บทบาทขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการตอบสนองความต้องการของคนทุกเพศทุกวัย ผ่านการประยุกต์ใช้ “GRB”

บทบาทขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการตอบสนองความต้องการของคนทุกเพศทุกวัย ผ่านการประยุกต์ใช้ “GRB”

เรียบเรียง พงษ์เทพ บุญกล้า

จังหวัดอุบลราชธานี ดำเนินการนำร่องบทบาทขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการตอบสนองความต้องการของคนทุกเพศทุกวัย ภาพสะท้อนการเข้าถึงงบประมาณและการทำงานขององค์กรพัฒนาเอกชน NGOs การทำงานอย่างต่อเนื่องนำไปสู่การสร้างความเข้าใจทางสังคมและการทำงานร่วมกับภาครัฐ สู่การการผลักดัน GRB เป็นการทำงานร่วมกันในโครงการนำร่องและสร้างความร่วมมือของภาคีเครือข่าย เนื่องจากบทบาทการทำงานของหน่วยงานภาครัฐเกี่ยวข้องกับประชาชนกลากหลายกลุ่ม ขณะที่ GRB เป็นเรื่องที่เราทำอยู่ ไม่ได้ยากเกินกว่าจะเข้าใจ และจะช่วยตอบสนองการทำงาน เกี่ยวข้องกับสิทธิตามรัฐธรรมนูญและงบประมาณ จึงต้องการให้ความสำคัญและการทำงานของหน่วยงานภาครัฐระดับท้องถิ่นจะต้องทำงานเชิงข้อมูลสู่การเป็น GRB โดยการจัดเวทีเสวนา“บทบาทขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการตอบสนองความต้องการของคนทุกเพศทุกวัย ผ่านการประยุกต์ใช้ GRB” ในเวทีเปิดตัวโครงการ (Kick off) และการประชุมเชิงปฏิบัติการจัดทำหลักสูตรฯ โครงการ Strengthening Gender Responsive Budgeting in Local Governance, a pilot project whit Ubon Ratchathani Municipality เมื่อวันที่ 22 ตุลาคม 2567 ณ โรงแรมเซ็นทารา อุบล (Centara Ubon) จังหวัดอุบลราชธานี ผู้เข้าร่วมเสวนา ประกอบด้วย คุณปราโมทย์ ศรีสุธรรม สมาคมฟ้าสีรุ้งแห่งประเทศไทย สำนักงานภูมิภาคอีสานใต้ จ.อุบลฯ, คุณกริชพล เมืองเหนือ รองปลัดเทศบาลนครอุบลราชธานี, คุณษมาภรณ์ นีละเสน นักพัฒนาสังคมชำนาญการ สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ จังหวัดอุบลราชธานี, และคุณพนิดา หันสวาสดิ์ นักวิชาการอิสระ/ผู้เชี่ยวชาญ GRB ดำเนินรายการโดย คุณณัฐชฎา มาลี ผู้ช่วยหัวหน้าทีมพี่เลี้ยงภาคอีสาน กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.)

