เมื่อชวนคนใต้สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ พูดถึงคำสำคัญๆ สำหรับอนาคตภาคใต้ ในอีก 10 ปีข้างหน้า มีหลากหลายคำ เช่น สันติภาพ การพัฒนา ที่ยั่งยืน ปากท้อง เศรษฐกิจดี คุณภาพชีวิตที่ดี ความยุติธรรม การมีส่วนร่วม ความสงบสุข สิ่งเหล่านี้อาจเป็นภาพความหวังของใครหลาย ๆ คน แล้วอะไรที่จะทำให้ความฝันนั้นเดินหน้าสู่อนาคตในอีก 10 ข้างหน้าในปี 2575 ครบ 100 ปี ของการเปลี่ยนการปกครอง (2475) เป็นวันสำคัญสำหรับการสร้างประชาธิปไตยในประเทศไทย รวบรวมมาให้ทุกคนได้อ่านกัน โดยคำสำคัญเหล่านี้เป็นเสมือนสารตั้งต้นเเละเป็นโจทย์ของการพูดคุยขยายประเด็นในอนาคตข้างหน้า
เรายังอยู่ในสภาวะที่เศรษฐกิจที่ยังไม่ดี ถ้าเราดูตัวชวัดจริงๆแล้วยังไมดี ความยากจนยังมีเปอร์เซ็นสูงในระดับประเทศ
ผศ.ดร.ศรีสมภพ จิตร์ภิรมย์ศรี ผู้อำนวยการศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์ภาคใต้
เราอยู่ในสถานการณ์ความรูนแรง ความยากจน ทำให้เด็กในพื้นที่ชายเเดนใต้เสียโอกาสทั้งที่เขาสามารถไปได้ไกลมากกว่านี้
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ยาสมิน ซัตตาร์ คณะรัฐศาสตร์ ม.อ.ปัตตานี
เราอยากเห็นนโยบายที่สร้างงานให้กับคนในพื้นที่ชายแดนใต้ เด็กๆน้องๆเยาวชน เรียนจบมาจะได้มีงานทำในบ้านเกิดของตัวเอง
หากการเมืองดี เศรษฐกิจ สังคม การศึกษา รัฐสวัสดิการ ก็จะดี
โซรยา จามจูรี
นับว่าประเด็นเศรษฐกิจ ปากท้อง เป็นความสนใจร่วมของคนทุกกลุ่มในสามจังหวัดชายเเดนภาคใต้ เพราะการ อยู่ดี มีสุข มีสุนทรียะ นับเป็นสันติภาพเชิงบวก หากเราดูข้อมูล ความยากจนใน ปัตตานี ยะลา นราธิวาส นับว่าเป็นจังหวัดที่มีปัญหาความยากจนเรื้อรัง และติดอันดับจังหวัดที่ยากจนที่สุดในประเทศ 10 อันดับแรก ต่อเนื่องนานเกินกว่า 16 ปี จากข้อมูลการสำรวจภาวะเศรษฐกิจและสังคมของครัวเรือน สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติหรือสภาพัฒน์
เเละนี่ก็เป็นประเด็นสำคัญที่่่คนในวงยกมาพูดถึง เพราะแนวนโยบายเศรษฐกิจ การยกระดับรายได้ ไม่ได้มีพรรคใดเสนอขึ้นมาเป็นจุดเด่นมากนัก เพราะพรรคการเมืองมองว่า เรื่อง สันติภาพ ยังเป็นข้อเรียกร้องที่คนในพื้นที่ส่วนใหญ่ให้ความสำคัญ
ชายแดนใต้ มีอะไร?
