กรณีที่พี่น้องกะเหรี่ยงบ้านบางกลอย อ.แก่งกระจาน จ.เพชรบุรี จํานวน 36 ครอบครัว ประมาณ 70 คน เดินเท้ากลับใจแผ่นดิน ตั้งแต่วันที่ 9 มกราคมที่ผ่านมา จนปรากฏข่าวสารการพยายามข่มขู่ คุกคาม พี่น้องในพื้นที่ ไม่ว่าจะเป็นข่าวการสนธิกําลังกันระหว่างเจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติแก่งกระจานและทหารทัพพระยาเสือ การพยายามข่มขู่ว่าจะดําเนินการตามกฎหมายกับชาวบ้าน จนนำสู่่การเคลื่อนไหวปักหลักชุมนุมของภาคีเซฟบางกลอยที่หน้าทำเนียบตั้งแต่วันที่ 15 ก.พ.ที่ผ่านมา เพื่อเรียกร้องให้มีการลงนาม MOU เปิดกระบวนการแก้ปัญหา
พร้อมทั้งยื่นข้อเรียกร้องเร่งด่วน 3 ข้อ ได้แก่ 1. ถอนกําลังเจ้าหน้าที่ออกจากชุมชนบ้านบางกลอยทันที 2. ให้หยุดการสกัดเส้นทางการขนส่งเสบียงไปช่วยเหลือพี่น้องที่บางกลอยบน-ใจแผ่นดิน และ 3. ให้ยุติคดีของสมาชิกภาคี#SAVEบางกลอยจํานวน 10 คน ที่เข้ายื่นหนังสือถึงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เมื่อวันที่ 5 ก.พ. ที่ผ่านมา
และตกลงร่วมกันโดยมีการลงนาม MOU ร่วมกัน ในช่วงค่ำของวันที่ 16 ก.พ. โดย
- ให้ชาวบ้านกลับไปทำไร่หมุนเวียนและดำรงชีวิตวัฒนธรรมดั้งเดิมที่บ้านบางกลอยบน-ใจแผ่นดิน
- ยุติการใช้กำลังเจ้าหน้าที่เข้าไปตั้งจุดตรวจและลาดตระเวนในหมู่บ้านบางกลอยล่าง และยุติการข่มขู่ คุกคาม ใช้ความรุนแรง กับชาวบ้าน 36 ครอบครัว ที่กลับไปทำกินที่ บ้านบางกลอยบน-ใจแผ่นดิน
- ยุติการขัดขวางการส่งข้าว อาหาร สิ่งของจำเป็นให้ชาวบ้านบางกลอย
- รัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 3 สิงหาคม 2553 ที่มีแนวนโยบายฟื้นฟูวิถีชีวิตชาวกะเหรี่ยงโดยด่วน
- ชาวบ้านบางกลอยล่าง ขอให้รัฐบาล ดำเนินการจัดสรรที่ดิน ที่อยู่อาศัย ที่ทำกินให้เพียงพอต่อการดำรงชีพได้อย่างมั่นคง
- รัฐบาลต้องยุติการสนธิกำลังเจ้าหน้าที่ที่ ตั้งจุดสกัด ลาดตระเวน ตรวจค้น สร้างแรงกดดัน หวาดกลัวแก่ชาวบ้านและให้มีมาตรการคุ้มครองสวัสดิภาพ ความปลอดภัยของชาวบ้านบางกลอย
ต่อมาในช่วงสายของวันนี้ ชาวบ้านบางกลอย – ใจแผ่นดิน เดินทางกลับบ้านหลังได้รับหนังสือลงนามบันทึกข้อตกลงแก้ปัญหาบ้านบางกลอย-ใจแผ่นดิน จนกระทั่งล่าสุดเมื่อเวลาประมาณ 17:00 น. มีรายงานว่า ชาวบ้านบางกลอย – ใจแผ่นดิน ที่เดินทางกลับบ้าน ถูกเจ้าหน้าที่บริเวณด่านสกัดแม่มะเร็ว ทางขึ้นชุมชนบ้านบางกลอย อ.แก่งกระจาน จ.เพชรบุรี ต่อมาทราบว่าเป็นเจ้าหน้าที่ชุดพญาเสือสกัดชาวบ้านที่กลับจากชุมชนภาคี #saveบางกลอย อ้างให้ทำประวัติก่อนจึงจะอนุญาตให้ขึ้นได้
พร้อมกันนี้ในวันเดียวกัน เครือข่ายนักวิชาการ-นักวิจัยกว่า 200 คน ได้ลงนามในแถลงการณ์เรียกร้องให้รัฐและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ยึดข้อเท็จจริงตามหลักกฎหมายคลี่คลายประเด็นข้อพิพาทและการจัดการอย่างมีส่วนร่วม
แถลงการณ์ต่อกรณีชุมชนกะเหรี่ยงบางกลอยคืนถิ่นใจแผ่นดิน โดย เครือข่ายนักวิชาการ
จากกรณีการตัดสินใจกลับไปยังบริเวณหมู่บ้านใจแผ่นดินของกลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยงแห่งผืนป่าแก่งกระจาน ดังที่ปรากฏเป็นข่าวตั้งแต่ช่วงกลางเดือนมกราคมที่ผ่านมานั้น กำลังอยู่ในความสนใจของสังคม อาทิ กระแสชวนติดตามเรื่องดังกล่าวในโซเชียลมีเดียผ่าน #saveบางกลอย และเกิดความเคลื่อนไหวของกลุ่มประชาชนที่ห่วงใยต่อสถานการณ์ดังกล่าวและพยายามนำเสนอข้อมูลสร้างความเข้าใจต่อสาธารณะอย่างต่อเนื่อง รวมถึงมีการระดมข้อเสนอต่อแนวทางการแก้ไขปัญหาจากหลายภาคส่วน แต่ยังคงมีข้อกังวลเกี่ยวกับความไม่ชัดเจนในแนวทางแก้ไขปัญหาจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและยังปรากฏข่าวปฏิบัติการของหน่วยงานรัฐที่มีแนวโน้มสุ่มเสี่ยงที่อาจนำไปสู่เงื่อนไขความขัดแย้งเพิ่มเติมและไม่นำไปสู่การแก้ปัญหาอย่างที่ควรจะเป็น
