ปฎิบัติการ Chang facilitator เปลี่ยนฟ้าคุณกล้าไหม!!
วันที่ 18-20 สิงหาคม 2554 @ แคนทารี กบินทร์บุรี จ. ปราจีนบุรี
ได้มีโอกาสเข้าร่วมปฎิบัติการ Chang facilitator ซึ่งทางฝ่ายHR จัดขึ้นโดยให้ให้แต่ละสำนักส่งตัวแทน เพื่อพัฒนาทักษะ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ถึงวิธีการใช้เครื่องมือสำหรับวางแผนการพัฒนา ปรับปรุง สร้างสรรค์กิจกรรม และกระตุ้นให้เกิดเป็นวัฒนธรรมองค์กรแห่งการเรียนรู้ภายในสำนักและภายในองค์การ
ซึ่งเครื่องมือที่นำมาให้เรียนรู้ในช่วง 3 วันนี้เรียกกันว่า Outcome Mapping ( OM )
โดย ดร.ประพนธ์ ผาสุกยืดและทีมงานจากสถาบันส่งเสริมการจัดการความรู้เพื่อสังคม
ซึ่ง ดร.ประพนธ์ บอกว่าต่างจาก KM ( Knowledge Mangement) ที่มีกระบวนการวางแผนที่เป็นเส้นตรง แต่ OM เป็นกระบวนการวางแผนที่เป็นวงกลมสามารถหมุนเวียน ปลัดใบได้ตลอดเวลา
OM : การพัฒนาแบบมีส่วนร่วม ร่วมขับเคลื่อนงาน เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน
KM : การใช้ความรู้สร้างสัมพันธ์ในการทำงานเพื่อเรียนรู้และพัฒนาตัวเองและงาน
ดร.ประพนธ์ ชวนคิดวิธีการวางแผนการทำงานว่า
คนทำงาน จะมีกระบวนการอย่างไร ที่นำเครื่องมือมาใช้เป็นพาหนะ ไม่ได้สร้างภาระในการทำงานมากขึ้น
ผ่านกระบวนการ วิธีการ แบบ OM ซึ่งมี 7 ขั้นตอน ไม่ยากไม่ง่าย
1.Vision วิสัยทัศน์
ภาพของสิ่งที่อยากจะเป็น ต้องการจะเป็น เรียกกันว่า “ วิสัยทัศน์ ” ได้ เป็น “Posslible Drame ” ฝันที่เป็นจริงได้ จาก“ วิสัยทัศน์ ” ในใจร่วมกัน เลือก โฟกัส ออกมาแล้วระบุเป็น พันธกิจ ร่วมกัน
2. Mission ( พันธกิจ )
การที่จะเริ่มทำอะไรก่อน
3.Partners ใครที่จะมาร่วมฝันกับเราบ้าง
– change agent เห็บชอบ เป็นแรงใจ สนับสนุน
– Direct partners เป็นคนที่เริ่มร่วมคิดร่วมทำร่วมสร้างไปกับเราจนสุดทาง
4.Outcome ใครที่สามารถทำให้ฝันเป็นจริงได้ (ใครเป็นคนทำหลักๆ) ซึ่งผลลัพธ์ขึ้นอยู่กับ Direct partners ที่เลือกร่วมฝันไว้ เพราะ Outcome สามารถเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา
5.Progress Markers
เป็นกระบวนรูปแบบขั้นบันได เพื่อเช็คว่าเราก้าวไปถึงขั้นไหนแล้ว มาถูกทางไหม ถ้าไม่ใช่เพราะอะไร
– Expect to see คือสิ่งที่คาดว่าจะเกิด (พฤติกรรมอย่างง่ายๆ)
– like to see อยากจะให้เกิด
– love to see เกิดได้จะดี
6.Strategy กลยุทธ์ไหนที่จะทำ อย่างไรบ้าง
7.Required practice สิ่งที่จะทำให้กลยุทธ์สำเร็จคืออะไร