ชายแดนใต้มีพรมแดนติดกับมาเลเซีย ผู้คนจึงเชื่อมโยงผูกพันทั้งในลักษณะญาติมิตร แรงงาน การค้าระหว่างพรมแดน และการท่องเที่ยวที่เชื่อมโยงระหว่างกันมาแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน
ชายแดนใต้ ประกอบด้วยจังหวัด ปัตตานี ยะลา นราธิวาส และ 4 อำเภอของจังหวัดสงขลา อ.จะนะ เทพา นาทวี และสะบ้าย้อย มีเนื้อที่รวมประมาณ 10,936.864 ตารางกิโลเมตร มีจำนวนประชากรกว่า 2ล้านคน และกว่าร้อยละ 80 นับถือศาสนาอิสลาม
เศรษฐกิจและการค้าชายแดนใต้
ประชากรส่วนใหญ่อาชีพรับจ้างและเกษตรกร ปัจจุบันเศรษฐกิจภาคเกษตรถดถอย ส่วนหนึ่งยังคงการผลิตแบบเดิมและการแปรรูปเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มยังมีน้อย และความผันผวนของสภาพภูมิอากาศส่งผลกับราคาของสินค้าเกษตรโดยตรง
งานและเศรษฐกิจที่เติบโตน้อย ทำให้มีการโยกย้ายไปเป็นแรงงานต้มยำกุ้ง ทำงานในประเทศมาเลเซีย แต่ในช่วงโควิด19 ธุรกิจชายแดนหยุดชะงัก ทำให้กระทบเศรษฐกิจครัวเรือนในชายแดนใต้
คุณภาพชีวิต
มีข้อมูลจากสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ วิเคราะห์ถึงสถานการณ์ความยากจน และความเหลื่อมล้ำในประเทศไทยพบว่า มีปี 2563 คนไทยจนเพิ่มขึ้นกว่า 5 แสนคน จากผลจากการระบาดโควิด-19 ที่กระทบต่อเศรษฐกิจ การจ้างงาน โดยพื้นที่ชายแดนใต้ จ.ปัตตานี ครองอันดับ 1ใน 10 จังหวัดประชากรรายได้น้อย ต่อเนื่องกว่า 18 ปี
การศึกษา
3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ เป็นหนึ่งในพื้นที่ ซึ่งปัญหาความเหลื่อมล้ำทางการศึกษามีความซับซ้อน ทั้งด้านโอกาสการเข้าถึงการศึกษา และคุณภาพการเรียนรู้
สถิติแห่งชาติและ UNICEF ปี 2562 ระบุว่า ทักษะการอ่านและการคิดคำนวณของเด็กและเยาวชนในจังหวัดชายแดนใต้อยู่ในระดับต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของเด็กไทยทั้งประเทศ ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อการเรียนรู้ในระดับชั้นที่สูงขึ้น
ในช่วงการแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่ทางโรงเรียนต้องจัดการเรียนการสอนแบบออนไลน์เต็มรูปแบบ ทำให้เกิดภาวะการเรียนรู้ถดถอย หลุดออกจากระบบการศึกษา
สุขภาพ
และผลสำรวจสถานการณ์เด็กและสตรีในพื้นที่ล่าสุด ซึ่งจัดทำโดยสำนักงานสถิติแห่งชาติ ชี้ให้เห็นว่า ยังคงมีเด็กอีกจำนวนมากที่ขาดแคลนและเข้าไม่ถึงการพัฒนาในอีกหลายมิติ อาทิ ขาดโภชนาการ ขาดภูมิคุ้มกันโรค ซึ่งเสี่ยงต่อการเป็นโรคร้ายส่งผลเสียต่อพัฒนาการของเด็กในระยะยาว อีกทั้งการได้รับวัคซีนของเด็กยังคงเป็นประเด็นที่น่าเป็นห่วงในพื้นที่ชายแดนใต้
