14 พฤศจิกายน 2560 ในเวทีเสวนา เรื่อง “การศึกษากับการพัฒนาตนเองสู่ความพร้อมในสังคมผู้สูงอายุ” ที่จัดโดย สภาผู้ชมผู้ฟังรายการไทยพีบีเอส ภาคเหนือ ร่วมกับ มูลนิธิพัฒนางานผู้สูงอายุ ณ โรงแรม ฮอลิเดย์การ์เดน อ.เมือง จ.เชียงใหม่ โดยมี คุณชัชวาลย์ ทองดีเลิศ จากโฮงฮียนสืบสานภูมิปัญญาล้านนา คุณจิราพร ยามาโมโต้ พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดเชียงใหม่ คุณประสาน ดวงอยู่สาร ชมรมผู้สูงอายุตำบลเชิงดอย อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ คุณสมจิต สุวรรณบุษย์ สมาชิกสภาฯผู้ชมผู้ฟัง ไทยพีบีเอส ซึ่งในการพูดคุยพยายามขับเน้นประเด็นการศึกษาและการเตรียมพร้อมของสังคมสูงใน ที่ประเทศไทยกำลังเผชิญ
จิราพร ยามาโมโต้ พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดเชียงใหม่ เล่าว่าเคยศึกษาประเทศญี่ปุ่นเข้าสู่ผู้สูงอายุมานานแล้ว ประเทศไทยให้ความสนใจเรื่องนี้ ปี 2548 จะเข้าสู่เต็มรูปแบบ เราจะรับมืออย่างไร ทางพม. ก็พยายามตั้งรับ จัดให้มีศูนย์ผู้สูงอายุ ปี2564 เข้าสู่สังคมสูงวัย เต็มรูปแบบ ,2573 สังคมผู้สูงอายุแบบฟีคสุดๆ เทรนด์คนสูงอายุจะอยู่บ้านคนเดียว เพราะลูกหลานจะออกไปหางานทำหาเลี้ยงครอบครัว ยุคนี้เราต้องสร้างกลไก การดูแลกันเองภายในชุมชน
สมจิต สุวรรณบุษย์ สมาชิกสภาฯ จ.แม่ฮ่องสอน เล่าถึงตัวอย่างการศึกษาของท้องถิ่น ว่าจะเอามาตรฐานการศึกษาของส่วนกลางมาวัดท้องถิ่นไม่ได้ โอเน็ตใช้แบบเดียวกันทั่วประเทศ ทางออกควรเป็นอย่างไร ควรหันมามองท้องถิ่นด้วยว่าเขาเป็นอย่างไร แม่ฮ่องสอนขอมีมหาวิทยาลัยแม่ฮ่องสอนได้ไหม แม่ฮ่องสอนมีโครงการพระราชดำริมากมาย ทำไมเราไม่มีโรงเรียนหรือการศึกษาเหล่านี้เพื่อรองรับคนแม่ฮ่องสอน
แต่เราไม่มีหน้าที่โยตรง ไม่มีอำนาจการจัดการ แต่กลับเป็นหลักสูตรที่ส่งมา แต่เราทำได้แค่เสนอขึ้นไป แต่ไม่สามารถเอาภูมิปัญญาท้องถิ่นได้กลับมาเล่าเรียน สมาคมศึกษาวัฒนธรรมของไทใหญ่ แต่เรายังไม่มีการศึกษาพัฒนาพวกเขา เช่น ความรู้ทางภาษา คอมพิวเตอร์ เพิ่มศักยภาพให้เขา
คุณประสาน ดวงอยู่สาร ชมรมผู้สูงอายุตำบลเชิงดอย อำเภอดอยสะเก็ด เชียงใหม่ ทำกิจกรรมกับผู้สูงอายุตำบลเชิงดอยมาตั้งแต่ปี 2541 สร้างกิจกรรมหลายอย่าง ทุกวันนี้ก็ยังร่วมกับทำโรงเรียนชราบาลที่ดอยสะเก็ด ซึ่งเริ่มสร้างปี 2456ผู้สูงอายุเยอะขึ้น ลูกหลานไปทำงาน ผู้สูงอายุอยู่บ้าน ก็เลยขวนผู้สูงอายุมารวมกัน
