เสียงจากชายแดนใต้ : 18 ปีกับการแก้โจทย์ความยากจนที่ลงไม่ถึงราก

เสียงจากชายแดนใต้ : 18 ปีกับการแก้โจทย์ความยากจนที่ลงไม่ถึงราก

2 ปีหลังพรมแดนไทย – มาเลเซีย ปิดด่านจากสถานการณ์โควิด-19  ทำให้แรงงานต้มยำกุ้งกว่า 2 แสนคน ตกงานทันที จำนวนหนึ่งยังคงว่างงานและกลับบ้านมาพึ่งพิงฐานทรัพยากร แต่การตั้งหลักในประเทศไทยมันก็ไม่ง่ายจริง ๆ หวังมากที่สุดคือการมีรายได้อยู่รอดไปวัน ๆ นั่นคืออาจสะท้อนภาพความจริงที่จับต้องได้มากที่สุด

มีข้อมูลจากสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ  วิเคราะห์ถึงสถานการณ์ความยากจน และความเหลื่อมล้ำในประเทศไทยพบว่าในปี2563  มีคนไทยจนเพิ่มขึ้นกว่า 5 แสนคน จากผลจากการระบาดโควิด-19 ที่กระทบต่อเศรษฐกิจ การจ้างงาน โดยพื้นที่ชายแดนใต้ จ.ปัตตานี ที่นั่นครองอันดับ 1ใน 10 จังหวัดประชากรรายได้น้อย ต่อเนื่องกว่า 18 ปี

โดยปี 2563 มีสัดส่วนคนจนในไทยเพิ่มขึ้น 1.5 เท่า ซึ่งคนกลุ่มนี้มีรายได้ต่ำกว่า 2,762 บาทต่อคนต่อเดือน จำนวนนี้ อันดับ 1 กระจุกตัวอยู่ในภาคใต้ รองลงมาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคเหนือ หนึ่งในจังหวัดทางใต้ที่มีคนรายได้น้อยกระจุกอยู่มาก หนี้ไม่พ้นปัตตานี ที่นั่นมีสัดส่วนคนรายได้น้อยติดในอันดับTop 10/10 อันดับแรก ต่อเนื่อง 18 ปี  ตั้งแต่ปี ‪2547-2563

จากการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนในจังหวัดชายแดนภาคใต้ (Peace Survey) ครั้งที่ 6 โดยเครือข่ายวิชาการ Peace Survey เมื่อเดือนเมษายน-พฤษภาคม 2564 ก็ยังพบว่าประชาชนร้อยละ 60.8 คิดว่าสถานการณ์ยังคงเหมือนเดิมหรือแย่ลง และที่สำคัญในครั้งนี้ ซึ่งอยู่ในช่วงเวลาของการระบาดของไวรัสโคโรน่า 2019 หรือโควิด-19 ประชาชนกลุ่มตัวอย่างได้แสดงความคิดเห็นต่อมาตรการจัดการโควิด-19 ของรัฐบาลร้อยละ 56.1 ไม่เห็นด้วยให้มีการปิดตลาด ร้อยละ 53.9 ไม่เห็นด้วยให้มีการปิดการขนส่ง

การแก้โจทย์ความจนของคนอยากมีรายได้เพิ่มในพื้นที่ชายแดนใต้ มีความพยายามดิ้นรนของประชาชน บนต้นทุนของแต่ละคนที่มี แต่เอาเข้าจริงระบบโครงสร้างของการจัดการประดับชาติจะเข้ามามีส่วนช่วยกู้ชีพปากท้องคนชายแดนใต้ได้ไหม ทีมนักข่าวพลเมืองชวนขยายภาพให้ชัดเจนมากขึ้น จากมุมมองนักวิชาการ ผศ.ดร. ศรีสมภพ จิตร์ภิรมย์ศรี นักวิจัยอาวุโสสถานวิจัยความขัดแย้งและความหลากหลายทางวัฒนธรรมภาคใต้ สถาบันสันติศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เเละคุณดนยา สะแลแม นายกสมาคมเสริมสร้างสิทธิชุมชนที่คลุกคลีกับเเรงงานไทยที่กลับบ้านมาในช่วงสถานกาณณ์โควิด