สันติภาพ
นับจากปี 2547-2564 ศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์ภาคใต้ หรือ Deep South Watch รายงานว่า มีความขัดแย้งความรุนแรง เกิดขึ้นประมาณ 21,328 เหตุการณ์ มีผู้เสียชีวิตทั้งหมด 7,314 ราย บาดเจ็บจำนวน 13,584 ราย รวมผู้บาดเจ็บล้มตาย 20,898 คน
ซึ่งข้อมูลจากศูนย์ทนายความมุสลิมพบว่า ปัญหาจากการบังคับใช้กฎหมายพิเศษด้านความมั่นคงมีผลกระทบต่อสิทธิเสรีภาพของประชาชนในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ในหลายกรณี
ล่าสุดข้อมูลจาก ช่วงเดือนเมษายน-พฤษภาคม 2564 มีการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ครั้งที่ 6 โดยเครือข่ายวิชาการ Peace Survey พบว่าประชาชนร้อยละ 60.8 คิดว่าสถานการณ์ยังคงเหมือนเดิมหรือแย่ลง เพราะยังรู้สึกไม่ปลอดภัย แม้ว่าสถานการณ์ความรุนแรงในพื้นที่มีแนวโน้มลดลงเมื่อพิจารณาโดยรวมขณะที่งบประมาณในการแก้ไขปัญหาในช่วง 18 ปี กว่า 5แสนล้านบาท
ปัจจัยที่กระทบต่อชายแดนใต้
- ทิศทางการเมืองและกระบวนการพูดคุยสันติภาพ
- การบังคับใช้กฎหมายพิเศษด้านความมั่นคง ที่จะทำอย่างไรให้สามารถเข้าถึงความยุติธรรมอย่างเท่าเทียมและปลอดภัย ป้องกันการละเมิดสิทธิมนุษยชน
- แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัดชายแดนใต้
- ภาพลักษณ์ของความไม่สงบในพื้นที่เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาด้านเศรษฐกิจ สังคม การท่องเที่ยวและการลงทุน ภายในพื้นที่
โอกาสและข้อท้าทาย
- มีศักยภาพทรัพยากรในพื้นที่ มีทำเลที่ตั้งเหมาะสมและสามารถพัฒนาสินค้าฮาลาล ให้เป็นที่รู้จักแก่ประเทศมุสลิมได้ อีกทั้งประชากรมุสลิมมีการขยายตัว ตลาดอาหารฮาลาลมีมูลค่าสูง
- มีด่านชายแดน 9 ด่าน ที่มีศักยภาพในการพัฒนาเป็นจุดเชื่อมโยงกับกลุ่มประเทศ อินโดนีเซีย และสิงคโปร์
- มีทุนทางวัฒนธรรมที่เข้มแข็งและหลากหลาย สามารถนำมาต่อยอดสร้างระบบเศรษฐกิจสร้างสรรค์
- มีการรวมกลุ่มองค์กรภาคประชาชน คนรุ่นใหม่ ที่หลากหลายบนภารกิจและพันธกิจที่ต่างกัน แต่จุดมุ่งหมายปลายทางเดียวกัน นั่นก็คือ “การสร้างสันติภาพ”
ผศ.ดร.ศรีสมภพ จิตร์ภิรมย์ศรี ผู้อำนวยการศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์ภาคใต้ มองว่า เหตุการณ์ความไม่สงบในพื้นที่ชายแดนใต้ ระยะหลังน้อยลง เเต่น่าเป็นห่วงอยู่ว่าตอนที่เราทำงานวิจัย Peace Survey ในความรู้สึกของประชาชน ยังรู้สึกว่าสถานการณ์ยังไม่น้อยลงเเละเหตุการณ์ยังไม่เปลี่ยน ในขณะที่สถานการณ์มันลดลง สิ่งที่ต้องเตรียมเเละจัดการมากจะทำอย่างไรให้ประชาชนเชื่อมั่นในความเปลี่ยนแปลงหลังจากเลือกตั้ง ซึ่งเรายังมีความหวัง
