บริษัท ชิโน ไทย ซิงกวาง โกโก้ โปรดัก จำกัด และสหพัฒนาทองมี สร้างความเชื่อมโยงตลาดรวบรวมผลผลิตโกโก้ ผ่านสหกรรณ์และวิสาหกิจชุมชน เพื่อแก้ไขปัญหาไม่มีผู้รับซื้อโกโก้ของเกษตรกรในจังหวัดตรัง ภายใต้ความร่วมมือระหว่างภาคเอกชน ภาครัฐ และสหกรณ์ เนื่องจากปัจจุบันตลาดโกโก้และช็อกโกแลตกำลังเติบโตอย่างมาก มีการนำเข้าผลิตภัณฑ์มูลค่าสูงกว่า 9 พันล้านบาท การรับซื้อโกโก้จากเกษตรกรสามารถลดการนำเข้าได้อย่างมาก และเป็นการช่วยเหลือเกษตรกรได้อีกทางหนึ่ง
วันที่ 18 ธันวาคม 2567 ที่โรงแรมเรือรัษฎา อ.เมืองตรัง จ.ตรัง นายทรงกลด สว่างวงศ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดตรัง เป็นประธานในการจัด ประชุมสัมมนา “อนาคตโกโก้ประเทศไทย” เวทีจังหวัดตรัง ที่จัดขึ้นโดย บริษัท ชิโน ไทย ซิงกวาง โกโก้ โปรดัก จำกัด และสหพัฒนาทองมี ซึ่งการประชุมสัมมนาในวันนี้เกิดขึ้นจากการประสานความร่วมมือระหว่างบริษัท ชิโน ไทย ซิงกวาง โกโก้ โปรดัก จำกัด, กลุ่มสหพัฒนาทองมี, กลุ่มสหกรณ์และวิสาหกิจ ชุมชนในจังหวัดตรัง ร่วมกับส่วนราชการในกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นำโดยท่าน เกษตรและสหกรณ์จังหวัดตรัง
พร้อมด้วยหน่วยงานสำคัญ ได้แก่ สภาเกษตรกรจังหวัดตรัง , สำนักงานสหกรณ์จังหวัดตรัง, สำนักงานเกษตรจังหวัดตรัง, สำนักงานพาณิชย์จังหวัด ตรัง, การยางแห่งประเทศไทยจังหวัดตรัง, สำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัดตรัง และหน่วยงานอื่นๆ รวมถึงพี่น้องเกษตรกรผู้ปลูก โกโก้ในจังหวัดตรัง เป้าหมายของการประชุมสัมมนาครั้งนี้ เพื่อสร้างการรับรู้ เปิดโลกทัศน์ และ แลกเปลี่ยนความคิดเห็น โดยจัดเวทีเสวนาระหว่างผู้นำเกษตรกรและองค์กรเอกชนผู้รับซื้อ โกโก้ รวมถึงการสร้างกลไกการรับซื้อและการเชื่อมโยงการตลาดผลผลิตโกโก้ นอกจากนี้ ยังได้จัดให้มีการ บันทึกข้อตกลงความร่วมมือ ระหว่างสหกรณ์และ วิสาหกิจชุมชนในจังหวัดตรัง กับ สหพัฒนาทองมี ผู้แทนบริษัท ชิโน ไทย ซิงกวาง โกโก้ โปรดัก จำกัด เพื่อเชื่อมโยงด้านการตลาดและแก้ไขปัญหาการขาดแคลนช่องทางการรับซื้อ ผลผลิตโกโก้
ทางด้าน นายพรชัย ลิขิตสมบัติ กรรมการผู้มีอำนาจบริษัท ชิโน ไทย ซิงกวาง โกโก้ โปรดัก จำกัด กล่าวว่า จากข้อมูลพื้นฐานพบว่า จังหวัดตรัง เป็นหนึ่งในพื้นที่ที่มีศักยภาพในการปลูกโกโก้ โดยมีเกษตรกรผู้ปลูกโกโก้กว่า 500 ราย กระจายอยู่ในทุกอำเภอของจังหวัด มีการปลูกต้น โกโก้ในช่วงปี 2562-2564 รวมมากกว่า 200,000 ต้น อย่างไรก็ตาม เกษตรกรส่วนใหญ่ประสบปัญหาสำคัญคือ ขาดแหล่งรับซื้อผลผลิต ส่งผลให้เกษตรกรบางส่วนจำเป็นต้องโค่นต้นโกโก้ลง ทำให้ในปัจจุบันเหลือเพียงประมาณ 100,000 ต้นเศษ เพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว บริษัท ชิโน ไทย ชิงกวาง โกโก้ โปรดัก จำกัด ซึ่งต้องการ ผลผลิตโกโก้ในรูปแบบ ผลสด, เมล็ดสด และเมล็ดแห้ง เพื่อการแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ใน ปริมาณปีละไม่ต่ำกว่า 10,000 ตันเมล็ดแห้ง ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของจังหวัดตรัง ใน ฐานะพื้นที่ที่มีศักยภาพในการผลิตโกโก้ที่มีคุณภาพ