ดนยา สะแลแม นายกสมาคมเสริมสร้างสิทธิชุมชน เล่าให้ฟังว่า ในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนใต้ตอนนี้ ความลำบากยากจนเป็นปัญหาใหญ่ ตั้งแต่มีโควิด-19 พี่น้องก็ทยอยกลับมา  ตอนมาเลเซียปิดประเทศ แน่นอนว่าเป็นปัญหาที่ตามซ้อนมา นั่นคือ ปัญหาชายแดน ทำให้ยุติในเรื่องรายได้ ส่วนใหญ่ในพื้นที่สามจังหวัดมีรายได้หลักการขายแรงงานมาเลเซียด้วย ตอนนี้ประเด็นที่พี่น้องหลาย ๆ คนยังอยู่ รอความหวังที่มาเลเซียจะเปิดประเทศ หรืออาจจะไปประกอบการธุรกิจเล็ก ๆ ในมาเลเซียเหมือนเดิม ซึ่งยิ่งอยู่ความหวังยิ่งห่างไปทุกที

เดิมที่ได้ไปพูดคุยกับพี่น้องแรงงานมาเลเซีย เราเห็นว่าเขามีความถนัดเรื่องการทำครัว ทำอาหารอยู่แล้ว แต่พอกลับมาเลือกทำที่บ้าน แต่ด้วยเงื่อนไข เราก็ประสบปัญหาโควิด-19 เหมือนกัน และงานที่ทำไม่สามารถช่วยเหลือครอบครัวได้ และส่วนหนึ่งยังขาดการสนับสนุนความเหมาะสมกับงาน  ทางกลุ่มเลยคิดว่าจะทำอย่างไร คนที่มีความรู้เรื่องอาหารในพื้นที่ชายฝั่ง เพราะในพื้นที่ปัตตานีส่วนใหญ่จะเป็นผู้ประกอบการอาหาร เป็นที่มาของความถนัดตรงนี้ ว่าจะทำอย่างไร ให้เขาสามารถที่จะทำอาชีพที่เหมาะกับงานของเขา และความถนัดของเขา ภายใต้สถานการณ์โควิด-19 จะทำอย่างไร สินค้าอะไร เป็นสินค้าพรีออเดอร์ สั่งได้ สามารถเอาวัตถุดิบในท้องถิ่นมาเพิ่มมูลค่า โดยดึงเชฟที่มีความสามารถ มาอบรมให้ความรู้เขา และเปิดช่องทางตลาดใหม่ ๆ

ไม่ใช่การส่งเสริมให้ประกอบอาชีพโรงงานที่ส่งไปที่อื่น ก็เท่ากับว่าเป็นการทิ้งชุมชน โดยไม่ได้ใช้ต้นทุนทรัพยากรในพื้นที่หรือใช้ศักยภาพที่เขามี

ผศ.ดร. ศรีสมภพ จิตร์ภิรมย์ศรี นักวิจัยอาวุโสสถานวิจัยความขัดแย้งและความหลากหลายทางวัฒนธรรมภาคใต้ สถาบันสันติศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์  กล่าวกับ “ทีมนักข่าวพลเมืองว่า” การสำรวจความคิดเห็นของประชาชนในจังหวัดชายแดน ช่วงเดือน เมษายน-พฤษภาคม หน่วยงานของ Peace Surveyกระจายไปทั่วทุกพื้นที่ 160 หมู่บ้าน จำนวน 1,000 กว่าคน เป็นกลุ่มที่ตัวอย่างที่เราสุ่มมา ซึ่งค่อนข้างลงไปในระดับหมู่บ้าน ชุมชน ครัวเรือน ทำให้ได้ข้อมูลระดับพื้นฐาน เราพบว่าคนส่วนใหญ่มีรายได้ค่อนข้างต่ำมาก ที่สภาพัฒน์พบ ของเรามีรายได้ต่ำในเศรษฐกิจความยากจน ประมาณ 48.9 หรือ 49 เปอร์เซ็นต์ ถือว่าค่อนข้าง เกือบ 50 เปอร์เซ็นต์ ของคนที่มีรายได้ต่ำ ซึ่งอาชีพและรายได้ ส่วนใหญ่จะเป็นเกษตรและรับจ้าง ใกล้เคียงกันประมาณ 30 เปอร์เซ็นต์ และยิ่งมีปัญหาด้านเศรษฐกิจในช่วงโควิด-19 ที่กระทบมาก เพราะฉะนั้นคนที่มีอาชีพรับจ้าง ก็จะเพิ่มขึ้น อีกด้านหนึ่งคนว่างงาน ประมาณ 6 เปอร์เซ็นต์ ในพื้นที่ที่เราสำรวจ ถือว่าค่อนข้างสูง และมีปัญหาใหญ่มากที่ผ่านมา