กรณีปัญหาที่เกิดขึ้นกับชุมชนกะเหรี่ยงใจแผ่นดิน คือหนึ่งในภาพสะท้อนปัญหาใหญ่ของประเทศที่ฝังรากลึก กลายเป็นปัญหาที่กดทับสร้างผลกระทบให้กับสังคมไทยมายาวนาน โดยเฉพาะกับกลุ่มประชาชนที่อาศัยอยู่กับฐานทรัพยากรธรรมชาติ ที่จำนวนมากคือกลุ่มชนชาติพันธุ์อันหลากหลายที่เคลื่อนย้ายและอยู่อาศัยเป็นชุมชนเก่าแก่หรือชุมชนดั้งเดิม เช่นเดียวกับกรณีชุมชนกะเหรี่ยงใจแผ่นดินแห่งผืนป่าแก่งกระจานที่มีความเกี่ยวข้องกับข้อมูลในหลายมิติ ทั้งในเชิงประวัติศาสตร์ของพื้นที่ ปัญหากฎหมายและนโยบายการจัดการทรัพยากรธรรมชาติของรัฐ การจัดการพื้นที่ความมั่นคงชายแดน ปฏิบัติการของหน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้อง ปัญหาด้านสิทธิมนุษยชน สิทธิชุมชนท้องถิ่น อคติทางชาติพันธุ์หรือแม้กระทั่งขบวนการเคลื่อนไหวของกลุ่มผู้ได้รับผลกระทบหรือกลุ่มประชาชนที่เรียกร้องการแก้ไขปัญหา ซึ่งไม่สามารถมองเพียงมิติใดหนึ่งหรือเลือกที่จะมองอย่างตัดตอนได้ โดยเฉพาะบริบททางประวัติศาสตร์ กรณีนี้จึงเป็นมากกว่าแค่เรื่องเฉพาะของชุมชนกะเหรี่ยงแห่งป่าแก่งกระจาน แต่คือประเด็นที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับสิทธิมนุษยชน อำนาจรัฐและความเป็นธรรมในสังคมไทยที่ต้องร่วมกันติดตาม
ข้อเท็จจริงสำคัญหลายประการที่ต้องสร้างความเข้าใจร่วมกันเพื่อนำไปสู่กระบวนการแก้ไขปัญหาอย่างเหมาะสม ได้แก่
1) ชุมชนกะเหรี่ยงใจแผ่นดินคือชุมชนท้องถิ่นดั้งเดิมที่ปรากฏหลักฐานชัดเจนว่าอยู่อาศัยในพื้นที่อย่างน้อยตั้งแต่ พ.ศ.2455 ตามข้อมูลของกรมแผนที่ทหารและถูกแนวเขตป่าอุทยานแห่งชาติแก่งกระจานประกาศทับพื้นที่ชุมชนเมื่อ พ.ศ.2524
2) พ.ศ.2539 อุทยานแห่งชาติแก่งกระจานและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เข้าอพยพชาวบ้านกว่า 57 ครอบครัว มาอยู่ที่หมู่บ้านจัดตั้งใหม่หรือบริเวณบ้านโป่งลึกและบ้านบางกลอย ในพื้นที่ตำบลห้วยแม่เพรียง อำเภอแก่งกระจาน จังหวัดเพชรบุรี แต่เมื่อไม่สามารถเพาะปลูกข้าวและพืชอาหารตามระบบไร่หมุนเวียนเช่นเดิมได้ บางส่วนจึงจำเป็นต้องย้ายกลับขึ้นไปยังบ้านใจแผ่นดิน รวมถึงครอบครัวของ “ปู่คออี้” ผู้อาวุโสที่เป็นผู้นำจิตวิญญาณของชุมชน ที่ตัดสินใจกลับคืนสู่ถิ่นเดิมที่บ้านใจแผ่นดิน
3) พ.ศ.2553-2554 หน่วยงานรัฐภายใต้ “ยุทธการตะนาวศรี” ได้เข้าปฏิบัติการจนเกิดภาพความรุนแรงปรากฎสู่สาธารณะจนเป็นประเด็นถกเถียงอย่างเข้มข้นในสังคม โดยเฉพาะภาพของการเผาทำลายบ้านและยุ้งฉางข้าว การจับกุมดำเนินคดี
4) พ.ศ.2557 เหตุการณ์การหายตัวไปของนายพอละจี รักจงเจริญ หรือบิลลี่ ซึ่งเป็นหลานชายของปู่คออี้ ที่ต่อมาพบหลักฐานชิ้นส่วนกระดูกในถังน้ำมันที่ถูกถ่วงทิ้งอยู่ในแม่น้ำในเขตอุทยานแห่งชาติแก่งกระจานมีผลการตรวจสอบ DNA เบื้องต้นนั้นตรงกับมารดาของบิลลี่ ซึ่งยังอยู่ในกระบวนการในทางคดี
5) พ.ศ.2559 ศาลปกครองสั่งให้ผู้ถูกฟ้องคดี คือกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่ปู่โคอิหรือคออี้ มีมิและชาวบ้านรวม 6 คน กรณีพนักงานเจ้าหน้าที่ของกรมอุทยานแห่งชาติเข้าดำเนินการรื้อถอนเผาททำลายทรัพย์สินและสิ่งปลูกสร้างที่ใช้อยู่อาศัย
6) การชดเชยเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบหรือแนวทางจัดสรรที่ดินทำกิน ที่อยู่อาศัยใหม่ไม่สามารถตอบสนองต่อการดำรงชีวิตได้อย่างเหมาะสม ข้อมูลที่ถูกสื่อสารจากกลุ่มชาวบ้านที่ตัดสินใจเดินทางกลับไปยังที่ตั้งชุมชนเดิมบริเวณบ้านใจแผ่นดิน สะท้อนว่าการดำรงชีวิตภายหลังถูกบังคับให้อพยพลงในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา ยังมีกลุ่มที่ไม่ได้รับการจัดสรรที่ดินอย่างเหมาะสม ไม่สามารถทำการเกษตรในระบบไร่หมุนเวียนเช่นเดิมได้ ต้องทนฝืนเลี้ยงชีพด้วยความลำบาก ต้องพึ่งพาการหารายได้จากงานรับจ้างซึ่งไม่เพียงพอต่อการยังชีพ โครงการพัฒนาอื่นจากหน่วยงานภาครัฐไม่สามารถสร้างความมั่นคงในคุณภาพชีวิตที่ดีได้เมื่อเปรียบเทียบกับการอยู่อาศัยในพื้นที่ชุมชนเดิมในใจแผ่นดิน ประกอบกับวิกฤตโรคระบาดโควิด-19 ที่ส่งผลให้ชาวบ้านที่ต้องพึ่งพาการออกไปรับจ้างหารายได้นอกชุมชนไม่สามารถทำได้
7) วิถีจารีตและความเชื่อของคนกะเหรี่ยง กรณีการเสียชีวิตของผู้อาวุโสที่เป็นดั่งผู้นำทางจิตวิญญาณของชุมชนอย่างปู่คออี้ มีความจำเป็นที่จะต้องทำพิธีกรรมส่งดวงวิญญาณด้วยข้าวจากถิ่นใจแผ่นดินที่ต้องปลูกโดยลูกหลานเพื่อส่งดวงวิญญาณไปสู่สุคติ
จากข้อเท็จจริงดังกล่าว จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ทุกภาคส่วนในสังคมต้องสร้างความเข้าใจและความตระหนักร่วมกันในการปกป้องเพื่อนมนุษย์และรักษาหลักการในการอยู่ร่วมกันภายใต้ความเป็นนิติรัฐที่เป็นธรรมและหลักการสิทธิมนุษยชนที่เป็นสากล โดยในระยะเร่งด่วน หน่วยงานภาครัฐต้องยุติปฏิบัติการหรือการดำเนินการใดๆ ที่จะเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน ละเมิดกฎหมาย หยุดขยายช่องว่างความไม่เป็นธรรมระหว่างรัฐกับประชาชนหรือระหว่างประชาชนด้วยกันเองและหลีกเลี่ยงการแสดงท่าทีที่อาจกลายเป็นเงื่อนไขความขัดแย้งซ้ำเติมปัญหา ควรเร่งใช้กลไกการทำงานร่วมจากหลายภาคส่วนที่มีอยู่ให้เกิดแนวทางการแก้ไขปัญหาอย่างสันติอารยะ
“ไม่ว่าจะเป็นชนชาติพันธุ์ใดในสังคมไทย ย่อมต้องถูกคุ้มครองปกป้องไว้ซึ่งศักดิ์ศรีความเป็นคน ดำรงไว้ซึ่งมนุษยธรรมและสิทธิในการอยู่อาศัย ดำรงวิถีชีวิตได้อย่างเสมอภาค”
เครือข่ายนักวิชาการ
17 กุมภาพันธ์ 2564
รายนาม #ผู้ร่วมลงนาม 1. ชยันต์ วรรธนะภูติ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 2. อานันท์ กาญจนพันธุ์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 3. เก่งกิจ กิติเรียงลาภ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 4. ชัยพงษ์ สำเนียง ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร 5. ทับทิม ทับทิม นักวิจัยสมทบ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 6. ศรันย์ สมันตรัฐ สถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาเกษตรศาสตร์ 7. ธนิต โตอดิเทพย์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา 8. ชาญณรงค์ บุญหนุน เครือข่ายนักวิชาการด้านปรัชญาและพุทธศาสนา 9. อรรคณัฐ วันทนะสมบัติ สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 10. ภาสกร อินทุมาร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 11. มนตรา พงษ์นิล คณะรัฐศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา 12. งามศุกร์ รัตนเสถียร สถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล 13. ประภาส ปิ่นตบแต่ง คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 14. เดชรัต สุขกำเนิด 15. บุศรินทร์ เลิศชวลิตสกุล 16. อังกูร หงษ์คณานุเคราะห์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 17. อันธิฌา แสงชัย 18. คมลักษณ์ ไชยยะ 19. เกียรติศักดิ์ บังเพลิง คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม 20. วีรบูรณ์ วิสารทสกุล วิทยาลัยพัฒนศาสตร์ ป๋วย อึ๊งภากรณ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 21. นาตยา อยู่คง คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร 22. เอกพลณัฐ ณัฐพัทธนันท์ คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร 23. ยุกติ มุกดาวิจิตร คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 24. ปิ่นแก้ว เหลืองอร่ามศรี คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 25. สร้อยมาศ รุ่งมณี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 26. อุเชนทร์ เชียงเสน สำนักวิชารัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ 27. อรอนงค์ ทิพย์พิมล คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 28. ธนาวิ โชติประดิษฐ มหาวิทยาลัยศิลปากร 29. พิสิษฏ์ นาสี คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 30. อะมีมะ แซ่จู 31. นิติพงศ์ สำราญคง 32. พงศกร สงวนศักดิ์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา เชียงใหม่ 33. กิติมา ขุนทอง มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร 34. นัทมน คงเจริญ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 35. ดรุณี ไพศาลพาณิชย์กุล มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 36. พนิดา อนันตนาคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 37. สินธุ์สวัสดิ์ ยอดบางเตย 38. ณีรนุช แมลงภู่ มหาวิทยาลัยศิลปากร 39. สุดแดน วิสุทธิลักษณ์ คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 40. กฤติยาพร วงษา แผนงานพัฒนาที่ยั่งยืนอย่างครอบคลุมแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 41. พิพัฒน์ สุยะ ภาควิชาปรัชญา คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร 42. โสพิน โตธิรกุล คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ 43. ณิชา โตวรรณเกษม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ 44. มนัส จินตนะดิลกกุล นักวิชาการอิสระ 45. ณัฏฐาพงศ์ อภิโชติเดชาสกุล คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา 46. ธีรวุธ กล่อมแล้ว 47. พิเชฐ สายพันธ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 48. พลอยศรี โปราณานนท์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 49. ภารดี ธรรมาภิชัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 50. พงษ์พันธ์ สุขสุพันธ์ มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ 51. พรชัย นาคสีทอง คณะมนุษย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ สงขลา 52. สุธิดา วิมุตติโกศล คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 53. เสาวณิต จุลวงศ์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 54. บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 55. กษมาพร แสงสุระธรรม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 56. ธนพฤกษ์ ชามะรัตน์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 57. ภัควดี วีระภาสพงษ์ 58. ปวินท์ ระมิงค์วงศ์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา 59. เอกสิทธิ์ หนุนภักดี คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 60. ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 61. ทัศนัย เศรษฐเสรี คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 62. จิราพร เหล่าเจริญวงศ์ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 63. ณภัค เสรีรักษ์ นักวิจัยอิสระ 64. พิชญาภา สิริเดชกุล คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร 65. พวงทอง ภวัครพันธุ์ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 66. เสาวนีย์ ตรีรัตน์ อเลกซานเดอร์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี 67. คารินา โชติรวี นักวิชาการอิสระ 68. นฤมล กล้าทุกวัน สำนักวิชารัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ 69. บุญเลิศ วิเศษปรีชา คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 70. สาวิตร ประเสริฐพันธ์ุ คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 71. วิศิษย์ ปิ่นทองวิชัยกุล คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทเกษม 72. ธีระพล อันมัย คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี 73. อนุสรณ์ อุณโณ คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 74. สุรพศ ทวีศักดิ์ นักวิชาการอิสระ 75. โอฬาร ถิ่นบางเตียว รัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา 76. รุ้งนภา ยรรยงเกษมสุข รัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา 77. คงสัจจา สุวรรณเพ็ชร คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 78. พิเชฐ แสงทอง คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ 79. อาจินต์ ทองอยู่คง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 80. ธำรงศักดิ์ เพชรเลิศอนันต์ 81. พิมพ์ปฏิมา นเรศศิริกุล 82. สุนทร สุขสราญจิต คณะรัฐศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา 83. ยศวีร์ ดวงจิตต์เจริญ ม.บูรพา 84. ษัษฐรัมย์ ธรรมบุษดี วิทยาลัยสหวิทยาการ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 85. อัจฉริยา ชูวงศ์เลิศ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร 86. พลภัทร เจริญเวียงเวชกิจ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 87. เฉลิมพล โตสารเดช 88. ศิวพล ชมภูพันธ์ุ สาขาวิชารัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช 89. รัตนา โตสกุล ข้าราชการบำนาญ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 90. วินัย ผลเจริญ วิทยาลัยการเมืองการปกครอง มหาวิทยาลัยมหาสารคาม 91. ชัชวาล ปุญปัน ข้าราชการบำนาญ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 92. พงษ์ศักดิ์ รัตนวงศ์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 93. พุทธพล มงคลวรวรรณ ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง 94. ธวัช มณีผ่อง คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี 95. ทสิตา สุพัฒนรังสรรค์ สาขาวิชารัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช 96. ธิกานต์ ศรีนารา ภาควิชาประวัติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 97. สมใจ สังข์แสตมป์ 98. เยาวนิจ กิตติธรกุล มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ 99. อลิสา หะสาเมาะ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี 100. วันพิชิต ศรีสุข มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ 101. ตามไท ดิลกวิทยรัตน์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 102. อุบลรัตน์ ศิริยุวศักดิ์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 103. จักรกริช สังขมณี รั ฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 104. กิตติ วิสารกาญจน สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ ม.