สามจังหวัดยังมีปัญหาหลายอย่าง เรายังอยู่ในสภาวะเศรษฐกิจที่ยังไม่ดี หากดูจากตัวชี้วัดจริงๆแล้ว สามจังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นจังหวัดยากจน มีดัชนีความยากจนชี้วัดอยู่ในระดับรั้งท้ายของประเทศ จะเห็นได้ว่าด้านการเกษตร ทรัพยากรสิ่งแวดล้อม เเละประมง ยังมีปัญหายังต้องพลักดันแก้ไขต่อไป
เเต่ในช่วง 19-20 ปีที่ผ่านมา ภาคประชาชนมีส่วนร่วมสูงมาก เห็นได้ชัดว่าผู้คนตื่นตัวมาก เราเห็นผู้คนออกมาทำงานกันเยอะเเละหลากหลายมากขึ้น ทั้งนักวิชาการ ภาคประชาสังคม รวมถึงรัฐ ทำให้เราเห็นความต้องการ เรื่องสันติภาพ
การเลือกตั้งครั้งนี้มีความหวังอยู่ แต่ในความหวังยังมีปัญหาเชิงโครงสร้าง หัวใจสำคัญคือการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง ถ้ามีประชาธิปไตยมากขึ้น มีส่วนร่วมมากขึ้น เงื่อนไขความมั่นคงที่ลดลง
อาจจะสั้นกว่า 10 ปี ถ้ามีรัฐบาลที่เป็นประชาธิปไตย การมีมีส่วนร่วมของประชาชนก็จะมากขึ้น เเละสามารถปลดล็อคเงื่อนไขหลายอย่างทางกฎหมายได้ เเละศักยภาพที่เราสะสมมาจะเกิดแรงขับที่สูงมาก
สมใจ ชูชาติ ผู้ใหญ่บ้านบ้านนอก อ.ปานาเร๊ะ จ.ปัตตานี หลังเลือกตั้งเราอยากเห็นพัฒนาการ ทั่งเรื่องสันติภาพ เศรษฐกิจ การศึกษารวมถึงทรัพยากร ที่ทุกคนพยายามร่วมกันทำ เมื่อก่อนเรามองว่ามันปรับไม่ได้เลย แต่พอเราเข้ามาทำงานตรงนี้ ก็ทำให้เห็นพัฒนาการในหลายเรื่องเเละมี หลายอย่างที่เราพยายามเช่น ประเด็นผู้สูงวัย อย่างตอนนี้ รพ.สต. ก็ขยายมาสู่ท้องถิ่นมากขึ้นเป็นไปในทางที่ดีขึ้น และช่วงเกิดสถานกาณณ์โควิด เราเห็นเด็กสามารถใช้เทคโนโลยีในการเรียนที่บ้านได้ เกิดการปรับตัวของทุกภาคส่วน เเต่หลายองค์กร ต้องทำงานร่วมกัน อนาคตหลังจากเลือกตั้งคิดว่าต้องทำงานเเบบบูรณาการมากขึ้น เเละเปิดโอกาสให้เด็กรุ่นใหม่เข้ามาทำงานมากขึ้นเเละการกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่นมากขึ้น
