ภาคประชาสังคมร้องการมีส่วนร่วมในกระบวนการร่างแผนปฏิบัติการแห่งชาติว่าด้วยธุรกิจกับสิทธิมนุษยชน (แผนฯ) ไม่ทำแค่เป็นพิธีการ พร้อมจี้รัฐบาลไทยทำตามสัญญาที่ได้มอบไว้กับสหประชาชาติ
23 ส.ค. 2561 เครือข่ายธุรกิจกับสิทธิมนุษยชนแห่งประเทศไทย ซึ่งเป็นการรวมตัวกันของนักปกป้องสิทธิมนุษยชนจากกลุ่มองค์กรสิทธิมนุษยชนจากชุมชน ภาคประชาสังคม นักวิชาการ และผู้เชี่ยวชาญ จัดแถลงข่าว “เสียงที่ถูกเพิกเฉย: เราไม่ได้เงียบ คุณแค่ไม่ได้ฟัง” ที่ Sofinspace สยามสแควร์ กรุงเทพมหานคร เพื่อยืนยันสิทธิของชุมชนที่รัฐควรรับฟังในขั้นตอนกระบวนการร่างแผนปฏิบัติการแห่งชาติว่าด้วยธุรกิจกับสิทธิมนุษยชน (แผนฯ) และเรียกร้องให้รัฐบาลไทยทำตามสัญญาที่ได้มอบไว้กับสหประชาชาติ
สืบเนื่องมาจาก กลไกการทบทวนสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ (UPR) ที่ได้จัดขึ้นเป็นครั้งที่ 2 เมื่อเดือน พ.ค. 2559 ที่สหประชาชาติ นครเจนีวานั้น รัฐบาลได้ระบุถึงความตั้งใจที่จะพัฒนาแผนปฏิบัติการแห่งชาติว่าด้วยธุรกิจกับสิทธิมนุษยชน (แผนฯ) ภายในเดือน ก.ย. 2561 โดยในระหว่างกระบวนการร่างแผนนั้น เสียงจากชุมชนผู้ได้รับผลกระทบจากการละเมิดสิทธิมนุษยชนได้มีการมอบข้อเสนอแนะที่เป็นรูปธรรมให้แก่รัฐบาล แต่ข้อเสนอแนะเหล่านั้นกลับถูกเพิกเฉยจากรัฐบาล
Press Conference: "Community voices: We are not quiet, you are just not listening"
Press Conference: "Community voices: We are not quiet, you are just not listening"
Manushya Foundationさんの投稿 2018年8月22日水曜日
ทั้งนี้ การแถลงข่าวมีการอภิปรายในหัวข้อต่าง ๆ ได้แก่ การละเมิดมาตรฐานแรงงาน, การค้ามนุษย์, การทำงานในสภาพแวดล้อมที่ไม่เป็นธรรมกับผู้อพยพ, การกำหนดความผิดทางอาญาแก่ผู้ขายบริการทางเพศ, การลงทุนไทยและข้อตกลงทางการค้าที่ละเมิดสิทธิมนุษยชน, นโยบายการเลือกปฏิบัติ (ต่อผู้หญิง กลุ่มบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศ ชนกลุ่มน้อยทางศาสนา กลุ่มผู้ที่อยู่ร่วมกับเอชไอวี* และกลุ่มบุคคลที่มีความพิการ) และการปกป้องนักปกป้องสิทธิมนุษยชน เป็นต้น
จากนั้น กลุ่มผู้ร่วมประชุมได้แถลงข่าวข้อเรียกร้องให้รัฐบาลแสดงถึงความจริงใจและความโปร่งใสในกระบวนการขั้นตอนการร่างแผนปฏิบัติการแห่งชาติว่าด้วยธุรกิจและสิทธิมนุษยชน (แผนฯ) และด้วยความเคารพต่อกระบวนการและเนื้อหา รายละเอียด ดังนี้
Official Statement of the Thai BHR Network at the CSO Consultation for the Thai Draft NAP on BHR, 23 Augsut 2018, Bangkok
Manushya Foundationさんの投稿 2018年8月23日木曜日
ประเทศไทย: ขอเรียกร้องให้รัฐบาล
แสดงถึงความจริงใจและความโปร่งใสในกระบวนการขั้นตอน
การร่างแผนปฏิบัติการแห่งชาติว่าด้วยธุรกิจและสิทธิมนุษยชน (แผนฯ)
และด้วยความเคารพต่อกระบวนการและเนื้อหา
23 สิงหาคม 2561, กรุงเทพฯ
