม สามัคคี มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ ดำรงตนด้วยความมีเกียรติและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ กล้ายืนหยัดในสิ่งที่ถูกต้อง ไม่โกงชาติ โกงแผ่นดิน ไม่ทนต่อการทุจริตทุกรูปแบบ และไม่ใช้ตำแหน่งหน้าที่หาประโยชน์จากความทุกข์ยากของประชาชน ทั้งจะปฏิบัติตนตามมาตรฐานทางจริยธรรมของรัฐ และจรรยาบรรณ เพื่อเป็นแบบอย่างที่ดีและรักษาภาพลักษณ์ของประชาชน “ฅนตราด ไม่โอเคกับการทุจริตทุกรูปแบบ”