แวลอมลี แวบูละ สมาคมร่วมสร้างชุมชนศรัทธากัมปงตักวามองว่า 10 ปีข้างหน้าต้องไปแบบที่สาม เราต้องมีความหวังเสมอ ในสถานการณ์ปัจจุบันการอยู่ร่วมกันมีปัญหา ตั้งแต่เกิดเหตุการณ์ความไม่สงบในชายเเดนใต้ เราเห็นการเรียนรู้ของผู้คนมากขึ้น ก่อนหน้านี้ก็จะโทษกันไปมาว่า ว่าเกิดรัฐบ้าง ประชาชนบ้าง พอเวลาผ่านมา10-20 ปี ก็ปัญหาหลายอย่าง ทั้งเรื่องธรรมาธิบาล เเละความเป็นประชาธิปไตบในบ้านเมือง ซึ่งสิ่งเหล่านี้ต้องเกิด ถ้าไม่เกิดก็ไปต่อไม่ได้ เเละทำให้พื้นที่แลกเปลี่ยนแคบลง เเละอีกเรื่องสำคัญคือเรื่องชุมชนฐานราก ภาคประชาสังคมหลายองค์กรพยายามสร้างการตื่นรู้ให้กับชุมชน ประชาชนเองก็พยายามเรียนรู้เกิดการเชื่อมโยงเครือข่ายของตัวเอง ยอมรับ เข้าใจว่าเราเองก็เป็นส่วนหนึ่งของปัญหา นำไปสู่ความหวังของสังคมได้
ภาพพื้นที่ชายแดนใต้ที่ทุกคนอย่ากเห็น เป็นภาพที่ต่างจากฝ่ายความมั่นคง ซึ่งมองว่ายังเป็นสีแดง ยังเกิดการสู้รบ การพัฒนาไปไม่ได้ ก็มีส่วนถูกส่วนหนึ่ง แล้วจะทำอย่างไรให้การพัฒนาคุณภาพชีวิตดีขึ้น เราต้องคุยกันทำให้เห็นว่าอะไรที่ภาคประชาชนคาดหวัง ที่จะทำไปสู่ความปรองดองและนำไปสู่การหาทางออกที่ดีขึ้นได้
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ยาสมิน ซัตตาร์ คณะรัฐศาสตร์ ม.อ.ปัตตานี มองว่า เราเห็นพัฒนาการบางอย่างของพื้นที่ เป็นไปในทิศทางเชิงบวก เราเห็นคนหน้าใหม่เข้าไปสู่พื้นที่ทางการเมืองในระดับประเบทศ เเละการเมืองท้องถิ่นมากขึ้น บทบาทท้องถิ่นก็มีมากขึ้น เราเห็นนักการเมืองผู้หญิง เราเห็นเยาวชนมีศักยภาพมากขึ้น
เราอยู่ภายใต้ความขัดแย้งมาเกือบ 20 ปี ภายใน 10 มันอาจจะไปในจุดที่เราเห็นภาพที่เปลี่ยนไปเลย อาจจะยังไม่ถึง โดยส่วนตัวมองว่าเป็นภาพฉากทัศน์ที่ 2 เเสงเเดดรำไร การศึกษาเราเห็นชัด ถึงระดับคุณภาพของการศึกษา เราอยู่ในสถานการณ์ความรุนแรง อยู่ในพื้นที่ที่มีความยากจน ทำให้เราเสียโอกาสหลายอย่าง เด็กในพื้นที่สามารถไปได้ไกลมากกว่านี้ หากเราเปรียบเทียบกันกับเด็ก ในกรุงเทพ เชียงใหม่ เขามีโอกาสในการพัฒนาศักยภาพกับเทรนโลกที่เปลี่ยนไป ได้มากกว่าโดยเฉพาะเรื่องเทคโนโลยี
ส่วนตัวมองว่าบ้านเรายังตามไม่ทันกับเทคโนโลยีที่มันเปลี่ยนไปเร็วมาก เรื่องเหล่านี้ถ้าเราคุยกับเด็กในกทม. เราพบว่าเขาเห็นภาพและถึงได้มากกว่า เราในฐานะที่อยู่ในมหาวิทยาลัยอยู่กับการปรับหลักสูตรที่จะทำอย่างไรให้คนรุ่นใหม่เห็น เทรนที่เปลี่ยนไปเป็นงานที่ต้องทำ รวมถึงคุณภาพการศึกษา ในระดับประถมวัยจะเห็นความเหลื่อมล้ำที่เกิดขึ้น พบว่าโรงเรียนดีๆในพื้นที่ที่เด็กมีโอกาสได้เข้าไปเรียนก็เป็นแค่เพียงคนส่วนน้อยของสังคม ส่วนใหญ่ในชายแดนใต้ยังคงให้ลูกไปทำงานเพื่อช่วยครอบครัวสุดท้ายเด็กหลุดออกจากระบบการศึกษา