การเข้าถึงงบประมาณและการทำงานขององค์กรพัฒนาเอกชน NGOs

คุณปราโมทย์ ศรีสุธรรม สมาคมฟ้าสีรุ้งแห่งประเทศไทย สำนักงานภูมิภาคอีสานใต้ จ.อุบลฯ สะท้อนเกี่ยวกับ บทบาทหลักของสมาคมฯ คือ การทำงานกับกลุ่มหลากหลายทางเพศ ในประเด็นกลุ่มคนที่มีคำนิยามหลากหลายนั้น เช่น กลุ่มชายรักชาย กลุ่มที่มีความสัมพันธ์ที่หลากหลาย กลุ่มคนอายุมากที่ยังอาจไม่เข้าใจกับคำศัพท์เหล่านี้ และกลุ่มสาวข้ามเพศ หรือ Transgender และกลุ่มเยาวชน โดยเน้นเรื่องสุขภาพทางเพศ โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ปัญหา HIV และซิฟิลิส (Syphilis) “ได้ลงพื้นที่ทำงานกับกลุ่ม LGBTQ+ และเป็นวิทยากรร่วมกับหน่วยงานต่างๆ ที่ทำงานร่วมกับน้องๆ เยาวชน การทำงานในวงเยาวชนต้องมีการปรับวิธีการเรียนรู้ที่ไม่ใช่แค่การนั่งฟังเพียงอย่างเดียว แต่ต้องมีการใช้กระบวนการเชิงปฏิบัติการ มีการเชื่อมประสานกับภาคีเครือข่ายต่างๆ ทั่วจังหวัดอุบลราชธานี แต่ก็ยังมีบางส่วนที่เราเข้ายังไม่ถึงงบประมาณในการร่วมกันทำอย่างยั่งยืน การทำงานที่ผ่านมาจะต้องมองว่ากิจกรรมใดจะต้องมีกลุ่มไหนบ้างเข้าร่วม หรือหน่วยงานระดับจังหวัดหน่วยไหนเข้าร่วม แล้วจะต่อยอดกิจกรรมอย่างไรให้ไปยาวๆ” นอกจากนั้นสะท้อนต่ออีกว่า “การทำงานพยายามพิจารณาเชื่อมโยงกับข้อมูลด้านงบประมาณของหน่วยงานว่ามีมากน้อยเพียงใด จะสามารถแบ่งสันปันส่วนให้ทำงานอย่างไรได้ เพราะในพื้นที่จังหวัดอุบลราชธานีมีหลายกลุ่มที่ยังเข้าไม่ถึงงบประมาณในการดำเนินกิจกรรม โดยเฉพาะวงการ NGOs ไม่เข้มแข็งเพราะขาดน้ำหล่อเลี้ยง” ดังนั้น ฟ้าสีรุ้งจึงเป็นส่วนหนึ่งในการส่งเสียงให้กับเครือข่าย NGOs และการเข้าร่วมในวงเสวนาของหน่วยงานภาครัฐ (เทศบาล) ว่าจะช่วยต่อยอดอย่างไร และมีส่วนร่วมในการพิจารณางบประมาณของหน่วยงาน

คุณปราโมทย์ ศรีสุธรรม สมาคมฟ้าสีรุ้งแห่งประเทศไทย สำนักงานภูมิภาคอีสานใต้ จ.อุบลราชธานี

การทำงานอย่างต่อเนื่องนำไปสู่การสร้างความเข้าใจทางสังคมและการทำงานร่วมกับภาครัฐ

คุณปราโมทย์ กล่าวต่อว่า “เราจะมองถึงความยั่งยืนเป็นหลัก การที่องค์กรหนึ่งจะขับเคลื่อน พัฒนานวัตกรรมบางอย่างจะต้องมีความต่อเนื่อง บางครั้งสิ่งที่ทำไปแล้วฉาบฉวย ไม่ต่อเนื่อง ไม่เห็นภาพกว้าง ไม่สร้างจุดแข็งทางสังคม ความร่วมมือของทุกภาพส่วนอาจเกิดขึ้นจากการขอหรือการยื่นมือเข้ามาหา” ก่อนหน้านี้องค์กรพัฒนาเอกชนเข้าทำงานกับรัฐยาก “เวลาจะเข้าหาแทบจะคลานเข่า” แต่พอหน่วยงานรัฐได้เห็นศักยภาพ เห็นผลประจัก เห็นผลจับต้องและเป็นภาพที่ชัดเจน หลังๆ มามีส่วนร่วมในการผลักดันและเปิดใจยอมรับ เรามีตัวตนมากขึ้น ได้ทำในสิ่งที่อยากทำ มีความพราวในการทำงานผ่านศักยภาพที่มีอยู่แล้ว การทีตัวกลางในการเชื่อมประสานให้มีความเข้มแข็งมากขึ้นจะเป็นจุดแข็ง เริ่มเดินทางไปในทางที่เปิดกว้างมากขึ้น “ทาง NGOs ได้มีส่วนร่วมในการรับฟังแผน และอยากทำกิจกรรมร่วมกับภาคี หรือมีการทำนวัตกรรมนำเสนอ เพื่อให้มีการนำไปใช้ในพื้นที่ หรือกลุ่มงานเยาวชนไปถึงไหน อยากได้อะไร เราทำงานมาด้วยกันในทางที่ดีแล้ว และขาดประเด็นใดบ้างที่ตกหล่นเพื่อให้เกิดการจัดสรรงบประมาณที่เข้าถึง การเป็นพื้นที่นำร่องของอีสานสามารถเดินและเริ่มได้เลย ทาง NGOs พร้อมทำงานร่วมกับหน่วยงานภาครัฐและภาคีเครือข่ายต่างๆ

การผลักดัน GRB เป็นการทำงานร่วมกันในโครงการนำร่องและสร้างความร่วมมือของภาคีเครือข่าย