Outcome Mapping (OM) ด้านพัฒนาสื่อสาธารณะ (รวมทั้ง 4 สำนัก)
ได้ร่วมกันออกแบบ OM ในแบบด้านพัฒนาสื่อสาธารณะ 7 ขั้นตอน สรุปได้ดังนี้
1 .Vision
ร่วมกันคืออยากให้ประชาชนร่วมรู้สึกเป็นเจ้าของ และได้มีส่วนร่วมคิดร่วมสร้าง แสดงความคิดเห็น ตลอดจนการเข้ามาเป็นส่วนของการร่วมผลิตรายการ ที่มีคุณค่า ก่อเกิดเป็นความรู้ที่นำไปประยุกต์ใช้ได้ในชีวิตประจำวัน จนรู้สึกว่าสื่อสาธารณะคือที่พึง เป็นทีวีที่วางใจได้
2. Mission 3 ปี
ภายใน
– สร้างกลไกลการทำงานเชื่อมโยงกับหน่วยงานภายในสสท.ให้มีการแลกเปลี่ยนปฎิทินการทำงานและบริหารเครือข่ายบนระบบบานข้อมูลเดียวกัน
– พัฒนาระบบฐานข้อมูลเครือข่ายทางสังคมเพื่อก่อให้เกิดประสิทธิภาพในการใช้ข้อมูลร่วมกัน
ภายนอก
– พัฒนาศักยภาพเครือข่ายเพื่อให้เข้าใจในการเรียนรู้เท่าทันสื่อ แนวคิดด้านสาธารณะ การรับฟังความคิดเห็น การพัฒนาประเด็นเพื่อสื่อสารผ่านหน้าจอ ตลอดจนการร่วมผลิตสื่อภาคพลเมือง
– กลไกลกิจกรรม เวที พื้นที่สาธารณะ เพื่อเชื่อมโยงเข้ามามีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็น พัฒนา ประเด็นและการผลิตสื่อภาคพลเมือง
3.Partners
ด้านพัฒนาสื่อสาธารณะ (รวมทั้ง 4 สำนัก) / สสท จะเน้นไปทางสำนักรายการ/ข่าว ในช่วงเริ่มต้นและเชื่อมโยงกันก่อน
4.Outcome รวมๆคือการร่วมเป็นภาคีหุ้นส่วนในการทำงานร่วมกัน
5.Progress Markers การสร้างแรงจูงใจให้เห็นถึงคุณค่างานและการมีประโยชน์ส่วนรวมร่วมกัน
6.Strategy
ทุกสำนักจะเน้นย้ำไปที่การทำงานเป็นทีมWork การทำงานร่วมกันไม่ว่าจะระดับสูงแค่ไหน
เราจะทำงานร่วมกันแบบพี่น้อง
7. Required practice เกิดวัฒนธรรมThaipbs..การทำงานร่วมกันอย่างแท้จริง
– Cross function
– Work flow
– Feedback
– Team work
Outcome Mapping (OM)
คือกระบวนการวางแผนการทำงานที่มีเป้าหมายไม่เล็กไม่ใหญ่เกินไป มองตามหลักของเหตุและผล ดูกำลังคน ว่าทำได้ไหม การวางแผนที่จะไปสู่เป้าหมายอย่างไรใช้เครื่องมือเป็นพาหนะไม่ใช่เป็นเพียงภาระ
และมีกลยุทธ์ที่ปรับเปลี่ยนได้เสมอ… เป็นการมองเชิงพฤติกรรม
ซึ่ง 7 ขั้นตอนนี้ ถือเป็นกุศโลบายที่สร้างไฟให้ทุกคนรู้สึกอินกับงานที่ทำ สร้างแรงใจในการทำงาน ส่งผลให้ใจบันดาลแรงในการทำงาน ซึ่งกระบวนการนี้ทำให้รู้ว่าอย่างน้อยๆก็เริ่มที่จะมองเห็นหมาก ในการที่จะเดินต่อสู่เป้ายังไง
Happy together….
if we hold or together…I know our dremes will never die..
*ความกล้าที่จะเปลี่ยนแปลง ต้องเริ่มจากตัวเราเองก่อน*