ชัชวาลย์ ทองดีเลิศ – โฮงฮียนสืบสานภูมิปัญญาล้านนา โรงเรียนอายุครบ 20 ปี เริ่มเมื่องานเฉลิมฉลอง 700 ปีเชียงใหม่ หลวงพ่อ…. ได้กล่าวว่า [ไม่หลงของเก่า ไม่เมาของใหม่] ที่ผ่านมาก็ได้รวบรวมครู ผู้อาวุโส เป็นครูภูมิปัญญา มีทุกด้านตั้งแต่ภาษา อาหาร สมุนไพร ศิลปะหัตถกรรม สอนเด็กๆ มา 20 ปีแล้ว ผู้อาวุโสเมื่อมีเด็กๆ มาเรียนรู้ มีพลังมากเลย พวกเขาจะสนุกกับการสอนเด็ก เมื่อมีการสอน ก็กระตือรือร้นที่จะค้นคว้าหาความรู้ให้สมบูรณ์ เพื่อสอนเด็กๆ หนึ่งสอนคนรุ่นหลัง เยาวชน สอง เรียนรู้ภูมิปัญญาเพื่อสัมมาชีพ สาม สร้างครูภูมิปัญญารุ่นใหม่ ตอนนี้พยายามพัฒนาในรูปเครือข่าย ครูรุ่นใหม่มาสอนแทน ผู้อาวุโสก็ไปเปิดบ้านสอนทั่วๆ เชียงใหม่ เพราะแก่แล้ว เกิดเครือข่ายภูมิปัญญา ส่งเสริมสล่าล้านนา สมาคมปี่ซอ เครือข่ายเรื่องผ้า เจิง ก็มารวมกันๆ
ส่วนประเด็นเรื่องการศึกษาในจังหวัดเชียงใหม่ หรือภาคเหนือ ตอนนี้ 99ภาคี ร่วมกัน สร้างภาคีเชียงใหม่ ปฏิรูปการศึกษา มีสามประเด็นใหญ่คือ รักวัฒนธรรม เท่าทันการเปลี่ยนเปลง สร้างสัมมาชีพ
ประสาน ดวงอยู่สาร ตอนนี้การศึกษารุดไปไกล แต่เด็กๆ ไม่ได้อยู่ในวัดวา กินข้าวก็ไม่ได้ร่วมวงกินพร้อมกันอย่างก่อน เลยคิดว่าจะทำอย่างไรให้เด็กๆ กับผู้สูงวัยได้มาเจอกัน เราก็เลยรวมกันไปหาเด็กๆ เอง อย่าเงด็กอนุบาล ประถม การไปคุยกับเด็กดีกว่า พวกเขาเรียนรู้ ความรู้เยอะกว่า การสื่อสารของเด็กดีกว่า เราไปแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับเด็ก สัมผัสสิ่งใหม่ๆ อย่างมือถือ คอม การสื่อสารต่างๆ ได้เรียนรู้จากเขา ส่วนเด็กๆ ก็เรียนรู้วิถีชีวิตแต่ก่อน ประวัติศาสตร์ ก็ได้มาคุย บอกเล่ากัน ทำให้เด็กๆ รู้จักรักพี่น้อง สังคม ไม่ให้พวกเขาเป็นเด็กไม่ดี ไม่ขี้ขโมย หรือมิจฉาชีพ มีทั้งเด็กไปเรียนข้างนอก และเรียนในอำเภ อ
สมจิต สุวรรณบุษ พ่อแม่ประเมิน ว่า หุงข้าวเป็นไหม อาบน้ำต้องเรียกไหม ความรับผิดชอบ การดูแลตัวเอง เก่งแค่ไหม
ผมไม่แน่ใจว่าคนเราให้การศึกษาตรงกันไหม ชีวิตมันดีขึ้นไหม ถ้าการศึกษาดี ชีวิตมันต้องดีขึ้น มารยาทดีขึ้นไหม เก่งขึ้น มีทักษะทางภาษา คอมพิวเตอร์ การศึกษามันต้องปฏิวัติ ต้องกลับหลังหัน เพราะเขาออกไปข้างนอก เขาจะไม่กลับมาสัมผัสสิ่งที่เป็นอยู่ของเขา เขาไปเรียนข้างนอก รู้โลกข้างนอก แต่ไม่รู้อะไรกับพื้นที่เลย การศึกษาต้องพึ่งภูมิบ้านภูมิเมือง สอดคล้องกับท้องถิ่น สอนในสิ่งที่เป็นคุณลักษณะว่าเป็นคนดีให้มากขึ้น
จิราพร ยามาโมโต้ ได้เคยมีพยายามพาเด็กๆ มาเรียนรู้ที่โรงเรียนสืบสานภูมิปัญญาล้านนา เด็กๆ ก็ชอบ เคยคิดว่าจะคนชราบ้านธรรมปกรณ์ไปเยี่ยมเด็กสถานสงเคราะห์ ต่างคนต่างขาดความอบอุ่น ความรัก ให้ได้อุ้ม ได้สัมผัสกัน เคยไปเยี่ยมที่สถานสงเคราะห์ของญี่ปุ่น พบว่า เด็ก ๆ สถานสงเคราะห์ ไปออกกำลังกาย คนแก่ก็นั่งรอ เฝ้ามอง พอวิ่งเสร็จ เด็กก็วิ่งมากอดคนแก่ที่รอ เป็นโครงการที่อยากทำในบ้านเราบ้าง
ชัชวาลย์ ทองดีเลิศ ถ้าเรียนของใหม่ก็ถามครู ถ้าเรียนของเก่า ให้ไปถามคนแก่ แต่หลักสูตรเราให้เรียนแต่ของใหม่ไปเรื่อยๆ ดังนั้น เราต้องปรับใหม่ คือ ของใหม่ก็เอา ของเก่าก็ไม่ละ แต่ก่อนมีโรงเรียน มีการศึกษาไหม มีเรียนรู้ไหม ก็มี รุ่นเก่า อายุ ๑๕-๑๖ เลี้ยงลูกเต้าแล้ว ดูแลพ่อแม่แล้ว ทำงานร่วมกับชุมชนได้แล้ว แต่ตอนนี้ จบป.เอก แล้วก็ยังเอาตัวไม่รอด นั่นแปลว่า การศึกษามันสะท้อนอะไร
ดังนั้น ไม่อยากให้การศึกษาตัดราก แล้วไปเอารากอ่อนแอมา เราอยากได้รากเดิม แต่ค่อยไปต่อยอดการศึกษาที่จะเสริมให้เราเข้มแข็ง
มันเกิดช่องว่าง มั้งวิถีชีวิต องค์ความรู้ใหม่เก่าไม่ไปด้วยกัน เด็กชอบเซเว่น เข้าห้าง มันคนละแบบแล้ว
วิธีใหญ่คือ ผสมผสานแนวทางเข้ามา ผมอยากเอาของใหม่มาต่อยอดของเดิมิเสริมรากเดิมให้เข้มแข็ง เอาภูมิปัญญาชาวบ้านไปสู่สากล เอาท้องถิ่นสู่โกลบอล เอาLocal ไปสู่ Global
ให้เอาแนวทางของหลวงพ่อมาน่าจะเป็นทางสายกลางที่สุด คือ “บ่หลงของเก่า บ่เมาขอใหม่” ให้ เรียนรู้รากเหง้า เท่าทันการเปลี่ยนแปลง และจัดการตนเองได้อย่างเหมาะสมกับบริบท
ให้เข้าใจรงกันว่าศึกษาคือชีวิต ทำอย่างไรให้ผลักดันหลักสูตรท้องถิ่น คระกรรมการศึกษาไม่ควรเป็นเพียงรูปแบบ ประวัติศาสตร์ท้องถิ่น ใครจะรู้ได้ดีกว่าผู้เฒ่าที่นั่น ให้ท่องว่าให้รักๆ ทำอย่างไรก็ไม่รัก แต่ต้องลงรายละเอียด หลายมิติ เขาถึงจะรัก อยากให้ชุมชนเข้มแข็ง ฝึกวิธีการเรียนรู้ให้เด็ก
เป็นการศึกษาเพื่อชีวิตและสังคมได้อย่างแท้จริง
จิราพร ยามาโมโต้ คนแก่ไม่อยากเปลี่ยนสิ่งแวดล้อม แต่ก็มักจะถูกพามาอยู่เปลี่ยนที่ทาง ไม่อยากอยู่สถานสงเคราะห์หรอก คนแก่คนจะอยู่ในชุมชน รัฐบาลจะมีวิธีการอย่างไร ในการสนับสนุนผู้เฒ่า เช่น ครอบครัวครัวอุปถัมภ์ในชุมชน เบี้ยยังชีพมันน้อย คนเฒ่าในสถานสงเคราะห์มันเยอะอยู่แล้ว
ประสาน ดวงอยู่สาร สมัยก่อนเข้าหาศาสนา สอนกันไหว้พระ ร่มธรรม สวด เกี่ยวกับการทำดี เพื่อจะให้เยาวชนเห็นคามสำคัญของผู้สูงอายุ ศาสนา เด็กก็จะเห็นความสำคัญของผู้สูงอายุ ผู้สูงอายุต้องเรียนรู้ เพิ่มเติม การศึกษา เราไม่ได้อยู่กลุ่มเดียวกับเยาวชน เราเลยตั้งกลุ่มขึ้นมาเพื่อให้เด็กๆ มาช่วย มาทำอะไรร่วมกับผู้สูงอายุ
ตอนนี้ก็มีสวดธรรมะสัญจรด้วย
ชัชวาลย์ ทองดีเลิศ อยากให้เด็กของเราเรียนรู้รากเหง้าและวัฒนธรรม สร้างความภาคภูมิใจในตัวเอง เท่าทันการเปลี่ยนแปลง โลกาภิวัฒน์ เป็นภูมิคุ้มกัน รู้เท่าทัน และสามารถจัดการตนเองได้ อย่าให้การศึกษาจำกัดอยู่แค่ในห้องเรียน แต่ไม่สามารถเท่าทัน เรียนรู้โลกได้ อยากให้ทุกภาคส่วนเปิดโลกการเรียนรู้ได้ รัฐต้องเปิดใจ ไม่อย่างนั้นปฎิรูปไม่ได้ กระจายอำนาจมาจังหวัด ท้องถิ่น ให้ทุกภาคส่วนในสังคมมาจัดการศึกษาสำหรับเด็กและผู้สูงอายุ
ทั้งหมดจากเวทีสนทนา เป็นเพียงมุมมองที่พยายามสะท้อนภาพของสังคมผู้สูงวัยในภาคเหนือ ที่เชื่อมโยงกับระบบการศึกษา ซึ่งเเท้จริงแล้วมีจุดยึดโยง จุดเกาะเกี่ยวกันอยู่