คุณกริชพล เมืองเหนือ รองปลัดเทศบาลนครอุบลราชธานี สะท้อนว่า เทศบาลฯ มีนโยบายที่ให้ความสำคัญกับทุกเพศทุกวัย ในการดำเนินโครงการที่เกี่ยวกับ GRB เห็นบทบาทการร่วมมือกันกับสมาคมฟ้าสีรุ้ง มีกิจกรรมทาสีทางม้าลายสีรุ้งหลายจุดในจังหวัดอุบลราชธานี “ตอนแรกคนถามว่าเป็นทางม้าลายอะไร ตอนหลังคนเริ่มรู้ และหน่วยงานเทศบาลมีส่วนในการสนับสนุนกิจกรรม” นอกจากนั้น มีกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการให้ความรู้เรื่องสุขภาพและอนามัย แม่วัยใส หรือทำงานกับกลุ่มคนไร้บ้าน โดยทาง อบจ. ร่วมมือกับเทศบาล และหน่วยงานต่างๆ ที่มาของบประมาณจากเทศบาล รวมทั้งกลุ่มเป้าหมายในเรือนจำ นายกเทศมนตรีได้สนับสนุนให้ของบจากสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.)ทางเรามีความเข้มแข็งในการทำงานผ่านกรรมการชุมชน อสม. ชมรมผู้สูงอายุ จะเห็นว่า บางประเทศผู้สูงอายุเจ็บป่วยและเสียชีวิตเพียงลำพัง แต่บ้านเรามีระบบ อสม. ในการให้ความช่วยเหลือดูแล เรื่องงบประมาณ ถ้าหน่วยงานไหนต้องการสามารถขอผ่านท่านนายกฯ เพื่อนำเข้าสู่แผนการพัฒนา (ซึ่งมีประชุมบ่อยมากเกือบทุกสัปดาห์) เพื่อตอบสนองต่อนโยบายของผู้บริหารที่มาจากความต้องการของประชาชน” คุณกริชพล ได้ยกตัวอย่างการทำงานของเทศบาล กรณีภัยพิบัติน้ำท่วม ว่าการทำงานเพื่อรับมือกับปัญหาทางเจ้าหน้าที่หน่วยงานให้ความร่วมมือกันเป็นอย่างดี แต่ละปีมีการเตรียมพร้อมรับมือกับปัญหาที่จะเกิดขึ้น เพื่อให้มีการลงพื้นที่ช่วยเหลือชาวบ้านได้ทันท่วงที รวมถึงการบริหารจัดการของบริจาคต่างๆ ตามความต้องการอย่างเหมาะสม การผลักดัน GRB เป็นการทำงานร่วมกันในโครงการนำร่องที่ให้เกียรติและเป็นการจับมือที่สร้างความร่วมมือกับภาคีเครือข่าย

คุณกริชพล เมืองเหนือ รองปลัดเทศบาลนครอุบลราชธานี

บทบาทการทำงานของหน่วยงานภาครัฐเกี่ยวข้องกับประชาชนกลากหลายกลุ่ม

คุณษมาภรณ์ นีละเสน นักพัฒนาสังคมชำนาญการ สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ จังหวัดอุบลราชธานี สะท้อนให้เห็นว่า“พมจ. มีภารกิจให้เยาวชน ผู้สูงอายุ สตรี ผู้พิการ และเครือข่าย LGBTQ+ ซึ่งกลุ่มนี้จะต้องให้เกิดการเคารพในความแตกต่าง เรื่องของอื่นๆ เป็นการคุ้มครองสวัสดิภาพ เราต้องดูแลเด็กผู้หญิง เด็กผู้ชาย แม่ที่ต้องให้นม แผนการคุ้มครองสวัสดิภาพ ทุกวันนี้เราทำงานให้ความช่วยเหลือร่วมกับเครือข่าย เราทำงานร่วมกับเครือข่ายเพราะทั้งสำนักงานมีคนน้อย การทำงานมิติทางเพศต้องชื่นชมเทศบาล เพราะประเด็นที่ทำค่อนข้างยาก ทั้งทัศนคติและมุมมองของผู้บริหาร การทำไปแล้วมันทำให้เกิดการรับรู้ มุมมองของการทำงานมิติที่เท่าเทียมกันมีการทำงานเรื่องน้ำท่วมและภัยพิบัติ พบว่า การทำงานเฝ้าระวังช่วงน้ำท่วมคนที่เข้ามาอยู่ในพื้นที่พักพิงส่วนใหญ่เป็นผู้สูงอายุ เด็ก คุณแม่ และคุณพ่อเดินทางเข้ามาที่หลังเพราะต้องเฝ้าบ้าน การอยู่ศูนย์พักพิงที่มีคนเหล่านี้ต้องมองผ่านมุมมองมิติหญิงชาย “สิ่งที่เราทำชี้ให้เห็นว่าเราทำอยู่แต่ต้องมีการสื่อสารอีกนิดว่าสิ่งที่ทำถูกต้องแล้ว” รวมถึง การร่วมทำงานกับเครือข่าย ปภ. หน้าที่หลักๆ คือ การทำให้เครือข่ายได้เห็นว่าจะต้องคำนึงถึงสิ่งนี้ ต้องคำนึงถึงความแตกต่าง ช่วงปี 2565 มีศูนย์บริจาคจริงแต่ไม่มีการจัดเก็บ นม ผ้าอ้อม ผ้าอนามัย จึงมีกลุ่มหน่วยงานเข้าไปช่วย และสอดแทรกงานอื่นๆ  

