เมื่อวันที่ 29 ส.ค.65 เวลา 13.00 น. ที่ อบจ.ลำพูน ได้จัดให้มีการประชุม รับฟังความคิดเห็น “การก่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานขยะ” ที่พื้นที่เป้าหมายในการก่อสร้างครั้งนี้ ที่บริเวณ ตำบลศรีบัวบาน อ.เมืองลำพูน จ.ลำพูน พื้นที่คาบเกี่ยว บ้านศรีบัวบาน หมู่ที่ 1 และ บ้านดอนแก้ว หมู่ที่ 11
โดยการประชุม มีหมายกำหนดการประชุมที่ห้องประชุม อบจ.ลำพูน เพื่อเชิญคนลำพูนที่มีส่วนได้เสีย ร่วมแสดงความคิดเห็น
ขณะที่ชาวบ้านในในพื้นที่มีความเห็นออกเป็น 2 ฝั่งทั้งเห็นด้วยเเละไม่เห็นด้วย ซึ่งในทางเพจท้องถิ่นในจังหวัดลำพูนได้ออกมาแสดงจุดยืนต่อต้านการดำเนินการดังกล่าว เหตุ ไม่เหมาะสมกับพื้นที่ ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อคนบ้าน
โดยได้มีชาวบ้านที่เห็นด้วยทยอยมาลงทะเบียนเข้าร่วมรับฟัง ขณะที่ชาวบ้านฝั่งไม่เห็นด้วยการมีโรงไฟฟ้าพลังงานขยะ สวมเสื้อดำ เเละขอเข้าร่วมฟัง โดนเจ้าหน้าที่จะมีการห้ามไม่ให้เข้าห้องประชุม ขณะที่ในเวลาต่อมา ตัวเเทนชาวบ้านขอยื่นหนังสือและขอพูดคุยกับ นายอนุสรณ์ วงศ์วรรณ นายก อบจ.ลำพูน และขอต่อรองในการร่วมเวทีครั้งนี้
นักข่าวพลเมือง ปักหมุดรายงานสถานการณ์ : https://share.csitereport.com/share.php?post_id=0000026462
โดยตัวแทนชาวบ้านได้ทำหนังสือโดยเครือข่าย คนลำพูนไม่เอาโรงไฟฟ้าชยะ ถึงนายอนุสรณ์ วงศ์วรรณ นายก อบจ.ลำพูน ขอให้ยุติการประชุมรับฟังความคิดเห็นในการดำเนินการโครงการบริหารจัดการขยะมูลฝอยชุมชน เพื่อแปรสภาพเป็นพลังงานไฟฟ้า ไว้ก่อน เพื่อให้มีเวลาในการพูดคุยหาทางออกร่วมกัน และจัดหาพื้นที่ที่มีเหมาะสมในการก่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานขยะ เนื่องจาก
1.พื้นที่ไม่เหมาะสม เนื่องจากอยู่ใกล้ชุมชน และศูนย์ราชการต่างๆของจังหวัดลำพูน
2.อาจเกิดการแย่งชิงทรัพยากรน้ำใต้ดิน เนื่องจากตำบลศรีบัวบานเป็นพื้นที่แห้งแล้ง และปริมาณน้ำมีไม่เพียงพอในการทำเกษตร
3.อาจเกิดมลพิษกับสิ่งแวดล้อมได้ เช่น น้ำเสีย และกลิ่นเหม็น
4.อาจก่อให้เกิดปัญหาต่อสุขภาพ ระบบทางเดินหายใจ โรคเครียด และโรคมะเร็ง
5.อาจเกิดปัญหาด้านคมนาคมขนส่ง ซึ่งอาจเกิดอุบัติเหตุกับชาวบ้านได้
โครงการสร้างโรงไฟฟ้าฟลังงานขยะ
จากแผนพัฒนาจังหวัดลำพูน(พ.ศ. 2561-2565) ฉบับทบทวนปี พ.ศ. 2565 ด้านปริมาณขยะและความสามารถ ในการบริหารจัดการขยะ แต่การดำเนินการยังพบปัญหามากมาย อาทิ การกำจัดขยะมูลฝอยที่ไม่ถูกต้อง ตามหลักสุขาภิบาลในพื้นที่ชนบท สถานที่กำจัดขยะมูลฝอยไม่เพียงพอและยังไม่มีระบบการจัดการขยะในพื้นที่ ซึ่งก่อให้เกิดปัญหาเรื่องกลิ่นและเรื่องการลุกไหม้ของสถานที่ฝังกลบเป็นเหตุผลหลักเหตุผลหนึ่งของการเกิดมลพิษทางอากาศและปัญหาฝุ่นละอองในอากาศ ซึ่งเกิดขึ้นเป็นประจำทุกปี