18 ปี รัฐบาลก็ทุ่มงบประมาณ โดยประมาณนับตั้งแต่ปี 2547-2565 ประมาณ 480,000 กว่าล้าน นับรวมจากงบประมาณที่เกี่ยวข้อง เกือบ 500,000 ล้าน ครึ่งหนึ่งงบด้านความมั่นคง และอีกส่วนเป็นงบประมาณการพัฒนา แต่ไม่ลงไปถึงพื้นที่รากหญ้า ปัตตานีเป็นจังหวัดที่มีขีดความยากจนที่สูง งบประมาณที่ลงไปไม่ตามเป้าหมาย

จริง ๆ แล้วสถานการณ์ปากท้องชายแดนใต้มีมายาวนานตั้งแต่ปี 2547  กับการแก้ไขปัญหานโยบายภาครัฐ ที่ลงไปเยอะ รวมถึงงบประมาณ โครงการต่าง ๆ แต่ทำไมคุณภาพชีวิต ถึงไม่ดีขึ้น 

ผศ.ดร. ศรีสมภพ มองถึงการจัดลำดับความสำคัญ การให้ความสำคัญเรื่องของงบประมาณด้านความมั่นคงที่มากเป็นพิเศษในช่วงที่ผ่านมา โดยเฉพาะงบความมั่นคงจะเกี่ยวข้องกับการพัฒนาด้วย ถ้าเราดูในเอกสารงบประมาณ จะพูดเรื่องการพัฒนาด้านความมั่นคง การศึกษาเพื่อความมั่นคง จะคำพ่วงกับความมั่นคง แต่เราต้องจัดการพัฒนาโดยตรง และมาจากพื้นฐานของประชาชนด้านล่าง และกระจายอำนาจ

ดนยา มองว่างบประมาณเป็นตัวสำคัญในการพัฒนา แต่ส่วนใหญ่อาจจะไปใช้ผิดจุด ที่สำคัญที่สุดคือพัฒนาอย่างไรให้เกี่ยวกับปากท้อง จะทำอย่างไรให้เกิดกระบวนการของชุมชนเอง โดยภายใต้ทำอย่างไรให้ชุมชนจัดการตัวเองด้วย ไม่ใช่ผ่านหน่วยงานหลายขั้นตอน ตั้งแต่ระดับบน ส่วนภูมิภาค กว่าจะถึงซึ่งนานมาก อาจจะเปลี่ยนไปหลายเรื่อง เช่น ในรูปแบบของหลักการคิด นโยบายต่าง ๆ ที่มาแก้ปัญหา เพราะสุดท้ายชาวบ้านได้รับประโยชน์น้อยที่สุด และการสร้างความมั่นคงที่ประชาชนอยากเห็นมากที่สุด คือ ความมั่นคงทางอาหาร จะทำอย่างไร ที่บอกว่าทรัพยากรที่มีอยู่มาก ให้ประชาชนเข้าถึงได้จริง ไม่ใช่กระจุกอยู่กลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง และที่สำคัญที่สุด การเข้าถึงฐานทรัพยากร การส่งเสริมการจัดการที่ดิน การจัดการน้ำ ทุกอย่างมีปัญหาหมด แต่จะทำอย่างไรให้กลุ่มเหล่านี้เข้าถึงฐานทรัพยากร และกระบวนการการมีส่วนร่วมระดับไหน? แบบไหน? โดยเฉพาะกลุ่มแรงงาน กลุ่มที่ไม่สามารถเข้าถึงทรัพยากร คนที่เปราะบาง เนื่องจากภาคใต้ติด 1ใน10 จังหวัดความยากจนระดับประเทศ