คุณษมาภรณ์ นีละเสน นักพัฒนาสังคมชำนาญการ สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ จังหวัดอุบลราชธานี

GRB เป็นเรื่องที่เราทำอยู่ ไม่ได้ยากเกินกว่าจะเข้าใจ และจะช่วยตอบสนองการทำงาน

คุณษมาภรณ์ สะท้อนต่อว่า “GRB เป็นเรื่องที่เราทำอยู่ ไม่ได้ยากเกินกว่าจะเข้าใจและจะช่วยตอบสนองการทำงาน” ซึ่งส่วนหนึ่งที่ต้องทำงานด้านการส่งเสริมความเข้าใจอยู่แล้ว ลองทำงานเพื่อสร้างความเข้าใจและเป็นเครือข่ายที่ดีในการทำงาน ทาง พมจ. ทำงานกับกลุ่มเปราะบางค่อนข้างมาก แต่การทำงาน GBR ช่วงแรกยังไม่เข้าใจกลุ่มเป้าหมาย การทำงานกับเครือข่ายที่มาพร้อมกับเป้าหมาย และการทำงานกับกลุ่มเป้าหมายที่เข้าใจจะเป็นการสร้างคุ้มค่าและความเคารพกัน เรื่องของหญิงชาย พ่อแม่ ครอบครัว คนเราต่างกันคิดเห็นต่างกันได้ ความขัดแย้งอาจเกิดขึ้นได้ การทำงานเหล่านี้จะช่วยลดความรุนแรงและความขัดแย้ง การทำงานนี้สำคัญมาก ซึ่งการพบเจอเครือข่ายให้ พมจ. ทำเองทั้งหมดเป็นไปได้ยากกว่าการทำงานร่วมกับภาคีเครือข่ายต่างๆ การสร้างเครือข่ายเป็นโอกาสหนึ่งในการทำงานร่วมกันมากขึ้น

GRB เกี่ยวข้องกับสิทธิตามรัฐธรรมนูญและงบประมาณ

คุณพนิดา หันสวาสดิ์ นักวิชาการอิสระ/ผู้เชี่ยวชาญ GRB สะท้อนว่าได้ร่วมขับเคลื่อนเรื่องนี้มาตลอด เพราะเรื่องนี้สำคัญเกี่ยวข้องกับรัฐธรรมนูญและงบประมาณ คำว่า “Budget For All” เราไม่เลือกปฏิบัติ แต่การวิเคราะห์ลึกๆ ต้องมีการคำนึงถึงมิติเพศภาวะ คนทุกคนไม่มีปัญหาเหมือนกัน ความรุนแรงต่างกัน เพศต่างกัน ความรุนแรงต่างกัน เพศสรีระที่มาพร้อมกับการเกิด เด็กหญิงชายตั้งแต่เป็นทารกยังต้องดูแลต่างกัน งบประมาณจริงๆ ไม่ควรหารเฉลี่ย แต่ระดับชาติมีการหารเฉลี่ยเพราะใหญ่มาก จึงต้องทำงานกับท้องถิ่นเพราะหน่วยบริการและจัดการเล็กลง อยู่ใกล้ รู้ว่าใครมีปัญหา การระดมความคิดของประชาคมไทบ้านท้องถิ่นให้ช่วยกันและอย่างคิดว่าปัญหานี้เป็นของทุกคน การจัดกิจกรรมบางอย่างต้องคำนึงถึงความแตกต่างทางเพศ เช่น มะเร็ง การนำแนวคิดลักษณะนี้มาใช้ช่วงแรกมีการต่อต้านในประเทศ การทำงานที่คำนึงถึงเพศภาวะต้องคำนึงถึงความแตกต่าง ในโลกปัจจุบันที่ไม่ได้มีแค่หญิงชาย แต่มีกลุ่มที่แตกต่าง หากมองเรื่องชายหญิงออก ต่อไปจะมองผู้สูงอายุ คนพิการ หรืออื่นๆ ได้ง่ายมาก ภาคอีสานจะนำร่องที่อุบลราชธานีที่แรก