ส่วนผู้หญิงในพื้นที่ชายเเดนใต้ได้รับการยอมรับมากขึ้น ออกไปทำงานมากขึ้น แต่เราปฎิเสธไม่ได้ว่า ยังมีค่านิยมบางอย่างที่บอกว่าผู้หญิงไม่ควรทำ ยังมีดีเบตอยู่ เราคาดหวังสิบปีข้างหน้าจะดีขึ้น แต่อาจจะต้องทำงานเชิงความคิดเเละอาศัยคนอีกเจเนอเรชั่น
ส่วนเรื่องมิติการเมือง พบว่ามีข้อท้าทายเห็นการปะทะกันระหว่างชุดความคิด คำถามคือ พอเลือกตั้งขึ้นมา ถ้ายังเหมือนเดิมไหม แต่ส่วนตัวเราเห็นเทรนที่ดีขึ้น เราเห็นโหวตเตอร์คุยถึงนโยบายมากขึ้น ส่วนวัฒนธรรมการรับเงิน ก็ยังมี ถ้าเป็นแบบนี้ต้องอาศัยการทำงานเชิงความคิดมากขึ้นเช่นกัน สุดท้าย ปัญหาสมองไหล ถ้าไปดูในฐานข้อมูลของมหาวิทยาลัย เด็กที่มีงานทำก็ยังมีน้อยอยู่ ถ้าเทีบงในหลายมหาวิทยาลัย สิ่งที่เกิดขึ้น เด็กในพื้นที่มีข้อดีเยอะมาก เขารักบ้านเกิด เขาอยากทำงานในบ้านเกิด แต่งานไม่พอกับคนที่อยู่
ภาพอนาคตประเทศไทย 2575
หลังจากฟังเสียงสะท้อนความต้องการของคนในพื้นที่ รวมถึงโอกาส และความท้าทายด้านศักยภาพของภาคใต้แล้ว ทีมงานฟังเสียงประเทศไทยเราได้ประมวลภาพอนาคตที่อาจจะเป็นไปได้ในอีก 10 ปี ข้างหน้ามาให้ทุกท่านได้ร่วมกันเลือกและเติมข้อมูลกันต่อด้วย โดยมีรายละเอียดดังนี้
ฉากทัศน์ที่ 1 สุริยุปราคา
ประเทศไทย ยังวนเวียนอยู่ในกับดักรายได้ปานกลาง และความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจแบบสุดขั้ว แม้ภาคท่องเที่ยวจะกลับมาเฟื่องฟู แต่ยังเน้นใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ จนสภาพแวดล้อมทรุดโทรม
ภาคเกษตรตกไปอยู่ในมือทุนใหญ่จากต่างชาติ ขณะที่รัฐยังคงมีวิธีคิดแบบรวมศูนย์ไม่ยอมกระจายอำนาจ การทุจริตคอร์รัปชันฝังรากลึกเกินเยียวยา
ด้านการศึกษา ถือเป็นยุคล่มสลายของระบบท่องจำและการกำกับเนื้อหาจากส่วนกลาง ขณะที่ลูกหลานคนรวยมีทางเลือกไปศึกษาต่อในต่างประเทศ
ด้านสังคมและคุณภาพชีวิต เปราะบางถึงขั้นวิกฤต จากปัญหามลภาวะทั้งอากาศ ดิน และน้ำ รวมถึงปัญหาความไม่มั่นคงทางอาหาร
ต้นทุนด้านสุขภาพคนไทยสูงลิ่ว จนคนจำนวนมากเข้าไม่ถึง และบุคลากรทางการแพทย์ยังขาดแคลน กลุ่มคนสูงวัยและอาชีพอิสระที่ขาดหลักประกันทางสังคม และไร้เงินออม กลายเป็นอีกปัญหาของสังคม
สำหรับความรุนแรงและสันติภาพในชายแดนใต้ที่ปะทุขึ้นตั้งแต่ปี 2547 จนถึงปัจจุบันกว่า 30 ปีของสถานการณ์ยังมีความไม่แน่นอนสูง บางครั้งก็จะรุนแรง เนื่องจากการพูดคุยเจรจาสันติภาพของกลุ่มผู้ต่างจากรัฐกับรัฐบาลยังไม่มีความก้าวหน้า
เพราะกลุ่มผู้ต่างจากรัฐมีความไม่ไว้วางใจคู่เจรจาที่ยังพึ่งพาการทหารเพื่อสร้างความได้เปรียบทางการเจรจาเป็นหลัก ขณะที่ระบบคิดในการแก้ปัญหายังเป็นการรวมศูนย์อำนาจ ไม่ได้สร้างการมีส่วนร่วมให้ภาคส่วนอื่น ๆ โดยเฉพาะภาคประชาชนในพื้นที่เข้ามามีส่วนร่วมอย่างแท้จริง