ศิลปากร 105. สรพจน์ เสวนคุณากร คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี 106. จิรธร สกุลวัฒนะ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 107. วิริยะ สว่างโชติ นักวิชาการอิสระ 108. ถนอม ชาภักดี ขอนแก่นแมนิเฟสโต้ 109. ธเนศ อาภรณ์สุวรรณ นักวิชาการอิสระ 110. พลภัทร เจริญเวียงเวชกิจ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 111. เกศศิรินทร์ มัธยทรัพย์ โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล 112. สาวตรี สุขศรี คณะนิติศาสตร์ ธรรมศาสตร์ 113. ชาญคณิต อาวรณ์ นักวิชาการอิสระ 114. แพร ศิริศักดิ์ดำเกิง มหาวิทยาลัยศิลปากร 115. เบญจรัตน์ แซ่ฉั่ว สถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล 116. เคท ครั้งพิบูลย์ คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 117. อภิญญา เวชยชัย นักวิชาการอิสระ 118. กนกวรรณ มะโนรมย์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี 119. รพีพรรณ เจริญวงศ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 120. สืบสกุล กิจนุกร สำนักวิชานวัตกรรมสังคม มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง 121. อุบลวรรณ ชัยมงคล นักศึกษาคณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล 122. ณัชปภา วาสิงหน มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี 123. วสันต์ ปัญญาแก้ว คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 124. พงศกร เฉลิมชุติเดช 125. ธัชชนก สัตยวินิจ มหาวิทยาลัยบูรพา 126. จิรยุทธ์ สีม่วง มหาวิทยาลัยบูรพา 127. กัมปนาท เบ็ญจนาวี นักวิชาการอิสระ 128. เชาวฤทธิ์ เชาว์แสงรัตน์ นักวิชาการ 129. ธนากร อัฏฐ์ประดิษฐ์ 130. ธนศักดิ์ สายจำปา รัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช 131. กิ่งกาญจน์ สำนวนเย็น คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี 132. อนุรัตน์ ฝันถึงถูมิ คณะรัฐศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา 133. จักรสิน น้อยไร่ภูมิ สถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ 134. วริตตา ศรีรัตนา คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 135. ทวีลักษณ์ พลราชม มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ 136. กันต์ฌพัชญ์ อยู่อำไพ นักวิชาการอิสระ 137. ดวงมน จิตร์จำนงค์ ข้าราชการบำนาญ ม.สงขลานครินทร์ปัตตานี 138. ณัฐกานต์ อัครพงศ์พิศักดิ์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม 139. สมิทธิรักษ์ จันทรักษ์ นักวิชาการอิสระ 140. อลิสา หะสาเมาะ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ปัตตานี 141. คณิต เชื้อดวงผุย คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยนครพนม 142. ณรงค์ฤทธิ์ สุมาลี นักวิชาการ 143. สุวิชชา พักกระสา ชิลแลนเดอร์ 144. ฐากูร สรวงศ์สิริ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี 145. พิพัฒน์ กระแจะจันทร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 146. ณรงค์ อาจสมิติ สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย มหาวิทยาลัยมหิดล 147. ศักรินทร์ ณ น่าน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา น่าน 148. จารุวรรณ ขำเพชร มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร 149. ประจักษ์ ก้องกีรติ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 150. พรรษาสิริ กุหลาบ นิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 151. ราม ประสานศักดิ์ ศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี 152. ศิริจิต สุนันต๊ะ สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย มหาวิทยาลัยมหิดล 153. ธนศักดิ์ โพธิ์ศรีคุณ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี 154. เนตรดาว เถาถวิล มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี 155. อลิสา หะสาเมาะ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ปัตตานี 156. พรณี เจริญสมจิตร์ ข้าราชการบำนาญ มหาวิทยาลัยศิลปากร 157. นราสิทธิ์ วงษ์ประเสริฐ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี 158. ฉันท์หทัย อาจอ่ำ ข้าราชการบำนาญ ม.