พวกเรา เครือข่ายธุรกิจและสิทธิมนุษยชนแห่งประเทศไทยขอแสดงความกังวลต่อความไม่จริงใจและการไม่มีซึ่งความโปร่งใสซึ่งได้แสดงออกโดยรัฐบาลไทยในขั้นตอนกระบวนการร่างแผนฯ ถึงแม้ว่าวันนี้เรายินดีกับการริเริ่มของรัฐบาลไทยกับคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งประเทศไทย UNDP และ OHCHR ที่ได้ร่วมจัดการปรึกษาหารือในการร่างแผนฯ เราขอเรียกร้องให้รัฐบาลไทยทำให้มั่นใจว่าจะมีความโปร่งใสในกระบวนการร่างแผนฯ และความจริงใจในการนำข้อมูลที่ได้มาจากชุมชนมาใช้ในประเด็นที่สำคัญ รวมถึงความท้าทาย ข้อเสนอแนะและการปฏิบัติการเพื่อนำไปใช้จริง
รัฐบาลไทย ในการตอบรับของกระบวนการ UPR ครั้งที่ 2 ในปี 2559 มีความตั้งใจที่จะพัฒนาแผนฯ ให้แล้วเสร็จภายใน 2561 ในส่วนนี้ พวกเราได้จัดการปรึกษาหารือหลายครั้งเพื่อการพัฒนาฐานข้อมูลที่เป็นอิสระในระหว่างเดือนมกราคม 2560 ถึง มีนาคม 2561 ในการประชุมทั้งหมดนี้ พวกเราได้แบ่งปันข้อเสนอแนะจากองค์กรของเราและชุมชนที่ได้รับผลกระทบที่สามารถนำไปใช้ได้ในแผนฯ และนั่นก็เป็นที่มาของเครือข่ายธุรกิจและสิทธิมนุษยชนแห่งประเทศไทย เพื่อที่จะร่วมมือกันในกระบวนการร่างแผนฯ และเพื่อให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ของมูลนิธิมานุษยะเพื่อที่จะเป็นการประกันว่าเสียงของชุมชนและผู้ที่ได้รับผลกระทบจะถูกได้ยิน และพวกเขาจะต้องเป็นศูนย์กลางในการร่างแผนฯ
ถึงแม้ว่า ปัญหาต่างๆ จะถูกพูดถึงหลายครั้ง ซ้ำๆ ให้กับรัฐ ในเวทีรับฟังความคิดเห็นต่างๆ ร่างแผนฯ ยังคงละเลยชุมชนผู้ได้รับผลกระทบ ละเลยข้อกังวลสำคัญต่างๆ และกล่าวถึงเพียงข้อเสนอเดิมๆ ที่อ้างว่าจะแก้ปัญหาธุรกิจกับสิทธิมนุษยชนอย่างแท้จริงได้ ร่างแผนฯ จึงไม่สะท้อนถึงการมีส่วนร่วมของเราในขั้นตอนต่างๆ และความใส่ใจของรัฐที่จะจัดทำแผนที่ปฏิบัติได้จริง ที่สำคัญกว่านั้นในช่วงที่ผ่านมา เจ้าหน้่าที่ของรัฐได้ขัดขวางความพยายามต่างๆ ในการสร้างการมีส่วนร่วมที่มีความหมายในขั้นตอนต่างๆ โดยสื่อสารข้อมูลเกี่ยวกับกระบวนการรับฟังความคิดเห็นโดยใช้ช่องทางที่ไม่เป็นทางการ หรือไม่สื่อสารเลย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ไม่มีการแจ้งล่วงหน้าสำหรับการทบทวนตรวจสอบร่างของแผนฯ ซึ่งเป็นการละเลยการมีส่วนร่วมของชุมชนผู้ได้รับผลกระทบโดยสิ้นเชิง มีความพยายามที่จะแก้ไขร่างแผนฯ โดยละเลยข้อท้าท้ายที่เผชิญอยู่โดยไม่กล่าวถึงขั้นตอนการปฏิบัติตามข้อเสนอแนะที่ชัดเจน และจัดเวทีการรับฟังความคิดเห็นเพียงแค่วันเดียว และหลงลืมความสำคัญของกระบวนการต่างๆ ในการทำแผนปฏิบัติการระดับชาติว่าด้วยธุรกิจและสิทธิมนุษยชนของประเทศ
พวกเราขอเรียกร้องให้กระทรวงยุติธรรมของรัฐบาลไทย ซึ่งเป็นผู้นำในการร่างแผนฯ ได้ดำเนินการตามขั้นตอนเพื่อรับรองว่าจะมีการมีส่วนร่วมที่มีประสิทธิภาพในการร่างแผนที่น่าเชื่อถือ:
- ทำให้มั่นใจว่าข้อมูลจากการปรึกษาหารือ โดยเฉพาะร่างแผนฯ ให้เผยแพร่ในวงกว้างและล่วงหน้าเป็นเวลาที่เหมาะสมเพื่อที่ชุมชนที่เกี่ยวข้องและภาคประชาสังคมจะสามารถให้ความเห็นที่เป็นประโยชน์และมีส่วนร่วมในกระบวนการร่าง
- ให้รวมถึงผู้แทนจากชุมชนที่ได้รับผลกระทบและกลุ่มภาคประชาสังคมให้มีส่วนร่วมในคณะกรรมการร่างแผนฯ เพื่อที่จะแสดงถึงความจริงใจและเพื่อเป็นกระบวนการที่โปร่งใส
- ควรนำข้อมูลที่ได้จากการปรึกษาในเวทีภูมิภาคเพื่อที่จะให้มีการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกส่วนเพื่อการร่างแผนฯ ที่ประสบความสำเร็จ และเพื่อที่จะทำให้มั่นใจว่าการร่างแผนฯ จะระบุถึงปัญหาที่สำคัญและมีการนำไปใช้ซึ่งแผนปฏิบัติการที่ชัดเจนเพื่อที่จะแสดงความเคารพต่อสถานการณ์จริงที่เกิดขึ้นบนภาคพื้น
เพื่อที่จะทำให้มั่นใจได้ว่าชุนชนและภาคประชาสังคมที่เกี่ยวข้องจะมีส่วนร่วม พวกเรา ทางเครือข่าย ThaiBHRNetwork ได้เผยแพร่ข้อสรุปในแต่ละหัวข้อของรายงานการประเมินสถานการณ์สิทธิมนุษยชนด้านธุรกิจกับสิทธิมนุษยชนที่ได้จัดทำโดยผ่านการจัดเวทีรับฟังความคิดเห็นกับชุมชนและผู้เชี่ยวชาญที่เกี่ยวข้องเพื่อที่จะระบุประเด็นที่เร่งด่วน ข้อท้ายทายและขั้นตอนที่สามารถปฏิบัติได้เพื่อช่วยในกระบวนการ
ทางเครือข่ายขอเรียกร้องให้รัฐบาลทำตามสิ่งที่ได้บอกไว้ถึงการให้ภาคประชาสังคมมีส่วนร่วมในกระบวนการร่างแผนฯ โดยการสร้างพื้นที่เพื่อเอื้อต่อการมีส่วนร่วมอย่างมีความหมายกับชุมชนที่ได้รับผลกระทบในระดับภูมิภาคในทุกร่างแผนฯ ต่อ ๆ ไป โดยผ่านกระบวนการที่ยอมรับข้อคิดเห็นจากเวทีเสวนาพร้อมกับให้เวลาที่เพียงพอในการทบทวนแต่ละร่าง
ฉะนั้น พวกเราขอให้รัฐบาลไม่ใช้วิธีที่ทำให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมโดยทำแค่เป็นพิธีการ แต่ควรจะสร้างอำนาจให้กลุ่มคนที่ต้องการถูกได้ยินโดยการให้บุคคลเหล่านี้มีส่วนร่วมอย่างมีความหมายเพื่อที่จะผลิตร่างแผนปฏิบัติฯ ต่อข้อกังวลของชุมชนและภาคประชาสังคมพร้อมทั้งมีแผนปฏิบัติการที่มีกระบวนการที่ชัดเจน ในขณะที่เราเข้าใจว่าแผนปฏิบัติการแห่งชาติว่าด้วยธุรกิจและสิทธิมนุษยชนจะถูกเผยแพร่ภายในเดือนกันยายน 2561 สิ่งที่สำคัญไปกว่านั้นคือว่ากระบวนการในการทำให้ร่างเสร็จสมบูรณ์นั้นไม่ควรจะมีการทำอย่างเร่งรีบ และให้ชุมชนรวมไปถึงภาครัฐและบุคคลให้มีการเรียนรู้เกี่ยวกับสิทธิและกระบวนการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจและสิทธิมนุษยชนเพื่อที่จะมีส่วนร่วมให้การพัฒนาและการนำแผนปฏิบัติการมาใช้ในอนาคต
หมายเหตุ
ที่มาคลิป: https://www.facebook.com/ManushyaFdn/
ที่มาภาพ: https://www.facebook.com/CrCF.Thailand/
*มีการแก้ไขข้อมูลจากกลุ่มบุคคลที่เป็นโรคทางเพศสัมพันธ์ เป็นกลุ่มผู้ที่อยู่ร่วมกับเอชไอวี เพื่อสื่อสารความเข้าใจที่ถูกต้องและเคารพในศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์