ฉากทัศน์ที่ 2 แสงแดดรำไร
เกือบ 30 ปีของสถานการณ์ความขัดแย้งในจังหวัดชายแดนใต้ เห็นพัฒนาการในทางที่ดีตามลำดับ ภายใต้การบริหารงานของรัฐบาลพลเรือน มีสัญญาณสันติภาพในทางบวกเกิดขึ้น อาทิ ดุลอำนาจในการเจรจาพูดคุยสันติภาพมาอยู่ที่ภาคประชาชนในพื้นที่มากขึ้น ฝ่ายการเมืองเข้ามามีส่วนในการกำหนดนโยบายมากขึ้น เกิดการกระจายอำนาจ ทำให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) มีบทบาทมากขึ้น
มีการเปิดพื้นที่ให้คนรุ่นใหม่เข้ามาร่วมขับเคลื่อนแก้ไขปัญหา ก่อเกิดพลวัตในการมีส่วนร่วมเพื่อผลักดันให้การแก้ไขปัญหาความขัดแย้งเข้าเป้าตรงจุด แต่อาจจะมีความขัดแย้งระหว่างแนวคิด
อย่างไรก็ตามมุมมองการแก้ไขปัญหาแตกต่างระหว่างฝ่ายการเมืองกับฝ่ายทหาร อาจจะกลายเป็นเงื่อนไขของความเสี่ยงและพัฒนาสู่ความรุนแรงได้เฉกเช่นที่เคยเกิดขึ้นในรัฐบาลพลเรือนในอดีต หากไม่สามารถสร้างเอกภาพของนโยบายได้
ฉากทัศน์ที่ 3 พระอาทิตย์ทรงกลด
ประเทศไทยพุ่งทะยานไปข้างหน้า จากวิสัยทัศน์ของรัฐที่ส่งเสริมการกระจายอำนาจให้ท้องถิ่น มีการลงทุนวิจัยและพัฒนาที่มุ่งสร้างความแตกต่างในทรัพยากรมนุษย์และผลิตภัณฑ์ที่มีเอกลักษณ์
ประชาชนสามารถใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นพัฒนาชุมชน เกิดระบบเศรษฐกิจหมุนเวียนที่สร้างรายได้พึ่งพาตนเองในชุมชน มีการยกระดับความรู้จนเกิดเป็นปัญญารวมหมู่ ส่งผลให้คนในสังคมเท่าทันและใช้เทคโนโลยีเพื่อสมดุลของชีวิต ใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมจัดการปัญหาสิ่งแวดล้อม
ในมิติสุขภาพมีการใช้ระบบฐานข้อมูลและเทคโนโลยี เพื่อดูแลสุขภาพของประชาชนอย่างเท่าเทียม ขณะที่ด้านการศึกษาเรียนรู้ของไทย คนทุกวัยสามารถใช้ฟอร์มและช่องทางออนไลน์ทั่วโลกได้ทุกที่ทุกเวลา ครูทำหน้าที่ผู้ให้คำปรึกษา ผู้เรียนสามารถเลือกได้ว่า จะปรึกษากับคนหรือปัญญาประดิษฐ์
ส่วนการศึกษาในท้องถิ่นได้รับความนิยมจากคนรุ่นใหม่ ทำให้ความแตกต่างหลากหลายของวัฒนธรรมและภาษาที่ถูกส่งต่อจากรุ่นสู่รุ่น อย่างสร้างสรรค์
สถานการณ์ของชายแดนใต้ยกระดับไปสู่การสร้างสันติภาพแบบมีส่วนร่วมและเป็นต้นแบบของหลายพื้นที่ในสังคม โดยเฉพาะการก่อเกิดกระบวนการปรึกษาหารือจากภาคประชาชน ภาคประชาสังคม กลุ่มคนรุ่นใหม่ กลายเป็นเครือข่ายภาคประชาชนที่มีความเข้มแข็ง สามารถชี้นำพาให้การพูดคุยเจรจาก้าวข้ามอคติต่าง ๆ ขณะเดียวกันก็ทำหน้าที่ตรวจสอบถ่วงดุลคู่เจรจา ทำให้เกิดความก้าวหน้าแนวทางสันติภาพแบบผสมที่ไม่ได้เน้นแค่ฝ่ายรัฐแต่เกิดจากการสร้างการมีส่วนร่วม ที่ลดความรุนแรงพร้อมกับการสร้างโอกาสด้านต่าง ๆ ให้กับคนในพื้นที่