มหิดล 159. โสรัจจ์ ประวีณวงศ์วุฒิ มหาวิทยาลัยนครพนม 160. วิสิฏฐ์ คิดคำส่วน คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนครพนม 161. สุนี ไชยรส วิทยาลัยนวัตกรรมสังคม มหาวิทยาลัยรังสิต 162. ปริญญา เทวานฤมิตรกุล มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 163. ดร.ภัทรมน สุวพันธุ์ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต 164. ไชยณรงค์ เศรษฐเชื้อ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม 165. ผศ.ดร.สุวิชาน พัฒนาไพรวัลย์ วิทยาลัยโพธิวิชชาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ 166. ผศ.พิมพ์ณัฐชยา สัจจาศิลป์ วิทยาลัยนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต 167. บุญส่ง ชเลธร อาจารย์มหาวิทยาลัย 168. อาภา หวังเกียรติ มหาวิทยาลัยรังสิต 169. โอฬาร อ่องฬะ นักวิชาการด้านรัฐศาสตร์ 170. ลัดดา ประสพสมบัติ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ 171. พจนา มณฑีรรัตน์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ 172. เปรมวดี กิรวาที มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ 173. โฆษิต ไชยประสิทธิ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ 174. บดินทร์ สายแสง สถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล 175. รศ.ดร.จตุรงค์ บุณยรัตนสุนทร คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์และสวัสดิการสังคม มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ 176. ศิววงศ์ สุขทวี กลุ่มศาลายาเนี่ยน 177. ชัชชัย คุ้มทวีพร มหาวิทยาลัยรังสิต 178. สุรินทร์ อ้นพรหม นักวิชาการอิสระ 179. อนุชิต สิงห์สุวรรณ นักวิชาการ 180. อรัญญา ศิริผล มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 181. วิสิฏฐ์ คิดคำส่วน คณะศิลปะศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนครพนม 182. โสรัจจ์ ประวีณวงศ์วุฒิ มหาวิทยาลัยนครพนม 183. อาจารย์ ดร.มุกดาวรรณ ศักดิ์บุญ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 184. ดร.สานิตย์ แสงขาม 185. สมบูรณ์ ทองบุราณ 186. กฤษณ์ ขำทวี 187. ผศ.ดร.มาลี สิทธิเกรียงไกร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 188. รศ.ดร.อัมพร จิรัฐติกร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 189. ผศ.ดร.อารตี อยุทธคร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 190. ผศ.ดร.ประสิทธิ์ ลีปรีชา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 191. อาจารย์ ดร.สิญา อุทัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม 192. ดร. ประเสริฐ ตระการศุภกร นักวิชาการอิสระ 193. ดร.อลิสา หะสาเมาะ ม.อ.ปัตตานี 194. นพ.นิรันดร์ พิทักษ์วัชระ อดีตกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ 195. นายสุวิทย์ กุหลาบวงษ์ 196. เอกรินทร์ พึ่งประชา มหาวิทยาลัยศิลปากร 197. วรวิทย์ เจริญเลิศ สำนักวิชารัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ 198. ธนรัตน์ มังคุด สำนักวิชารัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ 199. ดโชพล เหมนาไลย คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 200. กำพล จำปาพันธ์ นักวิชาการด้านประวัติศาสตร์ 201. ชนิดา ชิตบัณฑิตย์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร 202. อาจารย์บุญส่ง วิทยาลัยนวัตกรรมสังคม ม.รังสิต |