สารคดีเรื่อง Reflection : A Walk With Water เล่าถึงความสำคัญของทรัพยากรของน้ำ ความสัมพันธ์ของคนและน้ำ รวมถึงปัญหาและวิธีการแก้จัดการทรัพยากรน้ำที่เกิดจากการกระทำของมนุษย์ฟื้นฟูและดูแลในตัวสารคดีเล่าตั้งแต่จุดเริ่มต้นของการเกิดน้ำ น้ำคือผู้ให้ชีวิตที่ใดมีน้ำที่นั้นจะเกิดสิ่งมีชีวิตตามมา
บ้านนาไร่เดียว หมู่ที่ 14 ตำบลแม่กา อำเภอเมืองพะเยา จังหวัดพะเยา เป็นหมู่บ้านที่ใช้ชีวิตอยู่เรียกได้ว่าใกล้ชิดกับธรรมชาติ ผู้คนในหมู่บ้านเข้าไปหาของในป่าและ มีทรัพยากรทางน้ำที่เก็บไว้ใช้ในหน้าแล้ง และที่น่าสนใจคือชุมชนมองเห็นถึงปัญหาของการเผาไหม้เป็นอีก1หมู่บ้านของจังหวัดพะเยาที่ไม่มีเผาขยะ เศษซากจากการทำการเกษตรกร
ทำความรู้จักกับบ้านนาไร่เดียว
บ้านแม่กานาไร่เดียว ตั้งอยู่ หมู่ที่ 14 ตำบลแม่กา อำเภอเมืองพะเยา จังหวัดพะเยา มีลักษณะส่วนใหญ่เป็นที่ราบสูงสลับกับภูเขา ยกเว้นลักษณะภูมิประเทศทางทิศใต้ทางอำเภองาว จังหวัดลำปาง เป็นที่ราบต่ำ มี 3 ฤดู ฤดูร้อนตั้งแต่เดือนมีนาคม ถึงเดือนมิถุนายน ซึ่งช่วงเดือนเมษายน จะแห้งแล้งและมีอากาศร้อนอบอ้าว จะเริ่มเข้าฤดูฝนตั้งแต่ปลายเดือนมิถุนายน ถึงเดือนตุลาคม ฝนตกตลอดทั้งฤดูกาล บางครั้งอาจตกถึงต้นฤดูหนาว ทำให้มีอากาศเย็น และเริ่มเข้าฤดูหนาวตั้งแต่เดือนมกราคม ถึงเดือนกุมภาพันธ์ โดยอากาศจะหนาวเย็นมาก มีหมอกในตอนเช้าและสภาพอากาศเปลี่ยนแปลงตามฤดูกาล ปัจจุบันมีเนื้อที่โดยประมาณ 1,800 ตารางกิโลเมตร แบ่งเป็นพื้นที่โดยประมาณดังนี้ คือ ที่อยู่ที่พักอาศัย 20 ไร่ พื้นที่ทำการเกษตร 700 ไร่ พื้นที่ทำนา 30 ไร่ และมีพื้นที่ทำไร่ 300 ไร่ มีการทำนาปีละ 1 ครั้ง
คนส่วนมากมีอาชีพรับจ้าง เกษตรกร ปลูกข้าวโพด มันสําปะหลัง มีงานเสริมสำหรับผู้สูงอายุคือ ถักไม้กวาดดอกหญ้า ถักสาน ทําหน่อไม้ดอง หน่อไม้ถุง ช่วงตุลาคม – กันยายน หมู่บ้านมีทั้งหมด 6 ซอย มี 138 ครัวเรือน แต่อยู่จริง 78 ครัวเรือน ส่วนมากเป็นคนสูงอายุ 55-60 ปี แต่คนอายุ 60 ปี จะเยอะกว่า และไม่ค่อยมีเด็ก ส่วนมากลูกๆจะไปทํางานและเรียนที่เชียงใหม่ ระดับการศึกษาภายในหมู่บ้าน คือ จบ ป.6 (55 คน) จบป.4 (60 คน) จำนวนประชากรมีอยู่ทั้งหมด 339 คน แบ่งเป็น ชาย 157 คน และหญิง 182 คน
ผลกระทบที่เกิดจากการเผา