มีนโนบายหรือแนวทางการพัฒนาพื้นที่รูปแบบใดบ้าง  สำหรับการแก้ปัญหาปากท้อง – โจทย์ระยะยาว

ผศ.ศรีสมภพ มองว่า มี 2 ด้านหลักๆที่เราต้องให้ความสำคัญ หนึ่งเรื่องของชุมชน ที่ต้องลงไปถึงชุมชนจริง ๆ ซึ่งแต่ละพื้นที่มีความแตกต่างกัน เกษตร ประมง หรือค้าขาย ที่เราต้องลงไปถึงความหลากหลายเหล่านี้ และประชาชนต้องมีส่วนร่วมจริง ๆ เพราะฉะนั้น โครงการต้องมาจากประชาชน มาเสียงเรียกร้องของประชาชน แล้วสร้างโครงการขึ้นมา ซึ่งไม่ใช่การรวมศูนย์อำนาจจากข้างบน หรือฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง นี่คือการพัฒนาอย่างมีส่วนร่วม และอีกด้านหนึ่ง นโยบายรัฐสวัสดิการ สวัสดิการสังคมต่าง ๆ  ต้องเป็นระบบมากกว่านี้ เพราะการที่เราศึกษาประมาณ 7 เปอร์เซ็นต์ของประชาชนที่เราศึกษา ถือบัตรสวัสดิการคนจนเยอะมาก ที่เราลงไประดับรากหญ้าประชาชนส่วนใหญ่ แสดงว่ามีความยากจนจริง ๆ ผมว่าระบบสวัสดิการในการช่วยเหลือของรัฐต้องลงไปสู่ประชาชนโดยตรง และต้องมองพื้นฐานของชุมนด้วย เพราะฉะนั้นงบประมาณหรือโครงการรัฐต้องลงไปกระตุ้นเศรษฐกิจถึงฐานรากจริง ๆ และแก้ปัญหาชีวิตของประชาชนได้จริง

ดนยา ทิ้งท้ายว่า สิ่งสำคัญที่ต้องเติมเต็ม คือ การเพิ่มทักษะ เช่นปรุงอาหาร เกิดอาการเมนูใหม่ ๆ ที่แรงงานต้มยำกุ้งปรับมาใช้ และมีพื้นที่กลางที่ให้เขาประกอบกิจการเล็ก ๆ มีการแบ่งปัน และเป็นพื้นที่พูดคุย และที่นำร่องตอนนี้ ประเด็นลุ่มน้ำสายบุรีที่มูลค่าอยู่ แต่จะทำอย่างไร ที่เพิ่มมูลค่า เพราะตอนนี้คนที่กลับมาจากมาเลเซีย เราจะทำอย่างไรให้เพิ่มศักยภาพ เราพัฒนาสิ่งเหล่านี้ โดยใช้นวัตกรรม เทคโนโลยี มหาวิทยาลัย ใช้ความรู้ป้อนเข้าไปเป็นต้นแบบและค่อย ๆ ขยายไปในรูปแบบการเรียนรู้ของชุมชน ทำอย่างไรให้การสนับสนุนของหน่วยรัฐเข้าถึงพื้นที่ลักษณะแบบนี้ และหลักสำคัญที่สุด คือการกระจายอำนาจของถิ่น หนุนเสริมให้เกิดการรวมกลุ่มกัน เกิดกองทุนในชุมชน และที่สำคัญเกิดการเรียนรู้ของชุมชนเอง

author

ปฏิทินกิจกรรม EVENT CALENDAR

เข้าสู่ระบบ