เพื่อเป็นการป้องกันและแก้ไขปัญหาด้านปริมาณขยะและมลพิษทางอากาศเนื่องจากการเกิดไฟลุกไหม้ขยะมูลฝอยที่เกิดขึ้นเป็นประจำทุกปี องค์การบริหารส่วนจังหวัดลำพูนจึงดำเนินการโครงการบริหารจัดการขยะมูลฝอยชุมชน เพื่อแปรสภาพเป็นพลังงานไฟฟ้า ให้สามารถรองรับการจัดการขยะมูลฝอยของทั้งจังหวัด ได้โดยไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ โดยองค์การบริหารส่วนจังหวัดลำพูนรับภาระจัดการขยะมูลฝอยแทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่น ๆ ที่ไม่มีศักยภาพเพียงพอที่จะลงทุนสร้างระบบกำจัดขยะมูลฝอยที่ถูกต้องตามหลักสุขาภิบาลได้
ข้อดีโรงไฟฟ้าขยะ
– เสริมศักยภาพในการกำจัดขยะอย่างเพียงพอ ไม่ก่อให้เกิดปัญหาผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม หรือเกิดเหตุเดือดร้อนรำคาญกับชุมชนรอบโครงการ
– ผลพลอยได้ที่เป็นพลังงานไฟฟ้าจากกระบวนการกำจัด ซึ่งจะเป็นส่วนหนึ่งของการลดการนำเข้าพลังงานหรือเชื้อเพลิงจากต่างประเทศ
– ใช้พื้นที่น้อยกว่าการสร้างบ่อขยะฝังกลบ ช่วยประหยัดพื้นที่เพื่อนำไปใช้เป็นสาธารณะประโยชน์อื่น ๆ
– ลดปัญหามลพิษทั้งจากกลิ่น น้ำเน่าเสีย และเชื้อโรค เพราะโรงไฟฟ้าจำเป็นต้องมีการควบคุมมาตรฐานทำให้ไม่ส่งผลเสียต่อประชาชนและสิ่งแวดล้อม
– หากมีโรงไฟฟ้าขยะตั้งอยู่ไม่ไกลจากชุมชน จะประหยัดค่าใช้จ่ายในการขนส่งขยะไปนอกพื้นที่
ข้อเสียของโรงไฟฟ้าขยะ
ขณะที่โรงไฟฟ้าขยะบางแห่ง พบว่ามีมลพิษที่มีอันตรายสูง เช่น ไดออกซิน สารหนู แบริลเลียม แคดเมียม โครเมียม ตะกั่ว ปรอท ฝุ่นละอองขนาดเล็ก และก๊าซมีฤทธิ์เป็นกรด ที่เป็นอันตรายกับสุขภาพประชาชน ซึ่งสารที่เป็นถือว่ามีความอันตรายสูงก็คือ “สารไดออกซิน” ซึ่งเกิดจากการนำขยะไปเผาเพื่อให้เกิดความร้อนไปผลิตกระแสไฟฟ้า
“สารไดออกซิน” เป็นผลผลิตทางเคมีที่เกิดจากกระบวนการเผาไหม้ไม่สมบูรณ์ ก่อให้เกิดสารพิษที่เป็นปัจจัยของการเกิดมะเร็งและความผิดปกติในร่างกายสิ่งมีชีวิต หรืออาจมีรั่วไหลของสารพิศที่เป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อมและชุมชนอีกด้วย
อย่างไรก็ดี การจัดตั้งโรงไฟฟ้าขยะนั้นต้องพิจารณาปัจจัยและตัวแปรต่าง ๆ เช่น ขนาดของโครงการ (ปริมาณขยะที่ต้องกำจัด) ลักษณะหรือคุณสมบัติของขยะที่จะกำจัด เพื่อให้การกำจัดขยะมีประสิทธิภาพและมีต้นทุนที่ไม่เป็นภาระและส่งผลกระทบประชาชนในพื้นที่
หลายพื้นที่ของประเทศไทยมีการดำเนินการสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานขยะแล้ว แต่ที่ผ่านมาโรงงานไฟฟ้าพลังงานขยะยังถูกต่อต้านจากประชาชนในพื้นที่ เนื่องจากประชาชนโดยรอบเกิดความไม่มั่นใจในด้านการจัดการสิ่งแวดล้อม และคิดว่าการสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานขยะจะส่งผลกระทบต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อมของประชาชนในพื้นที่ ซึ่งเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้เกิดทัศนคติแง่ลบในการ ต่อโรงงานไฟฟ้าพลังงานขยะดังกล่าว อาจมีสาเหตุมาจากการประชาสัมพันธ์จากทางภาครัฐในการให้ความรู้ทำให้ประชาชนมีความกังวลเรื่องมลพิษที่เกิดขึ้นจากกระบวนการผลิต เช่นกลิ่นเหม็นของขยะเป็นแหล่งให้เกิดเชื้อโรคและก๊าซพิษจึงมีการต่อต้านการสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานขยะในพื้นที่ของแต่ละชุมชน ซึ่งทำให้หลายโครงการต้องถูกระงับการดำเนินการ