เเลกเปลี่ยน
วลักษณ์กมล จ่างกมล มองว่าเศรษฐกิจปากท้องเป็นความสนใจร่วมของคนทุกกลุ่ม ถ้ามองเป็นสันติภาพเชิงบวก เป็นภาวะของการมีความเป็นธรรมในความเป็นอยู่ ให้ความสำคัญนึกถึงเรื่องการใช้เศรษฐกิจสร้างสรรค์ในการนำสังคม ชุมชน จุดนี้เป็นจุดวงแหวนวัฒนธรรม ซึ่งมีกิจกรรมร่วมกันมากมาย เราต้องอยู่ดี กินดี มีความสุข มีสุทรียะ เป็นสันติภาพเชิงบวกที่คนในพื้นที่ต้องการ
เราไม่ต้องการสุนทรียะที่ปากแห้ง เราอยากมีกิน เราต้องการเศรษฐกิจสร้างสรรค์ใหม่ที่ครอบคลุ่มทุกวัย เราเห็นการเคลื่อนเศรษฐกิจอยู่ในเมืองและระดับอำเภอที่สามารถกระจายเเละส่งเสริมการท่องเที่ยวให้มีศักยภาพ
สันติภาพไม่ได้หมายถึงแค่การเมืองแต่เป็นเรื่องความเป็นธรรม การเป็นอยู่ที่ดี สิ่งเหล่านี้คือสันติภาพ
มองการเมืองเป็นสองระดับ สันติภาพเชิงลบที่ปราศจาคความรุนแรง มองระดับนโยบายการผลัดดันให้ปราศจากความรุนแรง และสันติภาพเชิงบวก อยู่ดีมีสุขมีสุนทรียะ อยากให้คนในพื้นที่ขับเคลื่อนและอยากเห็นท้องถิ่น ขับเคลื่อน ระยะเวลาที่ผ่านมาเราไม่เคยเห็นนักการเมืองท้องถิ่นในพื้นที่มาสนับสนุนเราสักเท่าไหร่ เราอยากให้คนกลุ่มนี้สนับสนุนเรา ไม่อยากให้จำกัดบทบาทตัวเอง ที่มากกว่าการดูและโครงสร้างพื้นฐาน เชื่อมโยงไปยังงานใหม่ เปิดกว้างมากขึ้น อยู่ได้ด้วยฐานเศรษฐกิจชุมชน
โซรยา จามจูรีย์ ผลสำรวจชี้เด็กในจังหวัดชายแดนภาคใต้เผชิญปัญหาโภชนาการ ขาดภูมิคุ้มกันโรค และขาดทักษะเรียนรู้ เเละความรุนแรงในครอบครัวนำไปสู่การหย่าร้างสูงสุด จนต่อเนื่อง จนข้ามรุ่น
อย่างไรก็ตามมีความหวัง แม้ปัญหาจะเต็มไปหมด ปัจจัยสำคัญที่จะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงในอีก 10 ปีข้างหน้า คือการเมือง เราเริ่มเห็นเทรนที่ไม่เหมือนเดิมของการเมืองในพื้นที่ มีพรรคใหม่ๆเกิดขึ้น เปิดโอกาสให้คนรุ่นใหม่เข้ามาเป็น สส. มากขึ้น หลายคนทีเข้ามาเป็นนักกิจกรรมรุ่นใหม่ มีอุดมการณ์ เเละเรามีผู้หญิงเข้ามาทำงานมากขึ้น ได้รับการยอมรับมากขึ้นมีแนวโน้มที่ดีขึ้น
การเลือกตั้งครั้งนี้เรามีเสียงเท่ากัน ใช้เสียงให้คนที่คุณคิดว่าใช้ อย่าทำให้เงินไม่กี่บาทเข้ามามีส่วนในการตัดสินใจโดยส่วนตัวคิดว่าถ้าการเมืองเปลี่ยน จะทำให้ทุกอย่างเปลี่ยนทั้งเศรษฐกิจ สังคม การศึกษา สวัสดิการ