บริษัทจึงมอบหมายให้ สหพัฒนาทองมี เป็นผู้แทนโรงงานในการรวบรวมผลผลิต โกโก้จากเกษตรกรในจังหวัดตรัง เพื่อเชื่อมโยงการตลาดผลผลิตโกโก้ให้เป็นระบบและยั่งยืน เพื่อให้บรรลุเป้าหมายดังกล่าว จึงได้จัดโครงการสัมมนาในครั้งนี้ ผ่านเครือข่ายสหกรณ์ และวิสาหกิจชุมชนในจังหวัดตรัง โดยมุ่งหวังให้เกิดการสร้างความรู้ ความเข้าใจ รวมถึง กลไกการตลาดที่เอื้อประโยชน์ต่อเกษตรกร การเชื่อมโยงตลาดรวบรวมผลผลิตโกโก้ผ่านสหกรณ์และวิสาหกิจชุมชน เพื่อแก้ไขปัญหาไม่มีผู้รับซื้อผลผลิตโกโก้ของเกษตรกรในจังหวัดตรัง ภายใต้ความร่วมมือระหว่างภาคเอกชน ภาครัฐ และสหกรณ์ ในปัจจุบันตลาดโกโก้และช็อกโกแลดกำลังเติบโต
โดยในปี 2566 ประเทศไทยต้องนำเข้าโกโก้ในรูป ของผลิตภัณฑ์จากต่างประเทศ จำนวน 44,601 ตัน มูลค่าสูงกว่า 9 พันล้านบาท (แหล่งที่มา : สถิติการค้า สินค้าเกษตรไทยกับต่างประเทศ ปี 2566 ศูนย์สารสนเทศการเกษตร สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร) ทั้งนี้ ตั้งแต่ ต้นปี 2566 ถึงกลางปี 2567 เกิดปรากฏการณ์เอลนีโญ ทำให้เกิดภาวะภัยแล้งในพื้นที่ปลูกโกโก้ ส่งผลให้ผลผลิตโกโก้ ของโลกลดลง และราคาโกโก้ในตลาดโลกได้สูงขึ้นต่อเนื่อง ผลผลิตโกโก้เป็นลักษณะของพืชเชิงอุตสาหกรรมที่ต้องนำเข้าสู่ กระบวนการแปรรูปของโรงงานปริมาณผลผลิตในการรวบรวม จึงต้องมากพอในการรับซื้อส่งเข้าโรงงาน
จังหวัดตรัง เกษตรกรได้รับส่งเสริมให้มีการปลูกโกโก้เป็นพืชแซม/ร่วมยางพารา พบว่า มีเกษตรกรไม่น้อยกว่า 500 ราย มีการปลูกโกโก้กระจายอยู่ในทุกอำเภอ ปริมาณการปลูกในช่วงเวลาดังกล่าว จำนวนมากกว่า 2แสนต้น เมื่อผลผลิตออกผลพร้อมกัน เกษตรกรส่วนใหญ่ประสบปัญหา ไม่มีแหล่งรับซื้อผลผลิตโกโก้ มีเพียงเกษตรกรบางรายที่สามารถจำหน่ายได้ แต่ผู้รับซื้อไม่ได้ดำเนินการรับซื้ออย่างต่อเนื่อง ทำให้เกษตรกรบางส่วนโค่นต้นโกโก้ทิ้ง และปรับเปลี่ยนไปปลูกพืชชนิดอื่นแทน ปัจจุบันคงเหลือต้นโกโก้ อยู่ประมาณ 1 แสนต้น เพื่อแก้ไขปัญหาการไม่มีแหล่งรับซื้อผลผลิต และการรับซื้อผลผลิตไม่ต่อเนื่อง
เพื่อแก้ไขปัญหาให้แก่เกษตรกรผู้ปลูกโกโก้ได้มี แหล่งจำหน่ายอย่างต่อเนื่องและมีการบริหารจัดการอย่างเป็นระบบ โดยเปิดจุดรับซื้อโกโก้ ทั้งผลสด เมล็ดสด และเมล็ดแห้ง ผ่านสหกรณ์และวิสาหกิจชุมชน หรือจุดรวบรวมรายย่อยของเกษตร ปัจจุบันได้เปิดจุดรวบรวมรับซื้อผลผลิตโกโก้แล้ว จำนวน 11 จุด กระจายในพื้นที่ที่มีการปลูกโกโก้หนาแน่น ให้ราคามีการขึ้นลงตามสภาวะท้องตลาด และมีการรับซื้ออย่างต่อเนื่อง ที่ผ่านมาได้ดำเนินการรวบรวมโกโก้ในจังหวัดตรัง ปริมาณกว่า 10 ตัน ส่งไปยัง โรงงานแปรรูปที่จังหวัดระยอง โดยรับซื้อผลสดจากเกษตรกรในราคากิโลกรัมละ 8 บาท แบบไม่คัดขนาดผล เมล็ดสด กิโลกรัมละ 40 บาท ส่วนเมล็ดแห้งรับซื้อกิโลกรัมละ 150-200 บาท ขึ้นอยู่กับคุณภาพของเมล็ด สามารถช่วยเหลือ และแก้ไขปัญหาให้แก่เกษตรกร.