คุณพนิดา หันสวาสดิ์ นักวิชาการอิสระ/ผู้เชี่ยวชาญ GRB

การทำงานของหน่วยงานภาครัฐระดับท้องถิ่นผ่านข้อมูลสู่การเป็น GRB

คุณพนิดา กล่าวต่อว่า การทำงานตามคอนเสปของ อปท. เป็นการทำงานเชิงพื้นที่ชุมชน แต่ยังขาดกลุ่มเป้าหมาย การทำงานแผนท้องถิ่นผ่านคณะกรรมการพัฒนาสามารถเชิญกลุ่มเป้าหมายต่างๆ เข้ามาร่วม เวลาจัดสรรงบประมาณจะต้องไปแก้ปัญหาต้นเหตุ การเก็บข้อมูลซึ่งเป็นสิ่งสำคัญในการทำ GRB และการจัดทำงบประมาณ ยกตัวอย่างของ กรทรวงการพัฒนาสังคม ทางภาคเหนือทำงานกับเทศบาลตำบลแม่พริก รองปลัดเข้าใจและเห็นความสำคัญ มีการนำแผนท้องถิ่นไปใส่ในเทศบัญญัติ แม่พริกนำโครงการ GRB ใส่ในเทศบัญญัติ ผ่านโครงการดูแลผู้พิการหญิง เพราะคนพิการมีความแตกต่าง หรือคนหูหนวกชายจะเป็นคนควบคุมดูแลคนหูหนวกหญิง ซึ่งความรุนแรงแตกต่างกันมาก เก็บข้อมูลเชิงลึกแล้วนำมาใช้ พื้นที่แม่พริกทำและขยายผลไปต่อถึงในโรงเรียนประเด็นการบูลลี่ มีการใส่หลักสูตรเข้าในวิชาสุขศึกษาและพลศึกษาให้เด็กเคารพความหลากหลาย หรือตัวอย่างภาคใต้ เทศบาลทุ่งสง นครศรีธรรมราช ผู้สูงอายุหญิงมักถูกทอดทิ้งให้อยู่เพียงลำพัง แตกต่างจากผู้สูงอายุชายที่มีความถี่และความรุนแรงน้อยกว่า การทำงานต้องให้ความสำคัญกับกลุ่มความถี่ของปัญหามากก่อน การทำงานมีการจัดหาบริบาลหญิงและบรรจุเข้าสู่เทศบัญญัติ หรือภาคกลาง 6 อบต. พยายามผลักดันให้เกิดแผนพัฒนาท้องถิ่นที่มองเห็นเพศภาวะต่างๆ รวมถึง “อัตลักษณ์ทับซ้อน” การทำแผนพัฒนาท้องถิ่นเป็นสิ่งสำคัญที่จะทำให้งบประมาณนั้นเป็น GRB การทำงานต้องให้ความสำคัญกับแผนพัฒนาท้องถิ่น ต้องใส่ประเด็นนี้ให้กับชาวบ้านที่เข้าร่วมประชาคม ต้องให้ความรู้ชาวบ้านก่อนเกิดเวทีประชาคมนั้นๆ GRB เป็นเรื่องง่ายและเป็นสิ่งที่ทำอยู่แล้ว แต่ต้องเก็บข้อมูลเชิงลึกเข้าไปอีก

หมายเหตุ : ข้อมูลและภาพจากโครงการ Strengthening Gender Responsive Budgeting in Local Governance, a pilot project whit Ubon Ratchathani Municipality เมื่อวันที่ 22 ตุลาคม 2567 ณ โรงแรมเซ็นทารา อุบล (Centara Ubon) จังหวัดอุบลราชธานี

author

ปฏิทินกิจกรรม EVENT CALENDAR

เข้าสู่ระบบ