เมื่อวันที่ 22 มิ.ย.59 พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้เดินทางมาตรวจราชการที่สนามบินอู่ตะเภา ซึ่งสนามบินอู่ตะเภาเป็นสนามบินหลักของกำลังอากาศนาวี ก่อสร้างเสร็จและเปิดใช้งานมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2509 นับจนถึงปัจจุบันสนามบินอู่ตะเภาได้เปิดใช้งานมาถึง 50 ปีแล้ว ด้วยตำบลที่ และขนาดของสนามบิน โดยเฉพาะความยาว และความแข็งแรงของทางวิ่ง (Runway) ทางขับ (Taxiway) และลานจอด (Apron) ทำให้สนามบินอู่ตะเภาสามารถรองรับอากาศยานได้ทุกประเภทแม้กระทั่งเครื่อง Airbus 380 ที่เป็นเครื่องบินโดยสารที่ใหญ่ที่สุดในปัจจุบัน หรือเครื่องบิน Antronov 225 ซึ่งเป็นเครื่องบินขนส่งที่ใหญ่ที่สุด สามารถขึ้น – ลง สนามบินอู่ตะเภาได้อย่างปลอดภัย
จากศักยภาพของสนามบินทำให้รัฐบาลได้เพิ่มวัตถุประสงค์การใช้งานสนามบินอู่ ตะเภาจากการใช้งานทางทหารเพียงอย่างเดียว เป็นให้สามารถรองรับการใช้งานทางพลเรือนได้ด้วย เริ่มจากการประกาศให้เป็นสนามบินสำรองของท่าอากาศยานดอนเมืองเมื่อ พ.ศ.2517 ต่อมาประกาศให้เป็นสนามบินศุลกากร (ใช้ขนส่งสินค้าได้) เมื่อ พ.ศ.2519 จนกระทั่งเมื่อปี พ.ศ.2532 กระทรวงคมนาคมได้ประกาศให้สนามบินอู่ตะเภาเป็นท่าอากาศยานนานาชาติโดยมีกอง ทัพเรือเป็นผู้บริหารงาน จะเห็นได้ว่าสนามบินอู่ตะเภามีฐานะเป็นท่าอากาศยานนานาชาติที่กองทัพเรือ บริหารงานมาเกือบ 30 ปีแล้ว
ท่าอากาศยานนานาชาติอู่ตะเภาได้ให้บริการกับเที่ยวบินในลักษณะต่างๆ ตามความต้องการของธุรกิจในแต่ละห้วงเวลา ทั้งการขนส่งสินค้า การขนส่งผู้โดยสารทั้งที่เป็นเที่ยวบินประจำ และเที่ยวบิน
เช่าเหมาลำในห้วงฤดูการท่องเที่ยว มีเส้นทางการบินทั้งในประเทศ และเส้นทางระหว่างประเทศไปยังทั้งยุโรป และเอเชีย มีสายการบินของทั้งไทย และต่างประเทศมาใช้บริการเสมอมา อย่างไรก็ดี จากการขยายตัวของท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ และท่าอากาศยานดอนเมือง ทำให้ผู้มาใช้บริการที่ท่าอากาศยานอู่ตะเภาเป็นผู้โดยสารที่มีจุดมุ่งหมาย เพื่อการท่องเที่ยวที่เมืองพัทยาเป็นหลัก
จากการที่สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทยได้รับการนิยมอย่างแพร่หลาย ธุรกิจท่องเที่ยวมีการขยายตัวอย่างรวดเร็วประกอบการเดินทางโดยเครื่องบิน เป็นที่นิยมมากขึ้นทำให้จำนวนผู้โดยสารที่มาใช้บริการท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ และท่าอากาศยานดอนเมืองมีความคับคั่งมากขึ้นรัฐบาลจึงมีนโยบายที่จะขยายขีด ความสามารถของท่าอากาศยานนานาชาติอู่ตะเภาให้สามารถรองรับผู้โดยสารให้มาก ขึ้น โดยการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนามคม และร่วมกับกองทัพเรือพัฒนาอาคารสถานที่ของท่าอากาศยานอู่ตะเภา นอกจากนี้การขยายตัวของอุตสาหกรรมการบินทำให้ความต้องการด้านการซ่อมบำรุง สนามบินเพิ่มมากขึ้น รัฐบาลจึงมีนโยบายต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาอุตสาหกรรมการบินของประเทศ ทั้งเรื่องการตั้งนิคมซ่อมบำรุงอากาศยาน การพัฒนาอุตสาหกรรมอากาศยานด้านต่างๆ ตามแผน New S – curve ซึ่งท่าอากาศยานอู่ตะเภาจะมีส่วนสำคัญในการพัฒนาดังกล่าว ด้วยตำบลที่ที่รายล้อมด้วยนิคมอุตสาหกรรมต่างๆ และขนาดของสนามบินดังที่กล่าวแล้วข้างต้น