อย่างไรก็ตามการดำเนินการสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานขยะจะทำให้ขยะในพื้นที่ของประเทศไทยลดลงแต่อาจจะเพิ่มมลพิษให้กับชุมชนในพื้นที่นั้นๆเนื่องจากโรงไฟฟ้าพลังงาน เนื่องจากการสร้างโรงไฟฟ้าส่วนใหญ่เป็นผู้ประกอบการที่มาจากภาคเอกชนดำเนินการโดยธุรกิจ ที่มีจุดมุ่งหมายที่ต้องการค่าตอบแทนในการลงทุน ทำให้ผู้ประกอบการบางรายไม่ใส่ใจในการดำเนินตามระเบียบหรือกฎเกณฑ์ที่ถูกต้องในเรื่องการดูแลสิ่งแวดล้อมสังคมและชุมชนโดยรอบพื้นที่ ส่งผลให้เกิดการรั่วไหลของสารพิษที่เป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของประชาชน ดังนั้น รัฐและผู้เกี่ยวข้อง จะต้องมีการทบทวนบทบาท การดำเนินงานให้สอดคล้องกับสภาพสิ่งแวดล้อมในแต่ละพื้นที่ โดยร่วมกันเป็นแนวทางหรือมาตรการการควบคุมผู้ประกอบการทั้งสร้างความมั่นใจและลดความขัดแย้งในการสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานขยะในพื้นที่ ดังนี้
1.ควรมีการพิจารณา ควรมีการพิจารณาอย่างรอบคอบเพราะการสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานขยะต้องใช้เงินเงินทุนสูงมีค่าใช้จ่าย ในการจัดการขยะที่เหมาะสมก่อนนำไปแปรรูปเป็นพลังงานรวมถึงต้องใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย และเหมาะสมในการจัดการกลิ่นเหม็น ความฝุ่นละอองและสารเคมีเพื่อความปลอดภัยของประชาชนและเป็น และไม่เป็นมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม
2.ควรทำประชาพิจารณ์เกี่ยวกับการสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานขยะ เพื่อขอฉันทามติก่อนดำเนินการเพื่อลดความขัดแย้งและสร้างความมั่นใจให้กับประชาชนในพื้นที่
3.ควรประชาสัมพันธ์ให้ความรู้กับประชาชนในพื้นที่เกี่ยวกับนโยบายด้านพลังงานของ จากขยะของรัฐความจำเป็นหรือผลดีในการสร้างโรงไฟฟ้าขยะ
4.รัฐต้องควบคุมดูแลผู้ประกอบการและข้าราชการที่เกี่ยวข้องอย่างทั่วถึงรวมถึงมาตรการการลงโทษผู้ประกอบการและข้าราชการที่ พี่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด
5.รัฐเอื้อประโยชน์ให้กับผู้ประกอบการที่สนใจเข้าร่วมลงทุนและดำเนินการสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานขยะเพื่อเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศไทย
6.ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องต้องให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อมเพื่อให้ชุมชนอยู่ร่วมกัน อย่างมีความสุขและปลอดภัยในการดำรงชีวิต
อ้างอิง : โรงไฟฟ้าพลังงานขยะ : ทางแก้ไขปัญหาขยะล้นเมืองหรือเพิ่มมลพิษให้ชุมชน.ณิชชา บูรณสิงห์
- ติดตามความเคลื่อนไหวของการก่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานขยะ จ.ลำพูน ได้ที่ facebook fanpage : คนลำพูนไม่เอาโรงไฟฟ้าขยะ https://web.facebook.com/Nung.Jidapa/