การเผาขยะนั้นส่งผลต่อหน้าดิน เมื่อก่อนที่ยังไม่มีวิธีการจัดการจัดเก็บขยะ ชาวบ้านจะนิยมเผาขยะ ทำให้ในช่วงปีที่ผ่านมาจังหวัดพะเยามีปัญหาเรื่องฝุ่น PM2.5 สูงเกินมาตรฐาน โดยเฉพาะในช่วงที่มีไฟป่าหรือการเผาขยะในพื้นที่ ส่งผลให้อากาศมีมลพิษสูงจนถึงระดับที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพของประชาชน โดยในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566 ค่าฝุ่น PM2.5 ในพะเยาสูงถึง 105 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ซึ่งเกินระดับปลอดภัยและเข้าสู่ระดับ “สีแดง” ที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพอย่างชัดเจน ทั้งนี้ ประชาชนกลุ่มเสี่ยง เช่น เด็ก คนชรา และผู้มีโรคประจำตัว ได้รับคำแนะนำให้หลีกเลี่ยงกิจกรรมกลางแจ้งและใช้หน้ากากป้องกันเมื่อจำเป็น การเผาขยะและการเกิดไฟป่าในพื้นที่เป็นปัจจัยหลักที่ทำให้เกิดมลพิษทางอากาศเพิ่มขึ้น ดังนั้น หน่วยงานท้องถิ่นได้พยายามออกมาตรการควบคุมการเผาในภาคการเกษตรและพื้นที่ป่า เพื่อบรรเทาผลกระทบและลดปัญหามลพิษทางอากาศในระยะยาว
ข้อมูลของบ้านแม่กานาไร่เดียวในจังหวัดพะเยาแสดงให้เห็นถึงชีวิตและปัญหาสิ่งแวดล้อมของชุมชนชนบทที่ต้องเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงของฤดูกาลและผลกระทบจากฝุ่น PM2.5 ซึ่งเป็นเรื่องที่สัมพันธ์กับประเด็นในภาพยนตร์สารคดี “Reflection: A Walk With Water” อย่างชัดเจน โดยในภาพยนตร์กล่าวถึงการฟื้นฟูและการดูแลแหล่งน้ำที่เป็นแหล่งทรัพยากรสำคัญที่ต้องการการอนุรักษ์และการจัดการที่ยั่งยืน
ในกรณีของบ้านแม่กานาไร่เดียว ปัญหาฝุ่น PM2.5 ซึ่งเกิดจากกิจกรรมการเกษตร เช่น การปลูกข้าวโพดและมันสำปะหลังที่ต้องใช้เครื่องจักรหรือการเผาเศษพืช ส่งผลให้ฝุ่นและมลพิษสะสมลงในแหล่งน้ำผิวดิน และอาจทำให้น้ำมีสารเคมีและโลหะหนักที่ส่งผลต่อคุณภาพน้ำ ซึ่งไม่เพียงแต่เป็นภัยต่อการเกษตรเท่านั้น แต่ยังเป็นภาระต่อระบบน้ำประปาที่ต้องการการกรองที่มีคุณภาพเพื่อคงมาตรฐานของน้ำสะอาด
แต่ใช่ว่าหมู่บ้านจะไม่มีปัญหาอะไรเลย ปัญหาที่เราได้พบหลักๆเกี่ยวกับทรัพยากรน้ำตรงกับในสารคดี เราได้สอบถามกับผู้นำชุมชนหมู่บ้านนาไร่เดียวพบว่าคนในหมู่บ้านได้รับผลกระทบเรื่องน้ำมากที่สุด ผู้นำเล่าว่าน้ำในหมู่บ้านที่ใช้อุปโภคนั้นไม่สะอาดพอ สีของน้ำเป็นสีขุ่น เพราะเครื่องกรองน้ำของหมู่บ้านพักไป1เครื่อง อีกหนึ่งสาเหตุที่เป็นได้อาจเกิดจากเมื่อก่อนมีการเผาและทำลายหน้าดินมากเกินไป น้ำที่ใช้อยู่ในชีวิตประจำวันใช้ร่วมกันกับหมู่1,10 และ14 จึงทำให้บ้างครั้งพบปัญหาน้ำไม่ไหล
ข้อมูลดังกล่าวเชื่อมโยงกับสารคดีที่เน้นการให้ความสำคัญกับการอนุรักษ์ทรัพยากรน้ำ เช่น การนำแนวทางที่ยั่งยืนมาปรับใช้ในชุมชนที่มีทรัพยากรจำกัด เพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและความท้าทายจากสิ่งแวดล้อมรอบตัว