29/10/2567 9:48:05น. 73
คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา เข้าร่วมแข่งขัน “การควบคุมหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติด้วยเทคโนโลยีอุตสาหกรรม 4.0 ครั้งที่ 3 ชิงถ้วยพระราชทานสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี” ในระหว่างวันที่ 16 – 18 ตุลาคม 2567 ณ ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค (BITEC) Hall EH 101 ณ ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค (BITEC) Hall EH 101 โดยมีการแข่งขันทั้งหมด 7 ประเภท ซึ่งคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยาร่วมลงแข่งขัน จำนวน 4 ประเภท ดังนี้
• การแข่งขันประเภทที่ 2 การแข่งขันการเขียนโปรแกรมควบคุมระบบการผลิตอัตโนมัติด้วยแกนไฟฟ้าทั้งระบบ โดยมี ผศ.ดร.ธนกานต์ สวนกัน อาจารย์ประจำหลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า เป็นอาจารย์ผู้ควบคุม ในการนำทีมนิสิตได้แก่ นายอาทิติพงษ์ สังข์ทอง และ นายสรวิศ กลิ่นลอย นิสิตสาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า ชั้นปีที่ 3
• การแข่งขันประเภทที่ 3 การแข่งขันการเขียนโปรแกรมพีแอลซีควบคุมชุดทดสอบแกนไฟฟ้า โดยมี ดร.บรรเทิง ยานะ อาจารย์ประจำหลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า เป็นอาจารย์ผู้ควบคุม ในการนำทีมนิสิตได้แก่ นายธนโชติ วงค์ปุก และ นางสาวจุฑาทิพย์ วรรณวัลย์ นิสิตสาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า ชั้นปีที่ 3
• การแข่งขันประเภทที่ 6 การแข่งขันการสร้างโรงงานอุตสาหกรรมเสมือนจริง (ด้วยซอฟต์แวร์ Emulate3D) ) โดยมีอาจารย์อโณทัย กล้าการขาย อาจารย์ประจำหลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ เป็นอาจารย์ผู้ควบคุม ในการนำทีมนิสิตได้แก่ นายกฤติภูมิ โสภา และ นายอรรถชาติ ระเรือง นิสิตสาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ ชั้นปีที่ 3
• การแข่งขันประเภทที่ 7 การแข่งขันการสร้างคลังสินค้าอัตโนมัติและโลจิสติกส์ (ด้วยซอฟแวร์ Emulate 3D) โดยมีอาจารย์อโณทัย กล้าการขาย อาจารย์ประจำหลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ เป็นที่ปรึกษาในการนำทีมนิสิตได้แก่ นายจารุวัฒน์ จันทร์เลิศคงเดช และ นายวรากร ใจคำ นิสิตสาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ ชั้นปีที่ 4
โดยการแข่งขันในครั้งนี้จัดขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนนโยบาย องค์ความรู้ ความคิดเห็น ส่งเสริมพัฒนาการศึกษาและการเรียนรู้ในสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในโลกปัจจุบันสำหรับประเทศในแถบภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อีกทั้งเป็นเวทีในการพัฒนายกระดับบุคลากรทางการศึกษาโดยมีประเทศไทยเป็นศูนย์กลาง
ซึ่งนิสิตคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา จากการแข่งขันประเภทที่ 7 การแข่งขันการสร้างคลังสินค้าอัตโนมัติและโลจิสติกส์ (ด้วยซอฟแวร์ Emulate 3D) ได้ผ่านเข้าสู่รอบ 8 ทีมสุดท้าย จากทั้งหมดจำนวน 40 ทีมทั่วประเทศ ซึ่งนับเป็นอีกหนึ่งความสำเร็จและความภาคภูมิใจของคณะวิศวกรรมศาสตร์ที่นิสิตได้นำความรู้ในวิชาชีพที่เรียนมาประยุกใช้ในการแข่งขัน ทั้งนี้คณะวิศวกรรมศาสตร์จึงขอเป็นกำลังใจให้นิสิตในการคว้ารางวัลการแข่งขันครั้งต่อไปในอนาคต