กองทัพเรือตระหนักดีถึงหน้าที่ในการส่งเสริมความเจริญของประเทศ เนื่องด้วยความมั่นคงและมั่งคั่ง จะต้องได้รับการพัฒนาควบคู่กันไปอย่างสมดุลเพื่อให้มีส่วนส่งเสริมซึ่งกัน และกัน ความแข็งแกร่งด้านความมั่นคงจะทำให้ธำรงรักษาทรัพยากรไว้ได้ และสร้างความเชื่อมั่นในการลงทุน ในขณะที่ความมั่งคั่งจะทำให้ประชาชนอยู่ดีกินดี รัฐบาลมีรายได้เพียงพอสำหรับการส่งเสริมความสามารถของกองทัพในการรักษาความ มั่นคงของประเทศ กองทัพเรือจึงมุ่งมั่นที่จะใช้ศักยภาพที่มีอยู่ส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจของ ชาติอย่างเต็มความสามารถ จากตำบลที่ของสนามบินอู่ตะเภาที่อยู่ใกล้นิคมอุตสาหกรรม ใกล้พื้นที่เกษตรกรรม
ที่สำคัญของประเทศ แหล่งพลอยที่รู้จักกันทั่วโลก และใกล้ท่าเรือขนาดใหญ่หลายแห่ง ตลอดจนแหล่งท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียง ทำให้การพัฒนาท่าอากาศยานอู่ตะเภาจะมีส่วนสร้างความแข็งแกร่งให้กับเศรษฐกิจ ของประเทศอย่างยั่งยืน
นอกจากการวางแผนเพื่อรองรับนโยบายรัฐบาลในการเพิ่มความสามารถในการรับผู้ โดยสาร และการเป็นศูนย์ซ่อมอากาศยานแล้ว กองทัพเรือได้มีแนวคิดในการเสริมความแข็งแกร่งในเรื่องดังกล่าว และใช้ศักยภาพที่มีอยู่เพื่อส่งเสริมการพัฒนาอุตสาหกรรมการบินอย่างครบวงจร โดยจัดเตรียมแผนงานสำหรับการส่งเสริมให้ท่าอากาศยานอู่ตะเภาเป็นศูนย์การขน ส่งสินค้าทางอากาศ และเป็นศูนย์ฝึกบุคลากรด้านธุรกิจการบิน ทั้งการฝึกนักบิน ช่าง และบุคลากรสาขาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งหากดำเนินการได้ครบถ้วนจะทำให้ท่าอากาศยาน อู่ตะเภาเป็นท่าอากาศยานที่ให้บริการด้านอุตสาหกรรมการบินอย่างครบวงจร ทั้งนี้การวางแผนในเรื่องดังกล่าวได้คำนึงความรวดเร็วในการเริ่มดำเนินการ และการลงทุนเฉพาะในเรื่องที่จำเป็น โดยพิจารณาใช้โครงสร้างสนามบินที่มีอยู่แล้ว อาทิการจัดวางผังพื้นที่คลังสินค้าให้สามารถใช้ลานจอดเครื่องบินขนาดใหญ่ที่ มีอยู่แล้วได้ทันที และอยู่ในพื้นที่ต่อเนื่องกับศูนย์อุตสาหกรรมซ่อมอากาศยาน รวมทั้งสามารถต่อเชื่อมกับโครงข่าย
การคมนาคมภายนอกได้สะดวก การจัดวางพื้นที่ศูนย์ฝึกอบรมให้ต่อเชื่อมกับโรงซ่อมอากาศยาน และคลังขนส่งสินค้า เพื่อให้ง่ายต่อการฝึกงานของผู้เข้ารับการศึกษา รวมทั้งการจัดพื้นที่ต่างๆ ให้สามารถต่อเชื่อมกับทางวิ่ง ทางขับ และลานจอด ที่มีอยู่แล้วได้ และหากมีการก่อสร้างเพื่อขยายขีดความสามารถ เพิ่มเติมก็ไม่จำเป็นต้องหยุดการดำเนินงานที่มีอยู่แล้ว นอกจากนี้ยังได้วางแผนธุรกิจร่วมกับท่าเรือพาณิชย์สัตหีบเพื่อเชื่อมโยงการ ขนส่งทั้งสินค้า และนักท่องเที่ยวไปยังแหล่งต่างๆ ได้ จะเห็นได้ว่ากองทัพเรือ ได้ทุ่มเทอย่างเต็มที่เพื่อใช้ศักยภาพที่มีอยู่สนับสนุนแผนพัฒนาประเทศของ รัฐบาล ไม่ว่าจะเป็นการส่งเสริมอุตสาหกรรมการบิน การเชื่อมโยงการขนส่งทางถนน ทางราง ทางอากาศ และทางน้ำเข้าด้วยกัน ตลอดจนการพัฒนาทุนมนุษย์ ซึ่งล้วนเป็นปัจจัยสำคัญที่จะทำให้เศรษฐกิจพัฒนาไปอย่างมั่นคง ยั่งยืน
กองทัพเรือเชื่อมั่นว่าหากการพัฒนาพื้นที่ภาคตะวันออกโดยมีท่าอากาศยานอู่ ตะเภา และท่าเรือพาณิชย์สัตหีบ เป็นส่วนหนึ่งของแผนที่มีการเดินหน้าอย่างสอดคล้องประสานกันจะช่วยกระตุ้น ให้ประเทศไทยเป็นศูนย์การขนส่งของอาเซียนได้ในอนาคตอันใกล้
ภาพข่าว : สมนึก เชื้อสนุก 087-145-2477